DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
20 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
การพิสูจน์แพทย์โดยแพทย์ในคดีกระทำการโดยประมาท

            ตามปกติผู้เสียหายที่ฟ้องแพทย์ฐานกระทำการโดยประมาท จะต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ว่าการกระทำของแพทย์เป็นการกระทำโดยประมาท แต่เนื่องจากการรักษาพยาบาลดังกล่าวอยู่ภายใต้การรับรู้ของแพทย์แต่ผู้เดียว จะให้ชาวบ้านไปพิสูจน์การกระทำของแพทย์ได้อย่างไร จึงได้มีการผ่อนคลายกฎโดยกลับโยนภาระการพิสูจน์กลับไปให้แพทย์ โดยแพทย์ต้องพิสูจน์ว่าตนเองมิได้กระทำโดยประมาท เรียกหลักโยนภาระการพิสูจน์นี้ว่า “Res Ipsa Loguitur” 


       ผู้เสียหายจะโยนภาระการพิสูจน์กลับไปให้แพทย์ได้ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่า 


            1. การกระทำนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์


            2. ผู้ป่วยต้องมิได้กระทำการใดที่เป็นการเพิ่มเติมเหตุละเมิด


            3. หากแพทย์ใช้ความระมัดระวังเพียงพอ ความเสียหายย่อมไม่เกิด


       คดี  Kerber V Saries : ผู้ป่วยรายหนึ่งเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขนิ้วเท้าที่ผิดปกติ เมื่อฟื้นจากสลบอยู่ในห้องพักฟื้น ผู้ป่วยพบว่าฟันซี่หน้าของเธอหายไป  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า สาเหตุเกิดจากวิสัญญีพยาบาลใช้แรงมากเกินไปในขณะดมยา เป็นเหตุให้เครื่องมือไปกระแทกถูกฟันผู้ป่วยศาลรัฐนิวยอร์ก วินิจฉัยว่าคดีนี้ต้องโยนภาระการพิสูจน์กลับไปให้แพทย์เพราะ


            1. อยู่ดี ๆ ฟันของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดเท้าจะหลุดเองได้อย่างไร


            2. การกระทำดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ฝ่ายเดียว


            3. ผู้เสียหายมิได้มีส่วนร่วมในการกระทำละเมิด


       มีตัวอย่างคดีที่ศาลไทยยอมรับหลัก “Res Ipsa Loguitur” หรือหลักโยนภาระการพิสูจน์ให้ฝ่ายจำเลยเช่น


       คำพิพากษาฎีกาที่ 292/2542 : “แม้พยานโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2ประมาทเลินเล่อในการผ่าตัดและรักษาพยานโจทก์อย่างไร แต่การที่แพทย์อีกคนหนึ่งต้องผ่าตัดแก้อีก 3 ครั้ง แสดงว่าจำเลยที่ 2 ผ่าตัดมีข้อบกพร่องจึงต้องแก้ไข ...  ”


       เหตุที่ศาลยอมรับหลักเรื่องโยนภาระการพิสูจน์เพราะการผ่าตัดอยู่ภายใต้การควบคุมดุและของหมอผ่าตัดเพียงฝ่ายเดียว และผู้เสียหายมิได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด เป็นการยากที่จะให้โจทก์ซึ่งไม่ใช่แพทย์ จะนำสืบถึงความบกพร่องในการกระทำของแพทย์ได้ นับว่าเป็นหลักที่ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เสียหาย


หน้าที่นำสืบในคดีอาญา (Burden of Proof)


            จากตัวอย่างคดีที่กล่าวถึงทั้งหมดทั้งของต่างประเทศและของไทยล้วนแต่เป็นคดีแพ่ง แต่มาในระยะหลัง ๆ กลับปรากฏว่าผู้เสียหายได้ฟ้องว่าเป็นคดีอาญาซึ่งมีโทษถึงจำคุกเข้ามาด้วย และปรากฏว่าหลายคดีศาลชั้นต้นหมอให้รับผิดฐานกระทำโดยประมาท พิพากษาลงโทษจำคุกหมอโดยไม่รอลงอาญา ทำให้หมอเกิดความวิตกอย่างยิ่ง


            ในคดีอาญา โจทก์มีหน้าที่นำสืบพิสูจน์การกระทำความผิดของจำเลย   หน้าที่นำสืบหรือภาระการพิสูจน์ในคดีอาญาเป็นแบบเข้มข้นเคร่งครัดกว่าคดีแพ่ง กล่าวคือโจทก์จะต้องนำสืบให้ปราศจากข้อสงสัย (Proof beyond reasonable doubt) ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด หากมีข้อสงสัย ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย โดยไม่ต้องคำนึงถึงพยานจำเลย เราลองมาดูคำพิพากษาที่หมอให้ความสนใจกัน


            คดีแรกเป็นคดีเกิดขึ้นที่ศาลจังหวัดทุ่งสง ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าที่โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิสัญญี ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลด้วยอาการไส้ติ่ง จำเลยซึ่งเป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปได้ทำหน้าที่วิสัญญีโดยให้ผู้ป่วยดมยา แต่ผู้ป่วยเกิดมีอาการแทรกซ้อนขณะผ่าตัดและเสียชีวิตในเวลาต่อมา


            จากหลักกฎหมายจะเห็นได้ว่าในกรณีนี้การที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยซึ่งเป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปประมาทหรือไม่ จะต้องเปรียบเทียบกับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปที่ต้องมาทำหน้าที่วิสัญญีแพทย์ และอาการแทรกซ้อนของผู้ป่วยเป็นผลจากการกระทำของจำเลยหรือไม่


            คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยประมาท และพิพากษาจำคุกจำเลย 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา


            โชคดีที่ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยพิพากษากลับคำพิพากษาชั้นต้น แสดงว่าศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าจำเลยประมาท ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาเป็นเรื่องหนึ่ง   การคาดหมายการกระทำของจำเลยมิได้เป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการแทรกซ้อน (Direct Cause)


Create Date : 20 มิถุนายน 2553
Last Update : 20 มิถุนายน 2553 13:23:19 น. 0 comments
Counter : 1768 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.