DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
20 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

การคุ้มครองแพทย์ทางกฎหมาย

            การประการใช้  พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539  ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 เป็นต้นมา (ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 113 ตอนที่ 60 ก. วันที่ 14 พฤษภาคม 2539)  นับว่าเป็นมาตรการทางกฎหมายที่สำคัญที่จะคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภทรวมทั้งบุคลกรด้านสุขภาพด้วยให้พ้นจากการถูกฟ้องคดีละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ 


            หลักการสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือ 


            1. คุ้มครองเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐทุกส่วนดังนิยามศัพท์ในกฎหมาย ดังนี้ 


            “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า  ข้าราชการ  พนักงาน ลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด 


            “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม  ราชการส่วนภูมิภาค  ราชการส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจ  ที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาและให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย 


            2.ขอบเขตแห่งความคุ้มครอง  ปรากฎในมาตรา 5 ดังต่อไปนี้ 


            “มาตรา 5 หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีที่ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรงแต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานรัฐแห่งใด ให้ถือว่ากระทรวงการคลังจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง” ในมาตรานี้ความคุ้มครองของกฎหมายครอบคลุมเฉพาะการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับความคุ้มครองจากการถูกฟ้องแล้ว กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานต้องเป็นผู้รับผิดชอบแทน คือให้ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานโดยตรง มิให้ฟ้องตัวบุคคล 


            3. ความรับผิดจากการถูกไล่เบี้ย ตามหลักกฎหมายแพ่งนั้นหน่วยงานของรัฐต้องร่วมรับผิดในกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดจากการละเมิดในหน้าที่  เมื่อศาลพิพากษาให้หน่วยงานร่วมรับผิด  หน่วยงานนั้นถ้าเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายไปแล้วก็ยังสามารถไล่เบี้ยเอากับเจ้าหน้าที่เต็มจำนวน 


          กฎหมายฉบับนี้ได้เปลี่ยนหลักการใหม่ ดังบทบัญญัติในมาตรา 8 ดังนี้ 


            “มาตรา 8 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย เพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้  ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง 


          สิทธิเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามวรรคหนึ่ง จะมีได้เพียงใดให้คำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณี  เป็นเกณฑ์โดยมิต้องให้ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้ 


            ถ้าการละเมิดเกิดจากความผิด หรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวมให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วย 


            ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน  มิให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับและเจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น” 


            บทบัญญัติในมาตรานี้ แสดงว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐแม้จะได้รับความคุ้มครองไม่ถูกฟ้องคดีโดยตรง แต่ถ้าเป็นการกระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  ก็ยังต้องรับผิดอยู่โดยหน่วยงานของรัฐที่รับผิดต่อผู้เสียหายสามารถเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้  แต่อาจไม่ต้องรับผิดเต็มจำนวนที่หน่วยงานของรัฐชดใช้แก่ผู้เสียหาหยเหมือนในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้  แต่อาจรับผิดตามระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีที่เกิดขึ้นมิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่ หรือเกิดจากความบกพร่องของหน่วยงาน หรือระบบการดำเนินงานส่วนรวม  เจ้าหน้าที่อาจไม่ต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนก็ได้  แล้วแต่ข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี 


            4. เปิดโอกาสให้ผู้เสียหายได้รับความเป็นธรรมเพิ่มขึ้น  กฎหมายฉบับนี้นอกจากคุ้มครองเจ้าหน้าที่แล้วผู้เสียหายก็จะได้ประโยชน์ด้วยดังนี้


            4.1  การให้ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานโดยตรง  โดยไม่ต้องฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นจำเลยนั้น เป็นความสะดวกแก่ผู้เสียหายที่ไม่จำเป็นสืบหาตัวเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดโดยเฉพาะเจาะจง การนำสืบก็น่าจะทำได้ง่ายอีกประการหนึ่ง  การฟ้องเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งเดิมนั้น  ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่บกพร่อง  แต่เป็นความบกพร่องของระบบการทำงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่ต้องรับผิดและหน่วยงานก็พลอยไม่ได้ต้องรับผิดไปด้วย  ผู้เสียหายย่อมไม่ได้รับความเป็นธรรม  แต่การฟ้องตามกฎหมายใหม่นี้ถ้าเป็นความบกพร่องของระบบงาน  หน่วยงานก็ต้องรับผิด  อาจถือเป็นความประมาทเลินเล่อของนิตดบุคคล  (Corporate negligence)  ซึ่งสอดคล้องกับหลักกฎหมายของต่างประเทศ


            4.2   เปิดโอกาสให้ผู้เสียหายหลีกเลี่ยงการฟ้องคดีแพ่ง  มาใช้สิทธิเรียกร้องจากหน่วยงานของรัฐได้โดยตรง  เป็นคดีปกครอง  ซึ่งจะทำให้ได้รับค่าทดแทนได้เร็วขึ้น  ดังบทบัญญัติในมาตรา 11 และ 14 ดังนี้


            “มาตรา 11 ในกรณีผู้เสียหายเห็นว่า  หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดตามมาตรา 5 ผู้เสียหายจะยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน  สำหรับความเสียหายที่เกิดแก่ตนได้  ในการนี้หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐานและพิจารณาคำขอนั้นโดยไม่ชักช้า  เมื่อหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งเช่นใดแล้ว  หากผู้เสียหายยังไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐ  ก็ให้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัยให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาคำขอที่ได้รับตามวรรคหนึ่ง ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน  หากเรื่องใดไม่อาจพิจารณาได้ทันในกำหนดนั้นจะต้องรายงานปัญหาและอุปสรรคให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือกำกับหรือควบคุมดูแลหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นทราบและขออนุมัติขยายระยะเวลาออกไปได้  แต่รัฐมนตรีดังกล่าวจะพิจารณาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาให้อีกได้เป็นไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน”


            “มาตรา 14 เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นแล้ว  สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามมาตรา 11 ให้ถือเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง”


            เมื่อมีการประกาศใช้  พ.ร.บ.ฉบับนี้แล้ว สำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ระเบียบฉบับนี้ได้ยกเลิกระเบียบและแนวทางปฏิบัติตามหนังสือเวียนของกระทรวงการคลังและกรมบัญชีกลางที่ไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งมีทั้งหมด 12 ฉบับด้วยกัน จากระเบียบดังกล่าวได้กำหนดวิธีการปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ไว้ครบถ้วน  ซึ่งหัวหน้าคณะผู้วิจัยได้เคยนำมาอธิบายไว้โดยละเอียด 


          จากหลักการของกฎหมายฉบับดังกล่าวมาแล้ว นับได้ว่าเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ค่อนข้างสมบูรณ์ในการที่จะลดคดีการฟ้องร้องแพทย์หรือบุคลากรด้านสุขภาพอื่น ๆ ที่อยู่ในภาคบริการของรัฐให้ลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ขณะเดียวกับผู้เสียหายก็จะได้รับการพิจารณาชดเชยความเสียหายได้สะดวกและรวดเร็วกว่าการฟ้องคดีในศาลยุติธรรม  ซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเลือกใช้สิทธิได้อีกทางหนึ่ง นอกเหนือไปจากการนำคดีไปสู่ศาล

 






 

Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2553
0 comments
Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2553 1:09:28 น.
Counter : 1525 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.