Group Blog
 
 
มีนาคม 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
19 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
ลมร้าย"วินเชียร์" (Wind shear)

Shure HeadphonesWireless Stereo HeadphonesComputer HeadphonesIpod In Ear HeadphonesHeadphone AmplifiersBest Portable HeadphonesHeadphones Earbuds MotorcycleDj HeadphonesBest Noise Cancel HeadphonesHeadphone StandIn Ear HeadphonesIpod Nano HeadphonesMetal Detector HeadphonesNoise Cancelling Headphone RatingsRadio HeadphonesHeadphone AmpIpod Wireless HeadphonesSony Cordless HeadphonesWireless Headphones For TvAkg HeadphonesBest Wireless Headphones ReviewIpod In Ear Headphones ReviewWireless In Ear HeadphonesTv HeadphonesSony Noise Canceling HeadphonesCordless Stereo HeadphonesAble Planet Clear Harmony Active Noise Canceling HeadphonesMotorola S9 Bluetooth Stereo HeadphonesBluetooth Wireless Bluetooth HeadphonesHeadphones With Volume ControlIn-ear HeadphonesWireless Bluetooth Headphones For IpodWireless Bluetooth HeadphonesCoby HeadphonesIphone HeadphonesSennheiser Px 100 Collapsible HeadphonesSony In Ear HeadphonesEtymotic HeadphonesSennheiser Wireless HeadphonesUnisar Tv Listener Wireless HeadphonesBose Around Ear HeadphonesBose Headphones On SaleIfrogz Earpollution Toxix Ear Headphones BrownScosche Earbud HeadphonesIfrogz Earpollution Throw Bax Headphones PinkIphone Bluetooth HeadphonesLogitech Wireless Ipod HeadphonesMetal Detector HeadphoneStereo Bluetooth HeadphonesAmplified HeadphonesBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlog

ลมร้าย"วินเชียร์" (Wind shear)

Pic_24824




ผลจากการตรวจสอบหาสาเหตุที่ทำให้เครื่องบินของบริษัท BANGKOK AIRWAY แบบ ATR 72-500 ประสบ อุบัติเหตุลื่นไถลออกจากรันเวย์ และชนเข้ากับหอบังคับการบินเก่าของสนามบินสมุย คงต้องรอผลจากคณะกรรมการความปลอดภัยทางการบิน และวิศวกรของบริษัท ATR ที่มีสาขาย่อยอยู่ในสิงค์โปรนำกล่องบันทึกข้อมูลการบิน (Digital Flight Data Recorder/DFDR) เทปบันทึกการติดต่อระหว่างนักบินและหอบังคับการ(Cockpit Voice Recorder/CVR) ตลอดจนข้อมูลอย่างละเอียดของสภาพอากาศในช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ มาทำการวิเคาระห์หาสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดแล้วนำมาวิเคาระห์โดย ผู้เชี่ยวชาญด้านนิรภัยการบิน จึงจะทราบสาเหตุที่แท้จริงได้

จากรายงาน สภาพอากาศขณะที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น ท่าอากาศยานสมุยมีฝนตกพรำๆ พื้นผิวของตัวรันเวย์มีความเปียกชื้น แต่ก็มีตัวแปรที่สำคัญอีกสาเหตุหนึ่งที่ถูกมองว่าอาจเป็นสาเหตุของการลื่น ไถลของเครื่องATR 72-500 นั่นก็คือ "กระแสลม"



กระแส ลมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันโดยที่มีอุณภูมิแตกต่างกัน 5 องศาเซลเซียสระหว่างเมฆฝนและพื้นดิน สามารถทำให้เกิดลมกดลงในแนวดิ่งที่มีความเร็วลมสูงมากในการพัดกดลงมาจากฐาน ของเมฆพายุฝนลงสู่พื้นดินเบื้องล่าง รวมถึงถึงความเร็วลมที่พัดผ่านแนวเทือกเขามีความต่างกันมากจนก่อให้เกิด "Turbulance" หรือ “กระแสลมปั่นป่วน” นอกจากนี้ยังอาจเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "Downburst" หรือ "กระแสลมพุ่งลงในแนวดิ่ง" โดยเฉพาะช่วงที่ฝนตก กระแสลมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของความเร็วและทิศทางในระยะสั้น ๆ แต่รวดเร็วเฉียบพลันซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งแนวราบและแนวตั้งในทุกระดับความสูง ตั้งแต่พื้นดินถึงชั้นบรรยากาศมีชื่อเรียกกันว่า "วินเชียร์" (Wind shear)



นอก จาก กระแส ลมวินเชียร์ ที่ เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆแต่รุนแรงมากแล้ว ยังมีลมอีกชนิดหนึ่งที่อาจก่อให้เกิดปัญหากับอากาศยานที่กำลังบินและผ่าน เข้าไปในลมที่มีความเร็วในการพัดสูงมากอีกชนิดหนึ่งคือ “ไมโครเบิร์ส” (Microburst) ซึ่ง ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับวินเชียร์ แต่มีความรุนแรงกว่ามาก เป็นกระแสลมที่มีลักษณะพุ่งลงในแนงดิ่งสู่พื้นดินด้วยความเร็วกว่า 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก่อนจะกระจายออกไปในทุกทิศทาง มีขอบเขตการทำลายล้างราว 4 กิโลเมตรด้วยความเร็วลมมหาศาล ส่วนมากมักเกิดจากเมฆพายุฝนฟ้าคะนองที่มีกำลังแรงและมีขนาดใหญ่ ปรากฏการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดแรงลมต้าน (headwind) และ ลมส่งท้าย (tailwind) ที่กระทบตัวอากาศยานขณะกำลังบิน ในลักษณะที่ผิดปกติทั้งในจังหวะที่นักบินกำลังทำการบินขึ้นจากสนามบินหรือ ร่อนลงจอด ความรุนแรงของลมทั้งสองชนิดนี้อาจทำให้นักบินบางคนตัดสินใจลดความเร็ว เครื่องบินลง เพราะเข้าใจว่าเครื่องกำลังบินเร็วเกินไป หรือหากโชคร้ายที่มันเกิดขึ้นในขณะที่นักบินกำลังจะนำเครื่องบินร่อนลงจอด อาจเกิดปัญหาในการรักษาทิศทาง ความเร็ว และความสูงได้ตลอดเวลาที่อากาศยานเข้าปะทะกับลมทั้งสองชนิดนี้ ส่วน สภาพภูมิศาสตร์โดยเฉพาะสนามบินที่ตั้งอยู่ท่ามกลางเทือกเขา หรือติดทะเล ที่มีสภาพอากาศแปรปรวน หรือตั้งอยู่ในเขตมรสุมพัดผ่าน อาจเป็นชนวนเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดกระแสลมอันตรายนี้ขณะที่ผลศึกษาของนัก วิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไมอามี ในสหรัฐ ชี้ว่า สภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นทั่วทุกพื้นที่ของโลกในปัจจุบันนี้ มีส่วนเพิ่มอัตราการเกิดวินด์เชียร์หรือไมโครเบิรส์ สูงขึ้นมากตามสภาวะอากาศที่แปรปรวนในเขตศูนย์สูตร



หลัง จากเกิด อุบัติเหตุขึ้นหลายครั้งต่ออากาศยานที่กำลังบินและปะทะเข้ากับลมทั้งสองชนิด นี้ สมาพันธ์การบินนานาชาติ (FAA) ได้ออกกฏระเบียบเพื่อเร่งให้สนามบินและตัวอากาศยานทำการติดตั้งระบบแจ้ง เตือนวินด์เชียร์ระดับต่ำ (Low Level Windshear Alert System-LLWAS) บริเวณทางวิ่งหรือรันเวย์ ตั้งแต่ปี 1976 และออกระเบียบให้สายการบินทุกรายติดตั้งระบบอินฟราเรดตรวจจับวินด์เชียร์ ตั้งแต่ปี 1996 โดยเครื่องรุ่นแรกที่มีการติดตั้งระบบนี้คือ โบอิ้ง 777 เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางของผู้โดยสาร และขจัดปัญหารวมถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลายามเมื่ออากาศยานบิน เข้าไปปะทะกับลมเจ้าพายุทั้งสองชนิด


Create Date : 19 มีนาคม 2553
Last Update : 19 มีนาคม 2553 11:57:55 น. 0 comments
Counter : 503 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

somkitjar
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add somkitjar's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.