กลุ่มอาการผิดปกติจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน (Hand-Arm Vibration Syndrome: HAVS) .. นำมาฝาก






กลุ่มอาการผิดปกติจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน (Hand-Arm Vibration Syndrome: HAVS)

//www.thaieditorial.com/tag/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99/

กลุ่มอาการผิดปกติจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน (Hand-Arm Vibration Syndrome: HAVS) เป็นอาการผิดปกติที่เกิดกับ นิ้วมือ มือ และแขน จากการใช้เครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือน

สาเหตุ ความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด HAVS นอกจากนี้การสัมผัสความเย็นจะเพิ่มความผิดปกติที่เกิดจากความสั่นสะเทือนด้วย เพราะอุณหภูมิที่ลดลงมีผลให้หลอดเลือดหดตัว เลือดไปเลี้ยงนิ้วมือลดลง และลดอุณหภูมิที่ผิวหนังของนิ้วมือ ในคนงานสัมผัสความสั่นสะเทือนซึ่งจะต้องทำงานในที่มีอุณหภูมิต่ำ การมีประสาทสัมผัสที่ผิวหนังลดลงบ่อยๆ อาจจะส่งผลให้เกิดการลดลงของการรับประสาทสัมผัสอย่างถาวร และเสียความถนัดของมือในการจับต้องอุปกรณ์ต่างๆได้

อาการของโรค จากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน ประกอบด้วย การเสียวแปลบ ชา และซีดขาวของนิ้วมือ อาจเสียความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อ และเมื่อมีเลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงดังเดิมอาจมีอาการปวดและการรับความรู้สึกร้อน-เย็น ลดลง ในรายที่รุนแรง จะมีการทำลายผนังหลอดเลือดแดงที่นิ้ว ทำให้รูหลอดเลือดเล็กลง และจะมีการดำเนินโรครุนแรงขึ้นเรื่อยๆโดยมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ

1. มีความผิดปกติของระบบหลอดเลือด ที่เรียกว่าเรย์นอด ฟีโนมินอน (Raynaud’s phenomenon) ที่มีสาเหตุจากอาชีพ โดยมีการรบกวนการไหลเวียนเลือด ทำให้มีหลอดเลือดตีบและนิ้วมือซีดขาว ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีการเปลี่ยนแปลงของปลายนิ้วในทางเสื่อมลง (Trophic Change) เช่น เกิดแผลที่ปลายนิ้ว (Finger Tip Ulceration)

2. มีการทำลายเส้นประสาทรับความรู้สึกและเส้นประสาทสั่งการ ทำให้มีอาการเสียวแปลบ ชา เสียการประสานงานระหว่างนิ้ว และความคล่องแคล่วในการใช้มืิอ การสัมผัสความสั่นสะเืทือนอย่างต่อเนื่องไม่เพียงแต่ลดการกระตุ้นตัวรับที่ผิวหนัง แต่ยังเพิ่มการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพต่อเส้นประสาทที่นิ้วมือ เช่น มีการบวมรอบเส้นประสาทตามด้วยการเกิดพังผืดและใยประสาทเสียหาย

3. มีความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสกับความสั่นสะเทือนอาจมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อและมีอาการปวดในมือและแขน และอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้สูญเสียสมรรถภาพได้

การป้องกัน แนวทางการป้อง HAVS ในผู้ปฏิบัติงานที่ใช้เครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือนมีดังนี้

1. เลือกใช้เครื่องมือที่มีระบบป้องกันการสั่นสะเทือน หรือมีความสั่นสะเทือนน้อย

2. ใช้เครื่องมืออย่างถูกวิธีและมีการบำรุงรักษาที่ดีอย่างต่อเนื่อง

3. ใช้ถุงมือป้องกันความสั่นสะเทือน (Antivibration Gloves)

4. มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน ไม่ใช้เครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือนในระยะเวลานานเกินไป

5. ขณะทำงานที่ต้องสัมผัสความสั่นสะเทือน ควรจัดให้มีการหยุดพักย่อยเป็นระยะ ครั้งละอย่างน้อย 10 นาที

6. รักษาร่างกายให้อบอุ่น โดนเฉพาะบริเวณมือ เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก

7. งดการสูบบุหรี่ เพราะมีผลกระทบต่อการไหลเวียนโลหิต


...........................


โรคนิ้วตายจากความสั่นสะเทือน

//www.npc-se.co.th/npc_date/npc_previews.asp?id_head=4&id_sub=19&id=235

โรคนิ้วตายจากความสั่นสะเทือนเป็นโรคที่มีอาการโรคในระยะเริ่มแรกมักจะไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคจึงเป็นผลให้คนงานยังคงทำงาน ที่มีความสั่นสะเทือนต่อไปและหากยังคงขาดการป้องกัน ี่ดี อาการของโรคจะรุนแรงจนไม่สามารถรักษาให้หายได้ มีงานหลายประเภทที่ คนงานมี ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้สูง ดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับโรคและวิธีการป้องกันการเกิดโรคจะช่วยลดอัตราการเกิดโรคนี้ได้


ทำไมถึงเป็นโรคนี้ได้

คนงานที่ทำโดยใช้เครื่องมือที่เกิดความสั่นสะเทือนระทำงานเป็นประจำ ได้แก่ คนงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง งานเหมือง งานตัดไม้อุตสาหกรรมรถยนต์ งานเหมือง งานตัดไม้อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น จะมีการใช้เครื่องมือ เช่น เครื่องเลื่อยโซ่ เครื่องเจาะคอน กรีต เครื่องขัดพื้นหิน เครื่องอัดดิน เครื่องย้ำหมุน จะถ่ายทอดมาถึงมือขณะปฏิบัติงาน ทาให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณมือไม่สะดวก และยังมีผลต่อ ระบบประสาท ทำให้รู้สึกเหมือนมีเข็มเล็ก ๆ ตำ บริเวณนิ้วมือ ชา ปวด และสีนิ้วจะเริ่มซีด อาการของโรคอาจปรากฏได้หลังจากทำงานที่เกิดการ สั่นสะเทือนเป็นเวลาเพียง 1 ปี เท่านั้น


ผู้ป่วยมีอาการอย่างไรบ้าง

อาการของผู้ป่วยแบ่งได้เป็น 4 ระยะ คือ

    ระยะที่ 1 ผู้ป่วยจะมีอาการชาเป็นครั้งคราว บริเวณปลายนิ้วจะเริ่มซีด ซึ่งอาการของผู้ป่วยระยะนี้จะไม่รบกวนการทำงาน ของผู้ป่วย

    ระยะที่ 2 อาการนิ้วซีดขาว จะเพิ่มมากขึ้น และจะเริ่มมีอาการหลายนิ้ว โดยปกติอาการจะเกิดเมือเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว ผู้ป่วย จะไม่รู้สึกว่ามีอาการ ของโรคขณะทำงานแต่จะรู้สึกเมื่อไม่ได้ทำงาน

    ระยะที่ 3นิ้วผู้ป่วยจะซีดขาวทั้งในฤดูร้อนและฤดูหนาวโดยจะรู้สึกชาและปวดทั้งขณะทำงานและอยู่บ้าน

    ระยะที่ 4 นิ้วของผู้ป่วยจะซีดขาวหมดตลอดเวลา ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงอาการชาและเจ็บปวดขณะทำงานจนไม่สามารถปฏิบัติงานใหม่ในที่สุด ในการวิจัยอาการของโรคของผู้ป่วย จะพิจารณาอาการทางประสาท หรืออาการชาที่เกิดขึ้นโดยมิได้กระตุ้นด้วยความสั่นสะเทือน หากผู้ป่วยมีอาการ เกิดขึ้นเฉพาะขณะใช้เครื่องมือสั่นสะเทือนหรือหลังเลิกใช้เท่านั้น ให้วินิจฉัยว่ามิใช่อาการของโรคในฤดูหนาวหรือตอนเช้า ถ้าผู้ป่วยยังคงต้องทำงาน ที่ทำให้เกิดความสั่นสะเทือนต่อไปอีก อาการจะรุนแรงมากขึ้น และจะไม่หายตลอดไป


จะป้องกันกันได้อย่างไร

การป้องกันการเกิดโรคนี้กับคนงาน นายจ้างและลุกจ้างจะต้องร่วมมือกันโดยใช้วิธีการดังนี้

        ในสายงานการผลิตควรใช้วิธีการทางวิศวกรรมเพื่อลดความจำเป็นในการใช้เครื่องมือที่ทำให้เกิดความสั่นสะเทือน เช่น เพิ่มงานควบคุมคุณภาพเหล็กหล่อ เพื่อลดการนำผลิตภัณฑ์มาตกแต่งใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้เครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือน เป็นต้น
        ออกแบบเครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือนให้สามารถลดความสั่นสะเทือนทีเกิดขึ้นที่มือแขนได้ และเลือกซื้อเครื่องมือที่มี อุปกณ์ลดความสั่นสะเทือนที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานมาใช้
        ตรวจสุขภาพคนงานก่อนให้ทำงานในแผนกที่ใช้เครื่องมือสั่นสะเทือน สอบถามประวัติการทำงาน และเก็บรักษาไว้ตลอด ระยะเวลาจ้างงาน
        ให้คนงานใช้ถุงมือที่สามารถลดความสั่นสะเทือนได้ นอกจากนั้นยังทำให้มืออบอุ่นซึ่งสามารถลดอาการของโรคได้
        กำหนดเวลาพักช่วงสั้น ๆ ระหว่างการทำงาน ให้กับคนงานที่ทำงานใช้เครื่องที่ทำให้เกิดความสั่นสะเทือนตลอดเวลา

ให้การอบรมและคำแนะนำแก่ลูกจ้างที่ปฏิบัติงาน ดังนี้
        ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการของโรคที่เกิดจากใช้เครื่องมือที่สั่นสะเทือน
        แนะนำการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ว่า ควรใช้ด้วยความระมัดระวังตามคำแนะนำของผู้ผลิต
        ในขณะใช้เครื่องมือ อย่ากำแน่นเกินไป เพราะจะทำให้ความสั่นสะเทือนถ่ายทอดถึงมือผู้ปฏิบัติงานได้มากยิ่งขึ้น
        ในฤดูหนาวผู้ปฏิบัติงานควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำให้ร่างกายอบอุ่นเป็นปกติ เพราะ ถ้าร่างกายมีอุณหภูมิต่ำการไหลเวียน ของโลหิตไปยังปลายนิ้วมือจะลดลง ทำให้เกิดอาการโรคได้มากขึ้น
        หากเป็นไปได้ ให้ใช้วิธีอื่น ๆ ในการปฏิบัติงานแทนการใช้เครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือน

....................................

อันตรายจากความสั่นสะเทือนเฉพาะที่

//www.jorpor.com/DS/Occupational%20Vibration%20Disorders.html   

มักพบในคนงานที่จับถือเครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือนสูง เช่น เลื่อยยนต์, เครื่องเจาะ, ถนน, เครื่องเจียรนัย ความผิดปกติจากการใช้อุปกรณ์เหล่านี้รวมเรียกว่า Hand-Arm Vibration Syndrome

Hand-Arm Vibration Syndrome : HAVS เป็นชื่อใหม่ของโรคที่เกิดขึ้นจากความสั่นสะเทือนของมือและแขน ซึ่งได้รับการบัญญัติโดยคณะนักวิทยาศาสตร์ที่เข้าร่วมประชุมนานาชาติที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ.1983 ซึ่งหมายถึงโรคที่ประกอบด้วยกลุ่มอาการ ดังนี้
    มีความผิดปกติของการหมุนเวียนโลหิตที่เกิดจากการหดเกร็งตัวของเส้นเลือดที่นิ้วมือทำให้มีอาการซีด
    มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลายทั้งส่วนของประสาทรับรู้และประสาทควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการชาและการทำงานของนิ้วไม่สัมพันธ์กันขาดความคล่องแคล่ว
    มีความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้าง คือ กระดูก ข้อต่อและกล้ามเนื้อผิดปกติ

ลักษณะทางคลีนิก : HAVS เป็นโรคที่แสดงอาการช้าเร็วแตกต่างไปตามปริมาณและระยะเวลาที่สัมผัสกับความสั่นสะเทือน รวมทั้งปัจจัยเกี่ยวกับความไวต่อโรคของผู้ป่วย
การเฝ้าระวังโรค   มีวัตถุประสงค์คือ การป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจากการสั่นสะเทือนและเพื่อค้นหาผู้ป่วยก่อนที่จะมีอาการรุนแรงเกิดขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ดังนี้


การตรวจร่างกายแรกเข้า (Preplacement Examination) เพื่อจัดสรรคนที่มีสุขภาพดีมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่ำ องค์ประกอบของการตรวจร่างกายประเภทนี้
ประกอบด้วย

การซักประวัติ
•  ข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ สถานที่เกิด และที่อยู่ปัจจุบัน

•  ประวัติการทำงานที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์สั่นสะเทือนทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยระบุชื่อสถานประกอบการ แผนกประเภทของอุปกรณ์และระยะเวลาที่ใช้เป็นจำนวนชั่วโมง/สัปดาห์, สัปดาห์/ปีและจำนวนปีที่ทำงาน

•  ประวัติการได้รับสาร

•  การบาดเจ็บ หรือโรคประจำตัว

•  การรักษาในโรงพยาบาลหรือการได้รับการผ่าตัด

•  โรคมะเร็ง

•  อาการปวดหลัง

•  การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  6 แก้ว ขึ้นไปต่อสัปดาห์

•  การสูบบุหรี่ (ในอดีตและปัจจุบัน)

•  โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจขาดเลือด

•  การใช้ยาในปัจจุบัน

•  การแพ้ยา

•  โรคระบบสืบพันธุ์

•  โรคหลอดเลือดส่วนปลาย

•  โรคนิ้วตายจากการสั่นสะเทือน 

•  เคยได้รับอันตรายจากความเย็น (น้ำกัด  หนาวสั่น  อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ)

•  ท่าเดินเปลี่ยนแปลง การประสานงานของอวัยวะไม่ดี ระบบประสาทผิดปกติ

•  โรคเบาหวาน โรคต่อมไร้ท่อผิดปกติ

•  มีประวัติด้านการทำงาน เกี่ยวกับการได้รับความสั่นสะเทือนที่มือ แขน หรือทั้งตัว


การตรวจสุขภาพโดยแพทย์

•  การตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจร การหายใจ

•  ระบบประสาทโดยรอบ (ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความรู้สึก การตอบสนองต่อสิ่งมากระตุ้น)

•  ระบบกล้ามเนื้อ กระดูกหลัง

•  ระบบหลอดเลือดฝอย

•  ตา


การตรวจต่อเนื่อง (Periodic Examination) เพื่อประเมินความเปลี่ยนแปลงของลักษณะงานและสุขภาพ
ตรวจสอบคุณสมบัติความสั่นสะเทือนของอุปกรณ์ที่ใช้ในงาน





Create Date : 26 กรกฎาคม 2559
Last Update : 26 กรกฎาคม 2559 13:57:00 น.
Counter : 12368 Pageviews.

1 comments
  
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาทักทาย สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
โดย: nokyungnakaa วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:13:05:53 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

บทความทั้งหมด