สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
โรคไอบีเอส … ภัยเงียบข้างๆ คุณ





ใครเคยสังเกตบ้างไหมว่าปัจจุบันอักษรย่อมีบทบาทมากขึ้นทุกที ตั้งแต่ยุคที่โทรทัศน์แทรกเข้ามาในชีวิตประจำวัน ผู้คนที่นิยมเรียกว่าทีวี จนมาถึงสมัยนี้หลายบ้านมีเครื่องเล่นซีดีหรือดีวีดีเพื่อให้ความบันเทิง ครั้นต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงเขาก็บอกว่ามีค่าเอฟทีมาเกี่ยวข้อง เศรษฐกิจฝืดเคืองชาวบ้านก็เรียกว่ายุคไอเอ็มเอฟ ทางการแพทย์ก็มีชื่อของโรคและอาการต่างๆ ที่ใช้คำย่อกันจนติดปากเช่น เอดส์ ซึ่งเรียกง่ายกว่า “ กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันบกพร่อง” เมื่อคนไข้อาการหนัก ก็จะถูกส่งไปอยู่ห้องไอซียูซึ่งไม่มีใครเรียกว่าหน่วยอภิบาลตามที่ราชบัญญัติท่านบัญญัติไว้


ไอบีเอสก็เป็นอักษรย่อทางการแพทย์ที่อาจไม่คุ้นหูกันนัก ทั้ง ๆ ที่มีคนจำนวนมากทั่วโลกที่มีอาการดังกล่าว ไอบีเอส ( IBS ) ย่อมาจากคำเต็มว่า Irritable Bowel Syndrome ซึ่งยังไม่มีชื่อเรียกภาษาไทยอย่างเป็นทางการโรคลำไส้แปรปรวน ในขณะที่บางท่านเรียกว่าโรคลำไส้หงุดหงิด


ไอบีเอสเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งลำไส้ ทั้งที่โครงสร้างของอวัยวะไม่มีอะไรผิดปกติ และไม่มีพยาธิสภาพใด อาการที่พบ มีตั้งแต่ท้องเสีย ท้องผูก หรือทั้งสองอย่างสลับกัน ผู้ป่วยมักจะปวดท้อง ซึ่งเมื่อได้ถ่ายอุจจาระจะรู้สึกหายปวด หลายคนมีอาการท้องอืด แน่นท้อง ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าถ่ายอุจจาระไม่ค่อยสุด หรือมีมูกปนออกมาเวลาถ่ายอุจจาระ ไอบีเอสแบ่งออกเป็น สามชนิดใหญ่ ๆ คือ ชนิดที่มีท้องผูกเป็นอาการเด่น ชนิดที่มีท้องเสียเป็นอาการเด่น และชนิดที่มีอาการท้องผูกและท้องเสียสลับกัน


สำหรับในประเทศไทย คาดว่าประมาณ 20-30 % ของผู้หญิงไทยกำลังถูกคุกคามด้วยโรคไอบีเอส แต่ยังมีสัดส่วนที่น้อยที่ไปปรึกษาแพทย์ เนื่องจากไม่คิดว่าตัวเองกำลังเป็น อาการของโรคไอบีเอส จะเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง สร้างความรำคาญไปตลอดชีวิต โดยจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้ป่วย บางคนไม่กล้าไปเที่ยวไหนไกล ๆ เพราะกลัวจะมีปัญหาเรื่องห้องน้ำ หลายคนต้องลางานเมื่ออาการกำเริบเพราะปวดท้องมาก ทานยาแล้วอาการก็ไม่ดีขึ้น บางคนสุขภาพจิตเสื่อมเพราะกังวลว่าตนจะเป็นโรคร้าย ทำให้เครียด หวาดระแวง จนถึงขั้นซึมเศร้าก็มี


ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรคไอบีเอส จึงยังไม่มียาเฉพาะโรคนี้หรือการรักษาที่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ แพทย์จะให้การรักษาไปตามอาการ เช่น ให้ยาระบายในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเป็นอาการเด่น หรือให้ยาแก้ท้องเสียถ้ามีอาการท้องเสียเป็นอาการเด่น ให้ยาต้านการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้เพื่อช่วยลดอาการปวดท้อง ดังนั้นผลการรักษาจึงยังไม่ได้ผลดี ผู้ป่วยจึงมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ มักไม่หายขาด และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการคิดค้นพัฒนายาสำหรับโรคไอบีเอสโดยเฉพาะขึ้น ซึ่งเป็นการรักษามุ่งไปที่พยาธิสรีระวิทยาของโรคไอบีเอสโดยตรง ซึ่งเป็นยาที่สามารถรักษาครอบคลุมอาการต่าง ๆ ของโรค ซึ่งได้แก่ อาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูกได้ จึงทำให้ให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น


ผู้ที่สงสัยว่าตนอาจเป็นโรคไอบีเอสควรจะรีบไปปรึกษาแพทย์หรือถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ก็สามารถเข้าเยี่ยมชมเว็ปไซด์ของโรคไอบีเอสได้ที่ //www.thailibs.com


อาการที่ช่วยบอกว่าคุณอาจจะเป็นโรคไอบีเอส

1. มีอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้อง และมักจะดีขึ้นหลังจากมีการถ่ายอุจจาระ
2. ถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูกติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หรือ ท้องเสีย หรือท้องผูกสลับท้องเสีย
3. อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ท้องอืด แน่นท้อง ถ่ายปนมูก ถ่ายไม่สุด เป็นต้น




Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2552 14:56:23 น. 1 comments
Counter : 937 Pageviews.

 
เป็นโรคนี้อยู่เลยค่ะ

เป็นมาประมาณ 6 ปีแล้ว

แอบเบื่อๆ รำคาญๆ


โดย: by my hand วันที่: 15 เมษายน 2552 เวลา:2:18:57 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
4 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.