หัวกระดูกสะโพกตาย จากการขาดเลือด ในเด็ก Legg-Calve'-Perthes disease


หัวกระดูกสะโพกตาย จากการขาดเลือด ในเด็ก

LCP , Perthes disease , Legg Perthes disease , Legg-Calve'-Perthes disease

ในประเทศอเมริกา พบ 1 ต่อ 1200 ในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี

พบบ่อยในเด็กอายุ 4 - 8 ปี ( 2 – 14 ปี) พบในเด็กชาย มากกว่า เด็กหญิง ( 4 : 1 )

พบเป็นทั้งสองข้าง ร้อยละ 10



สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด มีประวัติในครอบครัว ร้อยละ 1.6 – 20

เชื่อว่า เกิดจากเส้นเลือดตีบ จากสาเหตุอะไรก็ตาม ทำให้หัวสะโพกขาดเลือดมาเลี้ยง ทำให้เนื้อกระดูกภายในส่วนหัวตาย และ ยุบตัวลง


อาการ

ปวดตึงที่ ขาหนีบ ต้นขา หรือ เข่า เดินกระเผลก เนื่องจากขาสองข้างไม่เท่ากันและหัวสะโพกผิดรูป

ช่วงแรกจะเป็น ๆ หาย ๆ บางช่วงก็จะปวดมาก บางครั้งก็ไม่ปวด แต่เดินกะเผลก

อาการมักไม่สัมพันธ์กับลักษณะของการเปลี่ยนแปลงในภาพเอกซเรย์


การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

• เอกซเรย์ธรรมดา

• เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI )

• ฉีดสีเข้าข้อสะโพก


ปัจจัยทีมีผล ต่อ ผลการรักษา

• อายุของเด็กเมื่อเริ่มเป็นโรค อายุยิ่งน้อย ผลการรักษายิ่งดี โดยเฉพาะ อายุน้อยกว่า 5 ปี

• อ้วน ถ้าน้ำหนักมาก ผลก็มักไม่ค่อยดี

• บริเวณที่เนื้อหัวกระดูกสะโพกตาย ถ้ามีบริเวณกว้าง หัวกระดูกสะโพกก็จะมีโอกาสผิดรูปมากขึ้น ผลไม่ค่อยดี

• ข้อสะโพกเคลื่อน ในขณะที่ยืนลงน้ำหนัก ถ้ามีข้อสะโพกเคลื่อน ผลการรักษาก็จะไม่ดี

• การเคลื่อนไหวของข้อสะโพก ถ้าเคลื่อนไหวได้น้อย ผลก็จะไม่ค่อยดี



แนวทางรักษา

ไม่ผ่าตัด เช่น

นอนพัก

ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ

กายภาพบำบัด ใส่เฝือก (4–6 อาทิตย์) ใส่กายอุปกรณ์ (18–24 เดือน) หรือ ใช้อุปกรณ์ดึงถ่วงน้ำหนักที่ขา ถ้าปวดมาก อาจต้องดึงนาน 2-4 อาทิตย์ เมื่ออาการปวดลดลงและเคลื่อนไหวข้อสะโพกได้ดีขึ้น ก็ให้เดินโดยใช้ไม้ค้ำยัน




ผ่าตัด

มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับ ความผิดปกติของหัวสะโพก เช่น ผ่าตัดกระดูกสะโพก กระดูกต้นขา หรือ กระดูกเชิงกราน




ผลการรักษา ในระยะยาว ค่อนข้างได้ผลดี

ผู้ป่วยร้อยละ 60 สามารถดำเนินชีวิตได้ปกติ

โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มเป็นอายุน้อยกว่า 5 ปี ( ถ้าอายุมากกว่า 9 ปี ได้ผลดีเพียง 10-15 %)

เด็กชาย จะมีผลการรักษาดีกว่า เด็กหญิง



อ้างอิง


//orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=A00070&return_link=0

//emedicine.medscape.com/article/826935-overview

//www.wheelessonline.com/ortho/legg_calve_perthes_disease

//www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001264.htm

//www.patient.co.uk/doctor/Legg-Calve-Perthes-Disease.htm
//www.orthoseek.com/articles/perthes.html

//www.peds-ortho.com/perthes.html

//www.eorthopod.com/public/patient_education/6624/perthes_disease.html





แถม ...

ภาวะ หัวกระดูกสะโพกตาย จาก การขาดเลือด ในผู้ใหญ่

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-08-2008&group=5&gblog=37








Create Date : 20 กรกฎาคม 2552
Last Update : 20 กรกฎาคม 2552 19:32:58 น.
Counter : 10786 Pageviews.

1 comments
วิ่งข้างบ้าน 6,10 เม.ย.2568/อื่นๆ/ค่าฝุ่นPM2.5 อุทัยธานี สองแผ่นดิน
(10 เม.ย. 2568 22:25:47 น.)
ปั่นจักรยานเที่ยวรำลึกบ้านเกิด -บุรีรัมย์ ในรอบ 10 กว่าปี กะริโตะคุง
(27 มี.ค. 2568 14:46:04 น.)
สำหรับคนรักสุขภาพ!!! เทรนด์ยอดฮิตที่กำลังมาแรงในตอนนี้. นอกจากการออกกำลังกายแล้วนั้นคือ “แช่เท้าด้วย newyorknurse
(13 เม.ย. 2568 01:22:54 น.)
New challenge : เป้าหมายและจุดยืน nonnoiGiwGiw
(19 มี.ค. 2568 13:48:36 น.)
  
สวัสดีคะคุณหมอ

ช่วงนี้สนใจเรื่องกระดูกเพราะน้องหมาที่บ้านเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมคะ
หมากับคนก็คงคล้าย ๆ กัน ตอนนี้ก็ต้องพาน้องหมาไปทำกายภาพ และคิดว่าสิ้นปีนี้คงจะได้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกใหม่

อาการของน้องหมาที่บ้านคล้ายกับที่คุณหมอกล่าวไว้เลยคะ เนื่องจากปวดที่ข้อสะโพกทำให้มาเกรงที่ขาหนีบแทน ตอนนี้เลยมีอาการปวดตึงที่ขาหนีบ

ไว้จะแวะมาอ่านบ่อยๆ นะคะ เผื่อจะนำไปปรับใช้กับน้องหมาที่บ้านได้บ้าง
โดย: สาวญี่ปุ่น วันที่: 20 ตุลาคม 2552 เวลา:23:15:32 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

บทความทั้งหมด