โรครูมาตอยด์ในเด็ก โรครูมาตอยด์ในเด็ก ดัดแปลงจากเอกสาร ของสมาคมรูมาติซั่มแห่งประเทศไทย โรครูมาตอยด์ในเด็กเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคข้อที่มีจำนวนกว่า 50 โรค พบได้ในเด็ก แต่เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุด ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่จากการศึกษาพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อบางชนิด และพันธุกรรม โรครูมาตอยด์ในเด็กจะเป็นข้ออักเสบเรื้อรัง อาจมีข้ออักเสบอยู่นานเป็นเดือนหรือเป็นปี ในบางรายอาจเป็นไปตลอดชีวิต ในขณะที่บางรายอาจโชคดีที่โรคสามารถสงบลงได้หรือสามารถควบคุมโรคได้ อาการและอาการแสดง อาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามอาการนำเริ่มต้นของโรคดังนี้ 1. กลุ่มที่มีไข้สูง พบได้น้อย เด็กจะมีข้ออักเสบร่วมด้วย อาจมีตับม้ามโต มีปอดอักเสบและหัวใจอักเสบร่วมด้วย 2. กลุ่มที่มีข้ออักเสบหลายข้อ จะมีอาการและอาการแสดงคล้ายโรครูมาตอยด์ในผู้ใหญ่ 3. กลุ่มที่มีข้ออักเสบ 2-3 ข้อ ในกลุ่มนี้ถ้าเป็นเด็กหญิงอายุน้อยจะมีโอกาสเกิดตาอักเสบทำให้ตาบอดได้ ในขณะที่ถ้าเป็นเด็กชายและอายุมาก อาจมีกระดูกสันหลังอักเสบร่วมด้วยได้ การวินิจฉัยโรค ส่วนใหญ่แพทย์มักจะวินิจฉัยได้จาก ประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ การตรวจทางห้องปฏิบัติการมักไม่ช่วยในการวินิจฉัย แต่ช่วยแยกโรคที่คล้ายโรครูมาตอยด์ในเด็กออกไป การตรวจหารูมาตอยด์ในเลือดจะให้ผลลบ การตรวจทางภาพรังสีอาจช่วยบอกความรุนแรงของโรคและพยาธิสภาพที่ข้อถูกทำลาย แนวทางรักษา 1. การรักษาทางยา เช่น แอสไพริน ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ในรายที่ตอบสนองต่อการรักษาไม่ดีอาจต้องพิจารณาใช้เกลือทองคำ (gold salt) ในการรักษา แต่ยานี้มีผลข้างเคียงมาก ควรใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น 2. การบริหารร่างกาย จะช่วยให้ข้อมีการเคลื่อนไหวได้ดีไม่ติดขัด และเป็นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง 3. การผ่าตัด เป็นหนทางสุดท้ายที่นำมาใช้รักษา และจะพิจารณาในรายที่ข้อถูกทำลายอย่างมาก มีการผิดรูปไป หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อในข้อ เป็นต้น 4. การตรวจตา เด็กโรครูมาตอยด์โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีข้ออักเสบเพียง 2-3 ข้อ อาจมีปัญหาตาอักเสบได้ ซึ่งถ้าเป็นเรื้อรังและไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ เด็กจึงควรได้รับการตรวจตาจากจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 5. การดูแลจากครอบครัว ครอบครัวจะมีส่วนสำคัญมากในการช่วยการดูแลรักษาเด็กที่เป็นโรครูมาตอยด์ พ่อแม่ผู้ปกครองควรให้ความเห็นอกเห็นใจ ให้ความรัก ส่งเสริมให้เด็กได้รับการศึกษา ได้ออกกำลังกาย ปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง บางครั้งเด็กอาจมีอาการซึมเศร้า เนื่องจากเขาคิดว่าเขามีร่างกายไม่สมบูรณ์เช่นเด็กคนอื่น หรือ คิดว่าเขามีความผิดอะไร ทำไมจึงต้องเป็นเขาที่เป็นโรคนี้ เป็นต้น พ่อและแม่จะต้องให้กำลังใจ ปลอบโยนให้เขายอมรับความจริง 6. การดูแลจากโรงเรียน ถึงแม้เด็กที่เป็นโรครูมาตอยด์ จะมีความผิดปกติทางร่างกาย และ อาจมีรูปร่างเล็กกว่าเด็กคนอื่นในอายุที่เท่ากัน แต่สมองของเด็กเหล่านี้จะปกติ ครูจะต้องช่วยดูแลเด็ก ให้ความอบอุ่น คอยส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม ควบคุมการรับประทานยา และรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นที่โรงเรียน เพื่อให้พ่อแม่และแพทย์ทราบ เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงและให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไป ![]() |
บทความทั้งหมด
|
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=05-01-2008&group=5&gblog=2
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ กายภาพบำบัด
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=20-01-2008&group=5&gblog=3
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-02-2008&group=5&gblog=4
โรครูมาตอยด์ในเด็ก
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-02-2008&group=5&gblog=7
โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-03-2008&group=5&gblog=9
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ตรวจแลบ)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-02-2008&group=4&gblog=9
โรคข้ออักเสบ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-12-2007&group=5&gblog=1
เวบสมาคมรูมาติซั่มแห่งประเทศไทย ( หมออายุรกรรมโรคข้อ )
//www.thairheumatology.org/index.php
เวบสมาคมรูมาติซั่ม รายชื่อแพทย์รูมาโต ( หมออายุรกรรมโรคข้อ )
//www.thairheumatology.org/list_bkk.php