Group Blog
 
 
มีนาคม 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
20 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
ปล่อยน้ำทิ้งโรงอบยางก่อนข้าวตั้งท้องลดต้นทุน เพิ่มรายได้


นักวิจัยปักษ์ใต้แก้ ปัญหา 2 ต่อ ทั้งมลพิษและเกษตรกรขาดน้ำ แนะปล่อยน้ำเสียจากโรงงานยางก่อนข้าวตั้งท้องจะได้ผลผลิตดี ขณะที่ยางพาราก็ให้ใบดกได้ย้ำยางมาก ส่วนพืชกินได้ยังต้องวิเคราะห์ต่อว่ามีโลหะหนักที่จะเป็นอันตรายต่อผู้ บริโภคหรือไม่ แต่เบื้องต้นพบอยู่ในระดับที่ปลอดภัย

โดย ปกติแล้วการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ซึ่งโรงงาน อุตสาหกรรมแต่ละแห่งต้องรับผิดชอบ แต่โรงงานที่อบ/รมยางในภาคใต้หลายแห่งนั้นได้หยุดเดินเครื่องเติมอากาศของ ระบบบำบัดน้ำเสีย เพราะเครื่องเสียอยู่บ่อยครั้งและยุ่งยากในการซ่อมบำรุง รวมถึงต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ทำให้เกิดมลพิษจากการปล่อยน้ำทิ้งที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ขณะเดียวกันเกษตรกรในกลายพื้นที่ก็ต้องการใช้น้ำในการเพาะปลูก

ด้วยปัญหาดังกล่าว รศ.ดร.สายัณห์ สดุดี จากคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ทำวิจัยเรื่อง “การประเมินผลกระทบจากการใช้น้ำเสียจากโรงอบ/ยางแผ่นเพื่อเกษตรกรรม” ด้วยการทดลองใช้น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมยางพาราในแปลงเกษตร โดยได้ทดลองทั้งในแปลงผักที่ใช้รับประทาน และพืชสวนไร่นา เช่น กวางตุ้ง ข้าว และยางพารา เป็นต้น

ทั้งนี้จากการวิเคราะห์น้ำเสียจากอุตสาหกรรมยางพาราพบว่ามีธาตุและโลหะหนักหลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แมกกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) และมีไนโตรเจน (N)มาก เป็นพิเศษซึ่งน่าจะนำมาใช้ทดแทนปุ๋ยยูเรียเพื่อลดต้นทุนในการผลิตให้กับ เกษตรกรได้ และเกษตรกรบางกลุ่มก็ได้ปล่อยน้ำเสียดังกล่าวลงในนาขณะที่ข้าวกำลังออกรวง ทำให้ข้าวเมล็ดข้าวลีบ

ทางผู้วิจัยจึงได้ วิเคราะห์หาสาเหตุและพบว่าที่น้ำเสียทำให้เมล็ดข้าวลีบนั้น เพราะว่าธาตุไนโตรเจนไปเร่งให้ต้นข้าวแตกกอจึงไม่มีสารอาหารเพียงพอไปบำรุง เมล็ดข้าว รศ.ดร.สายัณห์จึงแนะว่าควรจะปล่อยน้ำเสียลงนาในช่วงที่ข้าวยังไม่ออกรวง เพื่อเร่งให้ข้าวแตกกอและได้ผลผลิตข้าวที่ดีตามมา และยางพาราที่ได้รับน้ำเสียก็จะมีใบที่ดกหนาขึ้นและได้น้ำยางมากขึ้นด้วย ส่วนในการทดลองกับพืชอื่นๆ นั้น กำลังอยู่ระหว่างการติดตามโลหะหนักในพืชที่กินได้ โดยในเบื้องต้นพบว่าอยู่ในระดับที่ไม่อันตรายนัก

อย่าง ไรก็ดี รศ.ดร.สายัณห์กล่าวว่าการทดลองดังกล่าวเพิ่งเริ่มได้เพียง 1 ปี จึงยังต้องวิเคราะห์ต่อไปอีกว่าจะสามารถนำน้ำเสียจากอุตสาหกรรมยางพารามาใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร ซึ่งตอนนี้ขอแนะนำให้ใช้กับพืชที่ไม่ใช้กินก่อนจะดีกว่า สำหรับนาข้าวก็สามารถใช้ได้แต่ควรใช้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม


Create Date : 20 มีนาคม 2553
Last Update : 20 มีนาคม 2553 10:01:49 น. 0 comments
Counter : 276 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

somkitjar
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add somkitjar's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.