ปวดขาในเด็ก จากการเจริญเติบโต
( Growing Pain or benign limb pain of childhood )พบประมาณ
25 40 % ของเด็กปกติ
พบบ่อยในช่วงอายุ
3 - 5 ปี และ ช่วงอายุ
8 - 12 ปี ( ส่วนใหญ่ จะหายไปเองเมื่อเด็กโตขึ้น )
สาเหตุยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดอาจเกิดเนื่องจาก การเจริญเติบโตของกระดูกที่ยืดยาวเร็วกว่ากล้ามเนื้อ การใช้งานกล้ามเนื้อ หรือ มีกิจกรรมในช่วงกลางวันมากเกินไป อากาศเย็น
อาการจะมีอาการปวดตึง ที่กล้ามเนื้อน่อง ข้อพับเข่า หรือ ต้นขา ( บริเวณข้อ ไม่ปวด ไม่บวม ) นานประมาณ 30 นาที 2 ชั่วโมง
มักมีอาการในช่วงเย็น หรือ ก่อนนอน แต่ในบางครั้งอาจมีอาการหลังจากนอนหลับไปแล้ว ทำให้เด็กต้องตื่นกลางดึก แต่พอบีบนวดสักพัก ก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น นอนหลับได้ พอตื่นนอนตอนเช้าก็จะเดินวิ่งได้เหมือนปกติ
ความรุนแรง ของ อาการปวด แตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน และ แตกต่างกันในแต่ละวัน บางวันก็ปวดมาก บางวันก็ปวดน้อย บางช่วงก็อาจหายไปนานหลายเดือนแล้วกลับมาเป็นใหม่
แนวทางการวินิจฉัยมีอาการปวดตึงที่กล้ามเนื้อ น่อง ข้อพับ หรือ ต้นขา แต่
ไม่มี อาการ บวม แดง ร้อน ไม่มีข้อบวม ถ้าบีบนวด ใช้ครีมนวด หรือ ประคบด้วยความร้อน ก็จะดีขึ้น
ตื่นนอนตอนเช้า จะหายเป็นปกติ เดินวิ่งได้เหมือนปกติการวินิจฉัยได้จาก ประวัติ และ การตรวจร่างกาย ไม่จำเป็นต้อง เจาะเลือด เอกซเรย์
แนวทางการรักษาเวลานอน ให้ สวมกางเกงนอนขายาว และ สวมถุงเท้า
บีบนวดเบา ๆ หรือ ใช้ครีมนวด ประคบด้วยความร้อน ผ้าชุบน้ำอุ่น ร่วมด้วยก็ได้
ค่อย ๆ ยืดขา เหยียดงอข้อเท้า ข้อเข่า
ถ้ามีอาการปวดมาก ให้ รับประทานยา พารา
ถ้ามีอาการเหล่านี้ ให้ไปพบแพทย์มีอาการปวดมาก มีอาการบวมแดงในบริเวณที่ปวด เวลาจับ หรือ นวด แล้วปวดมากขึ้น
หลังจากตื่นนอนตอนเช้า แล้วอาการไม่ดีขึ้น
มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ข้อบวมแดงร้อน มีไข้ เดินกะเผลก เบื่ออาหาร เป็นต้น
//www.oknation.net/blog/print.php?id=34865//kidshealth.org/parent/general/aches/growing_pains.html//www.kidspot.com.au/article+149+34+Growing-Pains.htm//www.kidspot.com.au/article+150+34+Causes-of-growing-pains.htm