DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
 
มกราคม 2556
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
4 มกราคม 2556
 
All Blogs
 
ใบรับรองแพทย์ ( เรื่องที่ต้องรู้ )

ใบรับรองแพทย์  เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี  แต่มักจะไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญกับใบรับรองแพทย์มากนัก และโดยส่วนใหญ่ก็ไม่ทราบว่าใบรับรองแพทย์คืออะไร ?? มีความสำคัญอย่างไร ??  จึงทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง

 

ใบรับรองแพทย์   คือรายงานสภาวะสุขภาพอนามัยของผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งออกโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา

 

ใบรับรองแพทย์  จะบอกถึงภาวะสุขภาพอนามัย การตรวจรักษา ความเห็นในด้านการแพทย์ นอกจากนั้นยังรวมถึงการรับรองการเกิดและการตายด้วย

ใบรับรองแพทย์    อาจแบ่งได้  3 ประเภท

1.  ใบรับรองแพทย์ที่แสดงความปกติของสุขภาพอนามัยและร่างกายซึ่งจะรายงานถึงความสมบูรณ์ของร่างกายทั่วไปและการไม่เป็นโรคบางชนิด ซึ่งอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกันตามความต้องการของแต่ละบริษัท / หน่วยงานที่ต้องการใช้บางกรณีอาจให้แพทย์ออกความเห็นด้วย เช่นให้ออกความเห็นว่าเหมาะสมกับงานที่ต้องทำหรือไม่ ซึ่งแพทย์ต้องพิจารณาให้เหมาะสมถูกต้องมากที่สุด

2.  ใบรับรองแพทย์ที่แสดงความผิดปกติของสุขภาพอนามัยและร่างกายซึ่งจะรายงานถึงสภาพความเจ็บป่วยที่เป็น ระยะเวลาของการเจ็บป่วย ระยะเวลาในการรักษา วิธีรักษาพยาบาล และการพยากรณ์โรคหลังจากสิ้นสุดการรักษา ซึ่งจะมีผู้ที่นำใบรับรองแพทย์นี้ไปใช้ต่อ .. เช่น 

- ผู้ป่วยอาจนำใบรับรองแพทย์นี้เพื่อประกอบการลาพักงาน การลาออกจากงาน การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล หรือเรียกร้องการชดใช้เนื่องจากการบาดเจ็บ หรือสูญเสียอวัยวะต่าง ๆ

- เจ้าหน้าที่พนักงานสอบสวนอาจนำไปใช้เพื่อประกอบในการพิจารณาคดี  

3.  การรับรองการเกิดและการตายตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 15 แพทย์ผู้ทำคลอดต้องทำใบรับรองการเกิด เพื่อให้บิดามารดาของทารกไปแจ้งให้พนักงานท้องถิ่นทราบ รวมถึงการรับรองการตายด้วย สำหรับการตายผิดธรรมชาติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ต้องมีการชันสูตรพลิกศพและแพทย์ต้องทำรายงานความเห็น แสดงเหตุและพฤติการณ์ที่ตายด้วย

เมื่อบุคคลมีความจำเป็นจะต้องใช้ใบรับรองแพทย์ แพทย์ก็ควรทำให้เพื่อเป็นการยืนยันว่าบุคคลนั้น ได้มาพบแพทย์และได้รับการตรวจสุขภาพ หรือดูแลรักษาตามที่เป็นจริง ส่วนว่าผู้ที่เกี่ยวข้องจะนำไปใช้ประโยชน์หรือผลการตัดสินจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับระเบียบ วิธีปฏิบัติของบริษัทหรือหน่วยงานนั้นๆ แพทย์มีหน้าที่ให้ข้อมูลตามความเป็นจริงเท่านั้น

 

แพทย์กับใบรับรองแพทย์ 

 

การออกใบรับรองแพทย์ที่ไม่ถูกต้องหรือเป็นเท็จ แพทย์อาจได้รับโทษได้อย่างน้อย 2 สถานคือ

 

1.  ความผิดทางกฎหมายอาญามาตรา 269  ซึ่งระบุว่า .. ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาแพทย์  กฎหมาย บัญชี หรือ วิชาชีพอื่นใดทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดยประกอบการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

2.  ความผิดเกี่ยวกับข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษามารยาทแห่งวิชาชีพเวชกรรม  พ.ศ. 2526 หมวดที่ 3 ข้อที่ 9  ซึ่งระบุว่า .. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องไม่ออกใบรับรองอันเป็นความเท็จโดยตั้งใจ หรือให้ความเห็นโดยไม่สุจริตในเรื่องใดเกี่ยวกับวิชาชีพของตน  ซึ่งอาจถูกลงโทษถึงขั้นพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

 

ประชาชนกับใบรับรองแพทย์ 

 

สำหรับประชาชนที่ให้แพทย์ออกใบรับรองให้ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่ถูกต้องและนำใบรับรองนั้นไปใช้ ก็จะต้องมีความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 269 ด้วย ผู้ใดทุจริต ใช้ หรืออ้างคำรับรองอันเกิดจากการกระทำผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

จะเห็นได้ว่า  ใบรับรองแพทย์ มีความสำคัญอย่างยิ่งในแง่ของกฎหมายและการที่ผู้ป่วยจะขอใบรับรองแพทย์ ก็ต้องคำนึงถึงว่าจะนำใบรับรองแพทย์ไปใช้เพื่ออะไร เพื่อที่แพทย์จะได้ออกใบรับรองให้ถูกต้องกับการนำไปใช้มากที่สุด ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งแพทย์และผู้ป่วยก็ต้องระมัดระวังในเรื่องของความถูกต้องและเป็นจริง เพราะการออกใบรับรองแพทย์ที่เป็นเท็จก็มีความผิดทางกฎหมายทั้งแพทย์และผู้ที่นำใบรับรองแพทย์นั้นไปใช้ กฎหมายที่ควรทราบเพิ่มเติม 

 

** ประมวลกฎหมายอาญา  พ.ศ. 2499 มาตรา 177 ผู้ใดเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรกได้กระทำในการพิจารณาคดีอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาท

 

**  ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 279 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายได้รับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 12 ปี

 

อันตรายสาหัสคือ

 

1.     ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือ เสียญาณประสาท  

 

2.     เสียอวัยวะสืบพันธุ์หรือความสามารถสืบพันธุ์

 

3.     เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด

 

4.     หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว

 

5.     แท้งลูก  

 

6.     จิตพิการอย่างติดตัว  

 

7.     ทุพพลภาพหรือป่วยเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต 

 

8.     ทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน

 




Create Date : 04 มกราคม 2556
Last Update : 4 มกราคม 2556 9:27:03 น. 5 comments
Counter : 10068 Pageviews.

 
สอบถามหน่อยครับ
ถ้าผู้เสียหาย ถูกแทงจนเกิด pneumothorax
ผมในฐานะแพทย์ลงความเห็นว่าอาจเสียชีวิตหากไม่ไดด้รับการรักษา ในกรณีนี้ถือว่าบาดเจ็บสาหัสหรือไม่
หากขึ้นศาลเรามีหน้าที่ในการสรุปว่าเป็นความผิดชนิดใดหรือไม่
หรือศาลท่านเป็นผู้ลงความเห็น เราแค่ให้ข้อมูลเท่านั้น


โดย: inoue IP: 1.2.219.1 วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:12:38:28 น.  

 
เป็นผมจะเขียนว่า
ปรากฎ
1.บาดแผลถูกแทงบริเวณ...ขนาด... ผลเอ็กซเรย์พบลมรั่วในช่องทรวงอก รักษาด้วยการผ่าตัดใส่ท่อระบายลมรั่วออก
ความเห็น ใช้เวลาในการรักษา 1 เดือน
ส่วนหากมีการสอบปากคำเพิ่มเติ่ม ผมจะตอบว่า หากรักษาไม่ทันท่วงที อาจเสียชีวิตได้
สำหรับการขึ้นศาล จะถูกถามในประเด็นที่เขียนทั้งหมดข้างบนครับ


โดย: DR.MOO CAN DO วันที่: 13 เมษายน 2556 เวลา:23:40:13 น.  

 
คนไข้ทีาแพทย์ลงความเห็นว่าเข้าข่ายคนไข้พยายามฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลรับไว้พักฟื้น ต่อมาคนไข้ได้หนีมากระโดตึกตาย. เป็นความประมาทของผู้รักษาหรือไม่


โดย: Kk IP: 115.67.165.138 วันที่: 9 สิงหาคม 2556 เวลา:19:42:59 น.  

 
ไปรักษาหน้าที่คลีนิคแห่งหนึ่งโดยการทำเดอร์ซึ้งเพิ่งทราบว่าสาธารณะสุขได้ยกเลกไป2ปีแล้วพอทำหน้ากลับใหม้ซึ้งหมอก็หาสาเหตุไม่เจอและไม่มีการรับผิดชอบใดๆทั้งสิ้นแต่หน้าก็ไม่ถึงกับเสียโฉมหนูพอที่จะเรียกร้องหรือแจ้งความได้หรือไม่


โดย: เมย์ IP: 49.48.248.234 วันที่: 8 กรกฎาคม 2557 เวลา:8:45:50 น.  

 
ขอสอบถามหน่อยคับ ผมต้องการใบรับงจากแพทย์ว่าสูญเสียอวัยวะ --ตาบอดข้างซ้าย--เพื่อใชสิดเบิก พรบ/บัตรเดบิตพลัส เนือกจาก แพทย์ บอกว่าเส้นประสาทตาไม่ตอบสองหรือตายไปแล้ว ทำมัย ถึงต้องรอให้สิ้นสุดการรัษาด้วย ถึงจะได้ใบรับรอง


โดย: อนุชา อาบสุวรร์ IP: 49.237.44.123 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2557 เวลา:19:23:18 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.