Group Blog
 
 
มีนาคม 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
19 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
วิพากษ์ "การศึกษาไทย" ฉบับมโนสาเร่


Bread MachineBread MachinesZojirushi Bread MachineWelbilt Bread MachineWest Bend Bread MachineRecipies For Bread MachineOnline Manual For Breadman Bread MachineBreadman Bread MachineBest Bread MachineRecipes For A One Pound Loaf Bread MachineToastmaster Bread MachineOster Bread MachineHitachi Bread MachineRecipes For Bread MachinesBetty Crocker Bread MachineBreadman Bread MachinesHitachi Bread MachinesSunbeam Bread MachineRegal Bread MachineReviews Bread MachineBroccoli Bread In Bread MachinePaska Bread Recipe For Bread MachineWest Bend Bread MachinesFrench Bread Recipe+bread MachineHawaiian Sweet Bread For Bread MachineNew York Pizza Dough Bread MachinePanasonic Bread MachineRecipes For Bread MachineReplacement Parts For Welbilt Bread MachineToastmaster Bread MachinesWelbilt Bread MachinesZojirushi Home Bakery Supreme Bread MachineBlack & Decker Bread MachineFlour For Bread MachinesMagic Chef Bread MachineRated Best Bread MachinesThe Best Bread MachineBreadman Bread MachineBread Machine Pizza DoughOnline Manual For Breadman Bread MachineWest Bend Bread MakerBread Machine Banana BreadBest Bread MachineHitachi Bread MachineRegal BreadmakerBread Machine MixesSunbeam BreadmakerBread Making MachinesBread Machine MixBreadmaker Review AustraliaBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlog


วิพากษ์ "การศึกษาไทย" ฉบับมโนสาเร่ ขอบ่นเรื่องการศึกษา : ภาคมโนสาเร่ ตอนนี้ผมขอบ่นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาอีกซักตอนแล้วกัน ซึ่งใจจริงคิดอยากจะบ่นเรื่องนี้มานานแล้วล่ะครับ แต่ติดตรงความขี้เกียจอันฝังรากลึกในกมลสันดานทำให้ผัดวันประกันพรุ่งไปเสีย เรื่อย ดังนั้นมาคราวนี้เลยขอบ่นแบบเต็มๆ เสียหน่อย เอาให้แฟนหายคิดถึงเลยว่างั้น สำหรับเรื่องที่จะพูดคุยกันในคราวนี้เป็นสิ่งที่ผมอยากจะเขียนต่อยอดจากการ ที่ได้สนทนากับ น้องชลเทพ นักศึกษาด้านมานุษยวิทยา ผ่านเวบบอร์ดพันทิป ซึ่งการสนทนาดังกล่าวนอกจากจะเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดกันแล้ว ยังส่งผลให้กระตุกต่อมการเขียนของผมพอสมควรเลยทีเดียว อย่างที่รู้กันครับ ผมมันเป็นพวกต้องมีอะไรมาทิ่มๆ แหย่ๆ แยงๆ เสียหน่อย ถึงจะกระตุกต่อมเขียนให้มันทำงานได้ ว่าแล้วเรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า........ -1-แอดมิชชั่น ในข้อเขียนของน้องชลเทพได้เสนอประเด็นที่น่าสนใจเอาไว้ว่าระบบแอดมิชชั่น (admission) แบบใหม่ที่ได้ถูกใช้ไปนั้นสร้างผลพวงก่อให้เกิดภาวะ “ชายขอบ” (margial) ในวงการศึกษาอย่างมาก โดยการคัดเลือกโดยใช้เกณฑ์ที่เข้มข้นทำให้กีดกันเด็กบางส่วน (และจริงๆอาจจะมากส่วนด้วยซ้ำ) ที่ไม่สามารถผ่านการคัดเลือกเข้าไปอยู่ในสถาบันสังคมสถาปนาให้อยู่ชั้นบน หรือให้คุณค่าว่าดีได้ถูกทำให้กลายเป็นพลเมืองชั้น “รอง” ลงไป และผลที่ตามมาก็คือพวกเขาเหล่านั้นถูกผลักไสให้ไปอยู่ขอบริมของสังคม และโดนสังคมตราว่าเป็นนิสิตนักศึกษาชั้นล่าง นอกจากจะกล่าวถึงเรื่องความเป็นชายขอบแล้ว ชลเทพได้นำมโนทัศน์เรื่อง “วรรณะ” เข้ามาเพื่อทำให้ประเด็นของเขาชัดขึ้น เพราะท้ายที่สุดแล้วระบบแอดมิชชั่นดังกล่าวก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทาง วรรณะในวงการการศึกษา นิสิต นักศึกษา ที่อยู่ในสถาบันชั้นบนจะถูกยกให้มีวรรณะ เหนือกว่าสถาบันที่รองลงมา ถูกยกย่องให้มีอภิสิทธิ์เหนือกว่าผู้อื่น แน่นอนว่าผู้ที่ไม่สามารถเข้าไปสู่สถาบันชั้นบนย่อมตกอยู่ภาวะ “ชายขอบ” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นก็เพราะพวกเขาเหล่านั้นนอกจากจะถูกสังคม (บางส่วน) เมินแล้ว สังคมยังจะคอยที่จะตัดสินคุณค่าให้พวกเขาอยู่ในวรรณะที่ต่ำเตี้ย ทั้งด้านปากท้องเรื่องการการสมัครงานที่ย่อมต้องถูกนายจ้างให้คุณค่าในเกณฑ์ ที่ต่ำ ทั้งในแง่สถานภาพทางสังคมที่พวกเขาถูกซ้ำเติมว่าเป็นนักศึกษาชั้นสองที่ไม่ มีคุณภาพ ยังผลให้ความไม่เท่าเทียมในวงการศึกษาอยู่ไปทั่วทุกแห่ง ที่หนักเข้าไปอีกก็คือระบบแอดมิชชั่นที่ถูกนำเข้ามาใช้ได้สร้างทุกข์ให้ อย่างมากมาย ด้วยการวัดผลที่ไม่มีประสิทธิภาพ การประกาศคะแนนไม่คงเส้นคงวา เดี๋ยวมีขึ้น เดี๋ยวมีลง ซึ่งแสดงถึงความล้มเหลวของระบบการวัดผลดังกล่าวอย่างแท้จริง การวิเคราะห์ที่ผ่านมาของชลเทพ ทำให้ผมได้ย้อนกลับไปคิดถึงภาวะความเป็น “ชายขอบ” ในแวดวงการศึกษาว่าแท้จริงแล้วมันไม่ได้ถูกสถาปนาให้เกิดขึ้นในยุคสมัยนี้ เท่านั้น หากแต่ว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่การศึกษาในบ้านเรามาช้านาน ความเป็นชายขอบถูกนิยามว่าเป็นการที่คน หรือกลุ่มชน กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งของสังคม ถูกผลักไสออกจาก “ศูนย์กลาง” ให้ไปอยู่ ณ ขอบริมของสังคม ขอบริมในแง่นี้ไม่ได้หมายถึงขอบริมในเชิงภูมิศาสตร์กายภาพแต่เพียงอย่าง เดียว ความหมายของมันรวมถึงขอบริมทางด้านสังคมด้วย ทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีสถานภาพที่ต่ำกว่าคนทั่วไป ภาวะชายขอบสามารถเกิดขึ้นได้หลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของฐานะทางเศรษฐกิจ ที่คนจนหรือผู้ที่ประกอบอาชีพที่สังคมให้คุณค่าน้อยถูกทำให้ชีวิตของพากเขา ด้อยค่าลงไป หรือจะเป็นในแง่ของเพศสภาพที่เพศที่สาม (กระเทย เกย์ เลสเบี้ยน ฯลฯ) ถูกสังคมประณามและตราหน้าให้เป็นบุคคลที่ผิดปกติ ผิดกลุ่มผิดเหล่า หรือแม้กระทั่งความพิการทุพลภาพก็แสดงถึงความเป็นภาวะชายขอบเช่นกัน โดยคนเหล่านี้จะถูกผลักให้ไปอยู่ขอบริมของสังคมทำให้ขาดโอกาสในสิ่งต่างๆที่ คนปกติพึงมี ซึ่งตรงนี้เหมือนกับเป็นการช่วงชิงและยึดครอง “วาทกรรม” (discourse) กล่าวคือ ผู้ที่สามารถยึดครองและสร้างวาทกรรมที่บ่งชี้ได้ว่าตนเอง “ปกติ” นั้น ย่อมมีอำนาจที่จะยัดเยียดความ “ไม่ปกติ” ให้กับผู้อื่นได้ท้ายที่สุดแล้วผู้คนในศูนย์กลางที่ยึดครองวาทกรรมหลักได้ สร้างสิ่งที่เรียกว่า “ความเป็นอื่น” (the others) ให้กลับกลุ่มชนชายขอบ ผู้ที่ถูกตราหน้าว่าเป็น “คนอื่น” นั้นจะถูกสังคมให้คุณค่าที่ต่ำ และถูกกีดกันไม่ให้เข้าไปสู่สิ่งต่างๆที่คนในศูนย์กลางได้รับ นอกจากตัวอย่างที่ยกมาแล้ว ภาวะชายขอบก็เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับวงการศึกษาเช่นกันดังที่ ชลเทพได้นำเสนอมา โดยมันมีกระบวนการทำให้เป็นชายขอบ (marginalization) ซึ่งก็คือระบบการวัดผลที่เรียกว่าแอดมิชชั่นที่สร้างสรรค์สิ่งที่เรียกว่า วรรณะขึ้นมา และนำพาไปสู่ความเลื่อมล้ำในที่สุด แต่สำหรับผมมีความคิดที่แตกต่างจากชลเทพเล็กน้อยตรงที่มองว่าภาวะชายขอบในวง การศึกษานั้นเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นในยุคสมัยนี้เท่านั้น เพราะเชื่อว่ามันน่าจะเป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเป็น “สมัยใหม่” (modern) ที่เกณฑ์การวัดผลทางการศึกษาถูกจัดให้เป็นระบบระเบียบ และใช้ “คะแนน” เป็นตัวตัดสินชี้ขาดคุณค่าของคน ดังนั้นแล้ว ถ้าหากมองตามภาพนี้จะเห็นได้ว่า ระบบก่อนหน้าการแอดมิชชั่นนั้นก็น่าจะก่อให้เกิดภาวะชายขอบด้วยเช่นกัน แต่เกณฑ์หรือความรุนแรงที่ใช้วัดค่านั้นอาจจะไม่หนักหน่วงเท่ากับตอนนี้ นอกจากประเด็นที่ผมนำเสนอมาคิดว่ามีอีกทิศทางหนึ่งที่น่าคิดเหมือนกัน (ในความคิดของผมนะ) ว่าโดยเนื้อหาของความเป็นชายขอบบางทีมันไม่มีหัวมีหางไม่มีศูนย์กลางแน่นอน ในบางแง่มุม มหาวิทยาลัยของรัฐเองที่คอยสถาปนาความเหนือกว่า (ในเชิงคุณค่า) ก็ตกอยู่ในสภาวะที่เป็น "ชายขอบ" เช่นกัน เนื่องจากระบบการวัดผล สอบเข้าที่เฮงซวย ทำให้ทิศทางการให้คุณค่าของสังคมหันไปหามหาวิทยาลัยทางเลือกอื่นเพิ่มขึ้น มหาวิทยาลัยของรัฐ (โดยเฉพาะที่มีชื่อเสียงกลางๆ) เผชิญกับการกลับหลังหันของผู้เรียน ไปหาที่เรียนอื่นที่สามารถประกันความแน่นอนในการศึกษาให้เขามากกว่าที่จะมา นั่งรอผลคะแนนที่ไม่แน่นอน และไม่แน่ว่าจะเข้าเรียนได้หรือไม่ถ้าหากว่าส่วนกลางยังคงยึดแบบแผนเดิมอยู่ ผมว่ามันอาจจะเกิดเหตุผลกลับตาลปัตรได้ กระบวนการเป็นชายขอบ อาจจะเข้าไปสู่ศูนย์กลาง กลับไปหามหาวิทยาลัยที่เคยถูกจัดให้อยู่ในสถานภาพที่สูง (โดยสังคมให้คุณค่า) ทำให้สถาบันเหล่านั้นมีสิทธิ์ที่จะ "โดนเมิน" ได้ แน่นอนว่าสภาพดังกล่าวจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อระบบวัดผลที่ศูนย์กลางใช้อยู่มัน ยังคงรักษาความ “ห่วย" ไว้ได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขนี้ผมเชื่อว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจจะมีความรุนแรงและ ชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ตามความเห็นที่ผมเสนอมานั้นคงไม่ใช่เป็นสิ่งที่อยากจะฟันธงชี้ชัด อะไรลงไป หากแต่ต้องการชี้ให้เห็นถึง “กระแส” บางอย่างที่อาจจะเกิดขึ้นกับแวดวงการศึกษา ภาวะชายขอบที่เราเคยคิดว่ามั่นคงแน่นอนมีลำดับขั้นชัดเจน ภายใต้ยุคสมัยอันยุ่งเหยิงนี้มันถูกทำให้กลับหัวกลับทางทิศทางไม่แน่นอน เกิดเป็น “กระแส” อย่างหนึ่งที่เริ่มก่อตัวในหมู่ผู้ที่ไม่พอใจ (รวมถึงไม่สามารถผ่านเกณฑ์) ระบบการวัดผลดังกล่าว ถ้าจะตั้งคำถามว่าปรากฏการณ์หรือกระแสดังกล่าวรุนแรงขึ้นแล้วมันจะนำพาเราไป ที่ไหน สำหรับผมคิดว่ามันจะนำพาเราไปสู่ความคลางแคลงในต่อศูนย์กลางเป็นแน่แท้ แต่ด้วยแรงตึงด้านค่านิยมในที่ในสังคมไทยค่อนข้างมีสูงผมว่าการกลับหลังหัน ของการให้คุณค่ากับสถาบันต่างๆในเชิงสุดขั้วคงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนก็คือภาระหนักจะต้องตกอยู่กับน้องๆนักเรียน รวมไปถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่จะต้องตกเป็นเหยื่อของระบบที่ไร้ประสิทธิภาพและขาดความเป็นธรรม -2- ความไม่เท่าเทียม อีกกระแสหนึ่งทีน่าสนใจก็คือเรื่องราวของการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ที่ผมได้เคยพูดเอาไว้แล้วบ้างในตอนก่อน โดยได้ให้จุดยืนในแง่ที่ไม่ได้ปฎิเสธแนวคิดเรื่องการจัดอันดับแต่อย่างใด สิ่งที่อยากจะเสริมเข้าไปก็คือการสร้างเครื่องมือการวัดผลที่มีประสิทธิภาพ มากกว่าที่เป็นอยู่ อีกทั้งควร ลดละเลิกวัฒนธรรมรักษาหน้าแบบเก่าๆไปได้แล้ว ควรช่วยหันกลับมาหาวิธีการพัฒนาวงการศึกษาน่าจะก่อเกิดคุณูปการมากกว่า แต่อีกเรื่องที่ควรคำนึงถึงก็คือการวัดผลควรจะการคำนึงถึง “อัตลักษณ์” (identity) ของแต่ละสถาบัน ไม่ควรที่จะใช้ความเป็นเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเข้าไปสถาปนาคุณค่าให้แต่ละสถาบัน อย่างชัดเจน ควรจะเปิดช่องให้แต่ละสถาบันแสดงคุณค่าของตนด้วย ดังนั้นถ้าจะกล่าวอย่างรวมๆ ก็คือเราควรจะมีการวัดผลในเชิงทั่วไป (general) ที่ใช้วัดมาตรฐานทั้งในเรื่องการเรียนการสอน การวิจัยรวมไปถึงประสิทธิภาพทางด้านอื่น เข้าไปช่วยพยุงเพื่อรักษามาตรฐานของแต่สถาบัน ในขณะเดียวกันเราก็ต้องยอมรับถึงความเป็นตัวตนของสถาบันนั้นๆด้วย สิ่งเหล่านี้จะนำมาสู่ความแตกต่างที่มีการยอมรับซึ่งกันและกัน ไม่ใช่สักแต่ว่าอันดับแรกเหนือยันป้าย เจ๋งกว่าเค้าเพื่อนไปหมดทุกเรื่องทุกราว สำหรับผมแล้วเชื่อว่าความเท่าเทียมที่แท้จริงนั้นคงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นยาก ความแตกต่าง ความลักลั่น นี่สิถึงถือว่าเป็นความปกติของสังคม การที่พูดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเมินเฉยกับภาพดังกล่าว เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่าบางครั้ง (และหลายครั้ง) ความไม่เท่าเทียมกันมันก็เป็นเหตุแห่งปัญหาในหลายๆประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงการศึกษา สถาบันการศึกษาที่สังคมสถาปนาให้มีคุณค่าที่สูงมีมักจะมีแนวโน้มที่จะรักษา ระดับคุณค่าของตนเอาไว้ได้ ในขณะที่สถาบันขั้นรองๆ ลงมาก็ยังคงรักษาสถานภาพระดับ “ล่าง” เอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น และช่วงห่างดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะทีวีความห่างไกลยิ่งขึ้น ชลเทพได้ให้นิยามสถานการณ์ดังกล่าวว่าเป็นการ “ผูกขาด” ทางการศึกษา เพราะสถาบันชั้นบนที่มีความเหนือกว่าสถาบันชั้นรองลงมาในทุกๆแง่อย่างเห็น ได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทีด้านทรัพยากรทุน ก่อให้เกิดการแข่งขัน และพัฒนาการศึกษาเป็นไปอย่างไม่เท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตามสำหรับผมเชื่อว่านัยยะแห่งการผูกขาดมันไม่สามารถมองได้แต่เพียง ด้านเดียว ถ้าเราจะมองในแง่การกระจุกตัวแล้วผมว่าบางทีมหาลัยเอกชน หรือมหาวิทยาลัยเปิดอื่นๆ น่าจะมีสัดส่วนของนิสิตกระจุกตัวมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด แต่ถ้าเป็นในแง่ประสิทธิภาพในเชิงวิชาการ การเรียนการสอน มหาวิทยารัฐดูจะมีภาษีเหนือกว่า นั่นก็เพราะมีภาพลักษณ์ที่เหนือกว่ามาตั้งแต่ต้น ดังนั้นแล้วถ้าจะมองเรื่องการผูกขาดเราจำเป็นที่จะต้องมองให้ชัดเจนว่าจะเอา เรื่องใด จะเล่นเรื่องการกระจุกตัวของเด็ก ผลประกอบการในเชิงพาณิชย์ หรือจะเล่นเรื่องการผูกขาดในการสถาปนาคุณค่าให้กับตัวเอง ซึ่งกรณีหลังจะชัดเจนมากสำหรับมหาวิทยาของรัฐที่สังคมรองรับว่าเป็น มหาวิทยาลัยที่ดี (ซึ่งจริงๆมันก็ดีบ้างไม่ดีบ้างแหละวะ) แต่คิดว่าทรัพยากรทุนคงไม่ใช่สิ่งเดียวที่ทำให้มหาลัยชั้นบนสถาปนาความเหนือ กว่าเอาไว้ได้ นั่นก็เพราะว่ามันมีปัจจัยด้านประวัติศาสตร์รวมไปถึงปัจจัยเชิงสถาบันอื่นๆ เกื้อหนุนมาเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นเมื่อระบบการให้คุณค่าไม่เท่ากัน ถ้าว่ากันตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว ทรัพยากรมันก็มีแนวโน้มที่จะ “ไหล” ไปยังที่ๆให้มูลค่า (value) มากกว่า (มูลค่าในที่นี้ไม่อยากจะให้หมายถึงมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว ) จึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมการจัดสรร budget จึงไปลงอยู่กับมหาวิทยาลัยบน เพราะว่า policy maker ก็มักจะจัดสรรเงินไปในที่ๆเค้าคิดว่าให้ผลตอบแทนทางการศึกษาดีกว่านั้นเอง ทำให้มหาวิทยาลัยชั้นรองลงมาถูกจัดสรรในสัดส่วนที่น้อยกว่า เท่านั้นยังไม่พอ นอกจากมีการไหลของทรัพยากรทุนแล้ว ในนิสิตที่มีคุณภาพที่สูงกว่า ก็มักจะไหลไปสู่สถาบันชั้นบนที่สังคมยอมรับและให้คุณค่ามากกว่าสถาบันชั้น รองลงมา (ตรงนี้ผมคิดว่าเป็นความจริงที่จำต้องยอมรับเอาไว้บ้าง) สุดท้ายแล้ววงจรอุบาทว์จึงเป็นสิ่งที่ดำเนินต่อไป มหาวิทยาลัยที่ดีก็ดีเข้าไป มหาวิทยาลัยที่โดนด่าว่าห่วยก็โดนด่าต่อไปยันชั่วลูกชั่วหลาน (แต่บางทีบางหลักสูตรมันก็คุณภาพไม่ถึงจริงๆ พับผ่าซิ) จึงนำมาสู่คำถามสำคัญที่ว่าเราจะทำอย่างไรให้การ “ไหล” ของทรัพยากร (ซึ่งในกรณีนี้ก็คือทรัพยากรทางการศึกษา) เป็นไปอย่างเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผมว่ามันต้องแก้ที่ปัจจัยเชิงสถาบันครับ (institution factor) สถาบันที่กล่าวมานั้นรวมไปถึงสถาบันที่เป็นเชิงนามธรรม เช่นเรื่องของ กฎเกณฑ์ทางสังคม ระบบการให้คุณค่าต่อสิ่งต่างๆของสังคมด้วย ตรงนี้คงเป็นปัญหาในระยะยาวที่จะต้องค่อยๆแก้กันไป โดยใช้เครื่องมือการวัดผลที่มีประสิทธิภาพนั่นแหละเป็นตัวช่วยนำทาง และชี้ให้เห็นถึงข้อดี ข้อเด่น ข้อด้อย รวมไปถึงอัตลักษณ์ พันธกิจ ที่แตกต่างกันของแต่ละสถาบัน ในขณะเดียวสถาบันแต่ละแห่งก็ต้องปรับเปลี่ยนยกระดับตัวเองอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงภาครัฐที่จะต้องลดความ short sight ลงไปเสียหน่อย พยายามจัดสรร budget ให้เกิดความยุติธรรมมากขึ้น ลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำลงมา ชลเทพได้นำเสนอว่าน่าจะมีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรกันระหว่างสถาบันเพื่อลงช่วง ห่างดังกล่าวลง โดยการแลกเปลี่ยนคณาจารย์กันทั้งในแง่การเรียนการสอนและการทำวิจัย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำนั้นลง แต่สำหรับผมค่อนข้างไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว อีกทั้งคิดว่าในทางปฏิบัติคงเป็นไปได้ยากที่อยู่ๆ อาจารย์จะสลับ factorial ไปสอนที่โน่นที ที่นี่ที ส่วนเรื่องการทำวิจัยระหว่างสถาบันผมคงคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องราวเฉพาะกิจ มากกว่า เพราะในความเป็นจริงแล้วการไหลเวียนของทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรมนุษย์นั้นแทบจะไม่มีความยืดหยุ่นเอาเสียเลย ไม่สามารถไหลไปมาได้เหมือนหลักทรัพย์ทางการเงินที่มีลักษณะเกือบจะเป็น perfect mobility ด้วยกฏเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าวคงเป็นไปได้ยากที่เราโยกย้ายถ่ายเทสิ่งต่างๆ ได้ตามความอำเภอใจ และสำหรับผมคิดว่าการแข่งขันคงไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่จะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น อย่างไรก็ตามคงปฏิเสธไม่ได้ว่าถ้าหากมีการแข่งขันกันบ้างมันก็จะสามารถ กระตุ้นให้วงการศึกษาเกิดความคึกคักขึ้น หากการแข่งขันอยู่ภายใต้กฎกติกาที่เหมาะสม ไม่ได้เล่นนอกเกมกัน ผมว่ามันก็น่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงประสิทธิภาพบ้างไม่มากก็น้อย สิ่งที่ผมพยายามจะชี้ให้เห็นก็คือว่าความแตกต่างนั้นถือเป็นปกติวิสัยบนโลก ใบนี้ แต่มนุษย์เรานี่เองแหละที่คอยไปตัดสินชี้ขาดและให้คุณค่ากับสิ่งที่แตกต่าง ให้มีระดับมากน้อยแตกต่างกันไป ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันขึ้น อย่างไรก็ตามช่วงห่างระหว่างความไม่เท่าเทียมดังกล่าวสามารถอุดได้โดยการ เปลี่ยนแปลงระบบการให้คุณค่าของสังคม ร่วมด้วยการสร้างเครื่องมือชี้วัดที่มีประสิทธิภาพควบคู่กันไป โดยจะหย่อนสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ แม้ว่าสุดท้ายแล้วความเท่าเทียมที่แท้จริงอาจจะไม่เกิดขึ้น แต่ขอให้เราได้เข้าใกล้มันให้มากขึ้น....มากกว่าที่เป็นอยู่ -3-ธุรกิจการศึกษา อีกวัฒนธรรมหนึ่งที่มาพร้อมกับยุคสมัยนี้ก็คือการที่ทุกสิ่งที่อย่างนั้นถูก ทำให้เป็นสินค้า รวมไปถึงบริการด้านการศึกษาที่ถูกทำให้กลายเป็นธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ใช่เฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชนเท่านั้น แต่รวมไปถึงมหาวิทยาลัยของรัฐเองก็ได้กระโจนเข้ามาอยู่ในวังวนดังกล่าวเรียบ ร้อยแล้ว วิธีการที่ยอดฮิตก็คือการหลับหูหลับตาเปิดหลักสูตรเข้าไป ตั้งปริญญาตีภาคพิเศษเอย ปริญญาโทสารพัดภาคเอย ทั้งภาคค่ำ หรือเสา-อาทิตย์ ออกแบบหลักสูตรให้ดูน่าสนใจ สร้างวัฒนธรรมแบบ fast food ให้เกิดขึ้นในวงการศึกษา กล่าวคือ เกณฑ์การคัดเลือกก็ทำแบบง่ายๆเข้าไว้ อารมณ์ประมาณว่ากามั่วก็ยังสอบติด พอเข้ามาเรียนเสร็จก็ต้องรีบไล่ให้จบไวๆเชียว จะได้เปิดรับรุ่นใหม่เข้ามาได้ต่อเนื่อง แน่นอนว่าค่าหน่วยกิตนี่ต้องมีเป็นหลักหมื่นครับท่าน สุดท้ายแล้วก็แจกปริญญาซะ ซึ่งผมอยากจะเรียกกระบวนการดังกล่าวเป็น key word ว่า รับง่าย ถ่ายเร็ว จ่ายแรง แจกแหลก ผมไม่อยากจะบอกเลยว่ามหาวิทยาลัยบางแห่ง บางคณะนิสิตปริญญาโทมากกว่าปริญญาตรีด้วยซ้ำ ฟังแล้วขนลุกหวะ ฮ่าๆ อีกกลยุทธ์หนึ่งที่ฮิตก็คือการไปเปิดวิทยาเขตครับ เปิดมันให้ทั่วไปหมด ไปมันให้ทั่วประเทศ มั่วกันให้มันส์ มีห้องแถวซักสองห้อง ก็เอาล่ะ!! เปิดเป็นมหาวิทยาลัยได้แล้วเว้ย ผมยังคิดสภาพไม่ออกเลยนะว่าจะเรียนจะสอนกันยังไง นอกจากจะมาในรูปแบบของการเปิดสาขาแล้ว อีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจก็คือการร่วมมือกันระหว่างสถาบัน โดยมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหน่อยก็จะทำการเข้าไปรุกล้ำสถาบันที่อยู่นอก เขตปริมณฑลออกไป โดยการเปิดหลักสูตรต่อเนื่อง เพราะบางสถาบันมีถึงแค่ระดับ ปวส. เท่านั้น แต่มหาวิทยาลัยสามารถสร้างข้อตกลงได้โดยส่งอาจารย์ไปสอนให้จนจบระดับปริญญา ตรี แน่นอนว่าปริญญาที่ได้รับย่อมมีชื่อมหาวิทยาลัยนั้นหราอยู่แน่นอน อืม....แบบนี้ใครไม่ลงหน่วยกิตต่อเนื่องไปก็คงโง่พิกลเนอะ การทำการค้าหรือการทำธุรกิจมันไม่ผิดหรอกครับ แต่ในกรณีการให้บริการทางการศึกษามันมาทำเล่นๆเหมือนขายกล้วยแขก (ไม่ได้ต้องการจะดูถูกอาชีพขายกล้วยแขกนะ แค่เปรียบเปรยเฉยๆ)ไม่ได้ ปัญหาที่เกิดจากการมัวแต่หาช่องทางทำการค้าก็คือเรื่องของการควมคุมคุณภาพ ครับ ผมว่าอันตรายจริงๆถ้าจะปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไป เรื่องคุณภาพผมว่ามันก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนครับ คงจะโทษวัฒนธรรมการศึกษาเชิงพาณิชย์อย่างเดียวไม่ได้ แต่เราก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าวัฒนธรรมดังกล่าวมันค่อยๆบ่อนทำลายคุณภาพการศึกษา ลงทีละน้อยๆ ส่วนอีกเรื่องที่อยากจะเล่าก็คือกรณีศึกษาน่าสนใจที่เกิดขึ้นกับเพื่อนๆของ ผมที่มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง เรื่องราวมันมีอยู่ว่าหลักสูตรดังกล่าวมีเงื่อนไขเบื้องต้นว่าผู้สมัครจะ ต้องมีประสบการณ์ทำงาน 2-3 ปีเป็นอย่างน้อย ซึ่งเพื่อนๆของผมประสบการณ์ยังไม่ผ่านตามเกณฑ์ แต่ไม่ต้องห่วงครับ ไปๆมาๆ เข้าเรียนได้เฉยเลย ผมยัง งงๆอยู่ แต่ปัญหามันเริ่มเกิดตอนเรียนปีท้ายๆนั่นแหละครับ นิสิตที่ประสบการณ์ทำงานไม่ถึงถูกอาจารย์ดำริให้ขยายต่อเติมเพิ่มในส่วน individual stdudy ของตัวเองออกไป โดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้าเลย สร้างความไม่พอใจให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่น้อย จะเห็นได้ว่าตัวหลักสูตรเองไม่ได้มีการคัดเลือกอะไรที่แข็งขัน ข้อกำหนดทุกรับคนเข้าหลักสูตรสามารถยืดหยุ่นได้ตามอำเภอใจ แต่พอเข้ามาเรียนแล้วเกิดการเลือกปฏิบัติ (discriminate) ขึ้น ซึ่งไม่มีการแจ้งเกี่ยวกับข้อมูลในการทำ individual study ที่มากกว่าเดิมไว้ล่วงหน้าแต่อย่างใด ทั้งๆที่เป็นข้อมูลที่จะต้องบอกกับผู้สมัครตั้งแต่ก่อนวันลงทะเบียนวันแรก ด้วยซ้ำไป ตรงนี้มีข้อสังเกตุที่น่าสนใจครับ ผมเชื่อว่าการที่ไม่แจ้งให้ทราบข้อมูลล่วงหน้านั้นก็เพื่อเป็นการป้องกันการ turn over ของผู้ที่มาสมัครเข้าหลักสูตร ถ้าหากผู้สมัครรับรู้ข้อมูลดังกล่าวก่อนที่จะเริ่มลงทะเบียนทางมหาวิทยาลัย ก็คงจะสูญเสียรายได้ไปไม่น้อย ดังนั้นการปิดบังข้อมูลไว้จึงเป็นวิธีที่มหาวิทยาลัยเลือก เกิดการรู้ข้อมูลข่าวสารไม่เท่ากัน ระหว่างผู้บริการและผู้ให้บริการ ซึ่งปัญหาดังกล่าวทางเศรษฐศาสตร์เราเรียกว่า asymmetric information ปัญหา asymmetric information นี้ไม่ควรมองข้ามครับ เพราะสุดท้ายแล้วมันจะนำไปสู่การ “เลือกผิด” (adverse selection) ของผู้บริโภค ดังในกรณีนี้ถ้าหากว่าทุกรับรู้ข้อมูลดังกล่าวตั้งแต่แรกคงไม่เลือกที่จะ เรียนในหลักสูตรนี้แน่นอน หรือถ้าจะเรียนก็คงเรียนด้วยความไม่ประมาทมากขึ้น ส่วนอีกเรื่องที่ผมคิดว่าไร้เดียงสาก็คือ การชดเชยประสบการณ์ทำงานด้วยการทำ individual study เพิ่ม ในมุมมองของผมคิดว่าสองสิ่งนี้มันทดแทนกันไม่ได้เลย ประสบการณ์ก็เป็นเรื่องของประสบการณ์ การวิจัยก็เป็นเรื่องการวิจัย ถ้าหากทางหลักสูตรกำหนดกฏเกณฑ์เอาไว้ว่าต้องการประสบการณ์ทำงาน ด้วยเหตุผลอะไรก็ตามทีก็ควรจะยึดหลักนั้นเอาไว้เลย ไม่ใช่มายืดหยุ่นเอาตามอำเภอใจ สุดท้ายคนเสียประโยชน์คือคนที่เรียนนั่นเอง คงเห็นแล้วได้ว่าการให้บริการการศึกษาโดยมุ่งเน้นแต่ผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ อย่างเดียวมันได้สร้างผลกระทบต่อผู้เรียนขนาดไหน สิ่งที่ผมต้องการจะสื่อก็คือเรื่องการศึกษาไม่ใช่ของล้อเล่นครับ การเปิดหลักสูตรอะไรต่างๆ เป็นสิ่งที่สามารถเปิดได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด อีกทั้งการที่มุ่งเน้นผลประโยชน์ด้านธุรกิจมากเกินไปสุดท้ายมันก็เป็นการ สร้างภาระให้กับสังคม ผมว่าในกรณีนี้ภาครัฐต้องลงไปเล่นอย่างจริงจัง ผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ จัดตั้งหน่วยงานที่เอาไว้ควบคุมคุณภาพการเปิดหลักสูตรโดยเฉพาะ นอกจากนั้นยังสามารถรับเหตุร้องเรียนได้ด้วย ไม่ใช่แค่แบบทุกวันนี้ที่เขียนเสนอไปก็ผ่าน อีกทั้งไม่มีมาตามดูผลงานย้อนหลัง ปล่อยให้มหาวิทยาลัยสนุกสนานยำเด็กกันตามอำเภอใจ -4- สุดท้าย สำหรับผมคิดว่าในเรื่องของแวดวงการศึกษานั้นยังคงมีอีกหลายเรื่องราวให้ต้อง วิเคราะห์ วิจารณ์ ซึ่งผมจะพยายามนำเสนอในโอกาสต่อไป สำหรับความต้องการของผมนั้นไม่มีอะไรมากไปกว่าข้อการที่ข้อเขียนของผมมี ประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย คอยกระตุกต่อม เตือนสติให้ได้คิดถึงเรื่องปัญหาต่างๆที่รายล้อมพวกเราอยู่ ขอให้มีความสุขกับการศึกษาเล่าเรียนครับ (เหมือนประชดเลยนะเนี่ย ฮ่าๆ) ป.ล. 1.ผม up blog เที่ยวนี้ได้ยาวมาก ไม่ทราบว่าผีสางนางไม้ตนใดมาเข้าสิงเหมือนกัน 2.สำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษาที่ผมเขียนตอนก่อนสามารถดูได้ที่นี่เลย ครับ ส่วนข้อเขียนของน้องชลเทพสามารถเข้าไปดูในได้เวบบอร์ดพันทิปทั้งเรื่องแอดมิ ชชั่นและการจัดลำดับ 3.เสร็จจากเที่ยวนี้ผมคงต้องขอเร้นกายหน่อยครับ คิดว่าเทอมนี้จะให้เป็นเทอมสุดท้ายแล้ว เรียนมานานเกินพอแล้ว ไม่จบไม่สิ้นเสียที อิอิ จาก //gelgloog.blogspot.com/2006/10/blog-post.html

Free TextEditor


Create Date : 19 มีนาคม 2553
Last Update : 19 มีนาคม 2553 9:42:41 น. 0 comments
Counter : 272 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

somkitjar
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add somkitjar's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.