โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส ![]() ![]() โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส หรือที่เรียกกันว่า โรคพุ่มพวง เป็นโรคในกลุ่มข้ออักเสบและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นผลจากความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายสร้างสารโปรตีนชนิดหนึ่งต่อต้านเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายตนเองและเกิดปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่เป็นพิษต่ออวัยวะขึ้น(แพ้ภูมิตนเอง) ทำให้มีอาการและอาการแสดงได้กับ ทุกระบบในร่างกาย เช่น มีไข้ รู้สึกอ่อนเพลีย น้ำหนักลด มีผื่นแพ้แดดบริเวณใบหน้า ลำคอ หรือต้นแขน อาการปวดข้อ ข้ออักเสบบวม ปวดตามกล้ามเนื้อ ซีด จุดเลือดออกตามตัว บวม ไตอักเสบ ซึมเศร้า กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจหรือปอดอักเสบ เป็นต้น การดำเนินของโรค อาการจะทรุดลงและดีขึ้นสลับกันไป โดยที่อาการแสดงและความรุนแรงในผู้ป่วยแต่ละคน จะมีความแตกต่างกันมาก บางรายอาจมีอาการน้อย เช่น ปวดข้อ มีผื่นที่หน้า แพ้แดด แต่ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ โรคนี้พบได้เกือบทุกช่วงอายุ แต่ ในเพศหญิง ช่วงอายุ 10-39 ปี โดยพบได้มากกว่าเพศชายประมาณ 10 เท่า สาเหตุของโรคเอสแอลอี สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่เชื่อว่า โรคนี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับ ฮอร์โมนเพศหญิง พันธุกรรม แสงแดด หรือรังสีอัลตร้าไวโอเลต การติดเชื้อบางอย่าง หรือยาบางชนิดสามารถกระตุ้นให้โรคกำเริบขึ้นได้ แนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะอาศัยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย ร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ การถ่ายภาพรังสี ซึ่งการตรวจทางห้องปฏิบัติการจะมีประโยชน์มากในการวินิจฉัยและติดตามการรักษา แพทย์จะให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ เมื่อพบว่ามีความผิดปกติดังต่อไปนี้ ตั้งแต่ 4 ข้อขึ้นไป 1. ผื่นที่หน้า รูปผีเสื้อ บริเวณโหนกแก้ม 2. ผื่นบริเวณผิวหนัง ตามหน้า ลำตัว แขนขา 3. แพ้แดด 4. แผลในปาก 5. ข้ออักเสบ 6. การอักเสบของเยื่อหุ้มปอด หรือ เยื่อหุ้มหัวใจ 7. ความผิดปกติทางไต เช่น มีโปรตีนในปัสสาวะ มีตะกอนในปัสสาวะ 8. ความผิดปกติทางระบบประสาท ที่หาสาเหตุไม่ได้ 9. ความผิดปกติของระบบเลือด เช่น ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ 10. ความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน 11. การตรวจพบสาร antinuclear antibody ในเลือด การวินิจฉัยโรค SLE นั้นใช้ criteria ของ systemic lupus international collaborating clinics (SLICC) ซึ่งต้องมีมากกว่าหรือเท่ากับ 4 ข้อ โดยต้องมีอย่างน้อย 1 ข้อจาก clinical และ laboratory criteria หรือ biopsy-proven LN ที่มี positive ANA or Anti-DNA โดย Clinical criteria ประกอบไปด้วย Acute cutaneous lupus, Chronic cutaneous lupus, Oral or nasal ulcers, Non-scaring alopecia, Arthritis, Serositis, Renal, Neurologic, Haematologic anaemia, Leukopaenia, Thrombocytopaenia และ Immunologic criteria ซึ่งประกอบไปด้วย ANA, Anti-DNA, Anti-Sm, Antiphospholipid antibodies, Low complement (C3, C4, CH50), Direct Coomb's test (not corresponds to haemolytic anaemia) ข้อควรสังเกตในการวินิจฉัย 1. ข้อวินิจฉัยนั้นต้องแยกภาวะที่เกิดจากการติดเชื้อและอื่นๆออกไปก่อน จึงจะสรุปว่าเป็นข้อวินิจฉัยของSLE ได้ 2. ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแสดงไม่ครบเกณฑ์การวินิจฉัยSLE แต่ไม่มีสาเหตุอื่นๆที่จะอธิบายอาการแสดงทางคลินิกนั้นๆควรให้การวินิจฉัยว่าเป็นprobable SLE และให้การรักษาตามแนวทางการรักษาโรคSLE แต่ควรติดตามอาการและอาการแสดงในระยะยาวเพื่อการรวินิจฉัยที่แน่นอน 3. การวินิจฉัยโรคSLE อาศัยลักษณะอาการทางคลินิกเป็นหลักการตัดตรวจชิ้นเนื้อจึงทำเฉพาะในรายที่มีปัญหาในการวินิจฉัยหรือเพื่อประเมินความรุนแรงของพยาธิสภาพในอวัยวะนั้นๆรวมถึงการวางแผนการรักษา ( ที่มา แนวทางการรักษาโรคเอสแอลอี(systemic lupus erythematosus) พญ.ขวัญฤทัย ศรีพวาทกุล https://www.medkorat.in.th/admin/ckfinder/userfiles/files/SLE-1.pdf ) ![]() ![]() แนวทางการรักษา เนื่องจากโรคนี้จะมีช่วงระยะกำเริบ และ ช่วงระยะสงบสลับกันไป ทำให้อาการแสดง และ ความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกันได้มาก การรักษาจึงแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ในแต่ละช่วงเวลา โดยแพทย์จะพิจารณาว่าจะเลือกวิธีรักษาแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับ ความรุนแรง และ อวัยวะที่มีอาการ ถ้าผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา เพียงแค่ดูแลตนเอง และมาพบแพทย์เพื่อติดตามการดำเนินของโรคเป็นระยะปีละ 1-2 ครั้งก็พอ ส่วนผู้ที่มีอาการมากอาจต้องมาพบแพทย์บ่อย ๆ หรือ ต้องนอนพักในโรงพยาบาลโดยเฉพาะในช่วงที่มีอาการมาก แต่เมื่ออาการดีขึ้นก็ค่อยปรับวิธีรักษาใหม่ เป็นครั้ง ๆ ไป แนวทางการรักษาโดยทั่วไป ประกอบด้วย 1. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น แสงแดด ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ การติดเชื้อ ยาโรคหัวใจ หรือ ยาความดันโลหิตสูงบางชนิด ยาคุมกำเนิด ยาย้อมผม เป็นต้น 2. การรักษาทางยา เป็นส่วนสำคัญในการรักษาโรคนี้ ยาจะประกอบไปด้วยหลายกลุ่มซึ่งแล้วแต่ความรุนแรงของโรค และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายที่มีอาการ ยาที่ใช้รักษาได้แก่ ยาแก้ปวดลดการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาต้านมาลาเรีย ยาสเตียรอยด์ และ ยาต้านมะเร็ง หรือ ยากดภูมิคุ้มกันอื่น ๆ ในช่วงที่โรคอยู่ในระยะสงบ ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานยาต่อ และ มาตรวจตามแพทย์นัดเป็นระยะ เช่น ทุก 4 - 6 เดือน แต่ผู้ป่วยควรรีบมาพบแพทย์ ถ้ามีอาการซึ่งแสดงว่าโรคกำเริบ เช่น ไข้ น้ำหนักลด เกิดผื่นใหม่ ๆ ข้ออักเสบมากขึ้น หรือ มีจ้ำเลือดตามตัว เป็นต้น เนื่องจากยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงมาก ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีปัญหา หรือสงสัยว่าจะเกิดผลข้างเคียงของยา ไม่ควรหยุดยาเอง เนื่องจากอาจทำให้โรคกำเริบได้ 3. การรักษาอื่น ๆ ตามอาการที่เป็นอยู่เพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาทาผิวหนัง ยากันแดด ยาลดความดันในรายที่มีความดันโลหิตสูง เป็นต้น ผู้ป่วยควรทราบถึงลักษณะการดำเนินของโรค แผนการรักษาในแต่ละช่วง ผลข้างเคียงของการใช้ยา ตลอดจนวิธีดูแลตนเองเพื่อลดความเสี่ยงที่โรคจะกำเริบมากขึ้น และ ควรติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง เพราะในบางครั้งอาการอาจรุนแรงมากขึ้นจนทำให้เสียชีวิตได้ โรคนี้ถึงแม้จะรักษาไม่หายขาด แต่ก็สามารถรักษาให้อาการต่าง ๆ สงบลง จนผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติ ซึ่งบางครั้งอาจต้องใช้เวลาในการรักษาในช่วงแรก ๆ เป็นระยะเวลานานหลายเดือน ผู้ป่วยก็ต้องมีความอดทนที่จะรักษาอย่างต่อเนื่อง ถ้ามีปัญหาในการรักษาก็ต้องปรึกษากับแพทย์ที่รักษา อย่าปรับเปลี่ยนการรักษาเอง การตั้งครรภ์และการคุมกำเนิด การตั้งครรภ์และการรับประทานยาคุมกำเนิด อาจกระตุ้นให้โรคกำเริบมากขึ้น ในผู้ที่สามารถควบคุมอาการได้และมีการสงบของโรคเป็นเวลานานพอควรจะสามารถตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรโดยมีภาวะแทรกซ้อนน้อยมากทั้งต่อแม่และเด็ก แต่ในผู้ที่ยังคุมอาการไม่ดี หรือ มีไตอักเสบกำเริบอยู่ ควรคุมกำเนิด เพราะมีโอกาสที่จะกำเริบรุนแรงถึงขั้นไตวายหรือเสียชีวิต โดยเฉพาะใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือ ช่วงหลังคลอด ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการคุมกำเนิดในช่วงที่โรคกำเริบ และ ช่วงเวลาเหมาะสมที่จะตั้งครรภ์ แนะนำอ่านเพิ่มเติม เอกสารแนะนำข้อมูลโรคเอสแอลอี สำหรับประชาชน สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย https://www.thairheumatology.org/wp-content/uploads/2017/07/เอกสารแนะนำข้อมูลโรค-SLE-สำหรับประชาชน.pdf แนวทางการรักษาโรคเอสแอลอี(systemic lupus erythematosus) พญ.ขวัญฤทัย ศรีพวาทกุล https://www.medkorat.in.th/admin/ckfinder/userfiles/files/SLE-1.pdf 2019 European League Against Rheumatism/American College of Rheumatology classification criteria for systemic lupus erythematosus https://ard.bmj.com/content/78/9/1151 Systemic Lupus Erythematosus (SLE) in Pregnancy https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=1317:systemic-lupus-erythematosus-sle-in-pregnancy&catid=45:topic-review&Itemid=561 โรคข้ออักเสบ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-12-2007&group=5&gblog=1 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=05-01-2008&group=5&gblog=2 โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-03-2008&group=5&gblog=9 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ตรวจแลบ) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-02-2008&group=4&gblog=9 ใจเย็น ๆ ครับ .. ถ้าสงสัย ให้ลองไปปรึกษาแพทย์ ก่อนดีกว่าครับ ![]() โดย: หมอหมู
![]() น่ากลัวค่ะ
ต่ายเป็นมา20ปีแล้ว โชคดีทีไม่มีอาการรุนแรงแบบนี้ โดย: Moon~JulY
![]() โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=05-01-2008&group=5&gblog=2 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ กายภาพบำบัด https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=20-01-2008&group=5&gblog=3 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-02-2008&group=5&gblog=4 โรครูมาตอยด์ในเด็ก https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-02-2008&group=5&gblog=7 โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-03-2008&group=5&gblog=9 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ตรวจแลบ) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-02-2008&group=4&gblog=9 โรคข้ออักเสบ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-12-2007&group=5&gblog=1 เวบสมาคมรูมาติซั่มแห่งประเทศไทย ( หมออายุรกรรมโรคข้อ ) //www.thairheumatology.org/index.php เวบสมาคมรูมาติซั่ม รายชื่อแพทย์รูมาโต ( หมออายุรกรรมโรคข้อ ) //www.thairheumatology.org/list_bkk.php โดย: หมอหมู
![]() |
บทความทั้งหมด
|
บางทีก็มีแผลในปาก
แล้วก็ผื่น ผด ขึ้นง่าย เพราะผิวแพ้ง่ายมาก ๆ
หรือว่า?