กายภาพบำบัดในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

กายภาพบำบัดในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์


เป้าหมายในการรักษา

ลดอาการปวด

เพิ่มระยะเคลื่อนไหวของข้อ

เพิ่มความแข็งแรง และ ความทนทานของกล้ามเนื้อ

ป้องกัน และ รักษาข้อที่ติดผิดรูป

ให้ความรู้ในผู้ป่วยและครอบครัวให้เข้าใจโรคและประโยชน์ของการรักษาเพื่อทำให้เกิดความร่วมมือในการรักษา


หลักการปกป้องข้อ และ การสงวนพลังงาน

หลักการปกป้องข้อ เช่น ใช้ข้อในท่าทางที่เหมาะสม ระวังไม่ใช้ข้อมากเกินไป เป็นต้น

หลักการสงวนพลังงาน เช่น จัดช่วงเวลาพัก เป็นช่วง ๆ เรียงลำดับงานที่จะทำก่อนหลัง เป็นต้น

ลดการเดินที่ไม่จำเป็น เช่น ปรับสภาพแวดล้อมในบ้าน เช่น ห้องครัว เครื่องครัว เรียงกันตามลำดับการใช้

ใช้อุปกรณ์ช่วยอื่น ๆ เช่น ช้อนด้ามใหญ่ ปากกาด้ามใหญ่ หวีด้ามยาว อุปกรณ์ช่วยเปิดกระป๋อง เสื้อผ้ามีกระดุมใหญ่หรือใช้เชือกผูก เสื้อผ้าแบบใช้สวม หรือ ใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน (ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน )

กายอุปกรณ์ เช่น รองเท้าที่ถอดใส่ง่าย (มีแถบ velcro strap) ผู้ที่ปวดนิ้วเท้า เนื่องจากเท้าเริ่มผิดรูป อาจใช้รองเท้าที่ตัดพิเศษเฉพาะผู้ป่วยแต่ละคน เช่น ความลึกพิเศษ ใส่อุปกรณ์นิ่ม ๆ ด้านในเพื่อช่วยลดแรงกด แรงเสียดสีที่ข้อ

ใส่เฝือกชั่วคราวในตอนกลางคืน เพื่อป้องกันการปวด ป้องกันการเคลื่อน หรือ ข้อติดผิดรูป

ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับระดับโต๊ะ เก้าอี้ทำงาน ให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ

พยายามปรับลักษณะการทำงานเดิม ให้เข้ากับผู้ป่วยมากที่สุด ถ้าทำไม่ได้อาจต้องเปลี่ยนงาน


ระยะที่มีอาการปวดอักเสบมาก

ช่วงระยะนี้จะประมาณ 7-10 วัน ระยะนี้จะเน้นการลดอาการปวดและให้อาการอักเสบหายเร็วที่สุด

ควรพักการใช้ข้อที่อักเสบ ช่วงสั้น ๆ ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบได้ เช่น ใส่เฝือกช่วงคราว แต่ ถ้าพักนานเกินไปก็จะทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการไม่เคลื่อนไหวนาน ๆ เช่น กล้ามเนื้อลีบ กระดูกพรุน เป็นต้น

การบริหาร ระยะนี้ควรใช้แบบ เกร็งกล้ามเนื้ออยู่กับที่ โดยไม่มีการขยับข้อ หลีกเลี่ยงการดัดข้อ

ลดอาการปวด โดยการใช้ความร้อน โดยเฉพาะอัลตร้าซาวน์ หรือ จะใช้ความเย็น ก็ได้



ระยะที่มีการอักเสบลดลง

ระยะนี้อาจให้มีการเคลื่อนไหวของข้อ และเริ่มใช้หลักการปกป้องข้อ และ การสงวนพลังงาน

การบริหาร เริ่มให้มีการเคลื่อนไหวข้อ โดยอาจใช้มืออีกข้างหรือใช้คนช่วยจับดัด อาจใช้ความร้อนประคบก่อนบริหารเพื่อลดอาการปวด และควรทำให้มีความสมดุลระหว่างการพักและการออกกำลัง อาจเริ่มโดยเคลื่อนไหวในน้ำ เพราะว่าแรงลอยตัวของน้ำทำให้เคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น ช่วยกำจัดแรงดึงโน้มถ่วงและลดน้ำหนักด้วย

ควรหลีกเลี่ยงการดัดข้ออย่างรุนแรง หรือ การบริหารด้วยวิธีเพิ่มแรงต้าน (ถ่วงน้ำหนัก )



ระยะเรื้อรัง

ระยะนี้มักเกิดความพิการ ข้อผิดรูป ข้อติด กล้ามเนื้อลีบ

การแก้ไขอาจใช้ กายอุปกรณ์เสริม เพื่อลดอาการปวดโดยการลดแรงกดต่อข้อ เพิ่มความมั่นคงแก่ข้อขณะใช้งาน และดัดข้อให้อยู่ในท่าที่เหมาะสมกับการใช้งาน

ใช้เครื่องช่วยในการเคลื่อนไหว เช่น ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน รถเข็น รถยนต์ที่ออกแบบมาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ

การลดอาการปวด โดยใช้ ยา ความร้อนตื้น หรือ การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า

การบริหาร ควรเป็นแบบ เคลื่อนไหวข้อซ้ำ ๆ กัน และเริ่มออกกำลังที่มีการต้านแรง เพื่อเพิ่มความทนทานและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่น การถ่วงน้ำหนักขณะเคลื่อนไหวข้อ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หรือ วิธีการออกกำลังกายแบบแอโรบิก อื่น ๆ (ไม่ควรออกกำลังชนิดที่ใช้แรงต้านมากเกินไป)

การออกกำลังกายควรเริ่มจาก น้อย ๆ ก่อน แล้วค่อยเพิ่มความถี่ ความแรง มากขึ้น



ข้อบ่งชี้ว่าอาจออกกำลังมากเกินไป

• มีอาการปวด นานกว่า 2 ชม. หลังจากออกกำลังกาย

• รู้สึกเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น เคลื่อนไหวข้อได้น้อยลง ข้อบวม



ท่าบริหารทั่วไป

ควรทำบ่อย ๆ ทุกวัน ท่าละ 10 ครั้ง (อย่างน้อย วันละ 5-10 รอบ)

1. นอนหงาย เข่าเหยียดตรง กางขาออกด้านข้างให้มากที่สุด ค้างไว้นับ 1-10 แล้วหุบขาเข้า ทำสลับกับอีกข้างหนึ่ง

2. นอนหงาย เข่างอตั้งฉากทั้งสองข้าง แบะเข่าออกทางด้านข้าง ๆ ให้มากที่สุด ค้างไว้นับ 1-10 แล้วหุบเข้า

3. นอนหงาย งอข้อสะโพกให้เข่าเข้ามาชิดหน้าอก เกร็งไว้ นับ 1-10แล้วจากนั้นเหยียดขาให้ตรง ทำสลับกับอีกข้างหนึ่ง

4. นอนหงาย เข่างอตั้งฉากทั้งสองข้าง ยกสะโพกขึ้น (ให้ก้นลอยขึ้น ไม่แตะพื้น) เกร็งค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อยลง

5. นั่งตามสบาย เหยียดขาขึ้นให้เข่าตรง กระดกข้อเท้าขึ้นเต็มที่ เกร็งไว้นับ 1-10 แล้วงอเข่าลง ทำสลับกับอีกข้างหนึ่ง
6. แขนแนบข้างลำตัว กางไหล่ออกทางด้านข้างแล้วยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ แล้วหุบไหล่ลง ทำสลับกันสองข้าง

7. แขนแนบข้างลำตัว แล้วหมุนไหล่ไปด้านหน้า ผ่านไปเหนือศีรษะ แล้วหมุนไปด้านหลัง เป็นวงกลม ทำสลับกันสองข้าง

8. งอข้อศอก – เหยียดข้อศอก ให้มากที่สุด ทำสลับกันสองข้าง

9. ฝ่ามือประกบกัน ให้ข้อมือกระดกขึ้น (ท่าพนมมือ) ใช้แรงพอควรดันเข้าหากัน เกร็งไว้ นับ 1-10

10.หลังมือชนกัน ให้ข้อมืองอลง ใช้แรงพอสมควรดันเข้าหากัน เกร็งไว้ นับ 1-10

11.ข้อนิ้วมือ กำมือให้แน่นมากที่สุด เกร็งไว้ นับ 1-10 แล้วทำสลับกับ เหยียดนิ้วมือออก เกร็งไว้ นับ 1-10

12.กางนิ้วออก ให้มากที่สุด เกร็งไว้ นับ 1-10 แล้วทำสลับกับ หุบนิ้วเข้าหากัน เกร็งไว้ นับ 1-10

13.แหงนคอ – ก้มคอ – เอียงไปข้างซ้าย – เอียงคอไปด้านขวา – หมุนคอไปทางซ้าย – หมุนคอไปทางขวา



ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ให้หายขาดได้

จุดมุ่งหมายของการรักษาทุกวิธีคือ ลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ป้องกันหรือแก้ไขข้อที่ผิดรูปร่าง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วย คุณภาพชีวิตที่ดีตามสมควร จึงถือว่าแนวทางรักษาข้างต้นเป็นเพียงการรักษาปลายเหตุเท่านั้น

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ รักษาไม่หายขาดแต่ก็มีวิธีทำให้อาการดีขึ้นและชะลอไม่ให้เป็นมาก ซึ่งจะทำได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ ความร่วมมือของแพทย์และผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้ที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เป็นสำคัญ



Create Date : 20 มกราคม 2551
Last Update : 20 มกราคม 2551 10:15:49 น.
Counter : 6518 Pageviews.

4 comments
เมื่อฉันเป็นมะเร็ง WarinD Ninajang
(5 เม.ย. 2568 13:14:45 น.)
ตรวจสุขภาพกัน คุณก้อย22
(29 มี.ค. 2568 09:59:24 น.)
ปั่นจักรยานเที่ยวรำลึกบ้านเกิด -บุรีรัมย์ ในรอบ 10 กว่าปี กะริโตะคุง
(27 มี.ค. 2568 14:46:04 น.)
กินยังไงดี?... “เบาหวาน” ไม่เพิ่ม หนึ่งเสียงในกทม.
(14 มี.ค. 2568 13:28:53 น.)
  
แวะมาอ่านคับ

มีประโยชน์ดีนะคับ
โดย: maxpal วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:11:18:47 น.
  
โปลิโอ...ไม่ทราบว่า หมอพอทราบเรื่องโพสโปลิโอบ้างไหมค๊ะ
โดย: ฟ้าคงสั่งมา วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:18:43:46 น.
  

โรค โปลิโอ ไม่ได้ทำไว้เลยครับ เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเจอคนที่เป็นโรคนี้ แล้วครับ ..

คนที่มีอาการตอนนี้ ก็น่าจะติดเชื้อสัก ๑๕ ปีที่แล้ว ..
โดย: หมอหมู วันที่: 23 มกราคม 2551 เวลา:15:18:33 น.
  

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=05-01-2008&group=5&gblog=2

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ กายภาพบำบัด
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=20-01-2008&group=5&gblog=3

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-02-2008&group=5&gblog=4

โรครูมาตอยด์ในเด็ก
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-02-2008&group=5&gblog=7

โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-03-2008&group=5&gblog=9

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ตรวจแลบ)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-02-2008&group=4&gblog=9

โรคข้ออักเสบ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-12-2007&group=5&gblog=1

เวบสมาคมรูมาติซั่มแห่งประเทศไทย ( หมออายุรกรรมโรคข้อ )
//www.thairheumatology.org/index.php

เวบสมาคมรูมาติซั่ม รายชื่อแพทย์รูมาโต ( หมออายุรกรรมโรคข้อ )
//www.thairheumatology.org/list_bkk.php
โดย: หมอหมู วันที่: 21 มิถุนายน 2555 เวลา:23:56:58 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

บทความทั้งหมด