DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
15 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

ใครเป็นเจ้าของเวชระเบียน

เวชระเบียน (Medical Records) 


                ในขณะที่หมอและพยาบาลทำการรักษาและดูแลคนไข้ หมอและพยาบาลจะต้องบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ไว้เป็นระเบียบ บันทึกข้อมูลการรักษาดังกล่าวเรียกว่าเวชระเบียน เวชระเบียนมีเพื่อประโยชน์ดังนี้ 


                - เป็นเอกสารที่มีการกำหนดรูปแบบในการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับประวัติผู้ป่วยทั้งขณะอยู่ในโรงพยาบาลหรืออยู่ที่บ้าน 


                - เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่หมอและพยาบาลใช้สำหรับทำการรักษาหรือดูแลผู้ป่วย 


                - เป็นเอกสารที่ใช้อ้างในศาลในกรณีที่เกิดฟ้องร้อง 


                - เป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา วิจัย การเก็บสถิติและการประเมินคุณภาพการรักษา


                เวชระเบียนอาจจัดเก็บในรูปกระดาษ ไมโครฟิล์ม แถบคอมพิวเตอร์หรือแผ่นดิสก์ เพื่อประโยชน์ทางกฎหมาย


ข้อมูลที่ควรบันทึกในเวชระเบียนได้แก่ 


                - ชื่อ ที่อยู่ วัน เดือน ปี เกิด หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ สถานภาพการสมรสของผู้ป่วย รวมทั้งชื่อและที่อยู่ของนายจ้างถ้าหากมี 


                - วัน เวลาที่ผู้ป่วยมาตามนัดแพทย์ 


                - ลักษณะอาการและสาเหตุที่ต้องนัดพบแพทย์ 


                - การตรวจรักษาของแพทย์ 


                - การประเมิน วินิจฉัย คำแนะนำ ความคืบหน้าการรักษาของแพทย์ที่ให้ต่อผู้ป่วย 


                - ผลเอ็กซเรย์และผลทดสอบอื่น ๆ 


                - บันทึกเรื่องการใช้สำเนาเวชระเบียน วันที่ที่ใช้และส่งไปให้ใคร 


                - บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งย้ายและคำอนุญาต 


                - เอกสารหนังสือยินยอมในกรณีจำเป็น 


                - ชื่อของผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลที่สามารถติดต่อได้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่อาจให้ความยินยอมได้ 


                - เอกสารอื่น ๆ เช่นตัวอย่างของเหลว วัตถุแปลกปลอม เศษผ้า วัตถุดังกล่าวควรติดป้ายและเก็บรักษาไว้ 


                - สภาพคนไข้เมื่อสิ้นสุดการรักษา 


                เวชระเบียนต้องบันทึกด้วยข้อความกระชับ ชัดเจน อ่านง่าย ไม่ควรบันทึกความรู้สึกส่วนตัวหรือ แกล้งเขียนล้อเล่นหรือแสดงอารมณ์ขัน


ใครเป็นเจ้าของเวชระเบียน 


                เวชระเบียนถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถานพยาบาล   แต่ผู้ป่วยเป็นเจ้าของข้อมูลที่บันทึกและมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลนั้นได้ 


                ข้อมูลของผู้ป่วยดังกล่าวถือเป็นความลับ (Confidentiality) ห้ามมิให้เผยแพร่เว้นแต่ผู้ป่วยหรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือมีหมายเรียกจากศาล


การให้ความยินยอม (Consent) 


                เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัด ถือว่าผู้ป่วยให้ความยินยอมโดยปริยาย (Implied consent) ที่จะให้หมอทำการตรวจร่างกาย เมื่อหมอสั่งให้ผู้ป่วยตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยก็ให้ความร่วมมือทันที ถือว่าเป็นการให้ความยินยอมโดยปริยายแล้วเช่นกัน


การให้ความยินยอมโดยได้รับข้อมูล (Informed Consent) 


                ในการรักษาที่มีความซับซ้อนเช่น จำเป็นต้องทำการผ่าตัดหรือตรวจหา H.I.V. การให้ความยินยอมโดยปริยายไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจะต้องเซ็นยินยอมลงในแบบให้ความยินยอม (consent form) การให้ความยินยอมดังกล่าวผู้ป่วยจะต้องได้รับข้อมูลต่าง ๆ ที่เพียงพอก่อนการตัดสินใจลงชื่อ หากผู้ป่วยยอมลงชื่อย่อมหมายความว่าผู้ป่วยทราบว่า 


                - วิธีการรักษาจะเป็นอย่างไร 


                - ทำไมจึงต้องรักษาด้วยวิธีนั้น 


                - มีความเสี่ยงอย่างใด 


                - มีวิธีการรักษาแบบทางเลือกอื่น ๆ อีกไหม และวิธีนั้นมีความเสี่ยงไหม 


                - หากปฏิเสธไม่รักษาจะมีความเสี่ยงเพียงใดหรือไม่ 


                การให้ความยินยอมโดยได้รับข้อมูล แสดงว่าผู้ป่วยทราบข้อมูลเพียงพอก่อนที่จะตัดสินใจรับการรักษาหรือปฏิเสธการรักษา ทั้งยังแสดงว่าผู้ป่วยได้กระทำโดยปราศจากการข่มขู่สำหรับผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต หรือผู้ไร้ความสามารถจะต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล


เป็นผู้ให้ความยินยอมแทน


การให้ความยินยอมในกรณีฉุกเฉิน (Emergency ) 


                ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุรุนแรงต้องทำการผ่าตัดโดยเร่งด่วน และไม่สามารถติดต่อญาติได้ทัน หมอสามารถทำการผ่าตัดผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม ถือว่าหมอได้กระทำโดยไม่จำเป็นหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น หมอไม่ต้องรับโทษ


การกระทำโดยประมาท  (Negligence) 


                คดีที่ฟ้องหมอส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความประมาท หากผู้เสียหายพิสูจน์ได้ว่าหมอกระทำโดยประมาทจริง หมออาจต้องรับโทษทั้งทางอาญา ซึ่งอาจจะต้องติดคุกติดตะรางหรือถูกปรับ และยังจะต้องรับโทษทางแพ่ง ซึ่งจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายอีกด้วย


ความรับผิดทางอาญาฐานกระทำโดยประมาท 


                องค์ประกอบความรับผิดทางอาญาฐานกระทำโดยประมาทบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 วรรค 4 ความว่า 


                 “กระทำโดยประมาท ได้แก่ กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนาแต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัย และพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่” 


                หากพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำโดยประมาทจริง ผู้กระทำผิดอาจได้รับโทษทางอาญาหนักเบา แตกต่างกันดังนี้ 


                ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 “ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท” 


                ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 “ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท” 


                ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 390 “ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” 


                สำหรับความรับผิดทางแพ่งเป็นเรื่องความทางละเมิด ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นกระทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”


                คำว่าประมาททางอาญากับประมาทเลินเล่อทางแพ่งมีความหมายเหมือนกัน   กล่าวคือเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง   ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดมะวังเช่นนั้นได้ แต่หาใช้ให้เพียงพอไม่โดยเปรียบเทียบกับ 


                1. บุคคลที่มีความระมัดระวังตามฐานะในสังคมเช่นเดียวกับผู้กระทำผิด เช่นเด็กย่อมไม่อาจระมัดระวังได้เท่ากับผู้ใหญ่ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปอาจไม่ระมัดระวังได้ดีเท่ากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 


                2. พฤติการณ์ภายนอกทั่ว ๆ ไป คำพิพากษาฎีกาที่ 769/2510 : จำเลยเป็นหญิงอายุ 28 ปี ขับรถมาคนเดียวขณะหยุดรถรอสัญญาณไฟเมื่อเวลา 21 นาฬิกา มีคนร้ายเปิดประตูเข้าไปนั่งคู่และใช้ระเบิดมือขู่ให้ขับรถไป จำเลยตกใจขับรถฝ่าไฟออกไปชนรถที่แล่นสวนมาโดยไม่เจตนา พฤติการณ์เช่นนี้จะว่าการชนเกิดเพราะความประมาทของจำเลยไม่ได้


                จากตัวอย่างคำพิพากษาคดีนี้ เห็นได้ว่าเหตุที่จำเลยขับรถฝ่าสัญญาณไฟแดงไปชนรถผู้เสียหายเป็นเพราะมีคนร้ายเปิดประตูเข้าไปนั่งคู่ จำเลยจึงเกิดอาการตกใจ ตามพฤติการณ์ดังกล่าว จะให้จำเลยใช้ความระมัดระวังเช่นปกติไม่ได้ ดังนั้นจึงถือได้ว่าจำเลยมิได้ประมาท ข้อมูลจาก Lannalaw




 

Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2553
1 comments
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2553 11:59:37 น.
Counter : 1239 Pageviews.

 


Client Profile
Our client is a private hospital . They are looking for high responsible, progressive-oriented and enthusiastic persons to join with their team in the position of “Medical Record Manager”

Job Description:

• Managing medical records and medical information.
• Operations and quality in line with the vision and mission of the hospital.
• Manage and control the preparation of statistical indicators agency.
• Administration tasks as assigned by senior management.

This position requires:

• Male or Female, age above 35 years old.
• Bachelor’s Degree or higher of Science Program in Medical Record or related field.
• At least 5 years working experience in medical records management or medical information management from government or private hospitals.
• Knowledge in ICD-10 and good contact potential to doctor & medical service team.
• Good personality, mature and pro-active.
• Strong leadership, able to adapt and identify problems solving.
• Good command of English and computer literacy.
• Ability to handle pressure.

Experienced in business process and system development interested candidates please send your application letter with resume, current and expected salary with contact details to:

Manpower - Bangna Permanent

Unit A, 4th floor, Thosapolland 3 Building,
947 Moo 12, Bangna-Trad Rd., Bangna, Bangkok 10260
Phone: (66 2) 744 3100 ext 308
Fax: (66 2) 744 3199

E-mail to wicha.sribanyen@manpower.th.com
cc: permanent.bangna@manpower.th.com

www.manpower.th.com

 

โดย: Wicha S. IP: 203.143.139.1 12 ตุลาคม 2553 15:35:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.