สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
“ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม” ทางเลือกที่ต้องเลือกจริงหรือ?

การเคลื่อนไหวต่าง ๆ ไม่ว่าจะยืน เดิน หรือนั่ง “ข้อเข่า” นั้นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ระบบการทำงานการเคลื่อนไหวของร่างกายดำเนินไปได้อย่างราบรื่น เพราะทุก ๆ ครั้ง ที่เราจะเดินหรือยืน เข่าทั้ง 2 ข้างต้องรับน้ำหนักทั้งหมดของตัวเรา และส่งผ่านแรงทั้งหมด เพื่อนำพาเราเดินหรือยืนไปได้อย่างมั่นคง และมีการเคลื่อนไหวที่ดี โดยปกติ เข่าทั้ง 2 ข้างจะต้องทำงานผสานกันไปอย่างสมดุล

หากการเคลื่อนไหว ขาดความสมดุลอาจนำไปสู่สัญญาณเตือนของ “ภาวะข้อเข่าเสื่อม” ซึ่งพบมากในผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

สาเหตุเกิดจาก......

- ความเสี่ยมของกระดูกในร่างกายตามธรรมชาติ
- ปัจจัยทางพันธุกรรม
- ผลต่อเนื่องจากการได้รับอุบัติเหตุ การติดเชื้อ โรคข้ออักเสบเรื้อรัง โรคเลือดบางชนิด เป็นต้น

โดยทั่วไป ในรายที่อาการไม่หนัก แพทย์จะรักษาโดยการให้ยาและฝึกกายภาพบำบัด แต่ในรายที่เป็นเรื้อรัง และกระดูกมีปัญหามาก ๆ แพทย์จะแนะนำให้ “ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม” โดยพิจารณาสาเหตุ
หลัก ๆ ดังนี้

1. มีอาการปวดขั้นรุนแรงจนมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือได้รักษาด้วยการใช้ยา และกายภาพบำบัดอย่างเต็มที่และนานเพียงพอแล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น
2. หัวเข่าโกงงอผิดรูป ส่งผลให้เดินไม่สะดวก และยังส่งผลด้านจิตใจ เพราะผู้ป่วยเกิดความอับอาย
3. ข้อเข่าไม่ค่อยมั่นคง ซึ่งเกิดการสึก หลวมและยึดของกระดูกกล้ามเนื้อและเอ็นรอบ ๆ ข้อเข่า

ปัจจุบันวิวัฒนาการการผ่าตัดข้อเข่าเทียมก้าวหน้าไปไกล ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เช่น มีข้อเทียมที่มีรูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติ และยังผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพสูงด้วยกระบวนการที่ทันสมัย นอกจากนี้ วิธีผ่าตัดยังได้พัฒนาให้มีแผลผ่าตัดเล็กลง ทำให้คนไข้สามารถกลับมาเดินได้ภายในบ้าน 1 – 2 วันภายหลังการผ่าตัด อีกทั้งข้อเทียมยังมีอายุการใช้งานนานถึง 10 -15 ปี

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า “ข้อเทียมไม่ใช่ของที่เป็นธรรมชาติ” จึงไม่สามารถทดแทนสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมาได้ทั้งหมด และอาจมีผลข้างเคียงได้ในบางครั้ง โดยเฉพาะในรายที่
- มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับลิ่มเลือด เช่น ได้รับยาละลายลิ่ม เพื่อป้องกันเส้นเลือดอุดตัน
- มีประวัติเป็นโรคเส้นเลือดอุดตันมาก่อน

โดยส่วนใหญ่ แพทย์จะทำการผ่าตัดให้ทีละข้าง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ขาข้างที่ไม่ได้รับการผ่าตัดช่วยในการเดินและทำกิจกรรมต่าง ๆ (โดยทั่วไปจะเว้นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน จึงทำการผ่าตัดอีกข้าง)

แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดข้อเข่าเทียมพร้อมกันทีเดียวทั้ง 2 ข้าง ซึ่งเกิดในกรณีที่มีความผิดรูปและเจ็บปวดของข้อเข่ามากทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยจะต้องมีสุขภาพทั่วไปแข็งแรง แต่แน่นอนว่าจะมีความเสี่ยงมากกว่าเดิม และปัญหาสำคัญก็คือ มีการสูญเสียเลือดหลังผ่าตัดเป็นปริมาณมากขึ้นจากเข่าทั้ง 2 ข้าง และภาวะหัวใจที่ต้องทำงานหนักมากขึ้น

ข้อจำกัดของผู้ป่วยในการพิจารณาให้การผ่าตัด.....
1. ปราศจากภาวะติดเชื้อที่ยังมีอาการของโรคอยู่บริเวณข้อเข่า
2. ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคของการผ่าตัด เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้

*ในบางกรณี แพทย์จะพิจารณายกเว้นการผ่าตัดเป็นราย ๆ ตามความเหมาะสม เช่น มีภาวะข้อติดแข็ง หรือเคยทำการเชื่อมข้อมาก่อน รวมถึงผู้ป่วยที่มีภาวะเส้นประสาทรับความรู้สึกเสียไปจนไม่รู้สึกปวด เป็นต้น
หลังจากผ่านระยะการฟื้นฟูสภาพป้องกันแล้ว (ใช้เวลาประมาณ 2 – 3 เดือนหลังผ่าตัด) ผู้ป่วยสามารถใช้งานข้อเข่าได้ในชีวิตประจำวัน มีบางกรณีที่ต้องระวังโดยเฉพาะในวัฒนธรรมไทย ซึ่งจะมีการนั่งยอง ๆ กับพื้น ซึ่งควรใช้ข้อเข่าในกิจกรรมดังกล่าวเท่าที่จำเป็น และต้องไม่ลืมดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พยายามป้องกันการหกล้ม และป้องกันการติดเชื้อเรื้อรังของร่างกาย(ถ้าเป็นส่วนที่จำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษ)

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นทางเลือกสุดท้ายที่แพทย์จะพิจารณาเมื่อการรักษาวิธีอื่นไม่สามารถช่วยได้แล้ว ดังนั้น การเข้าใจถึงข้อดีข้อเสียและผลข้างเคียง การเตรียมตัวของผู้ป่วยและญาติ ความพร้อมของทีมรักษา ตลอดจนความพร้อมของโรงพยาบาลจึงมีส่วนสำคัญต่อการรักษาที่จะประสบความสำเร็จในระยะยาวครับ.




ขอบคุณข้อมูลจาก //www.si.mahidol.ac.th



Create Date : 05 ตุลาคม 2552
Last Update : 5 ตุลาคม 2552 13:52:31 น. 2 comments
Counter : 1623 Pageviews.

 
ตอนนี้เราเข่าเคลื่อนอยู่ ผลมาจากการออกกำลังกายที่มีน้ำหนักตัวมากเกินกว่าเข่าจะรับได้(เราเคยประสบอุบัติเหตุ สะบ้าหลุดอ่ะค่ะ)เห็นหัวข้อที่ตั้งไว้น่าสนใจเลยเข้ามาอ่าน แล้วบทความนี้ก็ให้ความรู้สำรับเรามากเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ ถ้ามีอีกช่วยเอามาลงอีกน่ะค่ะเกี่ยวกับเข่า ขา เราจะเข้ามาอ่านอีก ขอบคุณค่ะ


โดย: noonnun (noonnun ) วันที่: 5 ตุลาคม 2552 เวลา:15:08:57 น.  

 

คุณแม่เราก็เปลี่ยนข้อเข่าเทียมไปแล้วทั้งสองข้างค่ะ
ทนมาหลายปี ตอนเป็นนี่ทรมานมากนะ เดินลำบาก ทั้งเจ็บทั้งปวด ทานยาแก้ปวดตลอดก็ยังไม่เคยรู้สึกดีขึ้นเลย

อาจารย์หมอที่จุฬาท่านหนึ่งเคยให้สัมภาษณ์ทางรายการทีวีไว้ คุณแม่สนใจ เลยไปหา สรุปก็ได้รับการพิจารณาว่าสมควรผ่าทั้งสองข้าง

อย่างที่บทความนี้เขียนน่ะค่ะ เป็นทางเลือกที่ต้องเลือก เพราะไม่เลือกก็ทรมาน เมื่อเลือกไปแล้วอายุการใช้งานเข่าประมาณ 10 ปีก็มีอันต้องเปลี่ยนอีก มันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่สุดท้ายเราก็ต้องเลือกที่จะบรรเทาความเจ็บปวดทรมานไว้ก่อน อีก 10 ปีก็ค่อยว่ากันใหม่ ถ้าอายุน้อย ๆ คุณหมอก็ต้องดูอีกอ่ะค่ะว่า เหมาะไหม สมควรรึเปล่า ยิ่งน้ำหนักส่วนเกินเยอะ รับน้ำหนักมากไม่ได้ยิ่งเจ็บ คุณหมอก็ให้ลดน้ำหนักก่อนเลย แล้วก็ค่อยดูอีกทีว่าจะผ่าให้ดีมั้ย บางคนกว่าจะได้ผ่าก็ต้องรอไปเป็นปี เนื่องเพราะสุขภาพด้านอื่น ๆ หรือยังไม่ถึงขีดสุด


โดย: rASpBErrY MeRIngUe วันที่: 5 ตุลาคม 2552 เวลา:15:23:36 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
5 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.