สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
คุณฝากแคลเซียมให้กับคลังกระดูกของคุณหรือยัง?

หลายๆ คนอาจจะรู้จักกับภาวะกระดูกพรุนว่า มักเกิดกับผู้สูงอายุที่เป็นสตรีสูงวัย แต่เหตุไฉนจึงต้องเกิดกับผู้หญิง และกระดูกมันจะพรุนได้อย่างไร แล้วมันหายไปไหน เรามีคำตอบให้กับคุณๆ ที่อยากรู้...

ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ ภาวะที่เนื้อกระดูกบางลง เนื่องจากมีการสร้างกระดูกน้อยกว่าการทำลายกระดูก จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้ง่าย แม้ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุแค่เพียงเล็กน้อย เช่น การลื่นหกล้ม โดยบริเวณกระดูกที่ได้รับผลกระทบได้ง่าย คือ กระดูกสันหลัง สะโพก กระดูกข้อมือ ข้อเข่า และผลที่ตามมาก็คือ ผู้สูงอายุเหล่านั้นอาจต้องล้มหมอนนอนเสื่อ ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ จนเกิดแผลกดทับตามมาและนำไปสู่การเสียชีวิตได้ในที่สุด

พอมาถึงจุดนี้ หลายคนก็ยังอาจสงสัยอีกว่า ทำไมอยู่ดีๆ กระดูกจึงถูกทำลายได้ แท้จริงแล้ว สิ่งที่ถูกดึงออกไปจากเนื้อกระดูกก็คือ ธาตุแคลเซียม อันเป็นส่วนประกอบหลักของเนื้อกระดูกที่แข็งแรงและยังจำเป็นต่อการทำงานของทุกระบบในร่างกายอีกด้วย ดังนั้นการรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอกับความต้องการต่อวันจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรปฏิบัติตาม โดยปกตินั้นกระดูกของเราจะมีค่ามวลกระดูกสูงสุด (Peak Bone Mass) ในช่วงวัยรุ่นไปจนถึงอายุ 25-30 ปี และหลังจากอายุ 35-40 ปีเป็นต้นไป ระดับมวลกระดูกจะเริ่มลดลงอย่างช้าๆ ประมาณ 0.5-1% ต่อปีทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แต่สำหรับในผู้หญิงนั้นจะมีปัจจัยในเรื่องของฮอร์โมนเพศที่ลดลงอย่างชัดเจนในช่วงประมาณ 5 ปีก่อนหมดประจำเดือน ซึ่งระดับฮอร์โมนเพศหญิงที่ลดลงนั้นจะเป็นเสมือนตัวเร่งให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกประมาณ 3-5% ต่อปี ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมผู้สูงอายุที่เป็นสตรีจึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนมากที่สุด

การป้องกันภาวะกระดูกพรุนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งแร่ธาตุแคลเซียมถือว่าเป็นแร่ธาตุหลักที่ส่งเสริมความแข็งแรงของกระดูกแต่ก็มิใช่ว่าคุณจะประโคมแคลเซียมเสริมหรือให้ผู้สูงอายุดื่มนมเป็นแกลลอนๆ ต่อวัน เพราะร่างกายมีขีดความสามารถในการรับแคลเซียมต่อวัน อีกทั้งยังต้องพิจารณาถึงสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย เช่น มีโรคประจำตัว อาทิ โรคไตที่ไม่สามารถขับแคลเซียมส่วนเกินออก หรือบางรายมีปัญหาเรื่องกรดในกระเพาะอาหารน้อย การรับประทานแคลเซียมในรูปของเกลือคาร์บอเนต (Carbonate salt) อาจเกิดปัญหาเรื่องการดูดซึมและการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งในกรณีนี้การรับประทานแคลเซียมในรูปเกลือซิเตรท (Citrate) หรือซิเตรทมาเลท (Citrate malate) น่าจะมีความเหมาะสมมากกว่า

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอีกหลายประการที่ส่งผลต่อความแข็งแรงของเนื้อกระดูก เช่น การขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การขาดวิตามิน ดี จากแสงอาทิตย์ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมรวมไปถึงการดื่มน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของกรดฟอสฟอริก (Phosphoric) ที่ต้องอาศัยการดึงแคลเซียมในเนื้อกระดูกออกมาเพื่อสะเทินฤทธิ์ (Neutralize)ของฟอสฟอรัสส่วนเกิน เป็นต้น

ดังนั้น เราจึงอยากให้ท่านรับประทานแคลเซียมอย่างน้อย800มิลลิกรัม/วัน เสมือนเป็นการฝากแคลเซียมให้กับคลังกระดูกของคุณ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดกระดูกพรุนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง




ขอบคุณข้อมูลจาก//www.gnc.co.th


Create Date : 02 กรกฎาคม 2552
Last Update : 2 กรกฎาคม 2552 9:10:25 น. 4 comments
Counter : 737 Pageviews.

 
ตอนนี้ก็พยายามดื่มนมทุกวันเลยคะ


โดย: mook (haiti ) วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:9:47:24 น.  

 
มีประโยชน์ ขอไป post ต่อค่ะ


โดย: Elbereth วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:17:14 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ นะคะ วิสกี้ฝากแคลเซียมไว้ได้สามสี่ปีแล้วค่ะ


โดย: วิสกี้โซดา วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:47:45 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณกบ
ไม่ได้เข้ามาหลายวัน
เข้ามาทีไรก็ได้ความรู้มากมายติดมือไปทุกครั้ง
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีค่ะ
มีความสุขมากๆค่ะ

Photobucket


โดย: busabap วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:17:13 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
2 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.