ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก ![]() ![]() เครดิต FB JonesSalad |
ระดับของอาการ | การสังเกตอาการ | แนวทางแก้ไข |
---|---|---|
ระดับที่ 1 | อาการเกิดขึ้น เมื่อทำงานไประยะหนึ่ง พักแล้วดีขึ้นทันที |
|
ระดับที่ 2 | อาการเกิดขึ้น พักนอนหลับแล้ว แต่ยังคงมีอาการอยู่ |
|
ระดับที่ 3 | อาการปวดมากแม้ทำงานเพียงเบาๆ พักแล้วอาการก็ยังไม่ทุเลาลง |
|
แนวทางการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม
- การรักษาด้วยยา
- การรักษาด้วยวิธีทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูและการทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อและปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง
- การปรับสถานีงาน พื้นที่การทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และลักษณะงานให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกายโดยรวม
- การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย
ความสำคัญของกายภาพบำบัดต่อการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม
กายภาพบำบัดมีบทบาทสำคัญในการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูกตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจนถึงกรณีที่มีอาการมากจนรบกวนชีวิตประจำวันหรือก่อให้เกิดความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว เพื่อฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกตินักกายภาพบำบัดยังมีหน้าที่ในการเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับมามีอาการเหล่านี้อีก โดยนักกายภาพบำบัดจะประเมินโครงสร้างร่างกายพร้อมปรับแก้โครงสร้างร่างกายให้เกิดความสมดุลและปกติ รวมถึงให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนท่าทางระหว่างการทำงาน การปรับสภาพแวดล้อมของเครื่องมือและสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล แนะนำการยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลายในระหว่างการทำงาน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง พร้อมรับสภาวะการทำงานที่อาจไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับออฟฟิศซินโดรมด้วย
เป้าหมายในการดูแลทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม
- ลดอาการปวดที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ/เอ็นกล้ามเนื้อ
- ลดการเคลื่อนไหวของข้อต่อนั้นๆ (immobilization) ด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงต่างๆ รวมถึงถ้ายังจำเป็นต้องใช้งานต่อเนื่องจากภาระงาน
- ให้คำแนะนำที่ถูกต้องเพื่อลด/หลีกเลี่ยงการใช้งานบริเวณที่มีการอักเสบ
- ให้ความรู้ในการแก้ไขปัจจัยอื่นที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ได้แก่
- การปรับท่าทางให้ถูกต้อง
- การปรับหรือแก้ไขความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย
- การลดการกดทับของกล้ามเนื้อหรือการหดสั้นของกล้ามเนื้อ
- การปรับสภาพแวดล้อมของเครื่องมือและสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล
- การออกกำลังกายเพื่อการป้องกันและส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อ
- การยืดกล้ามเนื้อ
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อและระบบหัวใจและหลอดเลือด
- การออกกำลังกายเพื่อการผ่อนคลาย
- การออกกำลังกายเพื่อปรับการทรงท่า (postural correction)
อย่างไรก็ดี การรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมด้วยวิธีต่างๆ นั้นเป็นเพียงการรักษาที่ปลายเหตุ เพื่อรักษาอาการกล้ามเนื้ออักเสบหรือรักษาพังผืดในกล้ามเนื้อ วิธีการที่ดีที่สุดที่จะป้องกันอาการจากออฟฟิศซินโดรมจำเป็นต้องทำร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การปรับอิริยาบถในการทำงานให้ถูกต้อง รวมถึงการเสริมสร้างสุขภาพกายและใจให้สมบูรณ์แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยลดการเกิดอาการบาดเจ็บต่างๆ ที่จะมาบั่นทอนคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างถาวร
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
เป็นแล้วต้องรักษา "ออฟฟิศซินโดรม" ปล่อยไว้นาน อันตรายเกินคาด
https://www.manager.co.th/goodhealth/ViewNews.aspx?NewsID=9590000104494
|



อาการ Office Syndrome เป็นอาการที่เกิดกับคนที่มีลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย อาการที่พบส่วนใหญ่มักจะพบเป็นอาการเกี่ยวกับกระดูก โดยกระดูกจะมีการสูญเสียแคลเซียมมาก ทำให้เริ่มมีอาการปวดที่ไหล่ หลัง รวมไปถึงกล้ามเนื้ออักเสบ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจจะทำให้เกิดโรคร้ายแรง เช่น การปวดหลังเรื้อรัง หรือสูญเสียบุคลิกภาพ
คุณหมอยังกล่าวอีกว่า ปัจจัยสำคัญในการแก้ Office Syndrome นั้นคือ การปรับพฤติกรรมของตนเองทั้งในช่วงเวลาทำงานและเวลาอื่นๆ ด้วย โดยเริ่มจากหลักการดังนี้
การจัดโต๊ะทำงาน
การจัดวางคอมพิวเตอร์ให้อยู่ตรงหน้า ไม่เอียงซ้ายหรือขวา จะช่วยให้คุณจัดท่านั่งของตนเองได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังอยู่ในท่าที่ตั้งตรง ไม่ก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อย
การเปลี่ยนอริยาบท
สำหรับคนที่ต้องทำงานออฟฟิศและต้องนั่งหรือยืนนานๆ แนะนำว่าควรเปลี่ยนอริยาบททุกๆ 50 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ไม่ว่าจะลุก ยืน เดิน หรือเปลี่ยนท่าทางอื่นๆ โดยการขยับร่างกายจะช่วยกล้ามเนื้อได้มีการออกแรง ทั้งยังส่งผลดีต่อหัวใจและปอดอีกด้วย
ออกกำลังกายเบาๆ
นอกจากจะเปลี่ยนอริยาบทระหว่างอยู่ที่ทำงานแล้ว ยามว่างลองหาโอกาสในการออกกำลังกายเบาๆ ด้วยท่าออกกำลังกายต่างๆที่ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการ Office Syndrome โดยตรงไม่ว่าจะเป็น ท่าแกว่งแขน ที่เป็นการขยับกล้ามเนื้อส่วนไหล่และแขนให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และช่วยเรื่องอาการปวดเป็นอย่างดี
กินอาหารที่มีประโยชน์
รู้หรือไม่ว่า การนั่งหรืออยู่ในท่าต่างๆ นานๆ โดยไม่มีการขยับ ก่อให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมมากกว่าที่เราคิด ดังนั้นอาหารการกินที่มีปริมาณแคลเซียมสูงเช่น คะน้า นม งา หรือข้าวโอ๊ต จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณทำได้
เมื่อรู้วิธีการปรับเปลี่ยนนิสัยเพื่อป้องกันอาการ Office Syndrome กันแล้ว อย่าลืมลองทำตามกันดูนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : บทสัมภาษณ์ ร.ศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก
https://www.thaihealth.or.th/sook/info-body-detail.php?id=187
********************************
อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดยภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2017&group=5&gblog=51
ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-08-2017&group=5&gblog=53
ปวดคอ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=26
ปวดไหล่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=25
ปวดหลัง https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18
เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ฟิงเกอร์ ,TriggerFinger) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=29
กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ(ผังผืดทับเส้นประสาท) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-07-2008&group=5&gblog=28
ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอเกอร์แวง , De Quervain'sDisease) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=30
เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2008&group=5&gblog=32


- เมอรัลเจีย พาเรสทีทิกา Meralgia Paresthetica (Burning Thigh Pain , Skinny Jeans Syndrome)
- ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก
- กระเป๋านักเรียน หนักเกินทนไหว สะพายเป้อย่างไร ไม่ให้ปวดหลัง
- อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดย ภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ
- ปวดหลังกระดูกทับเส้น ยา pregabalin และสัจจธรรมเรื่องอาการปวด .. โดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
- กลุ่มอาการผิดปกติจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน (Hand-Arm Vibration Syndrome: HAVS) .. นำมาฝาก
- ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ ง่ายมาก
- ทำไม ... ลูกถึงเดินขาโก่ง ... แบบนั้นละคะคุณหมอ ???
- ข้อสะโพกอักเสบ ชั่วคราว ในเด็ก ( Transient synovitis , toxic synovitis or irritable hip )
- ปวดก้นกบ ( Coccyx Pain , coccydynia , coccygodynia )
- หัวกระดูกสะโพกตาย จากการขาดเลือด ในเด็ก Legg-Calve'-Perthes disease
- มะเร็งกระดูก เนื้องอกกระดูก ชนิดไจแอนท์เซลทูเมอร์ (Giant Cell Tumor, GCT ) Osteosarcoma
- ปวดเข่า .... ส่องกล้องข้อเข่า ... knee arthroscopy
- ปวดขาในเด็ก จากการเจริญเติบโต ( Growing Pain or benign limb pain of childhood )
- กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน เหมือนกัน ??? ถ้าเป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ???
- กระดูกงอก แคลเซี่ยมเกาะ ถือว่า ผิดปกติ ต้องผ่าตัดเอาออก หรือไม่ ?
- ดัดข้อ แล้วมีเสียงลั่น ในข้อ เกิดจากอะไร ??? อันตรายหรือไม่ ???
- ภาวะ หัวกระดูกสะโพกตาย จาก การขาดเลือด
- กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เป็นอย่างไร ???
- โรคนิ้วหัวแม่เท้าเก ออกด้านนอก (โรคฮัลลักซ์ วัลกัส ,Hallux Valgus )
- กลุ่มอาการปวดบริเวณ ส้นเท้า ... เส้นเอ็นร้อยหวาย อักเสบ
- เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ( รองช้ำ )
- เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ (Tennis Elbow , Golfer Elbow )
- ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ( โรคคาร์พัล แกงเกลียน ,Carpal ganglion )
- ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอ เกอร์แวง , De Quervain's Disease)
- เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ ฟิงเกอร์ ,Trigger Finger)
- กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ (ผังผืดทับเส้นประสาท)
- อาหารเสริมกับโรคข้อ
- ปวดคอ
- ปวดไหล่ ข้อไหล่ติด
- โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS )
- กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ
- หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท
- การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ
- กระดูกสันหลังเสื่อม
- สาเหตุ ของอาการ ปวดหลัง ที่พบบ่อย
- ปวดหลัง
- ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ ปวดหลัง
- ข้อเข่าเสื่อม ยาฉีดเข่า: น้ำไขข้อเทียม ยาสเตียรอยด์ เกล็ดเลือด (PRP) สเต็มเซลล์ (อัปเดต มค.2568)
- ข้อเข่าเสื่อม ( OA knee , Osteoarthritis knee )
- โรคปุ่มกระดูกหน้าแข้งอักเสบ ( ออสกูด-ชาเลตเทอร์'ส ดีสีส , Osgood-Schlatter's Disease)
- ปวดเข่า
- โรคข้อเสื่อม
- บ้านสำหรับผู้สูงอายุ ปลอดภัย ไม่ล้ม
- ผู้สูงอายุ ท่าทางที่เหมาะสม
- โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส
- เกาต์
- การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BONE DENSITOMERY)
- กระดูกพรุน กระดูกโปร่งบาง Osteoporosis
- โรครูมาตอยด์ในเด็ก
- ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง)
- กายภาพบำบัดในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- ข้ออักเสบ