สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
7 สัญญาณผ่าคลอด

สัญญาณที่ 1 = โรคหัวใจ

ในกลุ่มโรคหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบบางชนิด เป็นข้อบ่งชี้ว่าคุณแม่ควรต้องผ่าคลอดค่ะ เพราะเวลาขณะที่เบ่งคลอดจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน คือการทำงานของหัวใจแย่ลง มีอาการเหนื่อยหอบ ระบบการหายใจทำงานถี่ หายใจไม่ทัน หมดสติ น้ำท่วมปอดหรือหัวใจวาย เป็นอันตรายทั้งต่อคุณและทารกได้ การผ่าตัดคลอดจึงเป็นวิธีที่ปลอดภัยสำหรับแม่และทารกมากกว่า

สำหรับคุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจ ควรสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเองว่ามีอาการรุนแรงขึ้นหรือไม่ โดยประเมินได้คร่าวๆ จากการทำกิจวัตรประวัน ถ้าคุณแม่เดินขึ้นลงบันได หรือทำงานเบาๆ เช่น กวาดบ้าน ล้างจาน ทำอาหาร แต่อาการเหนื่อยมากขึ้น นอนราบไม่ได้ , ไอหอบกลางคืน ก็เป็นตัวบ่งชี้ตัวหนึ่งว่าการทำงานของหัวใจมีการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถรองรับกับกิจกรรมเบาๆ เหล่านี้ได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อการคลอดแบบธรรมชาติได้ด้วย จึงควรปรึกษาคุณหมอเพื่อประเมินว่าการคลอดควรผ่าตัดคลอดหรือไม่

แม้คุณแม่จะเป็นโรคหัวใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะคลอดเองไม่ได้นะคะ ถ้าช่วงระหว่างตั้งครรภ์ดูแลสุขภาพอย่างดี อยู่ในความดูแลของคุณหมอสูติ และคุณหมอโรคหัวใจ และไม่มีอาการแทรกซ้อนที่น่าเป็นห่วง ก็สามารถคลอดเองได้

สัญญาณที่ 2 = กระดูกอุ้งเชิงกรานผิดปกติ

ความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกอุ้งเชิงกราน อาจเกิดจากคุณแม่เคยได้รับอุบัติเหตุ มีภาวะกระดูกอุ้งเชิงกรานหัก ทำให้กระดูกผิดรูปหรือโรคกระดูกบางชนิด ส่งผลให้ช่องทางการคลอดเปลี่ยนแปลง หรือแคบลงไปด้วย ซึ่งจะเป็นข้อบ่งชี้ตัวหนึ่งว่าคุณแม่ต้องผ่าคลอด

ในการคลอดปกติ คุณแม่จะต้องมีโครงสร้างกระดูกอุ้งเชิงกรานค่อนข้างสมบูรณ์ เพื่อให้การคลอดดำเนินไปตามเกณฑ์ปกติ เพราะถ้าโครงสร้างกระดูกอุ้งเชิงกรานมีความผิดปกติ ผิดรูป หรือแคบลง การที่ทารกจะคลอดผ่านออกมาจะเป็นไปลำบากหรือคลอดออกไม่ได้ และบางครั้งทำให้ทารกที่คลอดออกมาได้รับความกระเทือนบอบช้ำ

ดังนั้น ช่องทางคลอดต้องกว้างพอให้ทารกออกมาได้ แต่ถ้ามีการประเมินแล้วว่าช่องทางคลอดไม่เหมาะสมกับตัวของทารก ก็อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงจากการคลอดตามธรรมชาติ ไปเป็นแบบผ่าคลอด เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยค่ะ

สัญญาณที่ 3 = ภาวะติดเชื้อในช่องคลอด

เริม คุณแม่ที่มีการติดเชื้อเริมที่ปากช่องคลอดในช่วงใกล้คลอด หรือช่วงจะคลอดทารก หากคลอดเองตามธรรมชาติ จะทำให้ทารกในครรภ์มีการติดเชื้อผ่านทางช่องคลอดได้

หูดหงอนไก่ ถ้ามีขนาดใหญ่มากๆ ก็จะไปอุดตัน หรือบดบังช่องคลอด ขวางทางคลอด ส่งผลให้คลอดยาก คลอดไม่ได้ หรือถ้าทารกคลอดผ่านช่องคลอดที่มีหูดหงอนไก่ ก็มีโอกาสติดเชื้อสู่หลอดเสียง ทำให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจของทารกในครรภ์ เมื่อคลอดออกมาส่งผลให้การหายใจมีปัญหาได้

ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือติดเชื้อเอดส์ กลุ่มนี้ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และเพียงพอ หรือพบปริมาณไวรัสในร่างกายค่อนข้างสูง การผ่าตัดคลอดก็จะช่วยลดภาวะของการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกได้ค่อนข้างมาก

สัญญาณที่ 4 = ภาวะรกเกาะต่ำ

เป็นข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอดอย่างแน่นอน เพราะถ้ามีรกมาขวางช่องคลอด ทารกก็ไม่สามารถออกมาได้ ซึ่งคุณแม่ที่มีภาวะรกเกาะต่ำ จะมีอาการเลือดออกตั้งแต่ระยะไตรมาสที่ 2 โดยคุณหมอจะตรวจวินิจฉัยได้ตั้งแต่ก่อนคลอด ด้วยการตรวจอัลตร้าซาวนด์ ถ้าปล่อยให้คุณแม่เจ็บท้อง คลอดเองก็อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การตกเลือด

สำหรับคุณแม่ที่มีความเสี่ยงรกเกาะต่ำ คือเคยมีประวัติเป็นมาก่อน เคยผ่าตัดมดลูก หรือผ่าตัดคลอดก็อาจทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำได้ มีการอักเสบบริเวณปากช่องคลอด ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการที่รกมาฝังตัวในตำแหน่งที่ไม่ปกติ เกิดภาวะรกเกาะต่ำได้เช่นกัน

ฉะนั้นถ้าคุณแม่มีปัญหาเรื่องเลือดออก ควรให้คุณหมอตรวจเพิ่มเติมว่าเป็นสาเหตุจากรกเกาะต่ำหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นจริงๆ ก็เป็นข้อบ่งชี้ในการที่จะต้องผ่าตัดคลอดเหมือนกันค่ะ

สัญญาณที่ 5 = มะเร็งปากมดลูก

หากเป็นมะเร็งปากมดลูกขณะตั้งครรภ์ก็มีโอกาสทำให้การคลอดมีปัญหาได้ โดยอาจเป็นจากก้อนมะเร็งมาขัดขวางช่องทางคลอด หรือทำให้มีเลือดออกรุนแรงจากก้อนมะเร็ง การดูแลรักษา หากมาตรวจพบในช่วงที่สามารถเลี้ยงทารกในครรภ์รอดแล้ว การผ่าตัดคลอดอาจเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคุณแม่ ทั้งนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลร่วมกันของคุณหมอสูติและคุณหมอมะเร็งนรีเวช

สัญญาณที่ 6 = เนื้องอกในมดลูก

คุณแม่ที่เคยตรวจพบว่ามีเนื้องอกในมดลูก และยังไม่ได้ผ่าตัดเนื้องอกออกไป การมีเนื้องอกก็อาจเป็นข้อบ่งชี้ของการผ่าคลอดโดยเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่ อาจจะส่งผลให้ทารกไม่กลับศีรษะลง หรือถ้ามาอยู่ในตำแหน่งที่อุดกั้นปิดขวางช่องทางการคลอดก็ทำให้ทารกไม่สามารถคลอดออกมาได้
อย่างไรก็ตามการมีเนื้องอกมดลูกก็ไม่ได้บ่งชี้ว่าต้องผ่าตัดคลอดเสมอทุกราย ควรปรึกษาคุณหมอเป็นรายๆ ไป


สัญญาณที่ 7 = เบาหวาน

คุณแม่ท้องที่เป็นเบาหวานตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์หรือเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือบางคนไม่รู้ตัวมาก่อนว่าเป็นเบาหวาน เพราะไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยคัดกรอง อาจจะส่งผลส่วนหนึ่งให้ทารกในครรภ์มีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมากกว่าปกติ มีผลทำให้คลอดยาก หากคุณหมอประเมินแล้วว่าทารกในครรภ์น้ำหนักเกิน 4.2- 4.5 กิโลกรัม ก็เป็นข้อบ่งชี้ตัวหนึ่งว่าควรจะผ่าตัดคลอด เพราะถ้าปล่อยให้คลอดเองจะทำให้ช่องคลอดเกิดการฉีกขาด คลอดไหล่ติด หรือติดภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อตัวคุณแม่และทารกได้

ถ้าคุณแม่มีประวัติเป็นเบาหวาน หรือประวัติคนในครอบครัว คนใกล้ชิดเป็นเบาหวาน หรือเคยตรวจเจอน้ำตาลในปัสสาวะ หรือมีความผิดปกติที่สงสัยว่าน่าจะเป็นภาวะเบาหวานแทรกซ้อน เช่น น้ำหนักขึ้นเร็ว ภาวะน้ำคร่ำมากกว่าปกติ หรือทารกตัวใหญ่มากๆ ควรทำการตรวจคัดกรองโรค ถ้าพบว่ามีภาวะโรคเบาหวานต้องทำการควบคุมกันต่อไป เพื่อให้ท้องนี้คุณแม่สุขภาพดี และลูกน้อยแข็งแรงค่ะ




ขอบคุณข้อมูลจาก
//www.vejthani.com


Create Date : 26 สิงหาคม 2554
Last Update : 26 สิงหาคม 2554 9:52:37 น. 0 comments
Counter : 962 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
26 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.