DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
 
มกราคม 2556
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
4 มกราคม 2556
 
All Blogs
 
คนไข้ไม่บอก...หมอก็เลยไม่ผิด

ในกระบวนการดูแลรักษาคนไข้นั้น หมอ พยาบาล หรือบุคลากรทางด้านสาธารณสุขอื่น มีหน้าที่ต้องค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคนไข้เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคและวางแผนการดูแลรักษา โดยวิธีที่ใช้กันอยู่เป็นประจำก็คือ การสอบถามประวัติจากตัวคนไข้เอง หรือที่เรียกกันว่า “การซักประวัติ” ดังนั้นเมื่อหมอหรือบุคลากรอื่นมีหน้าที่ต้องซักประวัติ คนไข้ก็มีหน้าที่ต้องให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองด้วย เพราะการที่หมอไม่รู้ข้อมูลดังกล่าว อาจทำให้การวินิจฉัยหรือวางแผนการรักษาโรคผิดพลาด จนอาจเกิดอันตรายหรือเกิดความเสียหายแก่คนไข้ได้ ตัวอย่างเช่น เด็กสาวอายุ 16 ปีคนหนึ่งมีอาการปวดท้องน้อยด้านขวาอย่างรุนแรง หมอตรวจแล้วพบว่ามักการอักเสบภายในช่องท้อง สงสัยว่าอาจเป็นไส้ติ่งอักเสบหรือไม่ก็เป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูก หมอจึงถามคนไข้ว่าเคยมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ เด็กสาวคนนั้นอายและกลัวผู้ปกครองรู้ จึงไม่บอกความจริงแก่หมอว่า ได้แอบมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อนชาย กรณีนี้อาจเกิดผลเสียและอันตรายแก่ตัวคนไข้เอง เพราะอาจทำให้หมอวินิจฉัยและวางแผนการรักษาผิดพลาด อีกตัวอย่างหนึ่งที่ขอกล่าวถึงก็คือ สมมุติว่านางแดงมาตรวจรักษาด้วยอาการติดเชื้อแบคทีเรีย หมอตรวจแล้ว เห็นว่าต้องได้รับยาปฏิชีวนะ จึงได้ถามคนไข้ก่อนสั่งยาให้ว่า เคยแพ้ยาอะไรหรือไม่ คนไข้ลืมไปว่า ตัวเองเคยแพ้ยา เพนนิซิลิน เพราะว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก อีกทั้งหมอก็ตรวจดูจากแฟ้มประวัติแล้วก็ไม่พบว่า มีการแพ้ยา หมอจึงสั่งยาเพนนิซิลินให้แก่นายแดงไป หลังกินยานางแดงก็เกิดอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง จากตัวอย่างทั้งสองเรื่องที่เล่ามานี้คนไข้ อาจเอามาเป็นเหตุฟ้องร้องหมอว่า รักษาหรือให้ยาผิดพลาด ทำให้คนไข้เป็นอันตราย แต่กรณีดังกล่าวนี้นี้ก็ต้องถือว่าคนไข้มีส่วนต้องรับผิดชอบในความเสียหายด้วยเพราะไม่ยอมให้ข้อมูลแก่หมอ หมอจึงไม่ต้องรับผิดใดๆต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น ยกเว้นว่า หมอประมาทเลินเล่อร้ายแรง

 

หลักดังกล่าวนี้ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา8 ว่า

 

ในกรณีที่เกิดความเสียหายหรืออันตรายขึ้นแก่ผู้รับบริการเพราะเหตุที่ผู้รับบริการปกปิดข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้ง หรือแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรืออันตราย เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ให้บริการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

 

 

คงมีคนอยากให้ยกตัวอย่างที่ แม้คนไข้ไม่บอกความจริง หรือไม่ได้ให้ข้อมูล แต่หมอก็ยังต้องรับผิดเพราะว่าหมอประมาทเลินเล่อร้ายแรง ผมขอยกตัวอย่างกรณีข้างต้นที่นางแดงแพ้ยาเพนนิซิลิน หากเหตุการณ์เปลี่ยนไปเป็นว่า ในแฟ้มประวัติของคนไข้หน้าแรก ได้มีการระบุไว้แล้วว่า นางแดงแพ้ยาเพนนิซิลิน แต่หมอก็ไม่ได้ดูให้รอบคอบ แล้วก็สั่งยาเพนนิซิลินให้นางแดงไปจนเกิดอันตราย ถ้าอย่างนี้หมอก็ต้องรับผิดชอบเพราะแม้ว่าคนไข้จะไม่บอกว่าแพ้ยา หมอก็ควรต้องรู้ความจริงดังกล่าวได้ถ้าอ่านแฟ้มประวัติอย่างรอบคอบ จึงต้องถือว่าหมอประมาทเลินเล่อร้ายแรง หมอก็เลยต้องรับผิดไปตามระเบียบ

 

 

 

นพ.พิทูร ธรรมธรานนท์

 

พบ. นบ.

 

เนติบัณฑิตไทย




Create Date : 04 มกราคม 2556
Last Update : 4 มกราคม 2556 9:13:55 น. 0 comments
Counter : 1034 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.