โรคปุ่มกระดูกหน้าแข้งอักเสบ ( ออสกูด-ชาเลตเทอร์'ส ดีสีส , Osgood-Schlatter's Disease) ![]() โรคปุ่มกระดูกหน้าแข้งอักเสบ ( ออสกูด-ชาเลตเทอร์'ส ดีสีส , Osgood-Schlatter's Disease) ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ เรื้อรัง (chronic microtrauma) และจัดเป็นโรคที่เกิดจากการใช้งานมากเกินไป (overuse disorder) พบบ่อยในเด็กช่วงอายุ10-15 ปี ( เด็กผู้ชายอายุ12-15ปี เด็กผู้หญิง อายุ8-12ปี ) ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กจะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงและมีกิจกรรมมากในชีวิตประจำวัน เมื่อเด็กเจริญเติบโตเต็มที่ (เด็กผู้ชาย อายุ 16 ปีขึ้นไป เด็กผู้หญิง อายุ 14 ปี ขึ้นไป) มักจะหายไปได้เอง(ไม่เจ็บ) แต่อาจยังมีปุ่มกระดูกนูนอยู่ ประมาณ 90% มักจะมีอาการดีขึ้นหรือหายเจ็บหลังจากเริ่มมีอาการ 1-2 ปี ก้อนนูนที่ปุ่มกระดูกหน้าแข้ง (tibial tuberosity) ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงเข่าข้างเดียว แต่ก็สามารถเป็นทั้งสองข้าง (ประมาณ 20-50 %) อาการเจ็บที่ปุ่มกระดูก จะมีอาการเป็นๆ หาย ๆ มักมีอาการเจ็บมากขึ้นเวลาทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น นั่งคุกเข่า นั่งยอง เดินขึ้นบันได วิ่ง หรือ กระโดด แต่ถ้าอยู่นิ่ง ๆ มักไม่เจ็บ เดินได้ปกติ (ไม่กะเผลก)แต่ถ้ามีอาการปวดมากทันที เดินกะเผลก อาจต้องนึกถึง โรคอื่น เช่น avulsion fractures, Sinding-Larsen and Johansson syndrome เป็นต้น การวินิจฉัยโรค อาศัยประวัติ การตรวจร่างกาย ไม่จำเป็นต้องเอกซเรย์ แต่อาจตรวจเพิ่มเติม ในกรณีที่มีอาการปวดมาก รักษาแล้วไม่ดีขึ้น หรือ เพื่อแยกโรคอื่น เช่น เนื้องอกกระดูก การติดเชื้อในกระดูก เป็นต้น การตรวจร่างกาย พบก้อนนูน กดเจ็บ ที่ปุ่มกระดูกหน้าแข้ง เคลื่อนไหวข้อได้ปกติ ไม่มีข้อบวมแดงร้อน (โครงสร้างร่างกายอย่างอื่นจะต้องปกติ ) แนวทางรักษา 1.วิธีไม่ผ่าตัด สิ่งสำคัญที่สุดคือ การแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและแนวทางรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง เข้าใจและสบายใจ การรักษาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ส่วนก้อนนูน แต่ไม่มีอาการเจ็บปวด ไม่จำเป็นต้องรักษา
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเช่น ปวดเรื้อรัง ปวดมากจนมีปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน รักษาแล้วไม่ดีขึ้น มีปุ่มกระดูกนูนหรือก้อนถุงน้ำ ขนาดใหญ่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความสวยงาม เป็นต้น แนะนำอ่านเพิ่มเติม https://emedicine.medscape.com/article/1993268-treatment https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases--conditions/osgood-schlatter-disease-knee-pain/ https://www.uptodate.com/contents/osgood-schlatter-disease-tibial-tuberosity-avulsion https://familydoctor.org/condition/osgood-schlatter-disease/ https://www.sportsmedtoday.com/osgoodschlatter-disease-va-14.htm *********************************** วิธีบริหาร เข่า https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=11&gblog=5 ปวดเข่า https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-05-2008&group=5&gblog=13 ปวดเข่า .... ส่องกล้องข้อเข่า ... knee arthroscopy https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-01-2009&group=5&gblog=42 |
บทความทั้งหมด
|