การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ




การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ   VERTEBROPLASTY ( VP )

ดัดแปลงจาก //www.kawin.co.th

กระดูกพรุน เป็นภาวะที่กระดูกสูญเสียมวลกระดูกไป ทำให้โครงสร้างของกระดูกไม่แข็งแรงและเป็นผลให้เกิดการแตกหักง่าย ตำแหน่งที่พบกระดูกหัก ได้บ่อย เช่น ข้อสะโพก ข้อมือ และ กระดูกสันหลัง

อัตราเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก
ในเพศหญิงมี 40% เพศชาย 13%

อัตราเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกสันหลังยุบ
ในเพศหญิง 16% ชาย 5%
พบกระดูกสันหลังยุบอย่างน้อย 1 ครั้ง ในเพศหญิงอายุเกิน 50 ปี พบ 18% แต่ถ้าอายุมากกว่า 65 ปี จะพบถึง 27%

ในอดีต การรักษา กระดูกสันหลังยุบ คือ นอนพักนิ่งๆ ลดการเคลื่อนไหว ร่วมกับ ยาแก้ปวด (ชนิดฉีดหรือกิน แล้วแต่ความรุนแรงของความเจ็บปวด) ใส่เฝือกพยุงหลัง สุดท้ายคือรักษาด้วยการผ่าตัด


VERTEBROPLASTY (VP) คืออะไร

VP คือ วิธีฉีดซีเมนต์ยึดกระดูกเข้าไปในตัวกระดูกสันหลังที่หักยุบ เพื่อเสริมกระดูกโดยตรง ช่วยลดอาการปวดหลังและป้องกันกระดูกสันหลังปล้องนั้นไม่ให้เกิดการหักยุบอีก

โดยทั่วไป 1 ปล้อง กระดูกสันหลังจะใช้ซีเมนต์ประมาณ 4-12 ซีซี



VP ให้ผลดีอย่างไร

ช่วยลดอาการปวดหลังและสามารถให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายได้ภายใน 48 ชั่วโมง หลังฉีด

2-3 สัปดาห์ต่อมา ผู้ป่วย 65% สามารถหยุดการใช้ยาแก้ปวดได้ บางรายหายจากความเจ็บปวดหลังเลย

75% ของผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวและช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น

VP ไม่สามารถแก้ไขภาวะหลังค่อมจากกระดูกผุได้ แต่จะช่วยป้องกันไม่ให้หลังค่อมมากขึ้น

VP ใช้รักษากระดูกสันหลังปล้องที่หักยุบเท่านั้น ไม่ได้ป้องกันการหักยุบของปล้องอื่นในอนาคต


วิธีการทำ VP

VP เป็นวิธีการใช้เข็มขนาด 11-13 gauge แทงเข้าตัวกระดูกสันหลังที่หักยุบ อาจผ่านทางตัวกระดูกสันหลังโดยตรงหรือผ่านทางก้านของกระดูกสันหลัง ให้ปลายเข็มอยู่ที่ตำแหน่งด้านหน้า 1/3 ของตัวกระดูก ตำแหน่งของเข็มจะถูกกำหนดโดยเครื่องเอกซเรย์โดยให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ ส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ผู้ป่วยอาจได้รับยาชาเฉพาะที่ ยาฉีดให้หลับหรือยาสลบก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม

สารซีเมนต์ที่ใช้ยึดกระดูกมีคุณสมบัติคล้ายกาวหรือ epoxy หลังฉีด ซีเมนต์จะแข็งตัวภายในเวลา 10-20 นาที



อันตรายของการทำ VP

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ 1-3% ในรายกระดูกสันหลังยุบ และ 7-10% ในรายของมะเร็งกระดูกสันหลัง

1. เสียเลือด

2. การติดเชื้อ

3. ปวดรุนแรงมากขึ้น

4. การรั่วซึมของสารซีเมนต์ตามรอยแตกออกไปนอกตัวกระดูกสันหลัง เข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อรอบกระดูกสันหลังและหลอดเลือดหรือรากประสาท ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องทำการฝ่าตัดเอาซีเมนต์ออกแต่อย่างใด

5. กระดูกซี่โครงหรือกระดูกสันหลังหัก

6. ไข้



ผู้ป่วยที่เหมาะสมต่อการทำ VP

1. มีอาการปวดหลังเรื้อรังเกินกว่า 6 สัปดาห์ โดยมีสาเหตุจากกระดูกสันหลังหักยุบ

2. เมื่อให้การรักษาแบบอนุรักษ์มาแล้วไม่ได้ผล

3. เคลื่อนไหวลำบาก ปวดมาก ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ เช่น อาบน้ำ แต่งตัว หรือ ยืน เดิน นั่งนาน ไม่ได้

4. ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 70 ปี แต่ผู้ป่วยอายุน้อยที่มีภาวะกระดูกพรุน ก็อาจจำเป็นต้องใช้ VP ช่วย



ผู้ป่วยที่ไม่เหมาะต่อการทำ VP

1. กระดูกสันหลังยุบ และ กระดูกติดสนิทแล้ว ซึ่งมักจะไม่มีอาการปวด

2. หมอนรองกระดูกสันหลังแตกเคลื่อน

3. มีการอักเสบของข้อกระดูกสันหลัง

4. กระดูกสันหลังแตก และ มีการกดทับของไขสันหลังหรือเส้นประสาท



การดูแลหลังการทำ VP

- หลังทำ VP มักให้นอนหงายราบ 2-3 ชั่วโมง

- อาจทำ VP เป็นกรณีผู้ป่วยนอก ซึ่งผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้หลังฉีด VP 2-3 ชั่วโมง ในกรณีที่บ้านใกล้หรือนอนพักในโรงพยาบาลเพียง 1 คืน การอยู่โรงพยาบาลเหมาะกับในรายสูงอายุมากๆ

- มักทำ CT scan ซ้ำ หลังทำ VP

- หลังทำ VP มักจะมีอาการปวดบริเวณบาดแผลรอบเข็มภายใน 24 ชั่วโมงแรก อาจใช้น้ำแข็งประคบหรือยาแก้ปวด พาราเซตตามอล หรือ ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ น้อยรายที่จะต้องใช้ยาแก้ปวดชนิดแรงๆ

- อาจมีอาการท้องอืด ถ้าท้องไม่อืดให้กินอาหารอ่อนได้ตามปกติ

- อาการเจ็บหลังจะหายไปทันทีหรือ 2-3 วัน หลังทำ VP หากเกิน 3 วันแล้ว ยังมีอาการเจ็บปวดอยู่ ให้ติดต่อแพทย์

- แพทย์จะนัดมาตรวจซ้ำ เพื่อติดตามผลการรักษาในวันที่ 2 หรือ 7 หลังการฉีด




วิธีดูแลตนเอง วิธีบริหาร ..

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-06-2008&group=5&gblog=17




แถม ....

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย

//www.topf.or.th

กระดูกพรุนกระดูกโปร่งบาง

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=27-02-2008&group=4&gblog=15

กระดูกพรุนกระดูกโปร่งบาง ... ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์

//taninnit-osteoporosis.blogspot.com/

แบบทดสอบปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน

//www.topf.or.th/read_hotnews_detail.php?dID=21

การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก(BONEDENSITOMERY)

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-02-2008&group=4&gblog=16

ยาเม็ดแคลเซียม

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-02-2008&group=4&gblog=19

การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=21





Create Date : 24 มิถุนายน 2551
Last Update : 8 พฤษภาคม 2558 15:17:47 น.
Counter : 17189 Pageviews.

5 comments
  

ในเวบนี้ จะมีรูปภาพ วิธีการฉีดซีเมนต์ ด้วยนะครับ ... ผมคัดลอกมาเฉพาะข้อความ เท่านั้น ..

//www.pantown.com/board.php?id=16178&area=3&name=board6&topic=30&action=view


การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูก (Vertebroplasty)

เกิดศิริ ธรรมนำสุข พย.บ.
งานการพยาบาลรังสีวิทยา โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล


เกิดศิริ ธรรมนำสุข.การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูก.วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะ ทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย. 2008, 1 : 20-23

คำนำ

โรค กระดูกพรุน (osteoporosis) เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะกระดูกบางลง และมีโอกาสที่กระดูกสันหลังหักยุบโดยง่าย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดหลังอย่างมาก แม้จะมีแนวทางการรักษาให้วิธี เช่น การนอนพัก การใช้ยาแก้ปวด การใส่เสื้อเกราะพยุงหลังและการทำกายภาพบำบัด แต่ในผู้ป่วยบางรายยังไม่อาจบรรเทาอาการปวดได้

การรักษาแนวทางใหม่ที่ช่วยให้ผู้ป่วยหายจากอาการปวดได้ ได้แก่ การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกสันหลังที่หลังยุบ (Vertebroplasty) ซึ่งเป็นการรักษาแนวใหม่ที่ไม่ต้องผ่าตัด การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกจะซ่อมบรรเทาอาการปวดและป้องกันไม่ให้กระดูก สันหลังยุบตัวมากขึ้น อาการปวดจะดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังการฉีดซีเมนต์ ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ปกติผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังหักยุบ (Fracture/collapse) จากกระดูกบางมักไม่แสดงอาการในตอนแรก อาการจะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่มีบางรายที่เกิดอาการปวดอย่างเฉียบพลันจนขยับตัวและลุกเดินไม่ได้

แพทย์ออร์โธปิดิกส์จะตรวจร่างกาย ซักถามอาการและส่งตรวจทางรังสีเพื่อวินิจฉัย เพื่อดูกายภาพของกระดูกสันหลังและวินิจฉัยรอยโรคและตำแหน่งของกระดูกสันหลัง ที่ยุบตัว การตรวจวินิจฉัยดังกล่าว ได้แก่ การถ่ายภาพเอกซเรย์ของกระดูกสันหลัง การตรวจกระดูกสันหลังด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอหรือเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

เมื่อพบโรคแพทย์ออร์โธปิดิกส์จะส่งต่อผู้ป่วยให้รังสีแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษา ด้วยการฉีดซีเมนต์เสริมกระดูก ซึ่งทางรังสีแพทย์จะให้คำปรึกษาและให้ผู้ป่วยลงนามยินยอมรับการรักษาก่อน



1. การเตรียมตัวก่อนการฉีดซีเมนต์

ผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง กรณีที่ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยมีประวัติแพ้สารทึบรังสีและมีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคหัวใจ เป็นต้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

2. ขั้นตอนการฉีดซีเมนต์เสริมกระดูก

การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกจะกระทำในห้องเอกซเรย์หลอดเลือด ผู้ป่วยจะได้รับการฉีดยาชาเฉพาะที่ (Lumbar block) โดยวิสัญญีแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนอนคว่ำหน้าเนื่องจากเป็นท่าที่ใช้ในการฉีดซีเมนต์ขณะที่ทำการรักษา อาจมีการให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

แพทย์จะกรีดผิวหนังเป็นรอยเล็กๆ เพื่อสอดเข็มผ่านกล้ามเนื้อไขสันหลังจนปลายเข็มอยู่ตำแหน่งกระดูกสันหลังข้อที่หักยุบ ซีเมนต์ที่ฉีดเข้าไปในกระดูกสันหลังจะแข็งตัวภายใน 10-20 นาที ซีเมนต์ที่แข็งตัวจะยึดกระดูกสันหลังเหมือนเกราะภายใน จึงเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกสันหลังที่หักยุบ

เข็มฉีดซีเมนต์มีลักษณะกลวงขนาดหลอดกาแฟ

ส่วนซีเมนต์มีลักษณะคล้ายกาวหรือยาสีฟันซึ่งเป็นส่วนผสมของโพลีเมธิลเมธาคริ เลต (Poly methyl methacrylate) (PMMA) และผงแบบเรียมกับสารละลาย


3. ผลของการฉีดซีเมนต์เสริมกระดูก

การฉีดซีเมนต์เข้าไปที่ตัว กระดูกสันหลังจะช่วยยืดและเสริมกระดูกให้แข็งแรง การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกไม่ช่วยแก้ไขกระดูกสันหลังที่โก่งงอที่เกิดจากโรคกระดูกพรุน เพียงแต่ช่วยไม่ให้หลังโก่งงอมากขึ้น ลดความเจ็บปวดจากการที่กระดูกสันหลังยุบ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหยุดหรือลดการใช้ยาแก้ปวดอย่างเห็นได้ชัดและกลับมาทำ กิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ


4. การปฏิบัติตัวภายหลังการได้รับการฉีดซีเมนต์

ผู้ป่วยอาจเจ็บบริเวณรอยเข็มที่ถูกแทง ให้ใช้แผ่นประคบความเย็นเพื่อลดอาการปวด นอนพักบนเตียง 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้ซีเมนต์แข็งตัวและสังเกตอาการต่ออย่างต่อเนื่อง จากนั้นผู้ป่วยสามารถยืนหรือเดินได้เล็กน้อยโดยไม่มีอาการเจ็บปวดเลย


5. ภาวะแทรกซ้อน

การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยและเพียงชั่วคราวได้แก่ มีไข้ อาการปวดรุนแรง 2-3 ชั่วโมงหลังทำเนื่องจากความร้อนที่เกิดจากซีเมนต์แข็งตัว

ซีเมนต์กระดูกที่ฉีดเข้าไปอาจมีการซึมออกจาก กระดูกสันหลัง เล็กน้อยซึ่งไม่ได้เป็นปัญหาที่รุนแรง นอกเสียจากซีเมนต์จะหลุดเข้าไปในตำแหน่งที่อันตราย เช่น ช่องไขสันหลัง (spinal canal)

ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น การติดเชื้อ กระดูกสันหลังหรือซี่โครงหัก ภาวะเลือดออกปวดหลังเพิ่มขึ้นและอาการทางระบบประสาท เช่นอาการชา อัมพาต ซึ่งมีโอกาสเกิดน้อยมาก


6. ข้อจำกัดในการฉีดซีเมนต์เสริมกระดูก

1. ผู้ป่วยกระดูกสันหลังยุบจากกระดูกบางซึ่งยึดติดไปแล้ว หรือใช้การรักษาตามอาการแล้วได้ผล
2. มีการตอบสนองกระดูกสันหลัง, การติดเชื้อในกระแสเลือด
3. มีการยุบตัวของกระดูกสันหลังมากกว่า 80-90%
4. กระดูกสันหลังหักนานกว่า 1 ปี
5. มีปัญหาการจับตัวของลิ่มเลือดที่ไม่ได้รักษาเพราะอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่ายกว่าปกติ

บรรณานุกรม

1.//www.radiologyinfo.org/en/info.cfm?pg=vertebro&bscp=1

2.Predey TA., Sewall LE. Smith SJ. Percutaneous Vertebroplasty: New Treatment for Vertebral Compression Fractures. American Family Physician, 2002;1-7


โดย: หมอหมู วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:15:42:51 น.
  

กระดูกพรุน กระดูกโปร่งบาง
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=27-02-2008&group=4&gblog=15

การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BONE DENSITOMERY)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-02-2008&group=4&gblog=16

ยาเม็ดแคลเซียม
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-02-2008&group=4&gblog=19

การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=21
โดย: หมอหมู วันที่: 25 มิถุนายน 2555 เวลา:13:37:20 น.
  
เวบ อ.ทายาท มีรูปภาพ และ วิดีโอ ให้ชมกันด้วยนะครับ ..

//www.thaispine.com/vertebroplasty.htm

การรักษาผู้ป่วยปวดหลัง จากสาเหตุ กระดูกสันหลัง หักยุบ
ด้วยวิธีใหม่โดยการฉีดซีเมนต์กระดูก (Vertebroplasty)


ผู้ป่วยสูงอายุ ที่มีอาการปวดหลังเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในวันใดวันหนึ่ง
บางรายอาจจะเกิดขึ้นตามหลังอุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆ เช่น ลื่่นล้มเบาๆ หรือนั่งก้น
กระแทกพื้น แล้วในเวลาไม่กี่วันหลังจากนั้นจะมีอาการปวดหลังค่อยๆมากขึ้นเรื่อยๆ
จนบางราย ผู้ป่วยอาจไม่สามารถลุกจากเตียง เนื่องจากปวดหลังมาก นั่งรับประทาน
อาหารนานไม่ได้ ต้องล้มตัวลงนอน หรือเวลาพลิกตัวก็เจ็บร้อง ทุกข์ทรมาน
จนเป็นปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆตามมา ผู้ป่วยนี้หากไปพบแพทย์ และเอกซ์เรย์
อาจพบว่าเป็น"กระดูกสันหลังหักยุบ"จากกระดูกพรุน ซึ่งแพทย์มักเริ่มต้น
ให้การรักษาโดยการรับประทานยาแก้ปวด และใส่เสื้อประคองแผ่นหลังไว้

กระดูกสันหลังของผู้สูงอายุโดยเฉพาะเพศหญิงจำนวนมากกว่าล้านคน
ในประเทศไทย พบว่าเป็นโรคกระดูกพรุนแฝงอยู่โดยไม่รู้ตัว
ซึ่งถ้ามองจากกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูเนื้อกระดูกสันหลังในผู้ป่วยนี้
จะพบว่าเนื้อกระดูกที่ปกติไม่บางหรือพรุนจะเป็นเหมือนรังผึ้งรูปซ้าย
แต่จะกลายเป็นรังหักๆมีผนังบางๆดังรูปขวาในโรคกระดูกพรุน
ง่ายต่อการหักยุบ(fracture)แม้ว่าอยู่เฉยๆหรือมีอุบัติเหตุไม่รุนแรงก็ตาม

เมื่อผู้ป่วยเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย กระดูกสันหลังจะเกิดการยุบเหมือน
ฟองน้ำที่ยุบตัวลง(ดังรูปซ้าย) ซึ่งนอกจากก่อให้เกิดอาการ
เจ็บปวดอย่างรุนแรงเหมือนกระดูกหักแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหา
ผู้ป่วยสูงอายุไม่ยอมลุกเดินหรือนั่ง เกิดปัญหาทางการแพทย์อื่นๆ
เช่นหลอดเลือดดำตีบตัน หรือ แผลกดทับ ในระยะยาวผู้ป่วยอาจ
มีกระดูกสันหลังยุบ หลายระดับในเวลาต่อมาซึ่งทำให้เกิดอาการ
กระดูกสันหลังโกง(Kyphosis) ตัวเตี้ยลงเรื่อยๆ (ดังรูปขวา)

ระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะหายปวดหลังจากกระดูกสันหลังหักยุบ โดยปกติจะ
ใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ซึ่งผู้ป่วยสูงอายุมักจะทนต่อความเจ็บปวด
ไม่ได้ มีปัญหาทั้งการรับประทานอาหาร การเข้าห้องน้ำ และอื่นๆตามมา
จะเลือกการรักษาโดยผ่าตัดให้กระดูกสันหลังมั่นคงเหมือนในคนหนุ่มสาว
ที่กระดูกสันหลังหักโดยการยึดตรึงกระดูกด้วยโลหะ(Spinal Fusion)
ในผู้ป่วยกระดูกพรุน มักจะไม่สามารถกระทำได้เพราะอายุมากมีความเสี่ยง
และกระดูกที่โปร่งบาง(Osteoporosis) มักไม่สามารถยึดกับเกลียวโลหะ
ได้แน่นหนาเพียงพอ ถ้าฝืนผ่าตัดแบบนี้ไปอาจเกิดปัญหาโลหะหลวมหลุด
(loosening) ถอนออกจากกระดูก อย่างที่ผู้ป่วยท่านหนึ่งประสบในภาพซ้าย

การรักษาโรค กระดูกสันหลังหักยุบ ประเภท Intervention โดยไม่ต้องผ่าตัดด้วยการฉีด
ซีเมนต์ยึดกระดูก(Bone Cement) เข้าไปในกระดูกสันหลังข้อที่หักโดยตรงเพื่อให้กระดูก
ติดทันที โดยการสอดเข็มพิเศษเข้าไปในกระดูกในตำแหน่งที่ถูกต้อง(ดังภาพซ้าย)
เป็นการรักษาใหม่ ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ประมาณ10 ปีที่ผ่านมาอย่างได้ผลดี ในผู้ป่วยประเภทนี้
โดยการสอดเข็มจากด้านหลังของผู้ป่วยโดยมีเครื่องเอกซเรย์พิเศษควบคุมให้เป็นไปอย่างแม่นยำ
จากนั้นจึงฉีดซีเมนต์กระดูกเข้าไปในบริเวณที่หักปริมาณ 2-5 ซี.ซี. หลังจากนั้นประมาณ
15 นาทีซีเมนต์จะแข็งตัว ผู้ป่วยจะหายปวดและขยับตัวได้ นั่งได้ภายใน 24 ช.ม.
เรียกการรักษาวิธีฉีดซีเมนต์กระดูกนี้ว่า การทำ Vertebroplasty

ภาพแสดงแนวตัดขวางกระดูกสันหลังที่มีการแทงเข็มผ่านเข้าไปด้านหน้า
การสอดเข็มพิเศษภายใต้ยาชา จนถึงจุดที่ต้องการและ่ฉีดซีเมนต์ยึดกระดูก เข้าไปใน
กระดูกสันหลังที่หักยุบ โดยการสอดเข็มจะผ่านจุดที่ไม่มีเส้นประสาทไขสันหลัง
จึงค่อนข้างปลอดภัยต่อการเกิดภยันตรายต่อระบบประสาท

ตัวอย่างบางยี่ห้อของ ซีเมนต์ที่ใช้ฉีด เป็นซีเมนต์ที่ใช้ฉีดในกระดูกสันหลังโดยเฉพาะ
เป็นซีเมนต์ชนิดพิเศษที่ใช้ในร่างกาย คล้ายซีเมนต์ที่ใส่เวลาทำข้อสะโพกเทียม
แต่มีลักษณะที่เหลวมากกว่าเพื่อความสะดวกในการฉีด

1. ภาพถ่ายจากสถานที่จริง
ผู้ป่วยรู้ตัวตลอดเวลา นอนคว่ำบนเตียง
ปูด้วยผ้าเขียวปราศจากเชื้อโรค ผู้ป่วย
สามารถพูดคุยกับแพทย์ได้ตลอดเวลา

2. แพทย์ทำการกำหนดระดับและจุดที่จะ
ทำการฉีดซีเมนต์ในกระดูกสันหลัง โดย
ใช้เครื่องเอกซเรย์พิเศษเพื่อความแม่นยำ
ในภาพอุปกรณ์รูปโค้งคือเครื่องเอกซเรย์

3. เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการแล้วแพทย์
จะฉีดยาชาระงับความรู้สึกที่ผิวหนัง
และทำการสอดเข็มพิเศษที่ใช้ในการฉีด
ซีเมนต์เข้าไปในกระดูกสันหลังที่หัก

4. ภาพถ่ายแสดงตำแหน่งของเข็มที่ถูกต้อง
ก่อนการฉีดซีเมนต์ กระดูกสันหลังที่หักยุบ
แต่ละระดับควรทำการฉีดซีเมนต์ทั้งสอง
ข้างซ้าย-ขวาเพื่อให้เกิดความสมดุลย์

5. เมื่อได้ตำแหน่งของเข็มเรียบร้อยแล้ว
แพทย์และทีมงานเริ่มทำการผสมซีเมนต์
ที่จะใช้ฉีดกระดูกโดยการเตรียมแบบ
ปราศจากเชื้อ ในห้องผ่าตัด

6. ซีเมนต์ที่ได้รับการผสมโดยสัดส่วนที่
ถูกต้อง ถูกนำมาใส่ในกระบอกฉีดซีเมนต์
ขนาดเล็กแยกเป็นข้างซ้ายและขวา
ซีเมนต์จะมีลักษณะเหลวมากคล้ายน้ำ

7. ซีเมนต์ได้ถูกนำมาฉีดผ่านเข็มที่ได้วาง
ในตำแหน่งที่ถูกต้องบนกระดูกสันหลัง
เริ่มทำการฉีดโดยควบคุมการไหลของ
ซีเมนต์จากการมองผ่านเอกซ์เรย์ตลอดเวลา

8. ซีเมนต์ได้ถูกฉีดในปริมาณที่พอเหมาะ
โดยการควบคุมจากเครื่องเอกซเรย์เพื่อให้
แน่ใจว่าได้รับการฉีดในปริมาณที่เหมาะสม
ไม่มากจนล้นออกจากกระดูกที่มีการหัก

วิดีโอแสดงซีเมนต์ที่ถูกฉีดเข้าไปในกระดูกสันหลังที่หัก
ซีเมนต์จะค่อยๆถูกฉีดเข้าไปจนเต็มช่องว่างของกระดูก
ภาพขวาแสดงกระดูกสันหลังที่ได้รับการฉีดซีเมนต์
เรียบร้อยแล้ว ภาพมองจากด้านข้างลำตัว จะเห็นซีเมนต์
เป็นสีดำและเห็นเข็มฉีดที่ยังไม่ได้ถอนออกมา

ภาพแสดงกระดูกสันหลังที่ถูกฉีด
ซีเมนต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว
โดยมองจากทางด้านหน้าของผู้ป่วย

ภาพแสดงผู้ป่วยรายหนึ่งภายหลังการฉีด ซีเมนต์เข้าในกระดูกสันหลังด้วยเทคนิค
Vertebroplasty
เป็นเวลาเพียง 24 ช.ม. ผู้ป่วยสามารถลุกเดินได้เป็นครั้งแรก
หลังจากที่ปวดหลังจนลุกเดินไม่ได้มา เป็นเวลากว่า 3 สัปดาห์
ผลการรักษาประสบความสำเร็จ เป็นที่น่าพอใจ
สรุปผลการรักษากระดูกสันหลังยุบด้วยวิธี Vertebroplasty
1. เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงเพียงพอกับการผ่าตัดใหญ่เพราะวิธีนี้ ไม่ต้องดมยาสลบ
2. มีความเสี่ยงต่อปัญหาแทรกซ้อนต่ำ เนื่องจากไม่ใช่การผ่าตัดจึงมีแผลขนาดเล็กมาก และแทบจะไม่มีการเสียเลือด
2. มีความปลอดภัยในการรักษาสูง ถ้ามีความพร้อมทั้งบุคคลากร และเครื่องมือ
3. เป็นการรักษาที่ให้ผลหายปวดอย่างรวดเร็ว ทันใจ เนื่องจากไม่มีแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ และกระดูกติดแข็งอย่างรวดเร็ว
4. การเลือกผู้ป่วย(Patient Selection) เพื่อทำการรักษาวิธีนี้ มีความสำคัญมาก ดังนั้นแพทย์จึงจำเป็นต้องซักประวัติ
และตรวจร่างกายอย่างละเอียด
ความเสี่ยงในการรักษาด้วยวิธีนี้
1. มีโอกาสเกิดการ leakage ของซีเมนต์ในขณะฉีดได้ประมาณ 5-30% แต่ส่วนใหญ่มักไม่เกิดปัญหาใดๆต่อระบบประสาท
2. หากมีการ Leakage ของซีเมนต์กดทับเส้นประสาท อาจต้องมีการผ่าตัดเพื่อเอาซีเมนต์ที่ Leakage นี้ออก(พบน้อย)
3. มีโอกาสเกิดการยุบของกระดูกสันหลังข้อที่ติดกันตามมา ตามสถิติอาจเกิดในปีแรกได้ตั้งแต่ 5-30% ทำให้ต้องมีการฉีดซ้ำ
4. มีโอกาสแผลติดเชื้อประมาณ 1% ซึ่งต่ำกว่าการผ่าตัดแบบแผลเปิดมาก
โดย: หมอหมู วันที่: 25 กรกฎาคม 2555 เวลา:2:55:07 น.
  

//www.thaispine.com/Kyphoplasty.html

การรักษาผู้ป่วยปวดหลัง จากสาเหตุ กระดูกสันหลัง หักยุบ
ด้วยวิธีใหม่โดยการใช้บอลลูนและฉีดซีเมนต์ (Kyphoplasty)



ผู้ป่วยสูงอายุ ที่มีอาการปวดหลังเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในวันใดวันหนึ่ง
อาจจะเกิดขึ้นตามหลังอุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆ เช่น ลื่นล้มเบาๆ หรือนั่งก้น
กระแทกพื้น แล้วหลังจากนั้น อาการปวดหลังค่อยๆมากขึ้นเรื่อยๆ
จนอาจไม่สามารถลุกจากเตียงเองได้ นั่งรับประทานจนหมดไม่ไหว
เวลานอนพลิกตัวก็เจ็บปวดหลัง,สะโพก ทุกข์ทรมานมาก
อาจพบว่าเป็น"กระดูกสันหลังหักยุบ"จากกระดูกพรุน
การกินยา หรือใส่เสื้อเกราะ มักไม่สามารถลดอาการปวดได้
รูปกระดูกสันหลังหักยุบ หลังค่อมจากกระดูกยุบ
เมื่อผู้ป่วยเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย กระดูกสันหลังจะเกิดการยุบเหมือน
ฟองน้ำที่ยุบตัวลง(ดังรูปซ้าย) ซึ่งนอกจากก่อให้เกิดอาการ
เจ็บปวดอย่างรุนแรงเหมือนกระดูกหักแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหา
ผู้ป่วยสูงอายุไม่ยอมลุกเดินหรือนั่ง มีแผลกดทับ หรือหลอดเลือดตัน
ในรายที่ปล่อยทิ้งไปนานๆ จะเกิดภาวะตัวเตี้ยลง หลังค่อม
กระดูกสันหลังโกง(Kyphosis) บางรายเกิดภาวะทับเส้นประสาท
Vertebroplasty
การรักษาโรค กระดูกสันหลังหักยุบ ประเภท Intervention โดยไม่ต้องผ่าตัดด้วยการฉีด
ซีเมนต์ยึดกระดูก(Bone Cement) เข้าไปในกระดูกสันหลังข้อที่หักโดยตรงเพื่อให้กระดูก
ติดทันที โดยการสอดเข็มพิเศษเข้าไปในกระดูกในตำแหน่งที่ถูกต้อง(ดังภาพซ้าย)
เป็นการรักษาใหม่ ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ประมาณ20 ปีที่ผ่านมาอย่างได้ผลดี ในผู้ป่วยประเภทนี้
โดยการสอดเข็มจากด้านหลังของผู้ป่วยโดยมีเครื่องเอกซเรย์พิเศษควบคุมให้เป็นไปอย่างแม่นยำ
จากนั้นจึงฉีดซีเมนต์กระดูกเข้าไปในบริเวณที่หักปริมาณ 2-5 ซี.ซี. หลังจากนั้นประมาณ
15 นาทีซีเมนต์จะแข็งตัว ผู้ป่วยจะหายปวดและขยับตัวได้ นั่งได้ภายใน 24 ช.ม.
เรียกการรักษาวิธีฉีดซีเมนต์กระดูกเทคนิคง่ายๆนี้ว่า การทำ Vertebroplasty

อย่างไรก็ตาม มักพบว่าการรักษาด้วยเทคนิคนี้มีข้อบกพร่องหลายประการ อาทิเช่น
วิธีนี้ลดปวดได้แต่ไม่สามารถแก้อาการหลังค่อมได้ การเล็ด(Leak)ของซีเมนต์ในอัตราที่สูง
การมีภาวะกระดูกในระดับอื่นหักต่อเนื่องในอนาคต เหตุผลเพราะมีภาวะหลังโก่งที่ไม่ได้แก้ไข
จึงมีการคิดค้นเกิดมีเทคนิคใหม่ในการรักษาด้วยวิธี Balloon Kyphoplasty ขึ้น
balloon kyphoplasty
หลักการของKyphoplastyคล้ายกับการรักษาด้วยวิธี Vertebroplasty
แต่มีความแตกต่างกันที่ เพิ่มขั้นตอนการใส่บอลลูนเข้าไปเพื่อขยาย
กระดูกสันหลังที่ยุบตัว ให้ความสูงของกระดูกกลับมาให้มากที่สุด
ก่อนที่จะฉีดซีเมนต์ ตามเข้าไปในช่องว่างที่บอลลูนนั้นได้สร้างขึ้น
ส่งผลให้มีการแก้ไขปัญหากระดูกสันหลังค่อมอย่างได้ผล และอีกทั้ง
ยังส่งผลดีทำให้โอกาสเกิดปัญหาเรื่อง ซีเมนต์เล็ดออกนอก (Leak)
ลดลงกว่าในเทคนิคดั้งเดิมที่ฉีดโดยไม่ใช้บอลลูน(vertebroplasty)

ภาพวีดีโอ แสดงให้เห็นการขยายตัวของบอลลูนในขณะทำการผ่าตัดจริง
สังเกตการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นชัดเจนของกระดูกสันหลังที่ยุบตัวอยู่
ทำให้กระดูกสันหลังกลับมาสูงเท่าเดิม มากกว่าวิธีฉีดด้วยซีเมนต์เปล่าๆ
นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาหลังค่อม ปัญหากระดูกระดับใกล้เคียงทรุดพังอีก
และที่สำคัญที่สุดคือ การลดอุบัติการเล็ดของซีเมนต์กระดูกสันหลังออกมา
ไปยังจุดสำคัญเช่น เล็ดลอดไปทับเส้นประสาทไขสันหลัง หรือเข้าไปใน
เส้นเลือดดำใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอัมพาตหรือเสียชีวิตได้

ภาพวีดีโอแสดงให้เห็นซีเมนต์ ที่ถูกฉีดเข้าไปในกระดูกสันหลังอย่างช้าๆ
ภายหลังจากนำ Balloon ออกและ เกิดช่องว่างอยู่ภายในกระดูกสันหลัง
ได้ซีเมนต์ ที่มีขนาดใหญ่กว่าการทำการฉีดแบบดั้งเดิมโดยไม่ต้องใช้แรงอัด
การฉีดเข้าไปในข่องว่างทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาการ Leakage ลดลง
ความเสี่ยงในเรื่องของระบบประสาท จึงน้อยกว่าการฉีดด้วยวิธี ไม่ใช้บอลลูน มาก
Kyphoplasty kyphoplasty
ภาพแสดงการฉีดซีเมนต์ที่หลังของผู้ป่วยด้วยเทคนิค
Balloon Kyphoplasty โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องถูกวางยาสลบ
จึงเหมาะกับผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการความปลอดภัยจากการวางยา
อีกทั้งเสียเลือดน้อย หายปวดอย่างรวดเร็วเพียงข้ามคืน
แผลที่เกิดขึ้นเพียงจุดละประมาณ 3-5 มิลลิเมตร
หลังการผ่าตัดผู้ป่วยสามารถกลับขึ้นห้องพักปกติได้
ไม่ต้องนอนใน ICU
Kyphoplasty kyphoplasty
ภาพเอกซ์เรย์ภายหลังการฉีดซีเมนต์โดยวิธี Balloon Kyphoplasty
จะเห็นได้ว่าผลการฉีดโดยเทคนิคนี้จะได้ซีเมนต์ที่มากกว่า และเนื้อแน่น
เต็มกระดูกสันหลังได้ดีกว่า พร้อมทั้งยังช่วยยกความสูงของกระดูกสันหลัง
ให้กลับมามีระดับเท่าปกติอย่างได้ผลดียิ่ง โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อาการของผุ้ป่วยภายหลังการฉีดซีเมนต์ด้วยวิธี
Balloon Kyphoplasty ในสัปดาห์แรก
จะเห็นได้ชัดว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นกว่าเดิมมาก
และไม่แสดงให้เห็นความทุกข์ทรมานในการลุก
ยืนเหมือนดังเก่า ผู้ป่วยจำเป็นต้องใส่เสื้อประคอง
กระดูกสันหลังต่ออีก3-6เดือนเพื่อรอให้หายสนิท


สรุปผลการรักษากระดูกสันหลังยุบด้วยวิธี Kyphoplasty
1. เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงเพียงพอกับการผ่าตัดใหญ่เพราะวิธีนี้ ไม่ต้องดมยาสลบ
2. มีความเสี่ยงต่อปัญหาแทรกซ้อนต่ำ เนื่องจากไม่ใช่การผ่าตัดจึงมีแผลขนาดเล็กมาก และแทบจะไม่มีการเสียเลือด
2. มีความปลอดภัยในการรักษาสูง ถ้ามีความพร้อมทั้งบุคคลากร และเครื่องมือ
3. เป็นการรักษาที่ให้ผลหายปวดอย่างรวดเร็ว ทันใจ เนื่องจากไม่มีแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ และกระดูกติดแข็งอย่างรวดเร็ว
4. ผลสำเร็จในการรักษาดีกว่าการทำVertebroplastyและมีโรคแทรกซ้อนต่ำกว่า

ความเสี่ยงในการรักษาด้วยวิธีนี้
1. มีโอกาสเกิดการ leakage ของซีเมนต์ในขณะฉีดได้ประมาณ 5-10% แต่ส่วนใหญ่มักไม่เกิดปัญหาใดๆต่อระบบประสาท
2. หากมีการ Leakage ของซีเมนต์กดทับเส้นประสาท อาจต้องมีการผ่าตัดเพื่อเอาซีเมนต์ที่ Leakage นี้ออก(พบน้อย)
3. มีโอกาสเกิดการยุบของกระดูกสันหลังข้อที่ติดกันตามมา ตามสถิติอาจเกิดในปีแรกได้ตั้งแต่ 5-10% ทำให้ต้องมีการฉีดซ้ำ
4. มีโอกาสแผลติดเชื้อ (แต่โอกาสน้อยมาก)
5. ผู้ป่วยบางรายมีความดันตกในขณะฉีดซีเมนต์ สาเหตุจากหัวใจที่ช้าลงเนื่องจากสารละลายในซีเมนต์นั้น
โดย: หมอหมู วันที่: 25 กรกฎาคม 2555 เวลา:2:56:40 น.
  
Vertebroplasty and Kyphoplasty
นพ.ภราดร กุลเกลี้ยง ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ รพ.สมิติเวชศรีราชา

Vertebroplasty and Kyphoplaasty
 A procedure for treatment of vertebral compression fracture
 Pain has been refractory to conservative treatment
 Intraosseous injection of acrylic cement
 Useful for treatment of osteoporosis,trauma and tumour

Vertebroplasty
 1984 1st report in France for treatment of cervical vertebral hemangioma

Mechanism for pain relief
 Acrylic fusion preventing the painful motion
 Heat production by polymerization process
 Additional benefit
 Increased strength of osteoporotic bone
 Decreased repeated fracture

Incidence
 700,000 per year osteoporotic fracture
 260,000 per year vertebral fracture
 Female > male
 1/3 of cases are painful and refractory to conservative treatment

Kyphoplasty






Indication for vertebroplasty
 Osteoporotic vertebral compression fracture
 > 2 weeks old
 Moderate to severe pain
 Unresponse to conservative treatment
 Painful metastasis or multiple myeloma with or without adjuvant therapy
 Painful vertebral hemangioma
 Vertebral osteonecrosis
 Reinforcement of pathologic vertebral body before surgical stabilization

contraindication
 Absolute contraindication
 Healed osteoporotic vertebral fracture
 Untreated coagulopathy
 Discitis ,osteomyelitis or sepsis
 Relative contraindication
 Canal compromised by fracture fragment or tumour
 Fracture more than 12 months
 Collaps > 80-90% of body height

Results of vertebroplasty
 85-90% have rapid pain relief
 Complication
 1-3 % for osteoporotic fracture
 7-10 % for malignant fracture
 Infection
 Worsening of pain/neurological problem
 Acrylic leakage

Benefit of vertebroplasty
 Long term pain relief
 12-35 months after procedure
 Increase ability to performed activity of daily living
 Low incidence of major complication

โดย: หมอหมู วันที่: 13 ตุลาคม 2565 เวลา:14:25:27 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

บทความทั้งหมด