มะเร็งกระดูก เนื้องอกกระดูก ชนิดไจแอนท์เซลทูเมอร์ (Giant Cell Tumor, GCT ) Osteosarcoma เนื้องอกกระดูก ชนิด ไจแอนท์เซล ทูเมอร์ (Giant Cell Tumor, GCT ) ไจแอนท์ เซล = เซลขนาดใหญ่ ทูเมอร์ = เนื้องอก ไจแอนท์เซล ทูเมอร์ = เนื้องอกที่มีเซลขนาดใหญ่ เป็นเนื้องอกชนิดที่ไม่ร้ายแรง แต่ก็อาจมีการทำลายเนื้อกระดูก หลังจากรักษาแล้วกลับมาเป็นซ้ำ และสามารถแพร่กระจายไปยังตำแหน่งอื่น ๆ เช่น ปอด (3 %) ซึ่งมักพบใน 3 5 ปี ในอเมริกาและยุโรป พบได้ 5 % ของเนื้องอกกระดูกทั้งหมด(แบบร้ายแรงและไม่ร้ายแรง) และ 21 % ของเนื้องอกกระดูกแบบไม่ร้ายแรง พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในอัตราส่วน1.3-1.5:1 พบบ่อยในช่วงอายุ 30 40 ปี ตำแหน่งที่พบ มักอยู่ส่วนปลายของกระดูก 50% พบในบริเวณเข่า รองไปก็เป็น ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเท้า กระดูกก้นกบ ผู้ป่วยมักมาด้วย อาการปวด บางรายมาด้วยมีกระดูกหัก ( 11 37 % ) การวินิจฉัย เอกซเรย์ปกติ เอกเรย์คอมพิเตอร์ (CT) เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การตรวจชิ้นเนื้อ แนวทางรักษา การผ่าตัด เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด มีหลายวิธี เช่น ขูดเนื้องอกออกแล้วใส่เนื้อกระดูกหรือซีเมนต์กระดูก ตัดกระดูกออกทั้งชิ้น ไปจนถึง ตัดอวัยวะ ขูดเนื้องอกออกแล้วใส่เนื้อกระดูกหรือซีเมนต์กระดูก มีข้อดีคือ กระดูกและอวัยวะใกล้เคียงเดิม แต่ ข้อเสียคือ มีโอกาสเป็นซ้ำ 10 29 % ถ้าผ่าตัดไม่ได้ จึงจะใช้วิธี ฉายแสง ฉีดสารอุดเส้นเลือด หลังการรักษา 2 - 5 ปี ต้องมาตรวจซ้ำเป็นระยะ เพื่อตรวจร่างกาย เอกซเรย์กระดูก เอกซเรย์ปอด โดยเฉพาะถ้ามีอาการปวด บวม บริเวณที่ผ่าตัด ต้องรีบมาพบแพทย์ เพราะอาจแสดงว่า กลับมาเป็นเนื้องอกซ้ำอีก ผลการรักษาค่อนข้างดี ยกเว้น ถ้าแพร่กระจายไปที่ปอด มีโอกาสทำให้เสียชีวิต 16 25 % ซึ่งจะรักษาด้วย วิธี ผ่าตัด ฉายแสง เคมีบำบัด และยาอินเตอร์เฟรอน ( interferon alpha) อ้างอิง .. https://emedicine.medscape.com/article/1255364-overview https://www.bonetumor.org/tumors/pages/page106.html https://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=A00080 สำหรับท่านที่สนใจรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติม เกี่ยวกับเนื้องอกของกระดูก เมื่อมะเร็ง...แพร่กระจายไปที่กระดูก ! นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ https://www.healthtoday.net/thailand/disease/disease_81.html สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ https://www.chulacancer.net/ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเร็งกระดูก https://www.chulacancer.net/patient-knowledge.php โรคมะเร็งกระดูก โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล https://med.mahidol.ac.th/cancer_center/th/knowledge/bone_cancer เวบหาหมอ.com https://haamor.com/th/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81/ Bone Tumors and Tumorlike Conditions: Analysis with Conventional Radiography1 https://radiology.rsnajnls.org/cgi/content/figsonly/246/3/662 Welcome to our Bone Tumor Pathology https://www.umdnj.edu/tutorweb/introductory.htm *************************************** ![]() สืบเนื่องจากข่าวนักกีฬาเป็นมะเร็งกระดูกต้นขามีผู้สอบถามทั้งที่คลินิกและส่งข้อความมาสอบถาม เพราะเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า " เกิดอุบัติเหตุขณะเล่นกีฬาขาหักแล้วกลายเป็นมะเร็ง " พ่อแม่หลายท่านเลยกังวลจะห้ามไม่ให้ลูกเล่นกีฬา ... แต่ในความเป็นจริงคือ " เป็นมะเร็งกระดูกอยู่แล้วพอเกิดอุบัติเหตุขณะเล่นกีฬาทำให้กระดูกหัก " ...ไม่ต้องกังวลเรื่องการเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุทำให้กลายเป็นมะเร็ง สรุปว่า "การเล่นกีฬา หรือ อุบัติเหตุขณะเล่นกีฬา ไม่ทำให้กลายเป็นมะเร็งกระดูก"ช่วยกันสนับสนุนเด็ก ๆ ให้เล่นกีฬากันต่อไปอย่างสบายใจ
เชิญแวะไปอ่านเรียนรู้ร่วมกัน เวลามีข่าว จะได้เข้าใจ ไม่ตกใจทุกข์ใจเพราะข่าวคลาดเคลื่อน https://medthai.com/มะเร็งกระดูก/ https://haamor.com/th/มะเร็งกระดูก/ https://www.thairath.co.th/content/287643 https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/512587
เด็กสาวนักบัลเล่ต์วัย15แม้ต้องเสียขาด้วยโรคมะเร็ง แต่เธอก็ไม่ย่อท้อ https://women.kapook.com/view158716.html เอกสารประกอบการสอนไฟล์เอกสารword ********************************************** ![]() ที่มาเฟสดร่าม่าแอดดิก https://www.facebook.com/DramaAdd/posts/10156623604518291 เป็นเรื่องที่ หมอกระดูกและข้อ สักวันต้องได้เจอ .. หวังว่า เรื่องแบบนี้ น่าจะลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ ปล. ปัจจุบันมีความรู้ทางการแพทย์ในอินเตอร์เนตเยอะแยะ เชื่อถือได้บ้าง เชื่อไม่ได้บ้าง .. แต่ที่เห็นเป็นข่าวมักไม่น่าเชื่อถือ กลับเชื่อ ? ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับโรคมะเร็งจาก รพ.จอห์น ฮอพกินส์ เป็นเรื่องโกหกแต่เชื่อ ? https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-12-2012&group=7&gblog=170 ยาหมอแสง ความรู้สำหรับประชาชนทั่วไป ... กระทู้ แนะนำ ใน พันทิบ ๘กพ.๖๑ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-02-2018&group=27&gblog=34 FW mail ... รวมสินค้า (แหกตา) โดนแล้วจะตาแหก... https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-01-2010&group=7&gblog=46 ภัยจากนามบัตร แถม ยาป้าย ( ใครที่มีสุตรยาป้าย ถ้าได้ผลจริง มีคนให้เงินล้าน ไม่ต้องไปป้ายข้างถนน) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-02-2009&group=7&gblog=13 ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค่ะ
![]() โดย: โยเกิตมะนาว
![]() เมื่อมะเร็ง...แพร่กระจายไปที่กระดูก ! นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ //www.healthtoday.net/thailand/disease/disease_81.html “มะเร็ง” เป็นโรคที่ทุกคนภาวนาให้ไม่เกิดขึ้นกับตัว แต่ชีวิตก็ยากกำหนด ความรู้เท่านั้นที่จะช่วยให้เราเท่าทันโรคภัย สู้และอยู่กับมันได้อย่างราบรื่นที่สุด โดยเฉพาะคนที่เลี่ยงไม่ได้กับโรคมะเร็ง ความน่ากังวลของโรคนี้คือการที่เกิดขึ้นกับอวัยวะสำคัญๆ และการกระจายตัวไปสู่อวัยวะอื่นๆ รวมทั้งกระดูกด้วย โรคมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่กระดูกจัดเป็นโรคที่พบบ่อย จากข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าในแต่ละปีจะมีผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเพิ่ม ขึ้นประมาณ 1.2 ล้านคน และประมาณ 600,000 คนจะมีมะเร็งแพร่กระจายมาที่บริเวณกระดูก กระดูกเป็นอวัยวะที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งเป็นอันดับที่ 3 รองลงมาจากปอด และตับ !! มะเร็งที่มักแพร่กระจายมายังบริเวณกระดูก คือ มะเร็งของเต้านม ปอด ต่อมลูกหมาก ต่อมธัยรอยด์และไต พบในเด็กน้อยกว่าผู้ใหญ่ มักจะพบในคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และพบในผู้ชายมากกว่าหญิง ตำแหน่งของกระดูกที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งมักเป็นกระดูกบริเวณแกนกลางของ ร่างกาย เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง และกระดูกเชิงกราน ส่วนในกระดูกระยางค์ มักพบในบริเวณกระดูกต้นขาส่วนต้น และกระดูกต้นแขนส่วนต้น ในกรณีที่มะเร็งมาที่กระดูกคนที่เป็นมะเร็งปอดมีแนวโน้มของโรคที่แย่ที่ สุดกว่ามะเร็งชนิดอื่น ปวดมากขึ้น ต่อเนื่องยาวนาน คือสัญญาณเตือน เมื่อมะเร็งกระจายมาที่กระดูกจะทำให้ปวด มักจะปวดนานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน มักจะปวดตลอดเวลา และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่สามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดธรรมดา นอกจากนี้บางคนปวดมากและไปหาหมอเพราะกระดูกหัก บางครั้งแค่ล้มก็ทำให้เกิดกระดูก หักได้ อาการอีกอย่างที่สำคัญของมะเร็งกระจายไปที่กระดูก คือ ปวดหลังร่วมกับอ่อนแรง และชาบริเวณขา เนื่องจากมะเร็งแพร่มาที่กระดูกบริเวณสันหลัง จนมีการกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง ประเมินล่วงหน้า เพื่อรักษาเต็มประสิทธิภาพ การประเมินว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายมาที่กระดูกมีความสำคัญมาก เพื่อนำไปสู่การรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องพบแพทย์ต่อเนื่อง เพื่อติดตามอาการ ตรวจร่างกายเป็นระยะ ทั้งทางห้องปฏิบัติการหรือตรวจพิเศษด้วยภาพถ่ายทางรังสี คอมพิวเตอร์ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมถึงการส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ตรวจร่างกายทุกระบบอย่างละเอียด รวมถึงตำแหน่งที่มีอาการ เช่น ถ้ามีอาการปวดบริเวณหลังต้องคลำหาจุดกดเจ็บ ตรวจระบบประสาท และต้องหาตำแหน่งที่อาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้ เช่น เต้านม ต่อมลูกหมาก ต่อมธัยรอยด์ ปอด รวมถึงลักษณะทั่วไปด้วย เช่น ภาวะซีด ภาวะโภชนาการของคน เป็นมะเร็ง ตรวจทางห้องปฏิบัติการ และเครื่องมือต่างๆ บอกอะไร? • การตรวจเลือด มีความจำเป็นต้องตรวจ เพื่อดูสภาพทั่วไป เช่น ภาวะความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด เนื่องจากคนเป็นมะเร็งส่วนใหญ่มักมีอาการซีด การตรวจความเข้มข้นของปริมาณแคลเซียมในกระแสเลือด ซึ่งมักจะสูงในคนเป็นโรคมะเร็งแพร่กระจายมาที่กระดูก • การตรวจหาค่าบ่งชี้ tumor marker ที่จำเพาะเจาะจงกับมะเร็ง เช่น ค่าPSA ซึ่งมักจะสูงในมะเร็งต่อมลูกหมาก • ทำ bone scan ซึ่งเป็นการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในร่างกายเพื่อศึกษากระดูกในส่วนที่มะเร็งแพร่กระจายไปจะช่วยในการติดตามดูแลรักษา และวินิจฉัยแยกโรค • การตรวจภาพทางรังสี (X-ray) มีความสำคัญมากในการวินิจฉัย ควรตรวจในตำแหน่งที่มีอาการเจ็บปวดผิดปกติ การตรวจด้วยภาพรังสีบริเวณทรวงอก ก็ช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งปอดได้ ลักษณะของรอยโรคที่พบในบริเวณโรคนั้นมักพบทั้งการสร้างและการทำลายของกระดูก อาจพบภาวะกระดูกหักที่ไม่รุนแรง และพบรอยโรคของการทำลายกระดูกในตำแหน่งที่มีกระดูกหัก • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ช่วยบอกถึงการทำลายกระดูก และภาวะการเกาะตัวของหินปูนในตำแหน่งของรอยโรค • การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) สามารถ ตรวจความผิดปกติของกระดูกที่เกิดภายนอกกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนดูขอบเขตของ การลุกลามของมะเร็งได้ดีมาก ถ้าเป็นรอยโรคในบริเวณกระดูกสันหลังก็จะช่วยให้เห็นการกดไขสันหลังการทำลาย ของกระดูกได้ • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิสภาพ เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการวินิจฉัย การตรวจชิ้นเนื้อมี 2 วิธี คือตรวจชิ้นเนื้อแบบไม่มีแผลเปิด ซึ่งใช้เข็มในการเจาะตรวจชิ้นเนื้อมาตรวจและการผ่าตัดเปิดแผล เอาชิ้นเนื้อออกมาตรวจ ซึ่งการพิจารณาวิธีการนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของรอยโรค รวมถึงประสบการณ์และความชำนาญของแพทย์ผู้ให้การรักษา รักษาได้ไหม เมื่อมะเร็งกระจายสู่กระดูก ประมาณ 80% ของมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่กระดูกมาจากมะเร็งของเต้านม ต่อมลูกหมาก ต่อมธัยรอยด์ ปอด และไต เป้าหมายในการรักษาเพื่อลดอาการเจ็บปวด และรักษาสภาพจิตใจของคนเป็นมะเร็งให้สามารถเคลื่อนไหว ช่วยตนเองได้ และสามารถกลับสู่สังคมได้ เพราะมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่กระดูกก่อให้เกิดภาวะที่ไม่สามารถเคลื่อนไหว ได้ เนื่องจากการกดทับของไขสันหลัง ทำให้เป็นอัมพาต กระดูกหัก หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ระดับแคลเซียมในกระแสเลือดสูงทำให้อาจมีอาการชัก ความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ และภาวะขาดน้ำ การรักษาผู้ที่มะเร็งแพร่กระจายมายังกระดูกนั้นจึงเป็นการดูแลร่วมกันของทีม แพทย์ ได้แก่ แพทย์มะเร็ง ศัลยแพทย์กระดูก แพทย์รังสีรักษา แพทย์รักษาความเจ็บปวด รวมถึงจิตแพทย์ที่จะช่วยในการรักษาอาการซึมเศร้าและบรรเทาจิตใจ ผ่าตัด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การผ่าตัดจะทำโดยศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เพื่อลดความเจ็บปวด และทำให้สามารถ ใช้อวัยวะส่วนนั้นๆ ได้ใกล้เคียงปกติ การผ่าตัดส่วนใหญ่เป็นการรักษาแบบประคับประคองมากกว่าที่จะรักษาให้หายขาด คนเป็นมะเร็งบางคนอาจมีโอกาสกระดูกหักแต่ยังไม่หัก ก็อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกเพื่อป้องกันการหัก ส่วนการรักษาคนที่กระดูกหักจากมะเร็งลุกลามมาที่กระดูกแล้วขึ้นอยู่กับ ลักษณะตำแหน่งของกระดูกที่เกี่ยวข้องการตอบสนองต่อรังสีรักษาและเคมีบำบัด สุขภาพทั่วไป ระยะของโรค ระยะเวลาชีวิตที่เหลือ หลักการในการผ่าตัดนั้นควรจะผ่าตัดที่เบ็ดเสร็จเรียบร้อยภายในครั้งเดียว เพราะคนกลุ่มนี้มีสุขภาพทั่วไปไม่แข็งแรง ในคนที่ยังไม่มีกระดูกหัก แต่มีรอยโรคในส่วนของกระดูกระยางค์และมีความเสี่ยงที่กระดูกจะหักสูงมาก อาจต้องผ่าตัดยึดตรึงกระดูก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง ซึ่งรอยโรคมักมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 2.5 เซนติเมตร มีการทำลายกระดูกมากกว่า 50% ของเส้นผ่าศูนย์กลางของกระดูก อาการปวดมาก ไม่สามารถทุเลาลงด้วยยาแก้ปวด และพิจารณาลักษณะของการทำลายกระดูกร่วมด้วย ภายหลังการผ่าตัดทุกรายจำเป็นต้องได้รับการฉายรังสีรักษาที่บริเวณผ่าตัด เพื่อลดโอกาสการเกิดซ้ำของมะเร็งเฉพาะที่ และลดปัญหาการเกิดการหักหลวมของวัสดุที่ใช้ในการยึดตรึงกระดูก หรือทดแทนกระดูกส่วนนั้น บางครั้งถ้าแพทย์คาดการณ์ภาวะมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่กระดูกได้ดี คนๆ นั้นก็สามารถมีชีวิตยืนยาวได้ นอกจากการผ่าตัดรักษาทาง ร่างกายแล้วยังต้องช่วยกันรักษาทางจิตใจด้วย การให้กำลังใจคือสิ่งสำคัญที่สุดที่ทั้งแพทย์และญาติผู้ดูแลสามารถช่วยกันได้ ยิ่งผู้ที่เป็นมะเร็งมีความศรัทธาต่อทีมผู้รักษา ก็จะยิ่งช่วยกันสร้างความรู้สึกให้เขารู้สึกว่าตนเองมีค่า ช่วยฟื้นฟูจิตวิญญาณ โดยการดึงความภาคภูมิใจที่เขามีอยู่ให้กลับคืนมา...พลังใจมีอำนาจยิ่งใหญ่ เสมอ คนเราอาจจะชนะโรคภัยได้ด้วยหัวใจอันเข้มแข็งครับ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() โดย: หมอหมู
![]() ![]() สวัสดีค่ะหมอหมู
เเวะมาอ่านได้ความรู้ดีค่ะ พอดีแฟนมีอาการปวดข้อมืออยู่เรื่อยๆ เป็นๆหายๆ บางครั้งปวดมากบางครั้งปวดน้อย เคยให้หมอที่นี่ตรวจดูหมอก็ว่าไม่เป็นอะไร แต่ทำไมอาการปวดมันไปหายไป เป็นมาได้ 2 ปีได้แล้วค่ะ นอกจากนี้เขายังปวดหลัง(เขากระดูกสันหลังงอตั้งแต่เกิดค่ะ)และปวดหูข้างนึง เวลานอนทับหูตัวเองตื่นขึ้นมาต้องทานยาพาราอยู่บ่อยๆ เป็นเรื่อยก็ทานยาพาราเรื่อย เลยคิดว่าจะพาไปหาหมอที่ไทยให้หมอไทยตรวจดู เผื่อจะได้รู้สักทีว่าเป็นอะไรกันแน่ ขอบคุณข้อมูลดีๆที่คุณหมอเอามาลงนะค่ะ ![]() โดย: makampom-ta
![]() //www.newswit.com/food/2012-09-20/1c6536d5d44bfdfa3f57ac1b324ab9e6/
โรคมะเร็งกระดูก สามารถรักษาให้หายขาดได้หากเข้ารับการรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก โดยจะทำการผ่าตัดนำเอากระดูกที่เป็นมะเร็งออกทั้งหมดและใส่กระดูกเทียมทดแทนในบริเวณดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยไม่มีความพิการและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นายแพทย์อนันต์ เสรฐภักดี รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรง โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ จึงได้จัดตั้งศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านออร์โธปิดิกส์ มีหน้าที่ในการศึกษา วิจัย พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และให้บริการเฉพาะทางสาขาต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับข้อและกระดูก นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กล่าวว่า ในอดีตการรักษามะเร็งกระดูกด้วยวิธีการตัดอวัยวะเหนือส่วนที่เป็นมะเร็งออก ซึ่งผู้ป่วยยังคงมีอัตราการเสียชีวิตสูง ปัจจุบันได้นำวิธีให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการผ่าตัดทำให้การรักษาได้ผลเป็นที่พอใจ อัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60-65 มะเร็งกระดูกแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 1.มะเร็งกระดูกที่เกิดจากความผิดปกติภายในเซลล์ของเนื้อกระดูก พบได้ในเด็กวัยรุ่นช่วงอายุ 15 19 ปี หากตรวจพบในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ 2.มะเร็งกระดูกที่มีต้นกำเนิดจากอวัยวะต่าง ๆ เช่น ปอด เต้านม ต่อมไทรอยด์ ต่อมลูกหมากแล้วกระจายไปสู่กระดูก ทางการแพทย์จัดว่าเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40-50 ปีขึ้นไป ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสิน มีความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งกระดูกอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ได้จัดทำโครงการ Osteosarcoma Fast Track เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการรักษาให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งกระดูกมากยิ่งขึ้น โดยการนำเข็มพิเศษมาใช้ในการเจาะชิ้นเนื้อไปตรวจร่วมกับการใช้เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ในการหาตำแหน่งเนื้องอกได้ถูกต้อง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องผ่าตัดสองครั้ง นายแพทย์ปิยะ เกียรติเสวี นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ด้านเวชกรรม สาขาออร์โธปิดิกส์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยมะเร็งกระดูกมักมาพบแพทย์ด้วยอาการปวด บวม หรือมีก้อนบริเวณที่เป็น ซึ่งอาจแยกได้ยากจากอาการปวดกล้ามเนื้อ หากอาการปวดไม่ดีขึ้นหรือมีอาการบวมมากขึ้นหลังจากได้รับการรักษาในเบื้องต้นประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรือมีอาการปวดช่วงกลางดึกหลังจากหลับไปแล้ว ควรพบแพทย์อีกครั้งเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยต่อไป สำหรับขั้นตอนการรักษามะเร็งกระดูกโดยเฉพาะมะเร็งกระดูกที่มีต้นกำเนิดจากกระดูกเอง วิธีการคือ แพทย์จะให้ยาเคมีบำบัดหลังจากนั้นจะทำการผ่าตัดและให้เคมีอีกครั้งหนึ่ง การผ่าตัดรักษามะเร็งกระดูกทำได้ 2 แบบ คือ การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งกระดูกออกทั้งหมด รวมทั้งกล้ามเนื้อและกระดูกที่อยู่ใกล้ส่วนที่เป็นมะเร็งออก หลังการนั้นอาจใส่กระดูกทดแทนซึ่งนำมาจากบริเวณสะโพกของผู้ป่วย กระดูกเทียมหรือกระดูกที่ได้รับจากการบริจาค และการผ่าตัดอวัยวะเหนือส่วนแขนหรือขาที่เป็นมะเร็งออก ใช้ในกรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่และอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถผ่าตัดเก็บอวัยวะได้ เนื่องจากกระดูกบริจาคที่ใช้เป็นกระดูกทดแทนมีไม่เพียงพอ และโลหะที่ใช้ทำกระดูกเทียมมีราคาสูงทำให้ผู้ป่วยบางรายขาดโอกาส จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาค ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูกให้มีชีวิตที่ดีขึ้น โดยบริจาคได้ที่ กองทุนมะเร็งกระดูก มูลนิธิโรงพยาบาลเลิดสิน โทร.0-2235-7337 ติดต่อ: ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมการแพทย์ 0 25818254 , กองทุนมะเร็งกระดูก มูลนิธิโรงพยาบาลเลิดสิน โทร.0-2235-7337 โดย: หมอหมู
![]() //www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=851
มะเร็งกระดูก ร.ศ. น.พ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล ภาควิชาศัลยศาสตรออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในร่างกายของเราประกอบด้วยกระดูก 206 ชิ้น ซึ่งมีหน้าที่หลายประการ เช่น ปกป้องอวัยวะภายใน ได้แก่ กะโหลกศีรษะช่วยป้องกันสมอง กระดูกซี่โครงช่วยปกป้องอวัยวะภายในทรวงอก ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือด รวมทั้งกระดูกยังเป็นที่เกาะของกล้ามเนื้อเพื่อใช้ในการเคลื่อนไหวและรับน้ำหนักของร่างกาย หน่วยที่เล็กที่สุดของร่างกายมนุษย์ เรียกว่า เซลล์ ซึ่งสามารถเจริญเติบโตอย่างปกติโดยอยู่ในความควบคุมของร่างกาย แต่เมื่อเซลล์นั้นมีความปกติ สามารถแบ่งตัวเจริญเติบโตโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้กลายเป็นเนื้องอกตามอวัยวะที่ผิดปกตินั้น ๆ เนื้องอกแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เนื้องอกชนิดไม่ร้ายและเนื้องอกชนิดร้าย เนื้องอกชนิดไม่ร้ายจะมีการดำเนินโรคที่ไม่รุนแรงไม่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น และมักไม่ทำผู้ป่วยเสียชีวิต ในกรณีที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดที่เหมาะสม มักจะหายขาดและมีโอกาสกลับเป็นซ้ำน้อยกว่าเนื้องอกชนิดร้าย เนื้องอกชนิดร้ายหรือมะเร็งสามารถเติบโตทำลายอวัยวะที่อยู่ข้างเคียง เซลล์สามารถกระจายเข้าสู่กระแสโลหิตหรือระบบน้ำเหลืองไปอวัยวะอื่นได้ทั่วร่างกาย เช่น ไปที่ปอด ตับ หรือกระดูกที่อยู่ไกลออกไปจากเนื้องอกร้ายนั้น โรคมะเร็งในปัจจุบันมีมากกว่า 100 ชนิด โดยแบ่งตามชนิดของเซลล์ที่ผิดปกติตามอวัยวะที่เป็น เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งกระดูก เป็นต้น เนื้องอกกระดูกสามารถแบ่งตามลักษณะและสาเหตุการเกิดเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ เนื้องอกที่เกิดจากความผิดปกติในกระดูกนั้นๆ (เนื้องอกกระดูกปฐมภูมิ) และเนื้องอกชนิดอื่นที่แพร่กระจายมาที่กระดูก (เนื้องอกกระดูกทุติยภูมิ) โดยเนื้องอกกระดูกทุติยภูมิพบได้มากกว่าเนื้องอกกระดูกปฐมภูมิหลายเท่า มะเร็งที่มีการแพร่กระจายมาที่กระดูกได้บ่อย ได้แก่ มะเร็งปอด เต้านม ต่อมไทรอยด์ ต่อมลูกหมาก และไต เป็นต้น โดยเนื้องอกกระดูกปฐมภูมิพบเพียง 0.5 % ของเนื้องอกปฐมภูมิทุกชนิด เนื้องอกกระดูกปฐมภูมิสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ เนื้องอกกระดูกปฐมภูมิชนิดไม่ร้าย และเนื้องอกกระดูกปฐมภูมิชนิดร้าย (มะเร็งกระดูกปฐมภูมิ) อาการผิดปกติที่เกิดจากเนื้องอกกระดูก โดยทั่วไปอาการของเนื้องอกกระดูกจะมีอาการผิดปกติช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป โดยขึ้นกับชนิด ตำแหน่ง และขนาดของเนื้องอก อาการปวดเป็นอาการที่พบบ่อยสุดของมะเร็งกระดูก การคลำพบก้อน อาการชาและกล้ามเนื้ออ่อนแรงของแขนหรือขา การเกิดภาวะกระดูกหักในกระดูกที่มีพยาธิสภาพ หรืออาจไม่มีอาการใด ๆ ซึ่งเนื้องอกอาจพบโดยบังเอิญจากการถ่ายภาพรังสีตรวจร่างกายทั่วไปตามปกติ การวินิจฉัยเนื้องอกกระดูก การวินิจฉัยโรคเนื้องอกกระดูกจะต้องอาศัยการประเมินข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ป่วย ซึ่งประกอบด้วยการสอบถามประวัติของผู้ป่วยและครอบครัว การตรวจร่างกายอย่างละเอียด การส่งตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และการตรวจภาพรังสีชนิดต่าง ๆ การวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอกกระดูก ซึ่งได้จากการผ่าตัดตรวจชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เมื่อได้การวินิจฉัยโรคเนื้องอกกระดูกแล้ว จะต้องนำข้อมูลอื่น ๆ มาร่วมพิจารณาเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งประกอบด้วยการตรวจประเมินระยะของโรคอายุและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ขนาด และตำแหน่งของเนื้องอก การรักษาเนื้องอกกระดูก เนื้องอกกระดูกปฐมภูมิชนิดไม่ร้ายมีการรักษาได้หลายรูปแบบตามแต่ชนิดย่อยของเนื้องอก เช่น ในเนื้องอกที่พบว่าเป็นมานานและผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติจากเนื้องอกดังกล่าว เพียงแต่ให้คำแนะนำ และนัดติดตามการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาหรือผ่าตัดรักษา ในกรณีที่เนื้องอกกระดูกโตอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยเกิดอาการผิดปกติจากเนื้องอกดังกล่าว อาจพิจารณารักษาโดยการผ่าตัด เป็นต้น การรักษาเนื้องอกกระดูกปฐมภูมิชนิดร้าย และเนื้องอกกระดูกทุติยภูมิจะมีความแตกต่างจากเนื้องอกปฐมภูมิชนิดไม่ร้ายค่อนข้างมาก การรักษาประกอบด้วยการผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัด หรือการใช้รังสีรักษา โดยพิจารณาใช้วิธีการรักษาเป็นราย ๆ ไป บางกรณีอาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน การผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาที่สำคัญโดยมีหลายวิธี เช่น การตัดเนื้องอกออก การยึดตรึงกระดูกด้วยโลหะ การตัดเนื้องงอกร่วมกับการตัดแขนหรือขาที่เป็นโรคออก ซึ่งต้องมีการทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และใส่อุปกรณ์แขนขาเทียมร่วมด้วยในภายหลัง การใช้ยาเคมีบำบัดเพื่อฆ่าทำลายเซลล์มะเร็ง มีการให้ยาได้หลายรูปแบบ เช่น ยาฉีด หรือยารับประทาน ส่วนการใช้รังสีรักษานั้นมีผลในการฆ่าทำลายเซลล์มะเร็ง ช่วยลดขนาดของเนื้องอก หรือใช้ระงับปวดก็ได้ การรักษามะเร็งกระดูกโดยวิธีดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะการใช้ยาเคมีบำบัดและการใช้รังสีรักษาเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงมาก นอกจากจะทำลายเซลล์มะเร็งแล้ว เซลล์ปกติบางส่วนของร่างกายจะได้รับผลกระทบได้ เช่น ทำให้ผมร่วง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หรืออาการอ่อนเพลีย ปริมาณเม็ดเลือดลดน้อยลงจากการได้รับยาเคมีบำบัด ผิวหนังแห้งแข็งตึงจากการได้รับรังสีรักษา แนวทางการรักษาเนื้องอกกระดูกในอนาคต ถึงแม้ว่าปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุทั้งหมดที่แท้จริงของการเกิดเนื้องอกกระดูกได้ แต่ได้มีความพยายามในการศึกษาวิจัยเพื่อที่จะเข้าใจถึงสาเหตุกลไกการเติบโตการแพร่กระจาย การรักษาให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคร้าย รวมถึงวิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ตั้งแต่ระยะตัวอ่อนในครรภ์มารดา ปัจจุบันมีการศึกษาในระดับยีนและการใช้เซลล์อ่อนเพื่อหวังผลในการป้องกันและรักษาเพื่อให้หายขาดจากโรคในอนาคต โดย: หมอหมู
![]() |
บทความทั้งหมด
|