DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2553
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
14 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 
ศาลบังคับให้ตรวจ ดี. เอ็น. เอ. ได้หรือไม่


       ประเด็นทางสังคมที่เป็นข่าวร้อนแรงในขณะนี้ คงไม่มีเรื่องใดเกินไปกว่าข่าวของ "แอนนี่ บรู๊ค" กับ "ฟิล์ม รัฐภูมิ โตคงทรัพย์" ในหลาย ๆ แง่มุมที่วิพากษ์กัน มีประเด็นทางกฎหมายเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาพูดกันมากก็คือ การตรวจสารพันธุกรรมหรือ ดี.เอ็น.เอ.ระหว่างบุตรชายแอนนี่ บรู๊ค กับฟิล์ม


            ปัญหาว่า ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะไปยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวเพียงฝ่ายเดียวเพื่อขอให้ศาลออกคำสั่งบังคับให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปตรวจ ดี.เอ็น.เอ. เพื่อพิสูจน์สารพันธุกรรมความเป็นบิดากับบุตรกันได้หรือไม่ คำตอบคือไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีกฎหมายเปิดช่องให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลในช่องทางนี้นั่นเอง


            คำถามต่อไปมีว่าถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการตรวจดี.เอ็น.เอ. เพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดากับบุตรกันจะทำอย่างไร คำเฉลยก็คือ 1) คู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เช่น ฝ่ายชายต้องฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย สรุปง่าย ๆ คือ ต้องมีการฟ้องเป็นคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวก่อน 2) คู่ความฝ่ายที่ขอตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมต้องแสดงเจตนาร้องขอต่อศาลว่าต้องการขอให้มีการตรวจพิสูจน์ ดี.เอ็น.เอ. เช่น ในคดีที่ฟ้องร้องกันนั้นฝ่ายชายขอให้มีการตรวจพิสูจน์ว่าตนเองกับเด็กเป็นบิดากับบุตรกันหรือไม่ 3) คู่กรณีที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องให้ความยินยอม หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ให้ความยินยอมศาลก็บังคับไปตรวจไม่ได้ อย่างไรก็ตามกฏหมายกำหนดทางแก้ไขไว้ว่าหากฝ่ายใดไม่ยินยอมหรือปฏิเสธโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือกระทำการขัดขวางมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร กฎหมายให้สันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่า ข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่คู่ความฝ่ายตรงข้ามกล่าวอ้างซึ่งจะเป็นผลเสียต่อฝ่ายที่ไม่ยินยอมหรือกระทำการขัดขวางนั้น ตัวอย่างเช่น ฝ่ายชายร้องขอให้ตรวจพิสูจน์ ดี.เอ็น.เอ.ระหว่างตนกับเด็ก แต่มารดาเด็กปฏิเสธไม่ให้ความยินยอมในการตรวจโดยไม่มีเหตุอันสมควร กรณีเช่นนี้ ผลร้ายจะตกอยู่กับฝ่ายมารดาของเด็ก เพราะกฎหมายปิดปากสันนิษฐานเป็นผลร้ายแก่ฝ่ายที่ปฏิเสธว่า ชายที่ขอตรวจพิสูจน์ ดี.เอ็น.เอ. กับเด็กไม่ได้เป็นบิดากับบุตรกัน


            วิธีการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมหรือ ดี.เอ็น.เอ.เป็นกระบวนการแสวงหาพยานหลักฐานในทางคดีวิธีหนึ่งเท่านั้น คู่ความแต่ละฝ่ายยังสามารถนำพยานหลักฐานอื่นมาสืบพิสูจน์เพื่อสนับสนุนหรือหักล้างข้อต่อสู้ของตนได้อีก จะเห็นได้ว่ากฎหมายเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวในร่างกายและอวัยวะทั่วเรือนร่างของบุคคล หากปราศจากซึ่งความยินยอมโดยสมัครใจแล้วย่อมไม่มีผู้ใดจะล่วงละเมิดสิทธิส่วนตัวได้ ดังนั้นการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมหรือ ดี.เอ็น.เอ. จึงมิได้ง่ายดายดังที่หลายคนเข้าใจ ทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้องค์ประกอบและเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น


สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม


Create Date : 14 ตุลาคม 2553
Last Update : 14 ตุลาคม 2553 21:27:08 น. 0 comments
Counter : 1360 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.