DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
 
มกราคม 2556
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
4 มกราคม 2556
 
All Blogs
 
"จงใจ"ต่างกับ "เจตนา"อย่างไร

ในความหมายธรรมดาที่คนทั่วไปใช้ คำว่า "จงใจ"คงมีความหมายไม่ต่างกันกับคำว่า "เจตนา" แต่เมื่อพิจารณาในทางกฎหมาย คำว่า"จงใจ"ที่ใช้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องที่ว่าด้วยละเมิด และคำว่า "เจตนา"ที่ใช้ในประมวลกฎหมายอาญานั้นมีความหมายต่างกันในบางประการซึ่งผมขออธิบายดังต่อไปนี้
"จงใจ"(คดีแพ่ง)
ในคดีแพ่งเรื่องละเมิด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(...)มาตรา 420 ที่เป็นบททั่วไปได้บัญญัติไว้ดังนี้ "ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหาย……….ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น"

มีผู้รู้ได้ให้ความหมายของการกระทำโดย"จงใจ"ไว้ว่าคือการกระทำโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตน(คือมุ่งหวังที่จะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นนั่นเอง) อนึ่งในการพิจารณาว่าเป็นจงใจหรือไม่นี้ไม่ต้องสนใจถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นว่าจะมีมากหรือน้อยกว่าที่มุ่งหวังไว้เพราะเมื่อทำโดยรู้สำนึกถึงผลที่จะเกิดก็เป็นจงใจเสมอไม่ว่าความเสียหายจากการจงใจกระทำนั้นจะมีมากน้อยเพียงใด ตัวอย่างเช่น นายรวย เอาไม้ตีนายจน โดยตั้งใจจะตีให้แค่ฟกช้ำ แต่บังเอิญ นายจนหลบแล้วหกล้มหัวฟาดพื้นถึงแก่ความตาย ก็ต้องถือว่านายรวย กระทำโดย"จงใจ"แล้วส่วนจะต้องรับผิดมากน้อยเพียงใดก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่กรณีตรงกันข้ามหากเป็นการกระทำโดยสุจริตไม่ได้มีความประสงค์ที่จะทำให้ผู้อื่นเสียหายเพียงแต่เข้าใจผิดในข้อเท็จจริง ก็ไม่ถือว่าจงใจ เช่น นายยม หยิบปากกาของนายลมไปโดยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นปากกาของตัวเองอย่างนี้ไม่ถือว่าจงใจ ส่วนจะเป็นประมาทหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

"เจตนา"(คดีอาญา)
คำนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในเรื่องความรับผิดทางอาญาโดยป..มาตรา 59วรรรแรก บัญญัติว่า "บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่ได้กระทำโดยประมาทในกรณีที่…….."
ในป..มาตรา 59วรรรคสองได้ให้ความหมายของคำว่ากระทำโดยเจตนาไว้ว่า "กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น"
คำว่า "รู้สำนึก"หมายถึง อยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ
จากที่กล่าวข้างต้นสรุปได้ว่าเจตนา(คดีอาญา)แบ่งได้เป็น2 กรณีคือ
1) เจตนาประสงค์ต่อผล
2) เจตนาเล็งเห็นผล
เจตนาประสงค์ต่อผล หมายถึง รู้สำนึกและมุ่งหมายจะให้เกิดผลขึ้น ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า จงใจในคดีแพ่ง แต่แตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่ "เจตนาประสงค์ต่อผล"ต้องมีการพิจารณาถึงผลที่เกิดขึ้นด้วยว่ามากหรือน้อยกว่าที่ได้มุ่งหมายไว้ เช่น นายแดงตั้งใจเอาไม้ตีหัวนายดำ ตั้งใจเพียงให้หัวแตกเล็กน้อย แต่ถ้าผลที่เกิดขึ้นจริงคือ ดำถึงแก่ความตาย อย่างนี้ทางอาญาไม่ถือว่ามีเจตนาฆ่า (มีเจตนาเพียงทำร้าย) ดังนั้นแดงต้องรับผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย แต่หากพิจารณาในทางแพ่งก็ต้องถือว่าแดง "จงใจ"ทำให้ดำเสียหายเพราะได้ทำไปโดยรู้สำนึกว่าจะเกิดความเสียหายขึ้นกับดำโดยไม่ต้องสนใจว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงมีมากหรือน้อยกว่าที่มุ่งหวังไว้

เจตนาเล็งเห็นผล หมายถึง ไม่ได้ประสงค์ต่อผล คือ ไม่ได้มุ่งหมายให้เกิดผลขึ้น แต่เล็งเห็นได้ว่าจะเกิดผลขึ้นอย่างแน่นอนเท่าที่จิตใจของจิตใจของบุคคลที่ อยู่ในฐานะเช่นนั้นจะเล็งเห็นได้ ตัวอย่างเช่น นายขาวยิงปืนเข้าไปในกลุ่มคนประมาณ 10 คนเพื่ออวดศักดา ไม่ได้มีความประสงค์ที่จะฆ่าใคร แต่นายขาวย่อมเล็งเห็นได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกคนใดคนหนึ่งในกลุ่มคนจนถึงแก่ความตายได้ กรณีนี้ในทางอาญาถือว่านายขาวมีเจตนาเล็งเห็นผล(คือมีเจตนาฆ่าผู้อื่น)ดังนั้นหากกระสุนปืนถูกนายดำที่อยู่ในกลุ่มคนจนถึงแก่ความตาย นายขาวก็มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา กรณีตัวอย่างดังกล่าวนี้หากพิจารณาในทางแพ่ง ไม่ถือว่านายขาวจงใจเพราะไม่ได้มุ่งหวังในเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นแต่อาจต้องรับผิดจากการที่กระทำละเมิดต่อผู้อื่นโดยความประมาท
มีคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 1104/2509 ได้วางหลักไว้ว่า "เจตนากระทำกับจงใจกระทำนั้นจะตีความอนุโลมอย่างเดียวกันไม่ได้"

สรุป
-" จงใจ"เป็นคำที่ใช้ในคดีแพ่งมีความหมายไม่เท่ากับคำว่า "เจตนา"ที่ใช้ในคดีอาญา
- การกระทำโดยจงใจคือ การกระทำโดยรู้สำนึกและมุ่งหมายให้เกิดผลขึ้น (ไม่ต้องสนใจผลที่เกิดขึ้นจริงว่าจะมากหรือน้อยกว่าที่มุ่งหวังไว้)
- เจตนาในทางอาญา แบ่งได้เป็น 2 กรณีคือ 1) เจตนาประสงค์ต่อผลซึ่งมีความหมายใกล้เคียงอย่างมากกับคำว่าจงใจ(ในคดีแพ่ง ) 2) เจตนาเล็งเห็นผล หมายถึงว่าไม่ได้มุ่งหมายให้เกิดผลแต่เล็งเห็นได้ว่าจะเกิดผลขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งโดยปกติจะไม่ถือว่าเป็นการกระทำโดยจงใจ(ในคดีแพ่ง)

นพ.พิทูร ธรรมธรานนท์
พบ. นบ.
เนติบัณฑิตไทย




Create Date : 04 มกราคม 2556
Last Update : 4 มกราคม 2556 9:08:39 น. 2 comments
Counter : 16678 Pageviews.

 
สุดยอดเลยครับ


โดย: Gustav IP: 180.180.233.186 วันที่: 7 ธันวาคม 2558 เวลา:14:16:19 น.  

 
ชอบมากครับ ละเอียดดีครับ


โดย: นาย IP: 223.24.63.79 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2565 เวลา:10:54:39 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.