ข้อเข่าเสื่อม ( OA knee , Osteoarthritis knee ) ![]() เครดิต ภาพ https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/6-อาการควรรู้--ข้อเข้าเสื/ ข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด อาจเกิดจาก อายุที่มากขึ้น (มักพบในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป) น้ำหนักตัวมาก พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า และ จากการใช้ข้อไม่เหมาะสม สาเหตุอื่น ๆ เช่น อุบัติเหตุ การติดเชื้อในข้อ เป็นต้น เมื่อเกิดข้อเสื่อม จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง ภายในข้อ เช่น กระดูกอ่อนผิวข้อบางลง และ ผิวไม่เรียบ มีกระดูกงอกบริเวณขอบ ๆ ข้อ และ เกิดการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำไขข้อ ปริมาณมากขึ้น แต่ความยืดหยุ่นลดลง อาการและอาการแสดงของโรคข้อเข่าเสื่อม อาจพบอาการเพียงอาการเดียว หรือ หลายอาการพร้อมกันก็ได้ ในระยะแรกมักจะเป็นไม่มาก และ เป็น ๆ หาย ๆ แต่เมื่อข้อเสื่อมมากขึ้น ก็จะมีอาการบ่อยมากขึ้น หรือ เป็นตลอดเวลา • ปวดข้อเข่า รู้สึกเมื่อย ตึงที่ ต้นขา น่อง และ ข้อพับเข่า ผิวหนังบริเวณข้อ อุ่นหรือ ร้อนขึ้น • ข้อขัด ข้อฝืด เหยียด-งอเข่าได้ไม่สุด มีเสียงดังในข้อเวลาขยับข้อเข่า จากการเสียดสีกันของผิวข้อที่ไม่เรียบ • ข้อเข่าบวม เพราะน้ำไขข้อมากขึ้นจากการอักเสบ หรือ มีก้อนถุงน้ำในข้อพับเข่า ( เบเคอร์ ซีสต์ , Baker’s Cyst ) จากเยื่อบุข้อเข่าโป่งออก • เข่าคดเข้า เข่าโก่งออก หรือ มีกระดูกงอก ทำให้ข้อผิดรูปร่าง กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง เอกซเรย์ อาจพบสิ่งผิดปกติ เช่น ช่องของข้อเข่าแคบลง กระดูกงอก (ในผู้สูงอายุปกติ ที่ไม่มีอาการก็พบได้ ) ความผิดปกติทางเอกซเรย์ ไม่สัมพันธ์กับอาการปวด บางคนเอกซเรย์พบว่าข้อเสื่อมมากแต่กลับไม่ค่อยปวด โดยทั่วไปแล้ว แพทย์สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้โดยไม่จำเป็นต้องเอกซเรย์ ยกเว้นผู้ที่จะรักษาด้วยการผ่าตัด หรือ ผู้ที่รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ![]() แนวทางรักษา มีอยู่หลายวิธี เช่น • ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อหลีกเลี่ยงการงอเข่ามากเกินไป • กายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อาจใช้ ผ้ารัดเข่า เฝือกอ่อนพยุงเข่า (แต่ถ้าใช้นาน ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อลีบ) • ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ไตวาย ความดันโลหิตสูง เป็นต้น • ยากระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อนผิวข้อ (ปกติ กระดูกอ่อนผิวข้อจะไม่สร้างขึ้นใหม่) หรือ ยาชะลอความเสื่อม • ฉีดน้ำไขข้อเทียม ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นเฉลี่ย 6 เดือน – 1 ปี แต่มีราคาค่อนข้างสูง (13,000-16,000 บาท) • การผ่าตัด เช่น ผ่าตัดจัดแนวกระดูกใหม่เพื่อลดเข่าโก่ง ส่องกล้องเข้าไปในข้อ หรือ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม วิธีผ่าตัดถือว่าเป็นทางเลือกสุดท้าย จะใช้ในผู้ที่มีอาการมาก และรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล เท่านั้น การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ หรือ เจาะข้อเพื่อดูดน้ำไขข้อออก จะทำให้อาการปวดดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อผ่านไป 1-2 เดือน ก็จะกลับมาเป็นอีก และมีผลข้างเคียง เช่น กระดูกอ่อนผิวข้อบางลง ทำให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น กระดูกพรุน กล้ามเนื้อลีบ หรือ ติดเชื้อในข้อ จึงถือว่าเป็นเพียงแค่บรรเทาอาการชั่วคราวเท่านั้น ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ควรฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ หรือ เจาะดูดน้ำไขข้อออก แต่ถ้าจำเป็นต้องฉีดยาสเตียรอยด์ หรือ เจาะข้อ ก็ต้องป้องกันการติดเชื้อขณะฉีดอย่างดี (ต้องใช้ผ้าปลอดเชื้อคลุมบริเวณที่ฉีด) และ ไม่ควรฉีดมากกว่าปีละ 2-3 ครั้ง หลังจากฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ ต้องลดการใช้งานข้อข้างที่ฉีด ประมาณ 1-2 อาทิตย์ และใช้ผ้าพันรัดเข่าไว้ด้วย ![]() ข้อแนะนำในการดูแลรักษาด้วยตนเอง 1. ลดน้ำหนัก เพราะเมื่อเดินจะมีแรงกดลงที่เข่าประมาณ 5 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้า วิ่ง จะมีแรงกดลงที่เข่า เพิ่มขึ้นเป็น 7 – 10 เท่าของน้ำหนักตัว ( การถีบจักรยาน เข่าจะรับแรงกดเพียง 1.5 เท่าของน้ำหนักตัวเท่านั้น ) ดังนั้น ถ้าลดน้ำหนักตัวได้ เข่าก็จะรับแรงกดน้อยลง ทำให้เข่าเสื่อมช้าลงและอาการปวดก็จะลดลงด้วย 2. ท่านั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี ไม่ควร นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือ นั่งราบบนพื้น เพราะจะทำให้ผิวข้อเข่าเสื่อมเร็วมากขึ้น 3. เวลาเข้าห้องน้ำ ควรนั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก หรือ นั่งบนเก้าอี้สามขาที่มี รู ตรงกลาง วางไว้เหนือคอห่าน ควรทำที่จับยึดบริเวณด้านข้างโถนั่ง เพื่อใช้จับพยุงตัวเวลาจะลงนั่งหรือจะลุกขึ้นยืน ไม่ควรนั่งยอง ๆ เพราะผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขาถูกกดทับ ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาได้ไม่ดี 4. นอนบนเตียง ซึ่งมีความสูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี ไม่ควรนอนราบบนพื้นเพราะต้องงอเข่าเวลาจะนอนหรือจะลุกขึ้น ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมากขึ้น ข้อก็จะเสื่อมเร็วขึ้น 5. หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได ขณะขึ้นลงบันได จะมีแรงกดที่เข่าประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว 6. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ ถ้าจำเป็นก็ให้ขยับเปลี่ยนท่า หรือ เหยียด-งอข้อเข่า บ่อย ๆ 7. การยืน ควรยืนตรง ขากางออกเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน ไม่ควร ยืนเอียงลงน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้างหนึ่ง เพราะจะทำให้เข่าที่รับน้ำหนักมากกว่าเกิดอาการปวดได้ 8. การเดิน ควรเดินบนพื้นราบ ไม่ควร เดินบนพื้นที่ไม่เสมอกัน เช่น บันได ทางลาดเอียงที่ชันมาก หรือ ทางเดินที่ขรุขระ เพราะทำให้น้ำหนักตัวที่ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น และ อาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย ควรใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย (สูงไม่เกิน 1 นิ้ว) หรือ ไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควร และ มีขนาดกระชับพอดี 9. ใช้ไม้เท้า โดยเฉพาะ ผู้ที่ปวดมากหรือข้อเข่าโก่งผิดรูป เพื่อช่วยรับน้ำหนัก และ ช่วยพยุงตัวเมื่อจะล้ม วิธีถือไม้เท้า ในผู้ที่ปวดเข่ามากข้างเดียว ให้ถือในด้านตรงข้ามกับเข่าที่ปวด แต่ถ้าปวดทั้งสองข้างให้ถือในข้างที่ถนัด 10. บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ให้แข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวและการทรงตัวดีขึ้น 11. การออกกำลังกายวิธีอื่น ควรออกกำลังกายที่ไม่ต้องลงน้ำหนักมากนัก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว ๆ วิ่งเหยาะ ๆ เป็นต้น ไม่ควร ออกกำลังกายที่ต้องมีการลงน้ำหนักที่เข่าเพิ่มขึ้น เช่น วิ่งเร็ว ๆ เต้นแอโรบิก ฟุตบอล เทนนิส แบดมินตัน บาสเกตบอล เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อเข่าเกิดการฉีกขาดได้และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ 12. ถ้ามีอาการปวด ให้พักการใช้ข้อเข่า และ ประคบด้วยความเย็น/ความร้อน หรือ ใช้ยานวดร่วมด้วยก็ได้ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้ จุดมุ่งหมายในการรักษาทุกวิธีคือ เพื่อลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น ป้องกันหรือแก้ไขข้อที่ผิดรูป เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสมควร จึงถือว่าแนวทางรักษาข้างต้นเป็นเพียงการรักษาปลายเหตุ เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น และ ยังมีข้อจำกัดในการรักษาอีกด้วย เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะสามารถใช้งานได้ใกล้เคียงกับธรรมชาติ และ บรรเทาอาการปวดได้ดี แต่ก็มีอายุใช้งานได้นานแค่ 10 -15 ปี เป็นต้น ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เพิ่มเติม .. ข้อเข่าเสื่อม https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15 วิธีบริหารเข่า https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=11&gblog=5 น้ำไขข้อเทียม https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=16 ปวดเข่า....ส่องกล้องข้อเข่า ... kneearthroscopy https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-01-2009&group=5&gblog=42 แนวปฏิบัติบริการดูแลรักษา ข้อเข่าเสื่อม พศ. ๒๕๕๓ ของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ https://www.mediafire.com/?q6jqyvyci46b51s คำชี้แจงจากราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม..(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2011&group=7&gblog=132 คำชี้แจงจากราชวิทยาลัยออร์โธฯเกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..( ต่อ ) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2011&group=7&gblog=134 คำชี้แจงจากราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..(จบ?) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2011&group=7&gblog=146
ข้อเข่าเทียม https://www.thaijoints.com/ข้อเข่าเทียม การดูแลตนเองเมื่อใส่ข้อเข่าเทียม(Selfcare after knee replacement) https://haamor.com/th/การดูแลตนเองเมื่อใส่ข้อเข่าเทียม/ คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมโดย รศ.นพ.ณัฐพล ธรรมโชติ https://thaiknee.com/home/wp-content/uploads/2013/09/คำแนะนำเรื่องโรคข้อเข่า.pdf การผ่าตัดแก้ไข"ขาโก่ง"หรือ "ข้อเข่าโก่ง(เสื่อม)" ตอนที่ 1-3 https://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/bone/2170--qq--qq--1.html https://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/bone/2171-2.html https://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/bone/2172-qq-qq-3.html การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม(TotalKnee Replacement) | Bangkok Hospital https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/total-knee-replacement เตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการผ่าตัด...“ข้อเข่าเทียม” https://www3.siphhospital.com/th/news/article/share/191 “ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม”ทางเลือกที่ต้องเลือกจริงหรือ? https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=710 การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม https://www.jointdee.info/knee/การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อ/ วิธีปฏิบัติตนภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม https://www.samitivejhospitals.com/th/วิธีปฏิบัติตนภายหลังกา/ คนเคยป่วย – ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม(12-17 ก.ค. 57) https://mynametai.wordpress.com/2014/07/21/คนเคยป่วย-ผ่าตัดเปลี่ย/ ![]() ![]()
ในคนที่ ข้อเข่าปกติ .. การวิ่ง หรือ การออกกำลังกาย ไม่ทำให้เกิด เข่าเสื่อมมากขึ้น (ยกเวันในกรณีเกิดอุบัติเหตุ) วิ่งไม่ได้ทำให้ข้อเสื่อม...ผู้เขียนนพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ https://health2u.exteen.com/20090924/entry-1
วิ่งทำให้ข้อเสื่อมจริงหรือ?....ผู้เขียน นพ.กฤษฎา บานชื่น https://www.doctor.or.th/article/detail/5585
WhyRunners Don’t Get Knee Arthritis
Effectsof running and walking on osteoarthritis and hip replacement risk. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23377837
WhyDon't Most Runners Get Knee Osteoarthritis? A Case for Per-Unit-Distance Loads. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24042311 ::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::: ![]()
การดูแลตามขั้นตอนอย่างละเอียดและมีมาตรฐาน สำหรับผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษา โดยทราบถึงการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง รวมถึงผลการรักษาอย่างชัดเจน ในกรณีที่ต้องการายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาสอบถามแพทย์ https://www.thaiarthritis.org/article08.php ::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::: ![]() อาหารกับโรคกระดูกและข้อที่พบบ่อย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ รศ.ดร.พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ https://med.mahidol.ac.th/ortho/th/food%20ortho/patient https://drive.google.com/file/d/0BzVECrTBp1yodUFpQUNkV1RkTzg/view วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ รศ.ดร.พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ https://resource.thaihealth.or.th/library/collection/14822 https://www.ebooks.in.th/ebook/31135/วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ แนะนำหนังสือ ดี และ ฟรี : อาหารกับโรคกระดูกและข้อที่พบบ่อย+วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=27-12-2017&group=5&gblog=55 ![]() ![]() .......................................................... การเสียชีวิตใน 45 วันหลังเปลี่ยนข้อเข่าจากเข่าเสื่อม Lancet. 2014;384(9952):1429-1436. บทความเรื่อง 45-Day Mortality after 467,779 Knee Replacements for Osteoarthritis from The National Joint Registry for England and Wales: An Observational Study รายงานว่า การศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในระยะกระชั้นภายหลังเปลี่ยนข้อเข่าอาจช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตหลังเปลี่ยนข้อเข่า นักวิจัยได้ประเมินแนวโน้มการเสียชีวิตภายใน 45 วันหลังเปลี่ยนข้อเข่าเนื่องจากเข่าเสื่อมในอังกฤษและเวลส์ เพื่อศึกษาผลจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยระหว่างผ่าตัดที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ต่อการเสียชีวิต นักวิจัยรวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนข้อเข่าเนื่องจากเข่าเสื่อมในอังกฤษและเวลส์ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2003 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2011 จากทะเบียน National Joint Registry for England and Wales โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับฐานข้อมูลการเสียชีวิตและฐานข้อมูล Hospital Episode Statistics เพื่อติดตามข้อมูลด้านการเสียชีวิต สังคมประชากร และโรคร่วม การเสียชีวิตภายใน 45 วันประเมินจาก Kaplan-Meier analysis และบทบาทของปัจจัยด้านผู้ป่วยและการรักษาประเมินจาก Cox proportional hazards models มีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเพื่อรักษาข้อเสื่อมจำนวน 467,779 ครั้ง ระหว่าง 9 ปี ผู้ป่วย 1,183 คนเสียชีวิตภายใน 45 วันหลังผ่าตัด โดยการเสียชีวิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญจาก 0.37% ในปี ค.ศ. 2003 ลงมาที่ 0.20% ในปี ค.ศ. 2011 แม้หลังปรับตามอายุ เพศ และโรคร่วม การเปลี่ยนข้อเทียมเพียงเสี้ยวเดียวสัมพันธ์กับการเสียชีวิตที่ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับการเปลี่ยนทั้งข้อ (HR 0.32, 95% CI 0.19-0.54, p < 0.0005) นอกจากนี้พบว่า โรคร่วมสัมพันธ์กับการเสียชีวิตที่สูงขึ้นทั้งกล้ามเนื้อหัวใจตาย (3.46, 95% CI 2.81-4.14, p < 0.0005), โรคหลอดเลือดสมอง (3.35, 2.7-4.14, p < 0.0005), โรคตับระดับปานกลาง/รุนแรง (7.2, 3.93-13.21, p < 0.0005) และโรคไต (2.18, 1.76-2.69, p < 0.0005) ปัจจัยระหว่างผ่าตัดที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้รวมถึงวิธีการผ่าตัด และการให้ยา thromboprophylaxis ไม่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต การเสียชีวิตหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญระหว่างปี ค.ศ. 2003-2011 ความพยายามเพื่อลดการเสียชีวิตให้น้อยลงควรเน้นไปที่ผู้ป่วยสูงอายุ เพศชาย และมีโรคร่วมจำเพาะ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หลอดเลือดสมอง ตับ และไต กลัวมากเลยอะค่ะ
คือว่าเวลาพับหรืองอเข่าเนี่ยมันจะมีเสียงดังกร๊อบ ๆ เวลานั่งนาน ๆ เนี่ยมันเจ็บจี๊ด ๆ ที่เข่านะค่ะ มันจะคล้าย ๆ กับโรคข้อเข่าเสื่อมไหมค่ะเนี่ย โดย: ความเจ็บปวด
![]() ขอบคุณที่มาแจม นะครับ .. สำหรับคุณ ความเจ็บปวด .. อาการก็คล้าย ๆ เหมือนกันครับ .. ลองไปพบหมอกระดูกและข้อ หน่อย ก็ดีครับ จะได้รู้ว่า ใช่แน่หรือเปล่า .. ถ้าเป็นก็จะได้รักษาแต่เนิ่น ๆ โดย: หมอหมู
![]() วิ่งไม่ได้ทำให้ข้อเสื่อม posted on 24 Sep 2009 21:46 by health2u in health เครดิต...ผู้เขียน นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ที่มา //health2u.exteen.com/20090924/entry-1 ปี 2005 คณะนักวิจัย UK วิเคราะห์การศึกษาแบบสุ่ม 13 รายงานพบว่า การเดิน การเสิรมสร้างความแข็งแรง เช่น ยกน้ำหนัก เล่นเวท ฯลฯ ปลอดภัยสำหรับคนไข้ข้อเข่าอักเสบ-เสื่อม แถมยังทำให้อาการปวด และความทุพพลภาพลดลง [ Intelihealth ] ปี 2006-7 คณะนักวิจัยจากเนเธอร์แลนด์และ UK พบว่า การออกกำลังจากน้อยไปหามาก หรือจากเบาไปหาหนัก และค่อยๆ เพิ่มความแรงขึ้นทีละน้อยปลอดภัย และช่วยรักษาข้อสะโพก-ข้อเข่าอักเสบ-ข้อเสื่อม .................................................... อาจารย์ รศ.นพ.ฮาร์เวย์ บี. ไซมอน แห่งวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ดและสถาบัน MIT ผู้ได้รับรางวัล 'London Prize' ด้านการสอนจากผลงานที่ฮาร์วาร์ดและ MIT ตีพิมพ์เรื่อง 'Running and your joints' = "การวิ่งและข้อของคุณ (joint = ข้อต่อ)" ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง [ Intelihealth ] การวิ่งมีช่วงเท้าลอยอยู่ในอากาศ ทำให้มีแรงกระแทกตอนเท้ากระแทกพื้นได้มากจนถึง 8G หรือ 8 เท่าของแรงดึงดูดโลก หรือ 8 เท่าของน้ำหนักตัว ... แรงกระแทกนี้แปรตามความเร็วด้วย คือ ยิ่งวิ่งเร็ว แรงกระแทกยิ่งมาก ทว่า... ไม่ได้หมายความว่า การวิ่งทำให้ข้อเสื่อม การศึกษาเร็วๆ นี้พบว่า การออกกำลัง โดยเฉพาะการวิ่ง ปลอดภัยสำหรับคนทั่วไป แถมยังช่วยป้องกันข้อเสื่อมด้วย ... เมื่อก่อนนี้คนเราเชื่อเรื่อง 'wear and tear' หรือ "ใช้มาก-ข้อสึกมาก (เสื่อมมาก)" ทว่า... การศึกษาใหม่ๆ พบว่า การวิ่งและออกกำลังไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อเสื่อม สาเหตุของข้อเสื่อมส่วนหนึ่งมาจาก "อะไรที่เราไม่รู้" ซึ่งทางแพทย์เรียกว่า 'idiopathic' อีกส่วนหนึ่งมาจากการมีกล้ามเนื้ออ่อนแอ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหน้าขา ... (1). 'Framingham Offspring Cohort' = การศึกษาติดตามลูกหลานของชาวฟรามิงแฮม" ปี 1948 มีการศึกษาในอาสาสมัครชาวฟรามิงแฮม US 5,200 คน ทำให้เรารู้ว่า อะไรเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและสโตรค (stroke = กลุ่มหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต) ... ปี 1971 คณะนักวิจัยทำการศึกษาในลูกหลานและคู่สมรสของอาสาสมัคร และทำการศึกษาผลของการออกกำลังและข้ออักเสบในปี 1993-1994 อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีข้ออักเสบ = 53 ปี ติดตามไปจนถึงปี 2002 & 2005 การศึกษานี้มีการซักประวัติ และตรวจเอกซเรย์เข่าเปรียบเทียบ อ่านฟีล์มโดยผู้เชี่ยวชาญที่ไม่รู้ประวัติแยกกัน 2 ท่าน ทำให้เรารู้ว่า การออกกำลังไม่ได้ทำให้ข้อเสื่อม ... การศึกษานี้พบว่า การออกกำลังไม่มีผลทำให้ข้อเสื่อม แถมคนที่อ้วนหรือผอมและออกกำลังมีข้ออักเสบ-ข้อเสื่อมมากเท่าๆ กัน นั่นคือ คนที่ออกกำลังมากที่สุดมีความเสี่ยงข้ออักเสบ-ข้อเสื่อมเท่ากับคนที่ออกกำลังน้อยที่สุด ... (2). การศึกษาจากออสเตรเลีย กระดูกอ่อน (cartilage) ของข้อไม่มีเลือดไปเลี้ยง อาศัยการซึมซาบของน้ำไขข้อเข้า-ออก คล้ายการบีบน้ำ-ซับน้ำของฟองน้ำล้างจานเป็นสำคัญ หลักการนี้ทำให้การเคลื่อนไหวข้อมีแนวโน้มจะทำให้ข้อได้รับสารอาหารมากขึ้น ... คณะนักวิจัยออสเตรเลียทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพดี และไม่มีประวัติข้อเข่าอักเสบหรือบาดเจ็บ อายุ 40-69 ปี 297 คนในช่วง early 1990s = 1990-1995 ติดตามไปจนถึง 2003-4 เปรียบเทียบภาพสแกนสนามแม่เหล็ก-วิทยุ MRI ผลการศึกษาพบว่า คนที่ออกกำลังรับแรงหนักที่สุด (เช่น วิ่ง ยกน้ำหนัก ฯลฯ) มีความหนากระดูกอ่อนหัวเข่ามากที่สุด และสุขภาพข้อดีที่สุด ... (3). ข้อเข่าของนักวิ่งระยะไกล การศึกษาในปี 2008 เปรียบเทียบนักวิ่งระยะไกล 284 คนกับคนที่ไม่ได้วิ่ง 156 คนไม่พบว่า การออกกำลังทำให้ข้ออักเสบ-ข้อเสื่อมถึงนัยสำคัญ (little evidence; little = น้อยมากๆ; evidence = หลักฐาน) ... หลังจากติดตามนักวิ่งระยะไกลไป 21 ปีพบว่า นักวิ่งมีความทุพพลภาพ (บาดเจ็บ + เสื่อมสภาพ) ของกล้ามเนื้อ-เอ็น-กระดูก หรือระบบโครงสร้างน้อยกว่าคนที่นั่งๆ นอนๆ แถมนักวิ่งยังมีอัตราตายน้อยกว่า 39% การศึกษาใหม่เปรียบเทียบนักวิ่งกับนักว่ายน้ำทีมมหาวิทยาลัยพบว่า นักวิ่งไม่ได้มีข้อเสื่อมเพิ่มขึ้น และแชมป์วิ่งไม่ได้มีข้อสะโพกอักเสบ-เสื่อมมากกว่าคนที่ไม่ได้เป็นนักกีฬา ... ปัจจัยสำคัญอยู่ที่การบาดเจ็บ เป็นที่ทราบกันดีในสหรัฐฯ ว่า นักอเมริกันฟุตบอลมักจะมีการบาดเจ็บของข้อ (การศึกษาอื่นๆ พบว่า คนกลุ่มนี้เป็นเบาหวานมากกว่าประชากรชัดเจน) คำตอบคือ ข้อที่บาดเจ็บจะไม่เหมือนเดิม (อีกต่อไป) และจะค่อยๆ กลายเป็นข้ออักเสบ-ข้อเสื่อม ... การศึกษาศิษย์เก่าวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ด 1,321 ท่านพบว่า หมอที่เคยมีข้อสะโพกบาดเจ็บตอนเรียนมีข้อเสื่อมที่อายุ 65 ปีเกือบ 14% สูงกว่าหมอที่ไม่เคยมีข้อสะโพกบาดเจ็บ ซึ่งมีข้อเสื่อม 6% หมอที่มีข้อเข่าบาดเจ็บตอนอายุน้อยเสี่ยงข้อเข่าอักเสบ-ข้อเสื่อมเพิ่มเป็น 5 เท่าเมื่ออายุมากขึ้น ... มีความเป็นไปได้ว่า กีฬาที่ทำให้ข้อบาดเจ็บได้ง่ายมีแนวโน้มจะเป็นกีฬาประเภทต่อสู้ ปะทะ เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล ฯลฯ รวมทั้งอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ-ง่วงแล้วขับ ทำให้ข้อเสื่อมมากกว่าวิ่ง เดิน ว่ายน้ำ ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ > โดย: หมอหมู
![]() วิ่งทำให้ข้อเสื่อมจริงหรือ? ข้อมูลสื่อ ชื่อไฟล์: 92-013 นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 92 เดือน/ปี: ธันวาคม 1986 คอลัมน์: วิ่งทันโลก นักเขียนหมอชาวบ้าน: นพ.กฤษฎา บานชื่น ที่มา...//www.doctor.or.th/article/detail/5585 บ่อยครั้งที่ผู้เขียนถูกถามว่า การวิ่งทำให้ข้อเสื่อมจริงหรือไม่ อนุสนธิของคำถามนี้ เนื่องมาจากความเข้าใจที่แพร่หลายในหมู่คนทั่วไป (รวมทั้งนักวิ่งและหมอบางคน) ว่า การวิ่งกระทบกระเทือนต่อข้อ เป็นผลให้มีการสึกหรอหรือการเสื่อมของข้อเร็วกว่าเวลาอันควร ผู้เขียนจะไม่บอกว่า ความเข้าใจนี้ถูกหรือผิด ขอให้เป็นหน้าที่ของผู้อ่านจะตัดสินเอาเอง เรามักจะนึกถึงภาพการวิ่งก่อให้เกิดแรงกระแทกต่อข้อต่างๆ จนมีการสึกหรือเสื่อมไปทีละน้อยๆ จริงอยู่ถ้าร่างกายเราเป็นเครื่องจักร เช่นรถยนต์ คงมีสภาพเช่นว่านั้น แต่เนื่องจากเราเป็นสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองได้ การออกกำลังกายเช่นการวิ่ง จึงอาจมีผลต่อข้อในทางตรงข้าม คือแทนที่จะทำให้ข้อเสื่อม ก็กลับแข็งแรงขึ้น ทำไม? เพราะหลักเบื้องต้นที่ว่า สิ่งใดที่ไม่ได้ใช้ก็จะเสื่อมเหมือนมีดที่คมในฝักแต่ชักไม่ออก (เพราะเป็นสนิม เนื่องจากไม่เคยได้ใช้เลย) หรืออาจเปรียบกับเครื่องยนต์ ถ้ามีการเดินเครื่องอยู่เสมอ ส่วนต่างๆก็จะทำงานเรียบร้อยดี แต่ถ้าจอดทิ้งไว้หลายๆวัน พาลสตาร์ตไม่ติดเอา ร่างกายมนุษย์ก็เหมือนกัน ข้อที่ไม่ค่อยได้ใช้ เกิดการติดขัดได้ ตัวอย่างที่พบบ่อยคือ ข้อไหล่ซึ่งมักติดในคนแก่ที่ไม่เคยบริหารไหล่หรือใช้งาน การเคลื่อนไหวข้อ ทำให้มีการหล่อลื่น และช่วยให้ข้อเคลื่อนที่ได้สะดวกอย่างไรก็ดี ทุกอย่างคงมีขีดจำกัด การใช้ข้อมากเกินไปอาจเป็นผลร้าย แต่แค่ไหนเล่าจึงจะเรียกว่ามากเกินไป การวิ่งทุกๆวันเป็นการใช้ข้อที่มากเกินไป หรือวิ่งวันเว้นวันจึงจะพอดี เหล่านี้เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ คุณหมอริชาร์ด พานุช (Richard Panush) แห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดา คงต้องการคำตอบต่อคำถามเช่นว่าเหมือนกัน จึงได้ทำการศึกษาสภาวะข้อ ของนักวิ่งวัยกลางคน 17 นาย 9 คนในจำนวนนี้เป็นนักวิ่งมาราธอน (ซึ่งหมายความว่าวิ่งกันอาทิตย์ละกว่า 100 กิโลเมตร) และมีอยู่คนหนึ่งซึ่งในชีวิตวิ่งมากว่า 78,400 กิโลเมตร โดยเฉลี่ยนักวิ่งกลุ่มนี้วิ่งสัปดาห์ละ 55 กิโลเมตร เป็นเวลา 12 ปี เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมอีก 18 คน ที่ไม่ใช่นักวิ่ง คุณหมอพานุช ไม่พบว่าความแตกต่างกันในด้านการเสื่อมของข้อเท้า ข้อเข่า และข้อสะโพก ในคนทั้ง 2 กลุ่ม คุณหมอพานุชสรุปว่า การวิ่งมิได้ทำให้ข้อสึกหรือเสื่อมอย่างที่เคยเข้าใจ ในวารสาร J.A.M.A. (วารสารของสมาคมแพทย์อเมริกัน) เล่มเดียวกัน (7 มีนาคม 2529) แพทย์หญิงแนนซี่ เลน (Nancy Lane) จากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ก็ได้ทำการศึกษานักวิ่งของ Fifty-Plus Runners Association (ผู้จะเป็นสมาชิกของสมาคมนี้ได้ต้องอายุเกินกว่า 50 ปี) จำนวน 41 คน แล้วเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่งวิ่งเพียงหนึ่งในสิบและออกกำลังกายเพียงหนึ่งในสี่ของกลุ่มสมาชิกสมาคม หมอเลนพบว่าไม่เพียงแต่กลุ่มนักวิ่งจะไม่มีสิ่งซึ่งส่อแสดงการเสื่อมของข้อต่างๆ เช่น ข้อเข่า และข้อกระดูกสันหลัง แตกต่างไปจากกลุ่มควบคุม แต่ยังมีเนื้อกระดูกมากกว่ากลุ่มควบคุมถึง 40 เปอร์เซ็นต์ นั่นก็หมายความว่า ในนักวิ่งที่หมอเลนทำการศึกษา มีโอกาสเป็นโรคกระดูกผุ (osteoporosis) ซึ่งเป็นโรคสำคัญของสตรีสูงอายุชาวอเมริกันน้อยกว่า แล้วอย่างนี้ยังจะบอกว่าวิ่งทำให้กระดูกและข้อเสื่อมอีกหรือ ![]() โดย: หมอหมู
![]() ขึ้นลงบันไดกับข้อเข่าเสื่อม ข้อมูลสื่อ ชื่อไฟล์: 128-029 นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 128 เดือน/ปี: ธันวาคม 1989 คอลัมน์: วิธีชะลอความแก่ นักเขียนหมอชาวบ้าน: รศ.ประโยชน์ บุญสินสุข ตอนรับเชิญไปบรรยายในงานปัจฉิมนิเทศครั้งหนึ่ง หลังจากได้แนะนำวิธีการออกกำลังกายเพื่อชะลอความชราแล้ว มีคำถามจากผู้ฟังท่านหนึ่งว่า การขึ้นลงบันไดเป็นการออกกำลังกายที่ดีสำหรับผู้ที่เข้าสูวัย 60 หรือไม่ ตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักสร้างบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านทรงไทยมุงใบจากที่ยกขึ้นจากพื้น ซึ่งต้องปีน “บันได” ขึ้นไป หรือบ้าน 2 ชั้นตลอด พัฒนาจนเป็นตึกแถวหลายชั้น “บันได” ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นทั้งสิ้น ดังนั้น การขึ้นลงบันไดจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ไม่ว่าอยู่ในชนบทหรือในเมือง เคยมีสารคดีจีนแนะนำให้ผู้สูงอายุขึ้นลงบันได เพราะถือว่าเป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ต้องออกไปนอกบ้าน โดยเฉพาะวันที่ฝนตก ตามตึกทำงานต่างๆ ถึงแม้จะมีบันไดขึ้นลงทุกชั้น แต่เมื่อมีลิฟต์ ซึ่งแสนจะสะดวกสบายกว่าการขึ้นลงบันได จึงมีผู้ใช้บริการมาก จนบางครั้งต้องยืนคอยเป็นเวลานาน และบ่อยครั้งที่ทำให้ลิฟต์เสียเพราะบรรจุคนเกินอัตรา ดังนั้น ข้างลิฟต์จึงมักมีข้อความติดอยู่ว่า “ขึ้นลงชั้นเดียว กรุณาใช้บันได” ชาวยุโรปสมัยยุคกลาง คงเลื่อมใสการขึ้นลงบันไดมาก โดยเฉพาะการเดินลงบันได จึงมีภาพวาดสีน้ำมันแสดงการก้าวลงบันไดอย่างต่อเนื่องของเขา คล้ายกับการถ่ายภาพซ้อนหลายๆ ภาพ โดยเริ่มวาดตั้งแต่การก้าวลงจากบันไดชั้นบนสุดจนลงสู่พื้นล่าง เมื่อการขึ้นลงบันไดเป็นวิธีการออกกำลังชนิดหนึ่ง ช่วยลดภาระของลิฟต์ และยังเป็นท่าทางที่น่าพิศวงจนศิลปินวาดเป็นภาพอมตะขึ้นมา จึงเข้าใจว่าควรส่งเสริมเพื่อให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น แต่ทว่า การออกกำลังกายทุกชนิดย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถึงแม้ว่าการไม่ออกกำลังกายเลยจะทำให้ข้อต่อเสื่อมได้ แต่การออกกำลังกายที่มากเกินไปก็ทำให้ข้อต่อเสื่อมเร็วขึ้นเช่นเดียวกัน วัยกลางคนที่มีปัญหาการเสื่อมของข้อต่อ มักจะบ่นว่าข้อเข่าจะเจ็บปวดมากเมื่อขึ้นลงบันได โดยเฉพาะการก้าวลงบันได บางครั้งไม่ถึงกับต้องเป็นการก้าวลงบันได เพียงก้าวลงฟุตปาธเพื่อข้ามถนน ความเจ็บปวดทำให้หัวเข่าอ่อนแรงลงกะทันหัน แทบจะล้มลงไปถ้าขาอีกข้างหนึ่งพยุงไว้ไม่ทัน หรือก้าวขาไม่ออก ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาของหัวเข่าจึงมักเกิดความลำบากใจปฏิบัติไม่ถูก เพราะในชีวิตประจำวันต้องขึ้นลงบันได และมักมีผู้แนะนำให้ออกกำลังกายโดยขึ้นลงบันไดได้ แต่ยิ่งขึ้นลงมากเท่าไร ข้อเข่ายิ่งอักเสบและเสื่อมเร็วขึ้นเท่านั้น ในครั้งแรกไม่ใคร่มีใครสนใจปัญหาเรื่องนี้ แต่เมื่อพบว่า นักวิ่งที่ข้อเข่าข้อเท้าบาดเจ็บ มักจะเป็นการวิ่งลงเนินหรือลงเขา นักวิทยาศาสตร์จึงได้วิจัย และพบว่า การที่ข้อเข่าบาดเจ็บได้ง่ายเวลาวิ่งลงเขานั้น เนื่องจากการทำงานของกล้ามเนื้อไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะป้องกันการแกว่งไปมาของข้อเข่า ทำให้กระดูกอ่อนที่บุผิวกระดูกต้นขา และหน้าแข้งเกิดการเสียดสีมาก ทั้งยังมีการฉีกขาดของเส้นเอ็นพังผืดบริเวณข้อเข่าได้ง่าย การลงบันไดย่อมเกิดผลเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะทำให้ผู้ที่ข้อเข่าเสื่อมอยู่แล้ว ยิ่งเสื่อมขึ้นไปอีก เนื่องจากกระดูกอ่อนจะถูกเสียดสีจนเสื่อมเสียมากขึ้น เกิดกระดูกงอกหรือหินปูนมาแทนที่ ทำให้ผิวกระดูกภายในข้อขรุขระ และยิ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น เนื่องจากข้อเข่าเหยียดออกหรืองอไม่เต็มที่ ในกรณีที่เกิดอาการปวดกะทันหันจนอ่อนแรงลง เกิดจากเยื่อบุผิวภายในข้อหย่อนเกินไป จึงถูกหนีบระหว่างกระดูกในข้อเข่า เกิดปฏิกิริยาตอบสนอง ทำให้หมดแรงลงทันที จะเห็นได้ว่า การขึ้นลงบันไดโดยเฉพาะการลงบันไดนั้น มิใช่วิธีออกกำลังกายที่ดีสำหรับผู้ที่ข้อเข่าเสื่อมเพราะกำลังของกล้ามเนื้อไม่เพียงพอที่จะประคองข้อเข่าไว้ให้มั่นคงเวลาก้าวลง ถึงแม้ว่าการก้าวขึ้นบันไดมีผลเสียน้อยกว่าการก้าวลง แต่ในกรณีที่ข้อเข่าเสื่อมอยู่แล้วอาจเกิดผลเสียเช่นเดียวกับการก้าวลงบันไดด้วย จากการเสียดสีทำลายกระดูกอ่อนภายในข้อ และที่สำคัญคือ เมื่อเดินขึ้นบันไดแล้ว ย่อมต้องลงบันไดด้วย เมื่อเข้าใจกลไกของการขึ้นลงบันไดแล้ว สิ่งที่ควรปฏิบัติคือ ควรหลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได หรือเดินขึ้นลงบนทางลาดหรือที่ต่ำโดยไม่จำเป็น ในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรหาผ้าพันยึดรัดข้อเข่าไว้เมื่อต้องเดินขึ้นลงบันได อาจเดินขึ้นทางบันไดแต่ลงชั้นล่างโดยใช้ลิฟต์ แน่นอน วิธีที่ดีที่สุดคือ การออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อบริเวณข้อเข่าให้แข็งแรง กล้ามเนื้อที่สำคัญคือ กล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่าที่ด้านหน้าของต้นขา ซึ่งกระดูกสะบ้าฝังตัวอยู่ในเอ็นของกล้ามเนื้อนี้บริเวณหัวเข่า โดยเริ่มจากนั่งหรือนอนเหยียดหัวเข่าให้ตรง พยายามเกร็งกล้ามเนื้อด้านหน้าต้นขาให้กดเข่าลง เห็นกระดูกสะบ้าเคลื่อนที่ขึ้นและลงเมื่อผ่อนกล้ามเนื้อ ทำครั้งละประมาณ 5-10 ครั้งทุก 2 ชั่วโมง อาจบริหารกล้ามเนื้อด้วยวิธีนี้ในท่ายืนได้ วิธีการออกกำลังกายนี้ นอกจากช่วยทำให้ข้อเข่ามั่นคงกระชับขึ้นแล้ว ยังทำให้กระดูกอ่อนที่บุผิวกระดูกภายในข้อเข่าเสื่อมช้าลง เพราะเป็นการช่วยให้อาหาร และออกซิเจนดูดซึมเข้ากระดูกอ่อนได้เร็วขึ้น การออกกำลังกล้ามเนื้อด้านหน้าต้นขา ยังอาจใช้ถุงทรายถ่วงที่ปลายเท้าเพื่อต้านแรงเหยียดข้อเข่าอีก โดยอาศัยหลักการเล่นกล้ามสร้างให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ขึ้น แต่ทั้งนี้การเล่นกล้ามนั้นต้องใช้น้ำหนักมากที่สุดที่ขาจะยกได้ กล้ามเนื้อจึงจะโตและแข็งแรงกว่าปกติได้ การนั่งยองๆ เป็นอีกท่าหนึ่งที่ควรหลีกเลี่ยง แต่อาจใช้เป็นท่าทดสอบว่า ข้อเข่าติดขัดในท่างอหรือไม่ กล้ามเนื้อมีกำลังพอที่จะพยุงข้อเข่าหรือไม่ เพราะข้อเข่าที่ติดขัดย่อมนั่งยองๆ ไม่ได้ และกล้ามเนื้อที่อ่อนแอย่อมไม่สามารถลุกยืนตัวตรงจากท่านั่งยองๆ ดังกล่าวได้ ความเชื่อที่ว่า ข้อเข่าเสื่อมเพราะการนั่งพับเพียบนั้น อาจจะไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง แต่การนั่งพับเพียบเป็นเวลานานๆ ทำให้การซึมผ่านของอาหารไปยังกระดูกอ่อนเป็นไปด้วยความลำบาก ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้เร็ว ทั้งนี้ชาวออสเตรเลียที่ไม่เคยนั่งพับเพียบเลยมีสถิติข้อเข่าเสื่อมมากไม่แพ้ประเทศไทย ข้อเข่าเสื่อมจึงมีสาเหตุได้ 2 สาเหตุใหญ่ คือ การใช้ข้อเข่ามากเกินไป เช่น น้ำหนักมากไป ขึ้นลงบันไดมากไป วิ่งมากไป และการใช้ข้อเข่าน้อยเกินไป เช่น นั่งเฉยๆ เข้าเฝือกนานเกินไป ดังนั้น การปฏิบัติตนให้ถูกต้องย่อมป้องกันข้อเข่าเสื่อมได้ ![]() โดย: หมอหมู
![]() //www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%8C__%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87_29_%E0%B8%AA.%E0%B8%84._.pdf อย. เตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์ “ลองกานอยด์” จดแจ้งเป็นเครื่องสำอางแต่โฆษณาสรรพคุณในทางยา อวดอ้างรักษาโรคข้อเสื่อม อย. ห่วงใยผู้บริโภค เตือนอย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์ครีมนวด “ลองกานอยด์” ที่เผยแพร่อวดสรรพคุณในทางยาตามสื่อ ต่าง ๆ ว่าสามารถรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม นิ้วล็อก รูมาตอยด์ แก้ปวดตามข้อได้ ตรวจสอบพบผลิตภัณฑ์จดแจ้งเป็นเครื่องสำอางใช้นวดผิวกายเท่านั้น เผย อย. ได้ตรวจจับยึดของกลางและดำเนินดคีไปแล้ว แต่ยังพบมีการโฆษณาในลักษณะเป็นยาอีก ซึ่งหากดื้อแพ่งยังโฆษณาอวดสรรพคุณอีก นอกจากอาจถูกปรับสูงสุดถึง 1 แสนบาทต่อครั้งแล้ว ยังจะถูกเพิกถอนทะเบียนผลิตภัณฑ์ต่อไป ย้ำเตือนมายังผู้พิมพ์ผู้โฆษณาสื่อต่าง ๆ ให้ยุติการโฆษณาอวดสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว พร้อมแจ้งถึงนักวิจัย /สถาบันวิจัย ขอให้ช่วยตรวจสอบกรณีมีการนำผลิตภัณฑ์ไปขยายผลโฆษณาเกินจริง เพื่อมิให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่ไม่ตรงความจริง และเสียเงินทองจำนวนมาก หวังเพียงหายจากโรคข้อเสื่อม นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ปัจจุบันพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ครีมนวด ผิวกายภายใต้ชื่อ “ลองกานอยด์” ผ่านทางสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารแผ่นพับ ใบปลิว ใบแทรกในกล่อง ฉลากข้างกล่อง อินเทอร์เน็ต แม้กระทั่งใช้บุคคลในวงการแพทย์ หรือนักวิจัย บรรยายสรรพคุณว่าผลิตภัณฑ์นวดลองกานอยด์ที่เป็นสารสกัด จากเมล็ดลำไย สามารถช่วยรักษาผู้มีอาการข้อเสื่อม โดยเฉพาะข้อเข่าเสื่อม นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ขอแจ้งเตือนมายังผู้บริโภค ให้ระมัดระวังอย่าได้หลงเชื่อโฆษณาสรรพคุณเกินจริงของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตามที่มีการกล่าวอ้าง ในการป้องกันรักษาโรคข้อเสื่อมเด็ดขาด เนื่องจากผลิตภัณฑ์ลองกานอยด์จดทะเบียนเป็นเครื่องสำอางที่ใช้ทาและนวดผิว กาย ทั้งนี้ การที่นำมาโฆษณาอวดสรรพคุณในทางยา ถือว่าเป็นการโฆษณาสรรพคุณเกินจริงและฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ เครื่องสำอาง เพราะตามกฎหมายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะอาดและเพื่อความสวยงามเท่านั้น ซึ่งหากเป็นยาต้องมีการขึ้นทะเบียนตำรับยาและขออนุญาตโฆษณาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ เจ้าหน้าที่ อย.ร่วมกับตำรวจ ปคบ. ได้เคยตรวจจับผลิตภัณฑ์ลองกานอยด์ที่อวดสรรพคุณดังกล่าว และยึดของกลาง พร้อมดำเนินคดีแล้ว แต่ก็ยังพบกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายมีการโฆษณาอีก ซึ่ง อย. จะดำเนินคดีปรับอีกโทษฐานโฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และหากพบยังฝ่าฝืนโฆษณาซ้ำซากอีก จะนำเรื่องเข้าคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเพิกถอนทะเบียนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางดังกล่าวนี้ต่อไป นพ.พิพัฒน์ เลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ขอเตือนมายังผู้พิมพ์/ผู้โฆษณา สื่อต่าง ๆ ให้ยุติการโฆษณาอวดสรรพคุณผลิตภัณฑ์ลองกานอยด์ เพราะหาก อย. ตรวจพบจะถูกดำเนินคดีปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และปรับทุกครั้งที่พบกระทำผิด หากไม่แน่ใจว่าเป็นโฆษณาที่ถูกต้องหรือไม่ โปรดตรวจสอบก่อนตีพิมพ์ได้ที่กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง อย. โทรศัพท์ 0 2590 7275 – 77 ในวันเวลาราชการ นอกจากนี้ อย. ขอแจ้งมาถึงนักวิจัย / นักวิชาการ และสถาบันวิจัยต่าง ๆ ขอให้ช่วยกันตรวจสอบกรณีมีการนำผลิตภัณฑ์ใดก็ตามที่มีการวิจัยแล้วไปขยายผลโฆษณาสรรพคุณเกินจริง หลอกให้ผู้บริโภคหลงเชื่อ ดังเช่นปัญหาที่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ลองกานอยด์ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้ผู้บริโภค ----------------------------------------------- กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค 29 สิงหาคม 2555 ข่าวแจก 122 / ปีงบประมาณ พ.ศ.2555 ---- โดย: หมอหมู
![]() //www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=41 ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับกลูโคซามีน (glucosamine) ในโรคข้อเสื่อม โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่พบว่ามีการสึกกร่อนของกระดูกอ่อน เนื่องจากมีปริมาณของโปรตีโอไกลแคน (proteoglycans) ลดลง ทำให้ความสามารถในการรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อลดลง เกิดอาการปวดขึ้นเมื่อมีการลงน้ำหนัก หรือมีกิจกรรมบนข้อนั้นๆ จากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนที่พบในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมดังกล่าวนี้ จึงทำให้เกิดแนวคิดในการนำเอากลูโคซามีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของการสร้างโปรตีโอไกลแคนที่เป็นองค์ประกอบในกระดูกอ่อนมาใช้เพื่อรักษาหรือชะลอการเสื่อมของข้อในโรคข้อเสื่อม กลูโคซามีน (glucosamine) เป็นสารประกอบประเภทน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) ที่ปกติถูกสร้าง และพบในร่างกายของทุกคนอยู่แล้ว กลูโคซามีนจะถูกนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารขนาดโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีโอไกลแคน, ไกลโคโปรตีน (glycoprotein), ไกลโคสามิโนไกลแคน (glycosaminoglycan), กรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) สารเหล่านี้เป็นส่วนประกอบในเนื้อเยื่อเกือบทุกชนิดของร่างกาย โดยจะพบได้มากที่กระดูกอ่อน (cartilage)ซึ่งจะอยู่ที่บริเวณส่วนปลายของกระดูกโดยเฉพาะที่ข้อต่อ กระดูกอ่อนนั้นประกอบด้วยเมทริกซ์ของเส้นใยคอลลาเจนที่มีโปรตีโอไกลแคนอยู่ภายใน โดยโปรตีโอไกลแคนเป็นสารโมเลกุลใหญ่ที่มีความสามารถในการดึงน้ำเข้ามาหาตัวเองได้ดี จึงทำให้กระดูกอ่อนมีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อได้ ซึ่งจัดเป็นบทบาทสำคัญของกลูโคซามีนในเรื่องการทำงานของข้อ นอกจากนี้กลูโคซามีนยังมีผลยับยั้งการทำงานของสารอักเสบได้หลายชนิด จึงมีผลลดการอักเสบของข้อด้วย กลูโคซามีนที่มีจำหน่ายแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ตามการขึ้นทะเบียน คือ (1) ยาอันตราย และ (2) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันในขั้นตอนการยื่นขอขึ้นทะเบียน รวมถึงเอกสารที่จำเป็นในการขอขึ้นทะเบียน กล่าวคือ กลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อม ซึ่งจะต้องมีเอกสารยืนยันถึงการศึกษาทางการแพทย์ที่แสดงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารดังกล่าว และการใช้ยาจะอยู่ภายใต้การสั่งใช้จากแพทย์เท่านั้น ส่วนกลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงใช้รับประทาน นอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติ และในการขอขึ้นทะเบียนไม่จำเป็นต้องแสดงการศึกษาทางการแพทย์ประกอบ สำหรับในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุขได้อนุญาตให้มีกลูโคซามีนชนิดที่เป็นยาอันตรายเท่านั้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียน และจำหน่ายในประเทศได้ ทั้งยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของกลูโคซามีนมีจำหน่ายในรูปแบบของสารประกอบเกลือหลายชนิด เช่น เกลือซัลเฟต (glucosamine sulfate), เกลือไฮโดรคลอไรด์ (glucosamine hydrochloride), เกลือคลอโรไฮเดรต (glucosamine chlorohydrate หรือ N-acetylglucosamine) ซึ่งทำให้ขนาดโมเลกุลและคุณสมบัติอื่นๆ ของกลูโคซามีนมีความแตกต่างกันไป เช่น ความคงตัวเมื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ในผลิตภัณฑ์ของกลูโคซามีนซัลเฟตยังมีการเติมโซเดียม หรือโปแตสเซียมในสูตรตำรับ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์มีความคงตัวเพิ่มขึ้น โดยกลูโคซามีนซัลเฟตเป็นกลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตรายและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ส่วนกลูโคซามีนในรูปแบบอื่นจะขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ด้านประสิทธิภาพของกลูโคซามีนต่อโรคข้อเสื่อม พบว่าการศึกษาทางการแพทย์ขนาดใหญ่ส่วนมากเป็นการศึกษาโดยใช้กลูโคซามีนซัลเฟต (glucosamine sulfate) ที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้รับกลูโคซามีนซัลเฟตในขนาด 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลานาน 3 ปี ช่วยลดอาการปวด และช่วยลดการแคบของข้อได้เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ยา (หรือใช้ยาหลอก) แต่การใช้กลูโคซามีนซัลเฟตในระยะสั้น เช่น 3-6 เดือน พบว่าผลการศึกษามีทั้งสองแบบ คือ ให้ผลดีในการรักษา และไม่เห็นความแตกต่างในการรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ยา นอกจากนี้การศึกษาในผู้ป่วยข้อสะโพกเสื่อมก็ไม่แสดงประโยชน์เหนือกว่าการไม่ใช้ยาเช่นกัน สำหรับกลูโคซามีนในรูปแบบอื่นนั้น พบว่ามีการศึกษาทางการแพทย์บ้าง แต่เป็นเพียงการศึกษาขนาดเล็ก จำนวนผู้ป่วยที่ใช้ศึกษาน้อย เช่น การใช้กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม พบว่ากลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ให้ประสิทธิภาพในการระงับปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้ไม่แตกต่างจากกลูโคซามีนซัลเฟต จากข้อมูลการศึกษาทางการแพทย์ของกลูโคซามีนดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของกลูโคซามีนในโรคข้อเสื่อมนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น รูปแบบเกลือของกลูโคซามีน ตำแหน่งข้อที่เกิดการเสื่อม ขนาดยาที่ใช้ ระยะเวลาในการใช้ ซึ่งผู้บริโภค/ผู้ป่วยที่มีความประสงค์จะรับประทานกลูโคซามีน โดยเฉพาะในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สามารถหาซื้อได้เองจากร้านขายยาทั่วไป ควรศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้เข้าใจ หรือปรึกษาแพทย์/เภสัชกรเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงประโยชน์ที่จะได้รับให้มากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้กลูโคซามีนแล้ว กลูโคซามีนในทุกรูปแบบยังมีข้อควรระวังและทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ด้วย ดังนี้ - อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยจากการรับประทานกลูโคซามีน คือ คลื่นไส้ ท้องเสีย แสบท้อง ปวดท้อง ท้องอืด นอกจากนี้ยังอาจพบอาการง่วงซึม ผื่นแพ้ผิวหนัง แพ้แสง ปากคอบวม (angioedema) หรือกระตุ้นให้เกิดการจับหืดได้ - ควรระมัดระวังการแพ้ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้อาหารทะเล โดยเฉพาะกุ้ง ปู เพราะกลูโคซามีนที่มีจำหน่ายสังเคราะห์มาจากเปลือกของสัตว์ดังกล่าว - ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะถ้าไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมายการรักษา เพราะมีรายงานในสัตว์ทดลองว่ากลูโคซามีนทำให้การหลั่งอินซูลินลดลงได้ ถึงแม้ว่าจะยังไม่พบรายงานดังกล่าวในคนก็ตาม บทความโดย: อาจารย์ ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ![]() โดย: หมอหมู
![]() คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม ..(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2011&group=7&gblog=132 คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..( ต่อ ) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2011&group=7&gblog=134 คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..(จบ?) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2011&group=7&gblog=146 แนวปฏิบัติ บริการ ดูแลรักษา ข้อเข่าเสื่อม พศ. ๒๕๕๓ ของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ //www.mediafire.com/?q6jqyvyci46b51s คลังคุมเข้มเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ขรก. ... กรมบัญชีกลาง ยังไม่ให้เบิกยารักษาข้อเข่าเสื่อม ??? https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-06-2011&group=7&gblog=139 คลังไฟเขียวเบิกจ่ายยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมเหมือนเดิม ... ( ไม่รู้จะมีคดีพลิก อีกหรือเปล่า ??? ) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-06-2011&group=7&gblog=141 คลัง ส่งหนังสือด่วนถึง รพ.อนุมัติเบิกจ่ายยาข้อเสื่อมได้แบบมีเงื่อนไข https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-07-2011&group=7&gblog=142 L12737354 ด่วนที่สุด โรงพยาบาลรัฐและผู้ใช้บริการโปรดทราบ [สุขภาพกาย] SET50.com (10 - 3 ต.ค. 55 14:00) //www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L12737354/L12737354.html โดย: หมอหมู
![]() Learn'n'Run
https://www.facebook.com/LearnandRun/photos/a.285068351673539.1073741828.272454926268215/286829228164118/?type=1 อย่าวิ่งมาก เดี๋ยวเข่าเสื่อม!!! จริงหรือ??? ผมเชื่อว่าเพื่อนๆพี่ๆที่วิ่งกันอยู่แล้ว ก็คงจะเคยได้ยินคนอื่นๆ(ที่ยังไม่ได้เริ่มวิ่ง) พูดถึงเรื่องนี้กันมาบ้างใช่มั๊ยครับ แล้วหลายท่านที่ไม่กล้าเริ่มวิ่งออกกำลัง ก็เนื่องจากกลัวว่าเข่าจะเสื่อมนี่แหละครับ ผมเคยลองหาข้อมูลตามที่ต่างๆดูก่อนหน้านี้ ก็พบว่ามีหลายๆที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้บ้างแล้วเหมือนกันครับ โดยอ้างอิงถึงงานวิจัย 2-3 งานหลักๆ คือ งานวิจัยของ Eliza Chakravarty จากมหาวิทยาลัย Standford ที่ศึกษานักวิ่ง 45 คน เทียบกับกลุ่มที่ไม่วิ่ง 53 คน เป็นเวลา 18 ปี พบว่ากลุ่มนักวิ่งมีอัตราการเกิดข้อเข่าเสื่อมน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่วิ่ง (20% เทียบกับ 32%) พิมพ์ไม่ผิดครับ!!! กลุ่มนักวิ่งเกิดน้อยกว่าด้วยซ้ำ... ส่วนอีกงานเป็นของ David Felson ซึ่งศึกษาข้อมูลในผู้เข้าร่วมวิจัย 1,279 คน พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างการวิ่ง กับอัตราการเกิดข้อเข่าเสื่อมเช่นกัน... จริงๆมีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกเยอะมากเลยครับ ใส่หมดคงไม่ไหว... 2 งานที่เอามาให้ดูนี้คุณภาพค่อนข้างดีครับ แต่เมื่อปี 2013 ที่ผ่านมา มีงานวิจัยอีกงานเพิ่งตีพิมพ์ครับ งานนี้ทำให้ทุกฉบับที่ผ่านมาดูเล็กไปเลย(ผมคิดว่าน่าจะยังไม่มีคนเขียนถึงนะครับ)... Paul Williams ได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่ทำในนักวิ่ง 74,752 คน เทียบกับคนที่ออกกำลังกายด้วยการเดิน 14,625 คน... พบว่าในคนที่วิ่งมากกว่าประมาณ 2 กม.ต่อวัน จะมีอัตราการเกิดข้อเข่าเสื่อม รวมถึงโอกาสที่จะต้องเปลี่ยนสะโพก ลดลง!!!... อีกทั้งจำนวนผู้ที่มีปัญหาจากกลุ่มนักวิ่ง ก็ยังน้อยกว่ากลุ่มเดินอีกด้วยครับ... โดยผู้วิจัยพบว่าสาเหตุที่สัมพันธ์กับการเกิดข้อเข่าเสื่อม ก็คือการที่มีน้ำหนักตัวมาก แต่นักวิ่งส่วนใหญ่นั้น สัดส่วนน้ำหนักตัวจะน้อยกว่า จึงไม่ค่อยพบปัญหานี้ครับ... ส่วนนักวิ่งที่ออกกำลังกายอย่างอื่นร่วมด้วย พบว่ามีอัตราการเกิดข้อเข่าเสื่อมสูงขึ้นครับ (ไม่ได้บอกไว้ว่าออกกำลังแบบไหนครับ) ผมคิดว่าปัจจุบันนี้ เราน่าจะสามารถสรุปเรื่องนี้ได้แล้วนะครับว่า การวิ่งไม่ได้ทำให้ข้อเข่าเสื่อม แถมยังช่วยป้องกันได้ด้วยซ้ำ เมื่อมีงานวิจัยใหญ่ขนาดนี้มาอ้างอิงแล้ว ต่อไปเวลามีคนบอกว่า วิ่งมากๆเดี๋ยวข้อเข่าเสื่อมนะ... เพื่อนๆพี่ๆก็ print งานวิจัยอันนี้ (Link ข้างล่างอันแรกนะครับ โหลดได้ฟรีด้วย!!!) แล้วก็ยื่นให้เพื่อนของท่านเอาไปอ่านอย่างนิ่มนวลได้เลยครับ เราจะได้มีเพื่อนวิ่งเพิ่มขึ้นๆ Run Hard and Be Nice to People LearnnRun (ปล. ขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติมเล็กน้อยครับ เนื่องจากมีเพื่อนๆพี่ๆถามเข้ามาว่า "แล้วอย่างงี้มันเกี่ยวกับเรื่องน้ำหนักตัวมากกว่ารึเปล่า?... จากที่อธิบายไปด้านบนแล้ว ว่าผู้วิจัยพบว่าสาเหตุที่สัมพันธ์กับการเกิดข้อเข่าเสื่อม คือการที่มีน้ำหนักตัวมาก แต่นักวิ่งส่วนใหญ่น้ำหนักตัวน้อย... อันนี้เป็นข้อจำกัดของการทำวิจัยครับ เนื่องจากจะต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลานานมาก และรูปแบบของการออกกำลังก็แตกต่างกัน ทำให้การที่จะควบคุมเรื่องน้ำหนักตลอดงานวิจัยให้เท่ากันนั้น เป็นไปได้ยากมากครับ) Effects of Running and Walking on Osteoarthritis and Hip Replacement Risk //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/?term=Effects+of+Running+and+Walking+on+Osteoarthritis+and+Hip+Replacement+Risk Long distance running and knee osteoarthritis. A prospective study //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18550323 Effect of recreational physical activities on the development of knee osteoarthritis in older adults of different weights- the Framingham Study //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed?term=effect+of+recreational+physical+activities+on+the+development+of+knee+osteoarthritis+in+older+adults+of+different+weights+the+framingham+study&cmd=correctspelling ![]() โดย: หมอหมู
![]() สมาคม ESCEO ชี้คริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) แตกต่างจากกลูโคซามีนชนิดอื่นๆ และควรเป็นยาพื้นฐานในการรักษาโรคข้อเสื่อม
ลีแยร์ฌ, เบลเยียม--2 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ คณะทำงานเฉพาะกิจของสมาคม European Society for Clinical and Economic Aspects of Osteoporosis and Osteoarthritis (ESCEO) และแพทย์ผู้เชียวชาญจากทั่วโลก ได้มีมติร่วมกันในการใช้แนวทางการรักษาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนของ ESCEO ในทางปฏิบัติและหาข้อสรุปร่วมกันในข้อมูลทั้งหมดของกลูโคซามีน เพื่อชี้ชัดถึงความแตกต่างระหว่างคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) ซึ่งผ่านการรับรองทางคลินิก กับกลูโคซามีนชนิดอื่นๆที่ไม่ได้ผลในทางคลินิก (โลโก้: //photos.prnewswire.com/prnh/20151124/290592LOGO ) (Place and date)-แม้ว่าจะมีแนวทางปฏิบัติสำหรับการรักษาโรคข้อเสื่อมที่คำนึงด้านหลักฐ านทางการศึกษาจากองค์กรต่างๆทั้งในยุโรป อเมริกา และทั่วโลกแต่ก็ยังไม่สามารถสร้างมาตรฐานการรักษาร่วมกันได้ แต่เดิมการรักษาโรคข้อเสื่อมนิยมใช้ยาระงับปวดและยาต้านการอักเสบ โดยมีพาราเซตามอลเป็นยาพื้นฐานที่ใช้บรรเทาอาการปวด แต่ก็เกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ยา ซึ่งรวมถึงผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหารและตับ นอกจากนี้แนวทางการรักษาเกือบทั้งหมดไม่ได้ระบุชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่าง กลูโคซามีนที่ได้รับการพิสูจน์ทางคลินิก (จากเกณฑ์ที่มีหลักฐานการศึกษารองรับและ Cochrane Review) กับกลูโคซามีนที่ไม่ได้รับการพิสูจน์ทางคลินิก ยกเว้นแนวทางการรักษาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนของ ESCEO ซึ่งระบุถึงความแตกต่างไว้อย่างชัดเจน จึงก่อให้เกิดความไม่สอดคล้องในแนวทางการรักษาโรคข้อเสือม อีกทั้งทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติด้วย แนวทางการรักษาอย่างเป็นขั้นตอนของ ESCEO นำเสนอทางเลือกใหม่ ด้วยการใช้ยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่ออกฤทธิ์ช้า (SYSADOAs) ซึ่งมีคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร(pCGS) เป็นยาพื้นฐาน และเสริมด้วยยาพาราเซตามอลเพื่อระงับปวดตามความจำเป็น ศาสตราจารย์ ฌอง-อีฟ รีจินส์เตอร์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานของ ESCEO กล่าวว่า "แนวทางของ ESCEO แนะนำให้ใช้ยา SYSADOAs โดยเฉพาะคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟตที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) และคอนดรอยติน ซัลเฟต ที่จดทะเบียนเป็นยา ให้เป็นยาพื้นฐานในการรักษาโรคข้อเสื่อม ปัจจุบันเห็นได้ชัดว่ายาต่างๆไม่ได้มีประสิทธิภาพเหมือนกันทั้งหมด และความแตกต่างระหว่างแนวทางการรักษาทั้งหลายสะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่ว่ า แนวทางเหล่านี้ไม่ได้พิจารณาการรักษาจากยาตัวเดียวกัน" "สาระสำคัญประการแรกที่ได้จากการประชุมคือ แนวทางการรักษาทั้งหมดล้วนเห็นตรงกันว่ากลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์ไม่ได้ผลในการรักษา ตัวยาดังกล่าวไม่เคยได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการทดลองทางคลินิก และไม่เคยมีการวิจัยใดๆที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการรักษาของกลูโคซามี น ไฮโดรคลอไรด์แต่อย่างใด" ศาสตราจารย์ รีจินส์เตอร์ กล่าวเสริมว่า "ในส่วนของกลูโคซามีน ซัลเฟตที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน พบว่ายังมีความแตกต่างในแต่ละสูตรตำรับ โดยสูตรตำรับยาส่วนใหญ่มักไม่คงตัวและไม่ควรนำไปใช้เพราะถือว่าเป็นยาปลอม ซึ่งอ้างว่าเป็นสูตรตำรับที่มีความ"คงตัว" แต่เป็นเพียงการผสมกลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์ และโซเดียม ซัลเฟต เข้าด้วยกันเท่านั้นซึ่งไม่มีความคงตัวแต่อย่างใด เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ โมเลกุลจะต้องถูกทำให้คงตัวในรูปของคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร(pCGS) โมเลกุลที่ถูกทำให้คงตัวเท่านั้นที่สามารถทำให้มีระดับความเข้มข้นของยาเพีย งพอที่จะส่งผลในการรักษาทั้งในกระแสเลือดและน้ำเลี้ยงข้อ และมีข้อมูลการทดลองที่แสดงถึงประสิทธิภาพอย่างชัดเจน ในมุมมองของการดำเนินไปตามธรรมชาติของโรคข้อเสื่อม การใช้สั่งใช้ยากลูโคซามีนที่ไม่มีความคงตัว จากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณ เพราะเป็นที่ทราบดีว่าในท้ายที่สุดผู้ป่วยจะไม่ได้รับประโยชน์อันใดจากผลการ รักษานั้นเลย" สรุป การประชุมครั้งนี้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการเห็นพ้องร่วมกันถึง ความแตกต่างของแนวทางในการรักษา โดยคณะทำงานเฉพาะกิจต่างเห็นพ้องร่วมกันในความแตกต่างระหว่างคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) ซึ่งได้รับการพิสูจน์ทางคลินิกและจดทะเบียนเป็นยา กับกลูโคซามีนประเภทอื่นๆ หลักฐานทางคลินิกของคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร - มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าในแง่ของการลดอาการปวดและการทำงานของเข่า - ช่วยชะลอการดำเนินไปของโรค ด้วยเหตุนี้ คริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) จึงเหนือกว่ากลูโคซามีนประเภทอื่นๆที่วางจำหน่ายในตลาด โดยเป็นกลูโคซามีนเพียงชนิดเดียวที่มีความคงตัวและมีความน่าเชื่อถือทางการร ักษา โดยส่งผลให้มีระดับความเข้มข้นของกลุโคซามีนที่ให้ผลในการรักษาทั้งในกระแสเ ลือดและและในข้อ ดังนั้นเมื่อจะสั่งยาพื้นฐานในการรักษาโรคข้อเสื่อม แพทย์ควรพิจารณาคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) ซึ่งถือได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แหล่งข่าว: ESCEO โดย: หมอหมู
![]() ผ่าตัดหัวเข่าผ่านกล้องเพื่อรักษาข้อเสื่อม
21 พฤษภาคม 2560 //visitdrsant.blogspot.com/2017/05/blog-post_21.html อายุ 53 ปี ไม่เคยประสบอุบัติเหตุที่หัวเข่า แต่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม หมอทำ MRI แล้วพบว่ามี meniscal tear ตอนนี้ทั้งฉีดสะเตียรอยด์แล้ว และฉีดจาระบีแล้ว กินกลูโคซามีนแล้ว กินยาอาร์คอกเซียแทบไม่เคยขาด อาการก็ยังมีอยู่ หมอออร์โธปิดิกที่รพ.... แนะนำให้ทำผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อล้างทำความสะอาดรักษาข้อเข่าเสื่อมและซ่อมแผ่นกระดูกอ่อนรองหน้าข้อ ซึ่งท่านบอกว่าเป็นสะเต็พที่ควรเลือกทำก่อนที่จะไปผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม เพราะอายุยังน้อย อยากถามคุณหมอสันต์ว่ามีหลักฐานวิจัยใดๆว่าการผ่าตัดผ่านกล้องในกรณีนี้ดีหรือไม่ดีอย่างไร ........................................ ตอบครับ 1. ถามว่าเป็นข้อเข่าเสื่อมที่มีแผ่นรองข้อเข่าฉีกขาด (meniscus tear) จะไปผ่าตัดผ่านกล้อง (arthroscopic surgery) ผลวิจัยปัจจุบันว่าจะดีไหม ถ้าจะให้ตอบตามผลวิจัยที่นับถึงปัจจุบัน ก็ต้องตอบว่า ไม่ดีครับ คำตอบของผมตอบตามผลวิจัยในเรื่องนี้ที่ค่อยๆมีออกมาเรื่อยๆนับตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งมีผู้วิจัยแบบเมตาอานาไลซีสไว้ [1-3] แต่หลักฐานระดับสูงที่ตอบได้อย่างเด็ดขาดว่าการผ่าตัดผ่านกล้องได้ผลไม่ดีไปกว่าการออกกำลังกายโดยไม่ผ่าตัดคือการวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบซึ่งทำที่นอร์เวย์และตีพิมพ์ในวารสาร BMJ เมื่อปีกลาย [4] ในงานวิจัยนี้เขาเอาผู้ป่วยอายุ 35-59 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยจาก MRI ว่ามีการฉีกขาดของแผ่นรองข้อเข่า (medial meniscal tear) จากการเสื่อมสภาพของข้อมา 140 คน มาสุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้ผ่าตัดผ่านกล้อง อีกกลุ่มหนึ่งให้ออกกำลังกายอย่างเดียว แล้วตามดู 2 ปีด้วยทั้งคะแนนวัดผลข้อเข่า (KOOS4) ทั้งด้านการใช้งาน และด้านคุณภาพชีวิต พบว่าทั้งสองกลุ่มได้คะแนนดีพอๆกัน และพบว่ากลุ่มออกกำลังกายมีกล้ามเนื้อขาแข็งแรงมากกว่ากลุ่มที่ทำผ่าตัดผ่านกล้องเสียอีก คำแนะนำว่าไม่ควรรีบทำผ่าตัดหัวเข่าผ่านกล้องนี้ หมอผู้เชี่ยวชาญเองก็แบ่งเป็นสองพวก มีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโรคข้อเข่าเสื่อมบางกลุ่มได้ออกคำแนะนำเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guidelines) ในเรื่องนี้โดยตีพิมพ์ไว้ในวารสาร BMJ ฉบับเดือนพค. 2017 [5] ซึ่งมีสาระสำคัญโต้งๆว่า "เราแนะนำอย่างแรงว่าอย่าใช้วิธีผ่าตัดผ่านกล้องรักษาคนไข้ข้อเข่าเสื่อมเกือบทุกคน (รวมทั้งที่มีแผ่นรองข้อเข่าฉีกขาด) เพราะการทบทวนหลักฐานถึงปัจจุบันนี้พบว่ามันไม่ได้ผล" เพื่อประกอบความเข้าใจในเรื่องนี้ ผมขอแจงเพิ่มเติมนิดหนึ่ง คือคนไข้ข้อเข่าเสื่อมนี้แยกได้เป็นสองกลุ่มนะ กลุ่มแรก คือกลุ่มที่เป็นโรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) เหน่งๆจ๋าๆ โดยไม่มีการเสียหายของแผ่นรองข้อเข้า (meniscus) ซึ่งในกลุ่มนี้ศัลยแพทย์กระดูกส่วนใหญ่ได้เลิกใช้การผ่าตัตผ่านกล้องล้างทำความสะอาดไปนานแล้ว เพราะมันไม่ได้ผล สถาบันเพื่อความเป็นเลิศทางสุขภาพแห่งชาติของอังกฤษ (NICE) ได้ออกคำแนะนำว่าไม่ควรทำการผ่าตัดผ่านกล้องมานานแล้วตั้งแต่ปี 2007 [6] แม้แต่วิทยาลัยศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกอเมริกัน (AAOS) ก็ยังแนะนำเมื่อเร็วๆนี้ว่าไม่ควรทำผ่าตัดผ่านกล้องในคนไข้ข้อเข่าเสื่อมที่โรคเป็นมากแล้ว กลุ่มที่สอง คือกลุ่มที่เป็นข้อเสื่อมแบบมีการฉีกขาดของแผ่นรองข้อเข่า (medial meniscal tear) อยู่ด้วย กลุ่มนี้วงการศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกทั่วโลกถือว่าเป็นกรณีที่ควรรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องเข้าไปซ่อมแผ่นรองข้อเข่า จนกระทั่งมีการทะยอยตีพิมพ์งานวิจัยออกมาว่าทำแล้วมันไม่ได้ผลจนมีบางกลุ่มบางองค์กรออกคำแนะนำว่าไม่ควรทำดังที่ผมเล่าแล้วข้างต้น ซึ่งเป็นคำแนะนำที่ขัดแย้งกับคำแนะนำที่เชื่อถือกันมาแต่เดิม พูดง่ายๆว่า ณ ขณะนี้ความเห็นของหมอทั่วโลกแตกเป็นสองฝ่าย คุณในฐานะคนไข้ก็ต้องใช้ดุลพินิจเอาเองว่าจะเลือกเชื่อหมอฝ่ายไหน ระหว่างฝ่ายที่บอกว่าทำเถอะเพราะมันได้ผลดี กับฝ่ายที่บอกว่าอย่าทำเลยเพราะมันไม่ได้ผล ชีวิตการเป็นคนไข้ในยุคการแพทย์แบบอิงหลักฐานก็เป็นอย่างนี้แหละครับ เพราะที่เรียกว่าหลักฐานทางการแพทย์นั้นมันไม่ใช่สัจจธรรม มันเป็นเพียงสถิติ พอมีการตีพิมพ์สถิติใหม่ออกมาพวกหัวใหม่ก็เฮโลทิ้งวิธีนี้ไปหาวิธีโน้นแต่พวกหัวเก่าก็ยังนิ่งอยู่กับวิธีเดิมไปอีกสิบปียี่สิบปี ถ้าคนไข้ไปหาหมอพวกโน้นทีพวกนี้ทีก็จะได้คำแนะนำสองแบบ แล้วก็เป็นงงทำตัวไม่ถูก เนื่องจากหมอสันต์เป็นหมอประจำครอบครัว ไม่ใช่ศัลยแพทย์กระดูก จึงขอแนะนำคุณจากมุมมองการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมว่าควรแก้ปัญหาไปทีละขั้นทีละตอน โดยอย่าเพิ่งรีบทำผ่าตัดตอนนี้เลย แต่ให้ไปขยันออกกำลังกายฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่าสักหลายๆเดือนหรือหลายๆปีก่อนจนได้ชื่อว่าได้ออกกำลังกายเต็มที่แล้วก่อน ถ้ามันทุเลาลงและใช้ชีวิตปกติได้ก็จบแค่นั้น แต่ถ้ามันยังมีอาการสาหัส เดี๋ยวป๊อกๆ เดี๋ยวกึกๆ จนชีวิตเดินหน้าลำบาก ผมว่าถึงจุดนั้นไหนๆก็ไหนๆคือหมดทางไปแล้ว การลองผ่าตัดผ่านกล้องก็เป็นทางเลือกที่ควรทำนะครับ โดยที่เมื่อตัดสินใจทำแล้วก็ต้องทำใจด้วย..ว่ามันจะได้ผลหรือไม่ได้ผลก็ต้องโอลูกเดียว นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ 1. Khan M, Evaniew N, Bedi A, Ayeni OR, Bhandari M. Arthroscopic surgery for degenerative tears of the meniscus: a systematic review and meta-analysis. CMAJ2014;186:1057-64. doi:10.1503/cmaj.140433 pmid:25157057. 2. Thorlund JB, Juhl CB, Roos EM, Lohmander LS. Arthroscopic surgery for degenerative knee: systematic review and meta-analysis of benefits and harms. BMJ2015;350:h2747. doi:10.1136/bmj.h2747 pmid:26080045. 3. Brignardello-Peterson R, Guyatt GH, Schandelmaier S, et al. Knee arthroscopy versus conservative management in patients with degenerative knee disease: a systematic review. BMJ Open 2017;7:e016114. doi:doi:10.1136/bmjopen-2017-161114 4. Kise NJ, Risberg MA, Stensrud S, Ranstam J, Engebretsen L, Roos EM. Exercise therapy versus arthroscopic partial meniscectomy for degenerative meniscal tear in middle aged patients: randomised controlled trial with two year follow-up. BMJ 2016;354:i3740 5. Siemieniuk RAC, Harris IA, Agoritsas T, et al. Arthroscopic surgery for degenerative knee arthritis and meniscal tears: a clinical practice guideline. BMJ 2017;257:j1982. doi:10.1136/bmj.j1982 6. National Institute for Health and Clinical Excellence. Arthroscopic knee washout, with or without debridement, for the treatment of osteoarthritis (Interventional procedures guidance IPG230). 2007. //www.nice.org.uk/guidance/ipg230. โดย: หมอหมู
![]() วิ่งเยอะๆ แล้วเข่าพังจริงไหม?
by ภัทรศยา เชาว์รัศมีกุลPosted on May 28, 2017 https://www.greenery.org/articles/running-fact/ เรื่องนี้ตอบได้เลยตั้งแต่บรรทัดนี้ว่าไม่จริง เพราะคนส่วนใหญ่เข้าใจผิด คิดว่าวิ่งแล้วจะทำให้เข่าพังตอนแก่ ทั้งที่จริง มันยังมีปัจจัยอื่นอีกล้านแปดที่ส่งผลต่อข้อเข่าของคนเรา และการทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเล่นกีฬาที่ดูไม่มีพิษมีภัยอย่างกอล์ฟ เรื่อยไปจนถึงกีฬาที่มีการปะทะสูงอย่างรักบี้หรือฟุตบอล ก็ล้วนมีความเสี่ยงแทบทั้งสิ้นหากว่าคุณไม่ระวัง ที่ผ่านมาการวิ่งมักถูกมองเป็นผู้ร้ายทำลายเข่า ในขณะที่การว่ายหรือปั่นจักรยานดูจะมีภาษีดีกว่าตรงที่แรงกระแทก หรือแรงกระทำต่อข้อเข่าน้อยกว่า เรื่องนี้เราไม่เถียงเพราะขณะวิ่งน้ำหนักตัวที่จะกระทำต่อร่างกายจะมากกว่าปกติถึง 8-10 เท่า นั่นหมายความว่าหากคุณหนัก 60 กิโลกรัม แรงกระแทกจะสูงถึง 480-600 กิโลกรัม ฟังดูน่ากลัว แต่กลไกในร่างกายคนเรามีระบบที่เซตไว้สำหรับการซ่อมแซมและเสริมสร้างส่วนที่ชำรุด เพียงแต่คุณต้องให้เวลา เช่น กำหนดวันพักหรือไม่หักโหม เพื่อให้ร่างกายเยียวยาตนเอง และเสริมสร้างความแข็งแรงอย่างค่อยเป็นค่อยไป นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาที่ออกมาหักล้างความคิดที่ว่าวิ่งมากๆ แล้วเข่าพัง เมื่อผลการศึกษาของชาวออสเตรียที่ตีพิมพ์ลง Skeletal Radiology ระบุว่าหลังพวกเขาได้ MRI นักวิ่งจำนวน 7 คน ก่อนและหลังการวิ่งมาราธอนปี 1997 (ห่างกัน 10 ปี) พบว่าข้อเข่าของนักวิ่งจำนวน 6 คนไม่มีความเสียหายใหม่เกิดขึ้น ในขณะที่นักวิ่งอีกคนที่ซึ่งเลิกวิ่งไปก่อนหน้ามีปัญหาภายในข้อเข่าหลายจุด ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาและคำแนะนำของคุณหมอหลายท่านที่ระบุว่าการวิ่งไม่ได้ทำให้เข่าเสื่อมเร็วขึ้น หากแต่ป้องกันเข่าไม่ให้เสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร หลังพบว่าแรงกดในข้อเข่าที่กระทำอย่างต่อเนื่อง และเป็นจังหวะช่วยส่งน้ำหล่อเลี้ยงภายในข้อ ซึ่งเป็นสารอาหารจำเป็นและอ๊อกซิเจนที่ใช้ในการสร้างและซ่อมแซมส่วนต่างๆ ถึงไม่วิ่งก็เข่าพังได้ รวมถึงผลการศึกษาระยาวของ Standford University หลังเฝ้าติดตามกลุ่มนักวิ่งจำนวน 45 คนและกลุ่มที่ไม่วิ่งจำนวน 53 คน ตั้งแต่ปี 1984 จนได้ข้อสรุปที่ตีพิมพ์ลง American Journal of Preventive Medicine ปี 2008 ว่าหลังผ่านไป 18 ปี มีนักวิ่งเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ที่ข้อเข่าเสื่อม ในขณะที่ปัญหาเดียวกันนี้เกิดกับกลุ่มคนไม่วิ่ง 32 เปอร์เซ็นต์ เรื่องนี้บอกเราได้ว่าต่อให้คุณไม่ได้วิ่งก็มีแนวโน้มที่ข้อเข่าจะพัง แต่การวิ่งสามารถทำให้ข้อเข่าของคุณแข็งแรงขึ้นได้ ตราบใดที่คุณไม่ทำร้ายตัวเองด้วยวิธีที่เราจะพูดถึงต่อจากนี้ ปัจจัยที่ทำให้เข่าพัง คุณต้องอย่าลืมว่าร่างกายคนเราเหมือนรถยนต์ ใช้ไปนานๆ ย่อมเสื่อมลงตามกาลเวลา อายุจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ยิ่งคุณอายุมากขึ้น ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานต่ำลง ส่งผลให้รอบเอวขยายแม้คุณจะออกกำลังกายและกินเท่าเดิม ด้วยน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น ข้อเข่าก็ต้องรับน้ำหนักสูงขึ้น นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมหมอถึงไม่แนะนำให้คนอ้วนออกกำลังกายด้วยการวิ่งหรือกระโดด แต่ควรเดินเร็วให้ไขมันอยู่ในระดับปลอดภัยก่อน อีกหนึ่งปัจจัยคือสุขภาพเข่าก่อนวิ่งของคุณเป็นอย่างไร มีส่วนไหนที่เคยฉีกขาดหรือไม่ กระดูกอ่อนผิวข้อซึ่งทำหน้าที่รับแรงกระแทกระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกแข้งยังใช้การได้ดีอยู่ไหม กล้ามเนื้อต้นขาหน้าและต้นขาหลังสมดุลกันหรือเปล่า และพร้อมที่จะเผชิญศึกหนักอย่างการวิ่งมาราธอนแล้วหรือยัง (ข้อผิดพลาดของนักวิ่งหน้าใหม่คือใจร้อน) รูปเท้าของคุณเหมาะกับการวิ่งแบบไหน ควรใส่รองเท้าประเภทใดจึงจะเหมาะสม แล้วเทคนิคการวิ่งของคุณละ เข้าขั้นใช้ได้หรือยัง ได้วอร์มกล้ามเนื้อหรือยืดเส้นหลังวิ่งทุกครั้งไหม เหล่านี้เป็นเรื่องที่คุณควรหาคำตอบและลงมือปฏิบัติ เพราะอย่างน้อยสิ่งที่เรากล่าวแนะนำไปข้างต้นยังเป็นสิ่งที่คุณพอควบคุมได้ เพราะมีผลการศึกษาหลายชิ้นยืนยันว่าโรคข้อเสื่อมถ่ายทอดทางพันธุกรรม ความเสี่ยงจึงมีมากขึ้นในหากคนในครอบครัวของคุณมีภาวะข้อเสื่อม วิ่งอย่างเป็นสุขทำได้ไม่ยาก ถ้าคุณเป็นนักวิ่งมือใหม่ ควรฝึกวิ่งอย่างค่อยเป็นค่อยไป ช่วงอาจเริ่มวิ่ง 15-20 นาที แล้วค่อยเพิ่มระยะเวลา ในหนึ่งสัปดาห์แทนที่จะวิ่งหนักทุกวัน ให้แบ่งเป็นวันวิ่งเบาๆ ถึงปานกลาง ควรมีวันพักให้ทำกิจกรรมอื่น และอย่าลืมเสริมสร้างกล้ามเนื้อขาและสะโพก รวมถึงแกนกลางลำตัวด้วยเวทเทรนนิ่ง ลงทุนกับรองเท้าวิ่งดีๆ ก่อนเปลี่ยนคู่ใหม่เมื่อใช้งานครบ 500 กิโลเมตร และที่สำคัญเราอยากให้คุณวิ่งและฟังเสียงร่างกายไปด้วยพร้อมๆ กัน หากวิ่งแล้วเจ็บหรือปวด แนะนำว่าคุณควรพัก 2 สัปดาห์เพื่อรอดูว่าอาการ หากแค่กล้ามเนื้อระบมก็ไม่ควรนานเกิน 3 วัน หากเกินกว่านั้นควรปรึกษาแพทย์ ![]() โดย: หมอหมู
![]() อายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว
https://www.facebook.com/medicine4layman/photos/a.1454742078175154.1073741829.1452805065035522/1935598710089486/?type=3&theater อ่านมาเล่าให้ฟัง ยารักษาเข่าเสื่อมสามตัว glucosamine, chondroitin และ hyarulonic acid ติดค้างมานานแล้ว ตกลงข้อมูลว่าไง 🍖🍖 รู้จักยาสามตัวนี้คร่าวๆก่อน🍖🍖 glucosamine กับ chondroitin เป็นยากินหวังผลไปเพิ่มประสิทธิภาพและการสร้างกระดูกอ่อน เนื่องจากโรคข้อเสื่อมนั้นอวัยวะสำคัญที่ถูกทำลายคือกระดูกอ่อน สารทั้งสองตัวนี้สกัดมาจากสัตว์ glucosamine มาจากเปลือกแข็งสัตว์ทะเล ส่วน chondroitin มาจากกระดูกอ่อนของสัตว์ แต่ไม่ต้องกังวลได้ผ่านกรรมวิธีมาจนรับรองว่าใช้ได้แล้ว สำหรับ hyaluronic acid จะเหมือนสารกันชนและหล่อลื่นในข้อ ในกลุ่มข้อเสื่อมสารนี้จะลดลง เป็นยาฉีดเข้าข้อ ยาตัวนี้มีความหลากหลายมากและผลการรักษาก็ขึ้นกับชนิดของยา เช่น มวลโมเลกุลมากหรือน้อย เกลือที่มาผสมกับ hyaluronic acid ที่ส่งผลต่อการแตกตัว ความคงรูป ก็ทำให้ผลการรักษาต่างกัน 🍟🍟เราใช้ยาทั้งสามตัวนี้เพื่ออะไร🍟🍟 แน่ละก็เพื่อทดแทนความเสื่อม เพื่อหวังผลสองประการคือนิยมใช้วัดผลคือ การลดปวด และสมรรถภาพข้อที่ดีขึ้นคือความสามารถในการเคลื่อนที่ ส่วน hyaluronic acid จะหวังผลลดปริมาณการผ่าตัดรักษาข้อเสื่อมโดยเฉพาะข้อเข่าด้วย เมื่อมันทำหน้าที่เป็นยา ก็ต้องมีการศึกษาที่ละเอียดบอกถึงประโยชน์ ผลเสีย ข้อบ่งใช้ ข้อควรระวังที่ชัดเจน มีการศึกษามากมายทั้งสังเกตเอา ทดลองทดสอบ รวบรวมการศึกษา ที่ผมรวบรวมและทบทวนมานี้เป็นระดับการรวบรวมการศึกษาและแนวทางการรักษา โดยไปค้นเสริมการศึกษาย่อยๆที่น่าสนใจ 🍳🍳มีคำแนะนำที่เป็นแนวทางจากสมาคมแพทย์ต่างๆหรือไม่🍳🍳 ข้อดีสำหรับยายุคนี้คือหากมีการศึกษาก็จะบอกได้ว่าหลักฐานเป็นอย่างไร แข็งแรงแน่นหนาหรืออ่อนยวบ เพื่อมาประกอบคำแนะนำ หลายๆแนวทางที่ผมค้นมาเป็น backbone ยึดหลักในการอ่านและค้นต่อคือ คำแนะนำของ american colleges of rheumatology, american associations of orthopedics surgery, NICE UK guidelines ปรากฏว่าแนวทางออกมาคล้ายๆกัน รวมทั้งการรวบรวมการศึกษาแบบ systematic review อีกสามสี่อันที่จะบันทึกไว้ตอนท้าย ข้อมูลไปในทางเดียวกันทั้งสิ้น (ความน่าเชื่อถือสูง ทั้งตรงกันและแม่นยำ) 🌮🌮 glucosamine และ chondroitin ผลเป็นอย่างไร🌮🌮 หลักฐานทั้งหมดมาจากหลักฐานชั้นดีทั้งสิ้นว่า ไม่แนะนำ การใช้ยาทั้งสองในการรักษาผู้ป่วยข้อเสื่อมที่มีอาการ เพราะจากการทบทวนทั้งหมดพบว่าประสิทธิภาพในการลดปวด และประสิทธิภาพการใช้งานของข้อ สำหรับglucosamine ไม่ได้ต่างจากยาหลอกและการรักษามาตรฐานตามปกติ (ทั้ง glucosamine sulphate และ glucosamine hydrochloride) ส่วน chondroitin มีหลักฐานเช่นกันว่าสำหรับอาการปวดนั้น ลดได้มากกว่ายาหลอกก็จริงแต่ว่าไม่มีนัยสำคัญทั้งทางคลินิกและทางสถิติ ส่วนประสิทธิภาพข้อนั้น ไม่ได้ดีกว่ายาหลอกเลย แนวทางทั้งหมดจึงไม่แนะนำการใช้ยาทั้งสองชนิดนี้ แม้โทษจะไม่มีชัดเจน แต่ประโยชน์ก็ไม่ชัดเจนเช่นกันมีแนวโน้มไปทางไม่ต่างจากยาหลอกด้วย หากเทียบกับการรักษาอื่นๆมาตรฐานเช่นการลดน้ำหนัก การทำกายภาพ หรือยาแก้ปวดพาราเซตามอล การรักษามาตรฐานให้ผลการรักษาที่ดี ราคาไม่แพง ทรงประสิทธิภาพกว่า 🍜🍜แล้วยาฉีดเข้าข้อ hyaluronic acid จะดีกว่าไหม🍜🍜 หลักฐานทั้งหมดก็มาจากข้อมูลที่ดีเชื่อถือได้ดีเช่นกันว่า ไม่แนะนำ การใช้ยาฉีดเข้าข้อเพื่อรักษาอาการปวดและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานข้อ แต่...ตรงนี้เสียงจะแตกเล็กน้อย ไม่เป็นเสียงเดียวกัน เพราะจากการศึกษาแม้ภาพรวมจะดูประโยชน์ไม่มาก คือลดปวดได้จริงและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานข้อได้เพิ่มขึ้น หากไปเทียบกับการรักษามาตรฐานหรือยาหลอก แต่ว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้น มันน้อยเกินกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ (Minimal Clinically Important Improvement) ที่จะบอกว่าส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม โดย hyaluronic ชนิดโมเลกุลหนักจะให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า 🍦🍦แล้วมีที่ใช้บ้างไหม🍦🍦 สมาคมโรครูมาตอยด์ หรือ หลายๆวารสารที่มีความน่าเชื่อถือสูง รวมทั้งมีการศึกษาตีพิมพ์ในจดหมายเหตุการแพทย์ของไทยด้วยว่า มันก็ยังพอมีที่ใช้ เพราะการศึกษากลุ่มย่อยบางกลุ่มก็สามารถลดปวดได้ดี และชะลอการผ่าตัดได้ (เช่นผู้ที่มีโรคร่วมมากๆ มีข้อห้ามการใช้ยาต้านการอักเสบ) ลดการใช้ยาตัวอื่นที่มีผลข้างเคียงสูงได้ อันนี้คือ hyaluronic นะ ส่วนยากินนั้นค่อนข้างชัดและตรงกันว่าไม่เกิดประโยชน์ คำแนะนำของสมาคมโรครูมาติซั่มของอเมริกา แนะนำใช้ได้หากให้การรักษาทางกายภาพแล้วและให้ยาแก้ปวดลดการอักเสบเต็มขนาดแล้ว อาจจะ..ใช้คำว่าอาจจะ..ใช้ยาฉีดก่อนที่จะไปสู่ขั้นตอนการรักษาต่อไปคือการผ่าตัด ---&& อันนี้ส่วนตัวนะ ผมคิดว่าอาจจะเป็นการรักษาเพื่อชะลอการผ่าตัดเท่านั้น (เพราะน่าจะถึงขั้นต้องผ่าแล้วล่ะ) ผลระยะยาวและประสิทธิภาพโดยรวมไม่น่าจะชนะการผ่าตัดได้ แต่ว่าบางคนก็โรคร่วมมาก หรือรอคิวผ่าตัดในการปรับร่างกาย ยาตัวนี้ก็อาจมีที่ใช้ โดยคำนึงถึงราคาด้วยนะ&&-- 🍞🍞ผลเสียล่ะ🍞🍞 การฉีดยาอาจเกิดการติดเชื้อหากใช้ไม่ระวัง หรืออาจมีการเจ็บและอักเสบหลังฉีดยาได้ pseudoseptic reaction ได้ และราคาที่ไม่ถูกเอาเสียเลย ต้องฉีดต่อเนื่องกันหลายครั้งหลายเข็มในหนึ่งการรักษา ส่วนข้อสะโพกยังไม่มีการศึกษาที่ยืนยันได้ชัดเจนทั้งประโยชน์และโทษเหมือนข้อเข่านะครับ สรุป...ปรับชีวิต...กายภาพ...ยาแก้ปวดผลข้างเคียงต่ำ...ยาต้านการอักเสบ..."อาจ"เลือกใช้ยาฉีดเข้าข้อ...ผ่าตัดรักษา น่าจะเป็นการดูแลรักษาโรคข้อเสื่อมที่ดี โดยเฉพาะข้อเข่า อ้อ...อย่าไอมากนัก เพราะ ไอมากจะเจ็บเข่า ที่มา -AHRQ april 2009 -GAIT trial -Clin Orthop Relat Res (2014);472:2028-34 -AAOS recommendation 2009 -ACR positional statement 2014 -Correspondence in NEJM 2015;372:2569-70 ...เถียงกันสนุกดี -NICE guidelines 2014 -OARSI recommendation in osteoartritis & cartilage 2014;22:363-88 -J Med Assoc Thai 2007 Sep;90(9) -Medscape review 2013, June 19 ข้อเข่าเสื่อม https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15 ข้อเข่าเสื่อม น้ำไขข้อเทียม https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=16 ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ ขยายเวลาให้ข้าราชการ เบิกค่ายากลูโคซามีน ได้ ( คดีพลิกอีกแล้วครับท่าน ) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-12-2012&group=7&gblog=171 ขรก.เบิกกลูโคซามีนได้แล้ว หลังศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอนเกณฑ์ ก.คลัง https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-05-2015&group=7&gblog=187 คลังสั่งถอน กลูโคซามีนซัลเฟต จากระบบเบิกค่ายา ขรก. ..ห้ามเบิกตั้งแต่ ๑ พย. ๕๕ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-10-2012&group=7&gblog=161 คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก) ttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2011&group=7&gblog=132 คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..( ต่อ ) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2011&group=7&gblog=134 คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..(จบ?) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2011&group=7&gblog=146 โดย: หมอหมู
![]() ฉีดเกล็ดเลือดแก้ปวดเข่า (Platelet Rich Plasma Therapy)
December 18, 2014 by Sant Chaiyodsilp ผมพาคุณแม่อายุ 74 ปีไปรักษาเข่าอักเสบเรื้อรังที่รพ. . กับคุณหมอกระดูกชื่อคุณหมอ ครั้งสุดท้ายนี้คุณหมอเจาะเอาเลือดออกไปปั่นแล้วฉีดกลับเข้าไปในเข่า คุณหมอบอกว่าเป็นวิธีรักษาแบบใหม่เรียกว่า PRP เป็นการเอาเกล็ดเลือดของเราเองเข้าไปรักษาการอักเสบเฉพาะที่ของเราเอง ซึ่งงานวิจัยทางการแพทย์ยืนยันว่าได้ผลดี เสียค่ารักษา 8,000 บาท หลังฉีดแล้วสามสัปดาห์อาการก็ยังไม่ดีขึ้น คุณหมอได้นัดหมายฉีดเพิ่มเติมอีก ผมอยากถามคุณหมอสันต์ว่า PRP นี้เป็นวิธีรักษาที่โอเค.ไหม ได้ผลดีจริงหรือเปล่า มีอันตรายไหม ควรจะทำการรักษาต่อไปไหม ถ้าไม่โอเค.ทำไมทางโรงพยาบาลไม่ควบคุมหมอ ทำไมจึงยอมให้หมอทำอย่างนี้อยู่ได้ . ตอบครับ ก่อนอื่นผมขอเล่าแบ้คกราวด์ให้ท่านผู้อ่านทั่วไปทราบสักหน่อยก่อนนะ ว่า PRP ย่อมาจาก platelet rich plasma แปลว่าน้ำเลือดส่วนที่มีปริมาณเกล็ดเลือดอยู่มาก วงการแพทย์รู้มานานแล้วว่าเกล็ดเลือด (platelet) นี้ปกติมันผลิตโมเลกุลที่เรียกรวมๆกันว่า growth factors (GF) ได้หลายตัว และรู้มานานแล้วว่าโมเลกุล GF เหล่านี้มันมีบทบาทในการแก้ปัญหาการอักเสบในร่างกาย จึงได้มีหมอจำนวนหนึ่ง ลอง เอาเลือดของคนไข้ออกมาปั่นแยกให้เลือดเป็นชั้นๆตามความหนักของเซลชนิดต่างๆในเลือดเอง แล้วเอาน้ำเลือดชั้นที่มีเกล็ดเลือดแยะๆที่เรียกว่า PRP นี้ออกมาใส่กระบอกฉีดยาแล้วฉีดกลับเข้าไปให้คนไข้ แต่ไม่ได้ฉีดกลับเข้าไปทางหลอดเลือดดำนะ ฉีดเข้าไปตรงกล้ามเนื้อหรือเอ็นที่คิดว่ามีการอักเสบนั่นเลย มักจะเน้นที่เอ็นหรือกล้ามเนื้อรอบๆข้อ แต่ไม่เกี่ยวอะไรกับตัวข้อนะครับ โดยตั้งสมมุติฐานว่าเมื่อเทเกล็ดเลือดปริมาณมากๆอัดเข้าไปในที่เดียวมันน่าจะปล่อย GF ออกมามากพอที่จะเร่งรัดการเยียวยาการอักเสบบริเวณนั้นให้เร็วขึ้นได้ วิธีการรักษาแบบนี้เรียกว่า platelet rich therapy (PRT) ถามว่า PRT นี้เป็นวิธีรักษาการอักเสบรอบข้อที่ได้ผลไหม ตอบว่ามีงานวิจัยขนาดเล็กๆกะป๊อดกะแป๊ดจำนวนหลายสิบรายการซึ่งให้ผลเปะปะไปคนละทิศคนละทางสรุปอะไรไม่ได้ แต่เมื่อเดือนเมษาที่ผ่านมานี้ หอสมุดโค้กเรนได้ทำการวิจัยแบบเมตาอานาไลซีส หมายความว่าเลือกเอางานวิจัยเล็กๆเหล่านั้นเฉพาะที่ออกแบบการวิจัยไว้ดี เอาข้อมูลทุกงานวิจัยมารวมกันแล้ววิเคราะห์ดูว่าผลในภาพรวมจะเป็นอย่างไร ปรากฏว่าคัดได้ 19 งานวิจัย มีคนไข้รวม 1,088 คน ตำแหน่งที่ฉีดก็เป็นที่เข่าบ้าง ที่ไหล่บ้าง ที่ศอกบ้าง ที่เอ็นร้อยหวายบ้าง แล้วประเมินโดยเอาอาการปวด (pain) การใช้งาน (function) และผลข้างเคียงของการฉีด (adverse reaction) เป็นตัวชี้วัดในการประเมิน พบว่าข้อมูลที่ได้ยังไม่หนักแน่นพอที่จะสนับสนุนให้ใช้วิธี PRT เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษาการบาดเจ็บหรือการอักเสบของกล้ามเนื้อและเอ็นครับ พูดแบบบ้านๆก็คือ วิธีนี้ยังไม่ได้ผลชัดเจน ในประเด็นอันตรายของการรักษาแบบ PRT นี้นั้น ข้อสรุปจากการวิจัยของโค้กเรนนี้สรุปว่าก็ไม่มีอันตรายอะไรใหญ่โต นอกจากภาวะแทรกซ้อนเล็กๆน้อยๆเช่นฉีดเข้าไปผิดที่ไปโดนเส้นประสาทเข้าจังๆแล้วก็ปวดไปหลายเดือนเป็นต้น ถามว่าทำไมโรงพยาบาลอนุญาตให้แพทย์ทำการรักษาที่ไม่ใช่การรักษามาตรฐานอยู่ได้ ตอบว่าคำว่าการรักษามาตรฐานนี้มันไม่เหมือนพระราชบัญญัติหรือกฎหมายที่มีตัวหนังสือครอบคลุมชัดเจนครบถ้วนไปทุกเรื่องทุกประเด็นนะครับ เพราะวิธีรักษาใหม่ๆในทางการแพทย์ถูกคิดค้นขึ้นมาตลอดเวลา คิดได้ก็เอามาลองใช้กับคนไข้ในรูปแบบของการจัยทางคลินิก การวิจัยของใหม่ๆในระยะแรกมักเป็นแบบต่างคนต่างทำแยกย้ายกันทำหลายประเทศหลายโรงพยาบาล ก็จะมีข้อมูลผลวิจัยทยอยออกมา บางงานวิจัยก็จะรายงานว่าได้ผล บางงานก็จะรายงานว่าไม่ได้ผล คือหักล้างกันเองทำให้สรุปภาพรวมไม่ได้ คำแนะนำการรักษาอย่างเป็นทางการ (guidelines) ก็ยังไม่มี ณ จุดนี้มันยังไม่มีใครบอกได้ว่านี่ถือเป็นการรักษามาตรฐานหรือยัง เรียกว่ามีช่องว่างอยู่ และในช่องว่างนี้เอง หมอที่ชอบลองวิธีรักษาใหม่ๆก็จะไปหยิบเอาเฉพาะงานวิจัยที่รายงานว่าได้ผลมาแบ๊คอัพการลองรักษาคนไข้ของตัวเอง หมอทำอะไรใหม่ๆเล็กๆน้อยๆกันแบบนี้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน โรงพยาบาลมักจะไม่ได้เข้าไปยุ่ง ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ในการรักษาคนไข้ของแพทย์ ข้อดีของระบบการทำงานแบบให้เอกสิทธิ์แพทย์นี้ก็คือ (1) ทำให้วิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปได้เร็ว และ (2) ดึงให้คนที่มี creativity สูงอยู่ในอาชีพแพทย์ได้นาน แต่ข้อเสียก็คือ (1) ถ้าเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยง คนไข้ที่ถูกจับรักษาแบบใหม่โดยไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็จะเสียหาย และ (2) ระบบเช่นนี้เปิดช่องให้คนไม่ดีที่แฝงตัวอยู่ในอาชีพแพทย์เอาการรักษาใหม่ๆที่ยังไม่รู้ว่าดีจริงหรือไม่มาใช้กับผู้ป่วยโดยมุ่งหวังเก็บเงินให้ได้มากขึ้นเป็นสำคัญ วิธีแก้ปัญหานี้ที่ดีที่สุดไม่ใช่ให้โรงพยาบาลคุมหมอแจมากขึ้น ขืนทำอย่างนั้นต่อไปคนที่มี creativity สูงก็จะหนีจากอาชีพแพทย์หมด แต่ทางออกที่ดีที่สุดคือทั้งคนไข้และทั้งโรงพยาบาลต้องสนับสนุนให้แพทย์ทำการวิจัยทางคลินิกได้ง่ายขึ้น ย้ำว่าผมพูดถึงสองส่วนนะครับ คนไข้ กับ โรงพยาบาล เอาด้านคนไข้ก่อน คนไข้ฝรั่งเวลาอ่านเจอเรื่องการรักษาอะไรใหม่ๆหากเขาอยากได้รับการรักษาแบบนั้นบ้างเขาจะไปสมัครเข้าร่วมงานวิจัยทางคลินิก เพราะเขาถือว่ามีแต่ได้กับได้ ด้านหนึ่งอาจจะได้ประโยชน์จากยาหรือการรักษาใหม่ๆ อีกด้านหนึ่งได้ร่วมสร้างองค์ความรู้ไว้ให้โลกด้วย แต่คนไข้ไทยหากหมอชวนเซ็นชื่อสมัครเข้าร่วมงานวิจัยจะถอยทันที เพราะคนไข้ไทยมีหลักคิดว่าเรื่องอะไรตัวเองจะยอมเป็นหนูตะเภา เอาไว้ให้คนอื่นเป็นหนูตะเภาไปก่อนแล้วตัวเองมารอรับประโยชน์เมื่อผลวิจัยมีข้อสรุปเบ็ดเสร็จแล้วไม่ดีกว่าหรือ แต่ความเป็นจริงคือว่าเมื่อคนไข้ไม่ยอมเข้าร่วมงานวิจัยในรูปแบบมาตรฐานซึ่งมีระบบให้ข้อมูลและระบบคุ้มกันความเสี่ยงคนไข้อย่างดี คนไข้คนเดิมนั้นแหละกลับต้องมาถูกลองวิธีรักษาแบบใหม่ๆชนิดหมอค่อยๆแอบทำแบบนิ่มๆเนียนๆ ประเด็นของผมคือวิธีทดลองแบบหลังนี้ไม่มีหลักประกันเรื่องความเสี่ยงใดๆในระหว่างการทดลองให้คนไข้เลยนะครับ แล้วถ้าคุณเป็นคนไข้ คุณควรจะเลือกแบบไหน ทางด้านโรงพยาบาลบ้าง โรงพยาบาลในเมืองไทยนี้เหมือนกันหมดอยู่อย่างหนึ่งคือผู้บริหารโรงพยาบาลไม่เคยสนใจสนับสนุนงานวิจัยเลย ผมหมายความว่า 0% ไม่เว้นแม่แต่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยซึ่งมี การวิจัย เป็นมิชชั่นหลักขององค์กร การไม่สนใจงานวิจัยของโรงพยาบาลสะท้อนให้เห็นได้จากจำนวนและคุณภาพของงานวิจัยทางคลินิกที่โรงพยาบาลแห่งนั้นตีพิมพ์ในแต่ละปี ผู้บริหารมักจะอ้างว่าแพทย์ไม่สนใจทำวิจัย การพูดอย่างนั้นเป็นไปได้อย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่าง คือ (1) คนพูดไม่รู้หลักวิชาบริหาร จึงไม่รู้ว่าองค์กรจะผลิตอะไรได้สำเร็จมันขึ้นอยู่ที่การวางเป้าหมายและจัดสรรทรัพยากรของผู้บริหาร ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับนิสัยของคนในองค์กร เพราะพฤติกรรมของคนในองค์กรนั้นเปลี่ยนได้ด้วยวิธีจัดสรรทรัพยากรขององค์กร หรือ (2) คนพูดไม่เชื่อในคุณค่าของการวิจัยทางคลินิก เอ๊ะ แล้วเรามาอยู่ที่ตรงนี้ได้ไงเนี่ย หมายความว่าทำไมผมมา ส. ใส่เกือก นั่งแนะแหนผู้บริหารโรงพยาบาลทั่วประเทศอยู่ได้ ทั้งๆที่เราคุยกันเรื่องฉีดพลาสม่ารักษาปวดเข่าแท้ๆ หยุดละ จบดีกว่า ก่อนที่จะถูกเมียสั่งห้ามเขียนบล็อก นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ บรรณานุกรม 1. Moraes VY. Platelet-rich therapies for musculoskeletal soft tissue injuries. Cochrane Database Syst Rev.2014; 29 (4): CD010071.doi:10.1002/14651858.CD010071.pub3. https://drsant.com/2014/12/platelet-rich-plasma-therapy.html โดย: หมอหมู
![]() การรักษา เข่าเสื่อม .. สิ่งสำคัญที่สุด คือ การดูแลตนเองบริหาร ยาเป็นเพียงตัวช่วย เท่านั้น
ข้อเข่าเสื่อม https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15 บ้านสำหรับผู้สูงอายุ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-03-2008&group=5&gblog=11 ผู้สูงอายุ ท่าทางที่เหมาะสม https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-03-2008&group=5&gblog=10 โดย: หมอหมู
![]() PRP ถือว่า เป็น ทางเลือก ... แต่เหมือนจะกลายเป็น ทางการตลาด ไปแล้ว ?
ศึกษาหาความรู้ ถ้ารู้แล้ว จะเลือก ก็ไม่ผิด .. น้ำไขข้อเทียม (แถม ฉีดยาเข้าข้อเข่า , การฉีดเกล็ดเลือด PRP) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-05-2008&group=5&gblog=16 ผลการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโดยการฉีดพลาสม่าที่อุดมด้วยเกล็ดเลือด ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้แต่ง ปรานปวีณ์ โรจน์เจริญงาม กลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (2022): มกราคม 2565 - มิถุนายน 2565 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/253962 ปั่นเลือดแล้วนำมาฉีดเข้าข้อเข่า อีกหนึ่งทางเลือกก่อนการรักษาข้อเข่าเสื่อม นพ.ณัฐพงศ์ หงษ์คู ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ วชิรพยาบาล https://sites.google.com/nmu.ac.th/ortho-vjr?fbclid=IwAR0DXQljH248U5QlI7v1t8_pWQW_XxqeeE_8I-ER1edZTCOhFnUN1_nQhDg การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการ ฉีดยาเข้าข้อเข่า โรงพยาบาลเฉพาะทางกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข https://kdmshospital.com/article/knee-injection/ ![]() ![]() ![]() โดย: หมอหมู
![]() |
บทความทั้งหมด
|
ขอบคุณมากนะคะ