ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง) ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง)b> คำชี้แจง : ข้อมูลต่อไปนี้ ไม่ได้ทดแทนการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาของแพทย์ ไม่ได้บอกว่ายานี้ปลอดภัย เหมาะสม หรือ มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่คุณเป็นอยู่ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ยานี้ เนื่องจากยานี้มีผลข้างเคียงสูง ไม่แนะให้ซื้อยาใช้เอง ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด และ ต้องตรวจเลือดเป็นระยะ ๆ เพื่อดูว่าเกิดผลข้างเคียงบ้างหรือไม่ ส่วนใหญ่จะเจาะเลือดครั้งแรกก่อนให้ยา และ อาจเจาะเลือดตรวจ ทุก 3 6 เดือนหลังจากได้รับยา ข้อบ่งชี้การใช้ยา : ยานี้ใช้ในโรคมะเร็งบางชนิด โรครูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน หรือ โรคข้ออักเสบที่เป็นรุนแรง ซึ่งถ้าใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง จะใช้ปริมาณยาสูงมากกว่าปริมาณที่ใช้รักษาโรคข้ออักเสบหลายสิบเท่า การใช้ยา : ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น ไม่ควรปรับเพิ่ม หรือ ลดยาเอง ให้ดื่มน้ำมาก ๆ หลังรับประทานยา สำหรับโรครูมาตอยด์ โดยส่วนใหญ่จะรับประทานยา 3 เม็ดต่อสัปดาห์ ซึ่งอาจแบ่งเป็น ครั้งละเม็ดวันเว้นวัน หรือ จะรับประทานครั้งเดียว 3 เม็ดเลยก็ได้ แต่ควรรับประทานยาในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น 3 เม็ดเช้าวันจันทร์ หรือ 1 เม็ดเช้าวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เป็นต้น ในผู้ที่มีอาการมาก อาจเพิ่มยามากขึ้น ซึ่งก็มีผลข้างเคียงมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นแพทย์จึงจะปรับยาเป็นระยะเพื่อให้ยาในปริมาณที่น้อยที่สุดเท่าที่จะควบคุมอาการได้ ถ้าอาการดีขึ้นจะลดปริมาณยาลง ผลข้างเคียง : ยานี้อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง หรือ วิงเวียนศีรษะได้ ถ้ามีอาการมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ ควรบอกแพทย์ ถ้ามีอาการต่อไปนี้: เจ็บคอ แสบในปาก ท้องเสีย มีไข้ มีเลือดออกผิดปกติ อุจจาระมีสีดำ ปัสสาวะมีสีดำ ผื่นคัน ผิวหนังมีสีเปลี่ยนไป มีจ้ำเลือด หรือ รู้สึกแสบร้อนผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองโตขึ้น ปวดในกระดูก อาการแพ้ยา : ผื่น คัน บวม มีไข้ หายใจขัด ถ้ามีอาการดังกล่าวควรบอกแพทย์ทันที ข้อควรระวัง : ควรบอกแพทย์เกี่ยวกับความเจ็บป่วยในอดีต โดยเฉพาะ โรคไต โรคตับ โรคปอด และ โรคอีสุกอีใส อาจเกิดอาการแพ้แสงแดด ได้ จึงควรหลีกเลี่ยงแสงแดดแรง ๆ ใส่หมวก เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หลังสัมผัสกับยา ควรล้างมือเสมอ หลีกเลี่ยงการสัมผัสตาหรือจมูกโดยไม่ได้ล้างมือ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการได้รับวัคซีน ระหว่างรับประทานยา งดการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ควรใช้ยาในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ และผู้กำลังให้นมบุตร ถ้าสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ควรบอกแพทย์ทันที ปฏิกิริยากับยาอื่น : ควรบอกแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ เช่น ยาซัลฟา หรือ ยาปฏิชีวนะ; ยาบำรุงเลือด (folic acid); ยากันชัก (phenytoin) ; ยาแก้ปวดลดการอักเสบ ( brufen naproxen aspirin); ยาโรคหัวใจ (digoxin) ; ยาโรคหอบหืด ( theophylline ) ; ยาเพิ่มการขับกรดยูริกในโรคเก๊าท์ (probenecid) หรือ ยาอื่น ๆ ที่มีผลต่อตับ เช่น ยากดภูมิคุ้มกัน ผลข้างเคียงเมื่อได้รับยามากเกินไป : คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง ท้องเสีย หรือ อ่อนเพลียมาก เมื่อลืมทานยา : ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาในครั้งต่อไปเอง การเก็บยา : เก็บยาในอุณหภูมิห้อง (15-30 องศาเซนเซียส) หลีกเลี่ยงแสงแดดและความชื้น ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ |
บทความทั้งหมด
|
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=05-01-2008&group=5&gblog=2
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ กายภาพบำบัด
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=20-01-2008&group=5&gblog=3
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-02-2008&group=5&gblog=4
โรครูมาตอยด์ในเด็ก
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-02-2008&group=5&gblog=7
โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-03-2008&group=5&gblog=9
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ตรวจแลบ)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-02-2008&group=4&gblog=9
โรคข้ออักเสบ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-12-2007&group=5&gblog=1
เวบสมาคมรูมาติซั่มแห่งประเทศไทย ( หมออายุรกรรมโรคข้อ )
//www.thairheumatology.org/index.php
เวบสมาคมรูมาติซั่ม รายชื่อแพทย์รูมาโต ( หมออายุรกรรมโรคข้อ )
//www.thairheumatology.org/list_bkk.php