กระเป๋านักเรียน หนักเกินทนไหว สะพายเป้อย่างไร ไม่ให้ปวดหลัง
ถาม
โรงเรียนให้ใช้กระเป๋านักเรียนเป็นแบบเป้สะพายหลังแต่กระเป๋าเขาหนักมาก จะมีผลกับกระดูกมากน้อยอย่างไรไหมคะ ?
ตอบ
ถ้าสะพายกระเป๋าเป้ที่มีน้ำหนัก20 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัวเด็ก จะมีโอกาสเกิดอาการ ปวดคอ ปวดหลังกระดูกสันหลังคด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และยังทำให้การทำงานของปอดลดลง อีกด้วยนะครับ
มีคำแนะนำเกี่ยวกับการซื้อการใช้เป้สะพายหลัง
1.วิธีเลือกซื้อกระเป๋าเป้สะพายหลัง
- กระเป๋ามีน้ำหนักเบา
- ความกว้างกระเป๋าต้องไม่กว้างกว่าไหล่และความสูงของกระเป๋าเมื่อเด็กนั่งลง ต้องไม่สูงเกินไหล่
- สายสะพายไหล่ หุ้มเบาะทั้งสองเส้นควรมีความกว้างกว่า 6 ซ.ม. เพื่อกระจายแรงที่กดลงบนไหล่
- ควรมีสายคาดบริเวณเอวจะช่วยให้กระเป๋ากระชับกับแผ่นหลัง ไม่แกว่งไปมาขณะเดินหรือวิ่ง
2.ควรคล้องสายสะพายไหล่ทั้ง 2 เส้นและปรับสายสะพายให้กระชับพอดีเพื่อให้กระเป๋าแนบหลังและก้นกระเป๋าอยู่สูงกว่าเอวถ้ามีสายรัดบริเวณเอวก็ควรใช้ด้วย
3.น้ำหนักกระเป๋า ไม่ควรเกิน 10 - 15 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว หรือถ้าเด็กสะพายกระเป๋าแล้วเดินโน้มตัวมาข้างหน้า แสดงว่า น้ำหนักกระเป๋ามากเกินไป
4.จัดสิ่งของที่มีน้ำหนักมากที่สุดให้อยู่ชิดบริเวณกลางหลังมากที่สุดและจัดวางให้น้ำหนักกระจายทั่วกระเป๋า
Create Date : 02 มิถุนายน 2560
Last Update : 2 มิถุนายน 2560 15:18:21 น.
Counter : 7840 Pageviews.
1 comments
Share
Tweet
สรุปผล มีค.68
โฮมสเตย์ริมน้ำ
(7 เม.ย. 2568 13:43:10 น.)
เมื่อฉันเป็นมะเร็ง
WarinD Ninajang
(5 เม.ย. 2568 13:14:45 น.)
วิ่งข้างบ้าน 19,31 มี.ค.2568/ผลวิ่ง มี.ค./อื่นๆ/ค่าฝุ่นPM2.5 อุทัยธานี
สองแผ่นดิน
(1 เม.ย. 2568 22:45:46 น.)
หมูรอไปเข้าคลาส
peaceplay
(26 มี.ค. 2568 05:27:30 น.)
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
· 31 กรกฎาคม ·
📣📣 กรมการแพทย์ แนะเด็กไทยไม่ควรแบกกระเป๋านักเรียนเกิน 10 - 20% ของน้ำหนักตัว
.
แพทย์ชี้การสะพายกระเป๋านักเรียนที่หนักอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อโครงสร้างร่างกายและส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็ก แนะน้ำหนักที่สามารถสะพายได้ไม่ควรเกิน 10 - 20% ของน้ำหนักตัว แนะควรใช้กระเป๋าลากหากต้องสะพายเป็นเวลานาน
.
🧑🧑 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า จากข่าวที่ออกมาว่าเด็กมีอาการกระดูกสันหลังคดเกิดจากการสะพายกระเป๋านักเรียนหนัก
.
👦👧 จากข้อมูลพบว่าเด็กไทยวัยประถมแบกกระเป๋าที่มีน้ำหนักเกินกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวเด็ก ปกติเด็กควรสะพายกระเป๋านักเรียนน้ำหนักไม่เกิน 10 - 20% ของน้ำหนักตัวเด็ก
.
👦👧 หากมีเด็กน้ำหนัก 30 กก. น้ำหนักกระเป๋าที่เด็กสามารถถือได้ต้องไม่เกิน 3 กก.เท่านั้น แต่ปัจจุบันพบว่ากระเป๋านักเรียน 1 ใบ มีน้ำหนักสูงถึง 4 - 6 กก. การที่ต้องแบกกระเป๋าใบใหญ่ ทั้งหนักและนานอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อโครงสร้างร่างกายและส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็ก รวมถึงการทรงตัวที่ไม่ดีนักเนื่องจากอยู่ในช่วงการเจริญเติบโตและพัฒนาการการทรงตัว อีกทั้งกำลังแขนขายังไม่แข็งแรงการแบกกระเป๋าใบใหญ่และน้ำหนักมาก อาจทำให้เด็กล้มง่าย เดินลำบากมากขึ้น เกิดการบาดเจ็บทั้งจากการล้มและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการแบกกระเป๋า
.
🎒🎒 กระเป๋านักเรียนที่ใช้แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ แบกกระเป๋าโดยใช้มือถือ และแบกกระเป๋าโดยแขวนหลัง (back pack) ซึ่งแบบมือถือไม่เหมาะกับการแบกเป็นเวลานานอาจเกิดการบาดเจ็บ และเสียสมดุลร่างกายได้มากกว่าแบบแขวนหลัง
.
🧑🧑 นายแพทย์สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน เพิ่มเติมว่า โรคกระดูกสันหลังคด เป็นการคดงอหรือบิดเบี้ยวของกระดูกสันหลังไปด้านข้างทำให้เสียสมดุล
.
📌📌 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
.
1⃣ กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุพบบ่อยถึง 80% ในเด็ก แบ่งตามอายุที่เริ่มเป็น คือ 0-3 ปี 4-10 ปี และ 11-18 ปี พบบ่อยในเด็กผู้หญิงมากว่าเด็กผู้ชาย
.
2⃣ กลุ่มที่ทราบสาเหตุ เกิดจากโรคทางพันธุกรรม เช่น ท้าวแสนปม ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ เช่น เด็กสมองพิการ โปลิโอ กลุ่มสาเหตุนี้จะทำให้กระดูกสันหลังคดมาก
.
💥💥 สังเกตอาการโรคกระดูกสันหลังคดได้ โดยลำตัวของเด็กจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อเด็กยืนหันหลังจะสังเกตเห็นความสูงของระดับหัวไหล่ ความนูนของกระดูกสะบัก ระดับแนวกระดูกสะโพกที่ไม่เท่ากัน รวมถึงหน้าอก ซี่โครงด้านใดด้านหนึ่งยื่นออกมาด้านหน้า หรือให้เด็กยืนเท้าชิดกัน และให้ก้มตัวมาทางด้านหน้าใช้มือ 2 ข้างพยายามแตะพื้นจะเห็นความนูนของหลังไม่เท่ากัน
.
🎒🎒 หากกระเป๋ามีน้ำหนักเกิน หรือต้องแบกเป็นเวลานานควรเปลี่ยนจากกระเป๋าแขวนหลังเป็นกระเป๋าลาก เพื่อป้องกันการปวดหลัง ขอแนะนำให้ผู้ปกครองควรสังเกตอาการของเด็ก โดยเฉพาะช่วงอายุ 10-13 ปี หากกระดูกสันหลังผิดรูป ไหล่สูงต่ำไม่เท่ากันควรพาเด็กมาพบแพทย์ เพื่อตรวจยืนยันและให้การรักษาต่อไป
#nnt #สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ #กรมการแพทย์ #เป้นักเรียน #น้ำหนักกระเป๋า #PRD12
โดย:
หมอหมู
วันที่: 2 สิงหาคม 2562 เวลา:13:45:59 น.
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
Cmu2807.BlogGang.com
หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [
?
]
บทความทั้งหมด
เมอรัลเจีย พาเรสทีทิกา Meralgia Paresthetica (Burning Thigh Pain , Skinny Jeans Syndrome)
ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก
กระเป๋านักเรียน หนักเกินทนไหว สะพายเป้อย่างไร ไม่ให้ปวดหลัง
อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดย ภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ
ปวดหลังกระดูกทับเส้น ยา pregabalin และสัจจธรรมเรื่องอาการปวด .. โดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
กลุ่มอาการผิดปกติจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน (Hand-Arm Vibration Syndrome: HAVS) .. นำมาฝาก
ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ ง่ายมาก
ทำไม ... ลูกถึงเดินขาโก่ง ... แบบนั้นละคะคุณหมอ ???
ข้อสะโพกอักเสบ ชั่วคราว ในเด็ก ( Transient synovitis , toxic synovitis or irritable hip )
ปวดก้นกบ ( Coccyx Pain , coccydynia , coccygodynia )
หัวกระดูกสะโพกตาย จากการขาดเลือด ในเด็ก Legg-Calve'-Perthes disease
มะเร็งกระดูก เนื้องอกกระดูก ชนิดไจแอนท์เซลทูเมอร์ (Giant Cell Tumor, GCT ) Osteosarcoma
ปวดเข่า .... ส่องกล้องข้อเข่า ... knee arthroscopy
ปวดขาในเด็ก จากการเจริญเติบโต ( Growing Pain or benign limb pain of childhood )
กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน เหมือนกัน ??? ถ้าเป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ???
กระดูกงอก แคลเซี่ยมเกาะ ถือว่า ผิดปกติ ต้องผ่าตัดเอาออก หรือไม่ ?
ดัดข้อ แล้วมีเสียงลั่น ในข้อ เกิดจากอะไร ??? อันตรายหรือไม่ ???
ภาวะ หัวกระดูกสะโพกตาย จาก การขาดเลือด
กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เป็นอย่างไร ???
โรคนิ้วหัวแม่เท้าเก ออกด้านนอก (โรคฮัลลักซ์ วัลกัส ,Hallux Valgus )
กลุ่มอาการปวดบริเวณ ส้นเท้า ... เส้นเอ็นร้อยหวาย อักเสบ
เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ( รองช้ำ )
เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ (Tennis Elbow , Golfer Elbow )
ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ( โรคคาร์พัล แกงเกลียน ,Carpal ganglion )
ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอ เกอร์แวง , De Quervain's Disease)
เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ ฟิงเกอร์ ,Trigger Finger)
กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ (ผังผืดทับเส้นประสาท)
อาหารเสริมกับโรคข้อ
ปวดคอ
ปวดไหล่ ข้อไหล่ติด
โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS )
กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ
หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท
การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ
กระดูกสันหลังเสื่อม
สาเหตุ ของอาการ ปวดหลัง ที่พบบ่อย
ปวดหลัง
ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ ปวดหลัง
ข้อเข่าเสื่อม ยาฉีดเข่า: น้ำไขข้อเทียม ยาสเตียรอยด์ เกล็ดเลือด (PRP) สเต็มเซลล์ (อัปเดต มค.2568)
ข้อเข่าเสื่อม ( OA knee , Osteoarthritis knee )
โรคปุ่มกระดูกหน้าแข้งอักเสบ ( ออสกูด-ชาเลตเทอร์'ส ดีสีส , Osgood-Schlatter's Disease)
ปวดเข่า
โรคข้อเสื่อม
บ้านสำหรับผู้สูงอายุ ปลอดภัย ไม่ล้ม
ผู้สูงอายุ ท่าทางที่เหมาะสม
โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส
เกาต์
การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BONE DENSITOMERY)
กระดูกพรุน กระดูกโปร่งบาง Osteoporosis
โรครูมาตอยด์ในเด็ก
ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง)
กายภาพบำบัดในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
ข้ออักเสบ
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.
· 31 กรกฎาคม ·
📣📣 กรมการแพทย์ แนะเด็กไทยไม่ควรแบกกระเป๋านักเรียนเกิน 10 - 20% ของน้ำหนักตัว
.
แพทย์ชี้การสะพายกระเป๋านักเรียนที่หนักอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อโครงสร้างร่างกายและส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็ก แนะน้ำหนักที่สามารถสะพายได้ไม่ควรเกิน 10 - 20% ของน้ำหนักตัว แนะควรใช้กระเป๋าลากหากต้องสะพายเป็นเวลานาน
.
🧑🧑 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า จากข่าวที่ออกมาว่าเด็กมีอาการกระดูกสันหลังคดเกิดจากการสะพายกระเป๋านักเรียนหนัก
.
👦👧 จากข้อมูลพบว่าเด็กไทยวัยประถมแบกกระเป๋าที่มีน้ำหนักเกินกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวเด็ก ปกติเด็กควรสะพายกระเป๋านักเรียนน้ำหนักไม่เกิน 10 - 20% ของน้ำหนักตัวเด็ก
.
👦👧 หากมีเด็กน้ำหนัก 30 กก. น้ำหนักกระเป๋าที่เด็กสามารถถือได้ต้องไม่เกิน 3 กก.เท่านั้น แต่ปัจจุบันพบว่ากระเป๋านักเรียน 1 ใบ มีน้ำหนักสูงถึง 4 - 6 กก. การที่ต้องแบกกระเป๋าใบใหญ่ ทั้งหนักและนานอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อโครงสร้างร่างกายและส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็ก รวมถึงการทรงตัวที่ไม่ดีนักเนื่องจากอยู่ในช่วงการเจริญเติบโตและพัฒนาการการทรงตัว อีกทั้งกำลังแขนขายังไม่แข็งแรงการแบกกระเป๋าใบใหญ่และน้ำหนักมาก อาจทำให้เด็กล้มง่าย เดินลำบากมากขึ้น เกิดการบาดเจ็บทั้งจากการล้มและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการแบกกระเป๋า
.
🎒🎒 กระเป๋านักเรียนที่ใช้แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ แบกกระเป๋าโดยใช้มือถือ และแบกกระเป๋าโดยแขวนหลัง (back pack) ซึ่งแบบมือถือไม่เหมาะกับการแบกเป็นเวลานานอาจเกิดการบาดเจ็บ และเสียสมดุลร่างกายได้มากกว่าแบบแขวนหลัง
.
🧑🧑 นายแพทย์สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน เพิ่มเติมว่า โรคกระดูกสันหลังคด เป็นการคดงอหรือบิดเบี้ยวของกระดูกสันหลังไปด้านข้างทำให้เสียสมดุล
.
📌📌 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
.
1⃣ กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุพบบ่อยถึง 80% ในเด็ก แบ่งตามอายุที่เริ่มเป็น คือ 0-3 ปี 4-10 ปี และ 11-18 ปี พบบ่อยในเด็กผู้หญิงมากว่าเด็กผู้ชาย
.
2⃣ กลุ่มที่ทราบสาเหตุ เกิดจากโรคทางพันธุกรรม เช่น ท้าวแสนปม ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ เช่น เด็กสมองพิการ โปลิโอ กลุ่มสาเหตุนี้จะทำให้กระดูกสันหลังคดมาก
.
💥💥 สังเกตอาการโรคกระดูกสันหลังคดได้ โดยลำตัวของเด็กจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อเด็กยืนหันหลังจะสังเกตเห็นความสูงของระดับหัวไหล่ ความนูนของกระดูกสะบัก ระดับแนวกระดูกสะโพกที่ไม่เท่ากัน รวมถึงหน้าอก ซี่โครงด้านใดด้านหนึ่งยื่นออกมาด้านหน้า หรือให้เด็กยืนเท้าชิดกัน และให้ก้มตัวมาทางด้านหน้าใช้มือ 2 ข้างพยายามแตะพื้นจะเห็นความนูนของหลังไม่เท่ากัน
.
🎒🎒 หากกระเป๋ามีน้ำหนักเกิน หรือต้องแบกเป็นเวลานานควรเปลี่ยนจากกระเป๋าแขวนหลังเป็นกระเป๋าลาก เพื่อป้องกันการปวดหลัง ขอแนะนำให้ผู้ปกครองควรสังเกตอาการของเด็ก โดยเฉพาะช่วงอายุ 10-13 ปี หากกระดูกสันหลังผิดรูป ไหล่สูงต่ำไม่เท่ากันควรพาเด็กมาพบแพทย์ เพื่อตรวจยืนยันและให้การรักษาต่อไป
#nnt #สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ #กรมการแพทย์ #เป้นักเรียน #น้ำหนักกระเป๋า #PRD12