Group Blog
 
 
มีนาคม 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
22 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
สมุนไพรกับความงาม Phyto?estrogen and natural moisturizers

Bedroom FurnitureThomasville FurnitureFurniture StoresOrder Whoopi CushionsSeat CushionsBroyhill FurnitureUnfinished FurnitureLarge Floor CushionsLane FurniturePatio CushionsBassett FurnitureNebraska Furniture MartDonate FurniturePatio Chair CushionsComfy Chair BrunswickHome Office FurnitureAmerican Signature FurnitureEthan Allen FurnitureTarget FurnitureBaby FurnitureCushions Syndrome DiseaseBig Lots FurnitureAmerican Furniture WarehouseChildren'S Chair + SchoolOutdoor CushionsCheap FurnitureLiving Room FurnitureFurniture OutletsSauder FurnitureRocking Chair Cushion SetsCushion Disease DogsBaby'S Dream FurnitureFree FurnitureCushionsChair PadsIkea FurnitureDeck ChairsChair TiedStanley FurnitureCheap Patio CushionsAmish FurnitureWood FlooringJordans FurnitureHickory Hill Furniture CompanyModern FurnitureUsed FurnitureOffice ChairsAdirondack ChairsReplacement Sofa Cushion CoversCraiglist Furniture In El Paso TxBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlog

แนวคิดการเรียนรู้สมุนไพรจากโบราณสู่ปัจจุบัน

ท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยของการแพทย์แผนปัจจุบัน หรือการแพทย์ตะวันตก ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพของคนทั่วโลก กระแสความเชื่อและความศรัทธาในการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นไปอย่างครอบคลุมและ กว้างขวาง แต่ในบางจุดก็พบกับความล้มเหลวที่เกิดขึ้นในภาพรวมของความสำเร็จ ปัญหาที่สำคัญคือ ผู้ป่วยต้องใช้จ่ายเงินเพื่อใช้ในการรักษาพยาบาลในอัตราที่ค่อนข้างแพง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์กับผู้ป่วยเกินความจำเป็น

และในบางครั้งการแพทย์แผนตะวันตก ที่เล่าเรียนกันมาจนเป็นผู้เชี่ยวชาญ และชำนาญในแต่ละสาขา ก็ไม่สามารถตอบสนองกับความเจ็บป่วยที่เป็นกันได้เสมอไป ซึ่งในยุควิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างปัจจุบันเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่ประเทศไทยเรายังมีภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วยที่พอจะรักษาอาการ ดูแล และส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้ป่วยได้มีโอกาสเลือก เป็นทางเลือกหนึ่งให้กับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเพิ่มมาก ขึ้น การแพทย์แผนไทยได้รับการขานรับและร่วมมือในการพัฒนาให้สอดคล้อง ผสมผสานเข้ากับศาสตร์เฉพาะทางของการแพทย์แผนปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม

ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย นอกเหนือจากยาสมุนไพรที่สามารถรักษาบรรเทาความเจ็บป่วย และส่งเสริมสุขภาพแล้ว การแพทย์แผนไทยยังให้ความสำคัญกับชีวิต ความเป็นอยู่ สังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งเป็นการแพทย์ที่มีลักษณะแบบองค์รวม ซึ่งสอดคล้องกับการดูแลสุขภาพของประชาชนในยุคปัจจุบันอย่างยิ่ง ซึ่งต้องทำงานแข่งกับเวลาจนลืมนึกขาดการดูแลสุขภาพของตนเอง เพราะบุคคลเรานั้นเมื่อมีอายุมากขึ้น ก็มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงระบบสรีระวิทยาของร่างกายที่เป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งจะมีผลกระทบกับทุกระบบของร่างกาย นอกเหนือไปจากความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย วัยและอายุแล้ว ยังเกี่ยวเนื่องไปถึงสภาพของจิตใจ อารมณ์ สังคมและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง

การแพทย์แผนไทยจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่กำลังได้รับการกล่าวขานมากสำหรับประชาชนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นระบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม คือการปรับสมดุลของร่างกาย จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิตที่เป็นสุข สงบ เรียบง่าย มีธรรมะในจิตใจตลอดจนการรับประทานอาหารเพื่อปรับสมดุลแห่งสุขภาพ ซึ่งท่านศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ได้ค้นพบวิธีการที่ทำให้มีมนุษย์มีอายุยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี มีจิตใจสงบ หน้าตาผิวพรรณสดใส ด้วยการใช้หลักธรรมานามัย โดยการใช้หลักการออกกำลังกาย ปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่จะส่งเสริมการมีสุขภาพ มีดีด้วยวิธีทางธรรมชาติที่สมบูรณ์แบบที่มุ่งเน้นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ สุขภาพ ซึ่งมีหลักปฏิบัติ 3 ประการคือ


*



กายานามัย คือ การส่งเสริมสุขภาพ โดยการปฏิบัติตามให้ถูกต้อง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้เหมาะสมตามวัยและสม่ำเสมอ

*


จิตตานามัย คือ การส่งเสริมสุขภาพจิต ด้วยการฝึกจิต ฝึกสมาธิภาวนา ช่วยให้จิตใจสงบ เยือกเย็น ลดละความโกรธ ความเศร้าหมอง สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น

*


ชีวิตานามัย คือ การดำรงชีวิตตามหลักอนามัย ละเลิกอบายมุขที่มีผลกระทบต่อสุขภาพทางกาย และจิตใจ และรับประทานอาหารให้ถูกกับธาตุ ถูกส่วน และเหมาะสมกับวัย


ก้าวสู่ความเป็นวิทยาศาสตร์ของการใช้สมุนไพรในปัจจุบัน

ประเทศไทยจัดอยู่ในเขตร้อนชื้น ซึ่งจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชสมุนไพรนานาชนิด ประชากรส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยกับการนำพืชสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรค เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับพืชสมุนไพร ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกพืช สรรพคุณในการรักษาและวิธีการใช้สมุนไพรเป็นที่รู้จักและยอมรับกันอย่างแพร่ หลาย มีการถ่ายทอดต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน จากบรรพบุรุษไปยังลูกหลาน อย่างไรก็ตามในอดีตที่ผ่านมาความนิยมในการใช้สมุนไพรในประเทศได้ลดลงในช่วง เวลาหนึ่ง เนื่องจากอิทธิพลของวิทยาการทางแพทย์ตะวันตกได้แพร่หลายเข้ามา มีการนำเอายาสำเร็จรูปที่มีการวิจัยแล้วออกฤทธิ์ได้เฉพาะเจาะจงมาใช้ในการ รักษา ทำให้ความนิยมในการใช้สมุนไพรรักษาโรคลดลง เหลืออยู่แต่ในบริเวณชนบทห่างไกลความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์แผนปัจจุบัน เข้าไปไม่ถึง

ในปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบยาจากสมุนไพรให้คล้ายยาแผนปัจจุบันมากขึ้น เช่น ตอกเม็ดยา หรือใส่แคปซูล อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์นี้ยังเป็นสมุนไพรที่ไม่ได้แปรรูป และอาจมีการจดทะเบียนเป็นยาแผนโบราณไว้บ้าง โดยหลักการของการจดทะเบียนยาแผนปัจจุบันและยาแผนโบราณจะต่างกันมาก ยาแผนปัจจุบันเป็นยาที่ทราบส่วนประกอบและฤทธิ์ที่แน่นอน ผ่านการศึกษาทั้งในห้องทดลองและในคลินิกมาแล้ว ส่วนยาสมุนไพรเกิดจากการใช้ในคน ซึ่งอาจจะให้ผลเป็นที่น่าพอใจแก่ผู้ใช้ระดับหนึ่งและบอกต่อกันมา โดยที่ยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้พืชสมุนไพร จึงทำให้พบปัญหาจากการใช้สมุนไพรอยู่บ่อยๆ

ปัญหาที่เกิดจากการใช้สมุนไพรส่วนใหญ่เกิดจากการนำไปใช้ผิดทาง ไปตามกระแสสังคม และเพื่อการค้าเป็นหลัก ขาดการศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง ขาดข้อมูลที่จะนำไปใช้ในการพิจารณาตัดสินการใช้ เนื่องจากพืชสมุนไพรเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งของประเทศ มีความสำคัญและประโยชน์อย่างมากในแง่การพึ่งพาตนเองของประชาชนและเศรษฐกิจ ของประเทศ ความสนใจที่คิดจะพัฒนาพืชสมุนไพรเป็นยารักษาโรคเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อ ทุกๆ ฝ่ายเป็นหนทางหนึ่งที่จะกระตุ้นให้มีการศึกษาวิจัยสมุนไพรอย่างจริงจัง ให้ตระหนักถึงคุณค่าที่แท้จริงในการรักษาและความปลอดภัย เรื่องที่จะได้กล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นสมุนไพรและธัญพืชที่ใช้เป็นอาหารที่ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตเจนที่ จะมีผลดีต่อร่างกาย เพื่อที่จะได้นำมาศึกษาและพัฒนาทำมาใช้ทดแทนยาปัจจุบันต่อไป

ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen)

ไฟโตเอสโตรเจน ได้ถูกให้คำนิยามว่าคือ สารประกอบทางเคมีในพืชที่มีสูตรโครงสร้าง หรือสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาคล้ายฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน สารเหล่านี้พบมากในพืชที่ใช้เป็นอาหาร โดยเฉพาะพืชที่เป็นอาหารที่ใช้เพื่อป้องกันโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดไปเลี้ยง หัวใจ (Coronary heart disease) มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งที่รังไข่ นอกจากนี้พบในพืชหลายชนิดโดยจากการสังเกตการใช้ทางพื้นบ้าน และการสังเกตผลการรับประทานสมุนไพรในด้านต่างๆ เช่น การเพิ่มน้ำนมให้กับสตรีหลังคลอดบุตร หรือประชาชนในประเทศจีนที่รับประทานพืชบางชนิดแล้วสามารถคุมกำเนิดได้ หรือสังเกตจากสตรีที่รับประทานพืชบางชนิดแล้วทำให้สตรีนั้นเป็นหมัน เป็นต้น

ซึ่งแง่มุมเหล่านี้ทำให้มีการศึกษาเกี่ยวกับสารประกอบในพืชที่มีฤทธิ์เหมือน estrogen คือสามารถออกฤทธิ์ต่อเซลล์ของผนังมดลูก รังไข่ และเต้านม โดยทำให้เยื่อบุผนังช่องคลอดหนาขึ้น หรือกระตุ้นการทำงานของเยื่อบุปากมดลูกทำให้มีการหลั่งเมือกที่ปากมดลูกมาก ขึ้น หรือเพิ่มการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนกล้ามเนื้อที่มดลูกหนาขึ้น หรือมีผลต่อการเจริญเติบโตของต่อมน้ำนมที่เต้านม การศึกษาฤทธิ์ดังกล่าวมานี้เป็นการศึกษาและสังเกตในสัตว์ทดลอง (in vivo) ที่แสดงให้เห็นถึงการออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogenic effect) วิธีการศึกษา จะให้สารจากพืชที่คาดว่ามีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนให้สัตว์ทดลองแล้วตัด อวัยวะต่างๆ มาศึกษา โดยเปรียบเทียบกับสัตว์ทดลองที่เป็น positive control ที่ให้ estradiol ส่วนสัตว์ที่เป็นกลุ่มควบคุมจะไม่ให้ยาใดๆ

สำหรับการศึกษา estrogenic activity อาจศึกษาจากหลอดทดลอง (in vitro) โดยวิธีการดังต่อไปนี้


*



Receptor binding assay เป็นวิธีที่ใช้หลักการของสารที่เป็นไฟโตเอสโตรเจน ที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายเอสโตรเจน ซึ่งสามารถจับกับ estrogen receptor ได้เช่นเดียวกับ estrogen ในร่างกาย ซึ่งการทดลองจะใช้เซลล์ที่สกัดจากเซลล์ผนังมดลูก และทดลองความสามารถของสารที่จับกับ estrogenic receptor โดยเปรียบเทียบกับ hormone ที่ถูก labelled ด้วยสารรังสี

*


Cell proliferation Assays เป็นวิธีการใช้เซลล์เช่นเซลล์มะเร็งเต้านม ดูผลของสารในพืชที่มีต่อ cell เหล่านี้เปรียบเทียบกับ estrogen


สองวิธีที่กล่าวมานี้เป็นวิธีที่นิยม และมักพบได้ในวารสารต่างประเทศ แต่ยังมีอีกหลายวิธี เช่นการใช้ gene เข้ามาเกี่ยวข้องเช่นวิธีการที่เรียกว่า Reported gene Assay หรือ Analysis of the Regulation of Endogenous genes in Cell lines เป็นต้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะเป็นวิธีเฉพาะและใช้เทคนิควิธีทางชีวโมเลกุล (Molecular biology) หาปริมาณสารที่มีคุณสมบัติเป็น estrogen

จากวิธีการศึกษาทั้งใน in vitro และ in vivo ซึ่งจะทำให้ทราบว่า สารใดออกฤทธิ์คล้าย hormone เพศบ้างดังนี้ จะขอสรุปการวิจัยที่พบทั้งในการทดลองกับสัตว์ทดลองและทดลองในหลอดทดลอง (in vitro) พบพืชที่มีออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogenic activity) หลายชนิด ที่ปกติมนุษย์ก็ได้ใช้เป็นอาหารอยู่แล้ว และเป็นทางออกให้สตรีวัยทองได้ใช้ทดแทนฮอร์โมนเพศที่ลดน้อยลงเมื่ออยู่ในวัย ใกล้จะหมดประจำเดือน และยังลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งมดลูก เมื่อต้องใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์เป็นระยะเวลานานอีกด้วย ก่อนที่จะกล่าวถึงพืชที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ผู้เขียนจะขอสรุปสารประกอบทางเคมีที่สกัดจากพืชที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศ หญิง พอจะสรุปเป็นกลุ่มของสารดังต่อไปนี้


*



สารกลุ่มเสตียรอยด์ ได้แก่ estrone ซึ่งสารประกอบชนิดนี้สกัดได้จากเมล็ดข้าวชนิดต่างๆ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ด 17-a estradiol สกัดได้จากถั่วแขก b -sitosterol และ stigmasterol พบได้ในพืชทั่วไป

*


สารกลุ่ม isoflavone สารกลุ่มนี้จะมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงมาก เนื่องจากสูตรโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศ และสามารถจับ estrogen receptor ได้มีสารกลุ่มนี้ได้แก่ genistein ที่พบในถั่วเหลือง ถั่วเขียว หญ้าแพรก alfalfa ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ตลาดในปัจจุบัน daidzein พบในถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ เมล็ด alfalfa, miroestrol พบในกวาวเครือ Chandalone และ osajin พบในเถาวัลย์เปรียง Formononetin พบในชะเอมเทศ

*


สารกลุ่ม Coumestan ได้แก่ Coumestrol พบในถั่วเหลือง ถั่วเขียว และ alfafa

*


สารกลุ่ม flavonoid ที่เป็นกลุ่มของสารสีเหลืองที่พบในดอกไม้และผลไม้ ได้แก่ apigenin , quercetin , rutin , kaempferol , naringin , luteolin

*


สารกลุ่ม terpene สารกลุ่มนี้แสดงฤทธิ์เป็น estrogenic activity ได้แก่สารในกลุ่ม triterpenoid saponin ได้แก่ asiaticoside ในใบบัวบก emarginatoside B และ C จากผลมะคำดีควาย ursolic acid พบในพืชทั่วไปและพบมากในผลคัดเค้า

*


สารกลุ่ม quinone สารกลุ่มนี้แบ่งย่อยออกเป็น benzoquinone สารกลุ่มนี้พบว่าออกฤทธิ์ทำให้หนูเป็นหมันโดยเฉพาะหมันชาย (Male antifertility agent) โดยทำให้น้ำหนักของ อวัยวะเพศเล็กลง สารที่ออกฤทธิ์ในส้มกุ้งคือ Embelin สารอีกกลุ่มในกลุ่ม quinone คือ naphthaquinone สารที่ออกฤทธิ์ต้านการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้วในผนังมดลูกคือ plumbagin เนื่องจากสารชนิดนี้ทำให้มดลูกบีบตัวรุนแรงทำให้ไข่ที่ผสมไม่สามารถฝังตัว ได้

*


สารกลุ่ม lignan สารกลุ่มนี้ที่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศคือ enterolactone และ Enterodiol จะพบมากในเส้นใยในพืช ดังนั้น สตรีวัยใกล้หมดประจำเดือนจะถูกแนะนำให้รับประทานผักหรือพืชที่มีเส้นใยมาก เนื่องจากมีสารดังกล่าวที่แสดงฤทธิ์เป็น estrogenic effect นั่นเอง

*


สารกลุ่ม alkaloid ได้แก่ colchicine จากต้นดองดึง Nicotine จากยาสูบ Desperidine จากระย่อม yohimbine จาก yohimbe bark และ Coronaridine จากพุดซ้อน จากการค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลเกี่ยวกับพืชได้แก่ Agricola , Hot-CD, Sci -CD และฐานข้อมูลอื่น ๆ พบว่า พืชที่เป็นอาหารและมีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมน estsogen มีดังนี้







ลำดับ


ชื่อสมุนไพร


การออกฤทธิ์

1.


พลู (ใบ, ราก)


สารสกัด แอลกอฮอล์มีผลลดการสร้างเสปิร์มทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ seminiferous tubule , น้ำหนักอวัยวะเพศเล็กลง น้ำเมือกหรือของเหลวน้อยลง ดังนั้นมีผลทำให้การเคลื่อนที่ของเสปิร์มช้าลง

2.


ดีปลี (ราก)


ทำให้เกิดหมันในหนู เพราะมดลูกไม่เหมาะสมกับการฝังตัวของไข่

3.


ลักกะจั่น จันทร์แดง


แก่นที่ราลง ออกฤทธิ์โดยการจับที่ estrogen receptor ทำให้มีผลเป็น estrogenic effect

4.


หญ้าคา, หญ้าแพรก (ใบและเมล็ด)


พบ estrone และ genistein ออกฤทธิ์เป็น estrogenic effect

5.


แห้วหมู (ราก)


มีผล estrogenic effect

6.


สบู่ดำ (เมล็ด)


ต้านการฝังตัวของตัวอ่อนที่มีการผสมทำให้มดลูกฝ่อลง และผนังไม่เหมาะกับการฝังตัวของไข่

7.


ระหุ่ง (เมล็ด)


น้ำมันจากเมล็ดทำให้มดลูกฝ่อในหนู ในกระต่าย ทำให้ท่อนำไข่ตีบตัน ขนาดมดลูกเล็กลง ใช้ในคนท้องจะทำให้แท้งได้

8.


น้ำนมราชสีห์ (ทั้งต้น)


ออกฤทธิ์ estrogenic effect เพิ่มน้ำนมมากขึ้น

9.


ลูกใต้ใบ (ทั้งต้น)


สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ ทำให้จำนวนเสปิร์มลดลง ทำให้คุมกำเนิดในหนูตัวผู้ได้

10.


คูน (ผล)


เนื้อในฝักของคูนมีผลลดการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้วโดยทดลองในหนู albino ตัวเมีย

11.


มะกล่ำตาหนู (เมล็ด)


ช่วยให้หนูแท้งเพราะเกิดการบีบตัวของมดลูกอย่างรุนแรง ลดการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้วในหนู

12.


กวาวเครือ (ราก)


พบ miroestrol ออกฤทธิ์เป็น estrogenic effect

13.


ทองกวาว (ราก)


ทำให้แท้งได้ออกฤทธิ์เป็น estrogenic effect ทำให้การฟอร์มตัวของตัวอ่อนผิดปกติ

14.


ชบาแดง (ราก, ดอก)


ออก ฤทธิ์ estrogenic effect โดยต้านการตกไข่ เพิ่มน้ำหนักของมดลูก ทำให้ผนังของปากมดลูกผิดปกติ ทำให้การสังเคราะห์ androgen ในร่างกายลดลงทำให้อวัยวะเพศลดขนาดลงและลดจำนวน sperm ดังนั้นจีนใช้เป็นยาคุมกำเนิดได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง

15.


ฝ้ายแดง (เมล็ด)


น้ำมันเมล็ดฝ้ายมี gossypol ใช้คุมกำเนิดในเพศชาย เมล็ดขนาด 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมในหนูท้องทำให้หนูแท้งได้

16.


เจตมูลเพลิงแดง (ราก)


พบสาร plumbagin ใช้เป็นสารออกฤทธิ์บีบมดลูก และออกฤทธิ์คล้าย estrogen

17.


คัดเค้า (ผล)


พบสาร ursolic acid ซึ่งออกฤทธิ์คล้าย estrogenic effect ทำให้หนูเป็นหมันและออกฤทธิ์บีบมดลูก

18.


มะคำดีควาย (ผล)


พบ emarginatoside A และ B ออกฤทธิ์ทำให้เป็นหมัน

19.


เทียนดำ (เมล็ด)


ให้สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ในหนูขนาด 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวต่อกิโลกรัม 1-7 วัน ออกฤทธิ์เป็น estrogenic effect

20.


เทียนสัตตบุตษ์ (เมล็ด)


ออกฤทธิ์เป็น estrogenic effect

21.


เทียนข้าวเปลือก (เมล็ด)


ออกฤทธิ์เป็น estrogenic effect

22.


คนทีเขมา (เมล็ด)


ออกฤทธิ์เป็น estrogenic effect

23.


ปาล์ม (เมล็ด)


ออกฤทธิ์เป็น estrogenic effect

24.


ว่านชัดมดลูก (เหง้า)


เพิ่มความหนาของปากมดลูก เพิ่มน้ำหนักมดลูก ลักษณะของปากมดลูกเปลี่ยนแปลงไปไม่เหมาะกับการผสมระหว่างไข่กับเสปิร์ม

25.


ขิง (เหง้า)


พบ daidzein , genistein ออกฤทธิ์คล้าย estrogen

26.


ประทัดจีน (แก่น)


พบ genistein ทำให้หนูเป็นหมัน

27.


สะเดาอินเดีย (ใบ)


สารสกัดชั้นน้ำจากส่วนใบขนาด 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม สามารถลดการสร้างเสปิร์ม ทำให้การเคลื่อนไหวของเสปิร์ม ลดลง

28.


แพงพวยฝรั่ง (ใบ, ราก)


สารสกัด alkaloid จากใบแพงพวยฝรั่ง ลดการผลิตไข่ลงจากปกติเป็น 66.6% แต่ในรากลดลงถึง 43.5%

29.


หญ้าหัวโต (ทั้งต้น)


ทำให้ม้าเป็นหมัน

30.


ครามป่า (เมล็ด)


ออกฤทธิ์เป็น estrogenic effect และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

31.


ชิงดอกเดียว (ราก)


พบ goniothalamine ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศทำให้มดลูกเล็กลง ระดับ progesterone ลดต่ำลง

32.


ส้มกุ้ง (ราก)


มี Embelin ทำให้เกิดหมันในผู้ชาย เพราะน้ำหนักอวัยวะเพศจะลดลง

33.


อีหรุด


ทำให้หนูเป็นหมัน

34.


น้อยหน่า (เมล็ด)


ทำให้หนูเป็นหมัน



สมุนไพรที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogenic effect)


Create Date : 22 มีนาคม 2553
Last Update : 22 มีนาคม 2553 11:04:39 น. 0 comments
Counter : 612 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

somkitjar
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add somkitjar's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.