DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
15 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
สิทธิที่จะตาย (Right to die)

                สิทธิที่จะตายเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ประการหนึ่ง ตรงข้ามกับสิทธิที่จะมีชีวิต ( Right to life ) สิทธิที่จะตายเป็นสิทธิที่จะปฏิเสธการรักษาประเภทหนึ่ง เป็นสิทธิที่มนุษย์คนหนึ่งมีอำนาจที่จะแสดงตนว่าตนเองไม่ประสงค์จะมีชีวิตอยู่ต่อไปโดยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือเครื่องช่วยยึดชีวิต ( Prolong life ) เพราะเห็นว่าการมีชีวิตอยู่ต่อไปทำให้ลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ของตน ( Dehumanization ) หากตนเองเลือกที่จะตายแล้วเป็นการเรียกฟื้นคืนศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนขึ้นมาได้ ( Rehumanization of the dying process ) แม้จะต้องตายก็เป็นการตายอย่างมีศักดิ์ศรี ( Death with dignity )


การตายอย่างสงบ ( Euthanasia ) 


                คำว่า Euthanasia  มาจากภาษากรีก     แปลว่าการตายอย่างสงบ ( Good death )    หรือการุณยฆาต ( Mercy killing ) หมายถึงการที่ผู้ป่วยอาการหนักไม่สามารถรักษาหายได้ เลือกที่จะตายโดยอาศัยความร่วมมือจากแพทย์ ( Physician – assitsted suicide ) อาจจะเป็นการอาศัยแพทย์ช่วยเร่งการตาย ( Active Euthanasia ) หรือผู้ป่วยขอตายอย่างสงบโดยไม่ให้หมอใช้เครื่องช่วยชีวิตใด ๆ ( Passive Euthanasia ) 


                มีกรณีคล้าย ๆ กันกรณีหนึ่งคือ    การที่ผู้ป่วยในขณะที่มีสติสัมปชัญญะดีได้แสดงเจตน์จำนง (Living will) หรือคำสั่งไม่ขอรับการฟื้นชีวิต (Do not Resuscitate Orders) ซึ่งได้ทำเป็นหนังสือไว้ล่วงหน้าว่าจะไม่ขอรับการรักษาตามอาการแบบประคับประคอง (Palliative) หรือ hospice care หมอมีหน้าที่ต้องเคารพเจตนาของผู้ป่วยซึ่งได้เลือกที่จะตายตามวิธีที่ตนต้องการ การที่หมอปล่อยให้ผู้ป่วยตายตามวิธีการที่ผู้ป่วยได้แสดงเจตน์จำนงไว้ล่วงหน้าไม่เรียกว่าเป็น Euthanasia 


                โดยเหตุที่ในสหรัฐและยุโรป มีกฎหมายบัญญัติความผิดกับผู้ที่ช่วยให้ผู้อื่นฆ่าตัวตาย ดังนั้นหากหมอมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยฆ่าตัวตายจึงจำเป็นต้องออกกฎหมายมาคุ้มครอง (Physician – assisted suicide act) 


                    Oregon เป็นรัฐแรกของสหรัฐที่มีกฎหมายเกี่ยวกับ Euthanasia ที่อนุญาตให้หมอมีส่วนช่วยการตายอย่างถูกกฎหมาย (Physician – assisted suicide) ชื่อว่า “Oregon’s Death with Dignity Act 1997”กฎหมายดังกล่าวมีข้อถกเถียงอย่างมาก 


                ฝ่ายที่สนับสนุนเห็นว่าถือเป็นสิทธิโดยชอบที่บุคคลจะกำหนดชะตากรรมของตนเอง  รวมถึงสิทธิที่จะเลือกจบชีวิตเพื่อจะได้พ้นจากความทุกข์ทรมาน และเห็นด้วยว่าหมอมีหน้าที่ช่วยผู้ป่วยให้จบชีวิตเร็วขึ้น  หากผู้ป่วยอยู่ในสภาพใกล้สมองตายไม่มีโอกาสรอดชีวิตได้แล้ว 


                ฝ่ายที่คัดค้าน เห็นว่าการฆ่ามนุษย์ไม่ว่าจะอ้างเหตุผลใด ๆ ก็ถือเป็นความผิดทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังถือว่าหมอมีหน้าที่เพียงแต่รักษาผู้ป่วยเท่านั้น  ไม่มีหน้าที่ช่วยทำให้ผู้ป่วยตาย


                รัฐ Texas ได้ออกกฎหมายที่น่าสนใจในเรื่องนี้ชื่อ Texas Advance Directive Act หรือ Texas Futile Care Law เป็นกฎหมายที่อนุญาตให้แพทย์ตัดสินใจสิ้นสุดการรักษาผู้ป่วยเพียงเพื่อช่วยยึดชีวิต (discontinue life-sustaining treatment) หากเห็นว่าป่วยการที่จะรักษาต่อไป (futile) ไม่ว่าผู้ป่วยจะยากดีมีจนอย่างไร หรือประสงค์จะรักษาตัวไปจนกว่าจะตายก็ตาม โดยแพทย์จะต้อง:- 


                : แจ้งให้ผู้ป่วยหรือผู้แทนโดยชอบธรรมทราบล่วงหน้าเป็นเวลา 10 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยหรือญาติหาที่รักษาพยาบาลแห่งใหม่ก่อน 


                : เปิดโอกาสให้ญาติร่วมปรึกษาหารือกับคณะกรรมการจริยธรรมของโรงพยาบาลถึงเหตุผลและความจำเป็น 


                : หากญาติไม่เห็นด้วย อาจยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตให้ขยายระยะเวลาออกไปก่อน 


                : หากญาติไม่ยื่นคำร้อง หรือศาลปฏิเสธคำร้อง   หมอมีสิทธิถอดเครื่องช่วยชีวิตได้เองฝ่ายเดียวโดยชอบด้วยกฎหมาย 


                เหตุผลที่มีกฎหมายดังกล่าว   เนื่องจากเห็นว่าผู้ป่วยที่อาการหนักรักษาไม่หาย (Futile) ไม่คุ้มค่าที่จะระดมทรัพยากรอันมีค่าให้ต่อไป ควรสงวนทรัพยากรอันมีอยู่อย่างจำกัดนั้นให้แก่ผู้ป่วยที่มีโอกาสมีชีวิตอยู่ต่อไปจะดีกว่า


กลุ่ม Dignitas หรือกลุ่มทัวร์ฆ่าตัวตายในสวิส 


                กฎหมายอาญาฐานฆ่าผู้อื่นของสวิสระบุเป็นความผิดเมื่อผู้กระทำ  กระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง (Self-interest) จึงเกิดองค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหากำไร ดำเนินกิจการช่วยเหลือผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจให้จบชีวิตอย่างสงบในลักษณะ Active Euthanasia โดยแพทย์จะเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นก๊าซฮีเลียมช่วยในการฆ่าตัวตายของผู้ป่วย ค่าบริการรวมทั้งค่าจัดเตรียมอุปกรณ์ ค่าแพทย์และพยาบาล ตลอดจนพิธีการฝังศพตกประมาณคนละ 4,000 – 7,000 ยูโร 


                เหตุที่เรียกว่าเป็นกลุ่มทัวร์ฆ่าตัวตายก็เพราะผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวเยอรมัน 


                บริการของกลุ่ม Dignitas ต้องพบกับคู่แข่งชื่อว่ากลุ่ม Exit ที่เน้นให้บริการเฉพาะลูกค้าชาวสวิสเท่านั้น 


                สำหรับประเทศไทยกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องหมอช่วยจบชีวิตผู้ป่วยยังไม่ก้าวหน้าเหมือนอย่างสหรัฐหรือยุโรป คงมีแต่สิ่งที่เรียกว่าการแสดงเจตน์จำนงไว้ล่วงหน้าในขณะมีสติสัมปชัญญะ ( Living Will ) ซึ่งกล่าวมาแล้วว่าไม่ใช่เรื่อง Euthanasia 


                ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12  “บุคคลมีสิทธิทำหนังสือ แสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยึดการตายในวาระสุดท้ายของตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ ....” 


                เป็นเรื่องที่ผู้ป่วยแสดงเจตนาเลือกที่จะตายอย่างธรรมชาติโดยปฏิเสธเครื่องมือแพทย์ หากผู้ป่วยแสดงเจตนาเป็นหนังสือโดยถูกต้อง แพทย์ก็ต้องเคารพเจตนาของผู้ป่วย การกระทำดังกล่าวของแพทย์ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย 


                มีปัญหาว่า หากผู้ป่วยอยู่ในสภาวะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้รักษาไปก็ไม่มีทางหาย แต่ผู้ป่วยไม่ได้แสดงเจตนาเป็นหนังสือในเรื่องดังกล่าว ผู้แทนโดยชอบธรรมจะแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาได้หรือไม่


เจตนาปฏิเสธการรักษาได้หรือไม่ 


                ทำนองเดียวกันหากผู้ป่วยเป็นเด็กหรือผู้ป่วยที่วิกลจริต ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้อนุบาลจะแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาได้หรือไม่ 


                พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวไว้ แต่ดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่าในกรณีจำเป็น หมอมีทั้งหน้าที่ตามกฎหมายและตามจริยธรรมที่จะต้องรักษาผู้ป่วย แต่หากหมดความจำเป็น และผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้อนุบาลแสดงเจตนาเป็นหนังสือที่จะปฏิเสธไม่รับการรักษาอีกทั้งมีเครื่องบ่งชี้ว่าผู้ไร้ความสามารถ ผู้เยาว์ หรือผู้วิกลจริตให้ความเห็นชอบกับการตัดสินใจดังกล่าว หมอจึงจะมีสิทธิยุติการรักษาได้ 


                กรณีดังกล่าวในต่างประเทศอาจจะต้องยื่นคำร้องขออำนาจศาลแทน  คดี Ruzan V Director , Missouri Department of Health ,497 U.S. 261 (1990)  Ruzar เป็นหญิงสาวที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อยู่ในสภาพโคม่ามานาน 8 ปี ต่อมาบิดามารดาของเธอได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ถอดท่อให้อาหารที่เป็นเครื่องช่วยชีวิตให้หล่อน ศาลมิสซูรี่ปฏิเสธคำร้องเพราะผู้ร้องไม่มีหลักฐานแสดงว่าหล่อนตั้งใจที่จะจบชีวิต ศาลสูงสหรัฐเห็นด้วยกับคำวินิจฉัย แต่ยังยืนยันสิทธิที่จะตายเป็นสิทธิโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ต่อมาผู้ร้องแสดงหลักฐานพิสูจน์ได้ ศาลจึงอนุญาตให้ถอดท่อให้อาหาร ต่อมา Ruzan ตายเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 1990 


                สำหรับเรื่องการยุติการรักษาโดยแพทย์ตัดสินใจถอดเครื่องช่วยชีวิตผู้ป่วยตามลำพังเพราะเห็นว่าผู้ป่วยไม่มีโอกาสรอดชีวิต (Futile) รักษาไปก็รังแต่จะสิ้นเปลืองทรัพยากรอันมีอยู่อย่างจำกัด สมควรสงวนทรัพยากรที่มีอยู่นั้นไว้สำหรับผู้ป่วยที่ยังมีโอกาสรอดชีวิตจะดีกว่าได้หรือไม่ เห็นว่าขณะนี้กฎหมายไทยยังไม่อนุญาตให้ทำได้ การกระทำดังกล่าวยังถึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ปัญหาดังกล่าวคงจะต้องมีการถกเถียงกันอีกนานเพราะเป็นเรื่องคาบเกี่ยวกับจริยธรรม


การรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care) 


                เมื่อผู้ป่วยมีอาการบ่งชี้ว่าอาการของโรคที่เป็นอยู่ไม่อาจรักษาให้หายได้และจะต้องตายในไม่ช้า การรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองน่าจะดีกว่าการรักษาแบบมุ่งหวังให้หาย (Curative Care) การรักษาแบบประคับประคองเป็นการรักษาตามอาการเพื่อทำให้ผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดทรมานน้อยที่สุดในห้วงสุดท้ายของชีวิต


สถานบำบัดผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Hospice Care) 


                สถานบำบัดผู้ป่วยระยะสุดท้ายซึ่งอาจเป็นโรงพยาบาลศูนย์สงเคราะห์หรือบ้านที่รับดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดทรมานน้อยที่สุดไม่ได้มุ่งหวังให้หายจากโรค ปรัชญาของสถานบำบัดผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือการช่วยเหลือและการดูแลเอาใจใส่ให้ผู้ป่วยได้จากไปอย่างสงบ ข้อมูลจาก Lannalaw


Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2553 11:50:19 น. 1 comments
Counter : 2507 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ
และของเอาไปใช้เป็นรายงานส่งอาจารย์นะคะ....คุณหมอ


โดย: weeki IP: 58.11.46.193 วันที่: 8 เมษายน 2553 เวลา:22:22:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.