สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
ต้องกินยาลดความดันโลหิตสูงถึงเมื่อไหร่?

loaocatloaocat


ต้องกินยาลดความดันโลหิตสูงถึงเมื่อไหร่?” คำถามนี้เป็นคำถามที่ดิฉันได้รับฟังอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ที่เข้ารับการรักษาจนกระทั่งควบคุมความดันได้อยู่ในระดับปกติแล้วมักไม่มีอาการใดๆ หรือแม้แต่ผู้ที่ยังไม่สามารถคุมความดันโลหิตได้ในระดับปกติหลายรายก็ไม่มีอาการแสดงทางคลินิกใดๆ ให้เห็น จึงไม่แปลกใจเลยว่าเพราะเหตุใดคำถามนี้จึงเป็นคำถามยอดฮิตสำหรับคนกลุ่มนี้ และก่อนที่จะตอบคำถามนี้ดิฉันจะอธิบายให้ท่านผู้อ่านเข้าใจถึงโรคนี้คร่าวๆ ก่อนนะคะ


ความดันโลหิตคืออะไร ??


     ลองจินตนาการถึงภาพสายยางรดน้ำต้นไม้ ที่มีน้ำไหลเป็นจังหวะการปิดเปิดของก๊อก เมื่อเปิดน้ำเต็มที่ น้ำไหลผ่านสายยาง ย่อมทำให้เกิดแรงดันน้ำขึ้นในสายยางนั้น และเมื่อปิดหรือหรี่ก๊อก น้ำไหลน้อยลง แรงดันในสายยางก็ลดลงด้วย ระบบหัวใจและหลอดเลือด ก็เป็นระบบไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกายที่มีหัวใจทำหน้าที่คล้ายก๊อก หรือปั๊มน้ำ คอยสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เลือดไหลแรงดี ความดันก็ดี หากหัวใจบีบตัวไม่ดี เลือดไหลอ่อน ความดันก็ลดลง นอกจากนั้นแล้วความดันในหลอดเลือดยังขึ้นกับสภาพของหลอดเลือดด้วย หากหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นดีก็จะปรับความดันได้ดีไม่ให้สูงเกินไป แต่หากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น หรือแข็งตัวก็จะทำให้ความดันเปลี่ยนแปลงไปด้วย


     ค่าความดันโลหิตจะมีสองค่าเสมอ เรียกว่า “ตัวบน” และ “ตัวล่าง” ค่าแรกเป็นความดันโลหิตในหลอดเลือดที่เกิดขึ้นขณะที่หัวใจบีบตัวไล่เลือดออกจากหัวใจ ส่วนตัวล่างคือความดันของเลือดที่ยังค้างอยู่ในหลอดเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรจำค่าทั้งสองไว้เพราะมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน


ความดันโลหิตเท่าไรเรียกว่าปกติ?


    ปัจจุบันความดันโลหิตที่เรียกว่า “เหมาะสม” ในผู้ที่อายุมากกว่า 18 ปี คือ ตัวบนไม่เกิน 120 มม.ปรอท และตัวล่างไม่เกิน 80 มม.ปรอท เรียกสั้นๆว่า 120/80 ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย ควรติดตามอย่างใกล้ชิด คือ 120-139/80-89 มม.ปรอท จะเรียกได้ว่ามีความดันโลหิตสูงเมื่อ ความดันโลหิตตัวบนมากกว่า (หรือเท่ากับ) 140 และตัวล่างมากกว่า (หรือเท่ากับ) 90 มม.ปรอท อย่างไรก็ตามก่อนที่จะเรียกว่ามีความดันโลหิตสูงได้นั้น แพทย์จะต้องวัดซ้ำหลายๆ ครั้ง หลังจากให้ผู้นั้นพักแล้ว วัดซ้ำจนกว่าจะแน่ใจว่าสูงจริง และที่สำคัญเทคนิคการวัดต้องถูกต้องด้วย


การจำแนก ความดันโลหิต "ตัวบน"   ความดันโลหิต "ตัวล่าง"
                               (มม.ปรอท)   (มม.ปรอท)
ความดันโลหิตที่เหมาะสม < 120 และ < 80
ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย 120-139 หรือ 80-89
ความดันโลหิตสูง   
ระดับที่ 1 140-159 หรือ 90-99
ระดับที่ 2 >160 หรือ >100



ความดันโลหิตสูงเกิดจากอะไร? มีอาการอย่างไร?


     จนถึงปัจจุบันนี้ความดันโลหิตสูงก็ยังเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุเป็นส่วนใหญ่ มีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้องทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น อาหารรสเค็ม เชื้อชาติ มีเพียงส่วนน้อย (ต่ำกว่าร้อยละ 5) ที่ทราบสาเหตุ ได้แก่ ความผิดปกติของหลอดเลือด ไตวาย หรือ เนื้องอกบางชนิด ความดันโลหิตสูงได้ชื่อว่าเป็น “ฆาตกรเงียบ” เนื่องจากผู้ที่เป็นส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติ ไม่ทราบว่าตัวเองมีความดันโลหิตสูง บางรายแม้จะทราบดีว่าตัวเองเป็นความดันโลหิตสูงแต่กลับละเลยไม่ใส่ใจรักษาอย่างต่อเนื่องเพราะรู้สึกปกติ สบายดี ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่างๆ ตามมาภายหลัง มีส่วนน้อยที่มีอาการปวดศีรษะ มึนศีรษะ


ทำไมต้องลดความดันโลหิต ?


     การปล่อยให้ความดันโลหิตสูงอยู่เป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง โดยเฉพาะหลอดเลือดเลี้ยงสมอง ตา หัวใจ และไต จึงทำให้หลอดเลือดสมองแตก หรือตีบตัน เป็นอัมพาต ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โรคหัวใจขาดเลือด ไตวายเรื้อรัง เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วความดันโลหิตสูงยังทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น นานเข้าก็จะเกิดภาวะหัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจหนา ซึ่งอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายตามมาได้ ดังนี้แล้วจะเห็นได้ว่าการละเลยไม่สนใจรักษาโรคนี้ก็จะมีโทษต่อตนเองในอนาคตได้มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแต่เป็นภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่สามารถป้องกันได้โดยการควบคุมความดันโลหิต


ทำไมต้องกินยาลดความดันหลายตัว?
 
     มีหลายท่านสงสัยว่าทำไมบางคนกินยาลดความดันชนิดเดียว บางคนกินตั้งหลายชนิด บ้างก็ 2 บ้างก็ 3 บ้างก็ 4 คุณหมอพิจารณาจากอะไร อันนี้มีคำตอบ คุณหมอไม่ได้ให้แบบไร้เหตุผลหรอกนะคะ ดิฉันจะเล่าให้ฟังคร่าวๆ ถึงหลักการให้ยาลดความดันโลหิต ดังนี้


      • การเลือกชนิดของยาความดันโลหิตสำหรับแต่ละรายขึ้นกับหลายปัจจัย ได้แก่ ระดับความดันโลหิตของคนผู้นั้นขณะได้รับการวินิฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูง โรคที่เป็นร่วมด้วยในขณะนั้น ความทนได้ต่อยา สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ป่วย
     • เลือกให้ยาที่ออกฤทธิ์ครอบคลุมได้ 24 ชั่วโมง จะได้กินยาเพียงวันละครั้ง ไม่ลืมกินยา และควบคุมความดันได้สม่ำเสมอทั้งวัน
     • เริ่มให้ยาขนาดต่ำเพียง 1 ชนิด และถ้าผู้นั้นสามารถทนต่อยาได้ดีจึงจะเพิ่มขนาดยาเป็นขนาดกลาง และให้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนที่จะปรับขนาดยาขึ้น เพื่อรอให้ผลลดความดันโลหิตจากยาแต่ละขนาดเกิดขึ้นอย่างเต็มที่เสียก่อน
     • กรณีที่ความดันโลหิตของคนๆ นั้นยังไม่ลดลงตามต้องการ อาจเปลี่ยนกลุ่มยา หรือเพิ่มขนาดยา หรือเสริมยาตัวที่สองในขนาดต่ำเข้าไปอีก โดยการเลือกยาตัวที่สองจะต้องช่วยเสริมฤทธิ์ยาตัวแรก โดยที่ไม่เกิดอาการข้างเคียงจากยาเพิ่มขึ้น หรือเกิดน้อยที่สุด


     จะเห็นได้ว่าการให้ยาสำหรับผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงแต่ละรายอาจเหมือนหรือต่างกันไปตามความเหมาะสม และการตอบสนองต่อยาของผู้นั้นเอง ดังนั้นคุณไม่ควรเปรียบเทียบว่าทำไมได้รับยาไม่เท่าเทียมกัน และไม่ควรนำยาของตนไปให้คนอื่นกินโดยเด็ดขาด


     จากรายละเอียดทั้งหมดที่ได้กล่าวไปคงเป็นคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า “ต้องกินยาลดความดันโลหิตสูงถึงเมื่อไหร่?” ได้แล้วนะคะ หากท่านรู้สึกไม่อยากกินยา เบื่อหน่ายกับการกินยาตลอดชีวิต ให้จำไว้ว่า การรักษาความดันโลหิตสูงในวันนี้ คือการซื้อประกันสุขภาพ เพื่อที่จะลดโอกาสเกิดผลแทรกซ้อนร้ายแรงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตลงให้มากที่สุดนั่นเอง


Tips


• ความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุ การกินยาเป็นเพียงการรักษาที่ปลายเหตุ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาตลอดไป ถ้าหากหยุดยาความดันโลหิตอาจกลับมาสูงอีกได้


• การรักษาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การไม่ใช้ยา กับการใช้ยา การไม่ใช้ยาหมายถึงการลดน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดบุหรี่ และหลีกเลี่ยงอาหารเค็ม ในผู้ที่ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย อาจเริ่มการรักษาโดยไม่ใช้ยา แต่หากมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิด โรคหัวใจอยู่ด้วยก็อาจจำเป็นต้องใช้ยาร่วมด้วย


•การรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตลอดเวลาเป็นระยะเวลานานจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกทางสมอง หัวใจ ไต และหลอดเลือดได

• เนื่องจากผู้ที่เป็นส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติ แม้ความดันโลหิตจะสูงมากๆ ก็ตาม ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้อาการมาพิจารณาว่าวันนี้จะกินยาดีหรือไม่ เช่น วันนี้รู้สึกสบายดีจะไม่กินยา ทำเช่นนั้นไม่ได้นะคะ


• ปัจจุบันมียาลดความดันโลหิตอยู่หลายกลุ่ม กลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกันไป ราคาก็แตกต่างกันไป ตั้งแต่เม็ดละ 50 สตางค์ ไปจนถึง 60 บาท แต่ราคายาไม่ใช่แปรผันตามคุณภาพยา ขึ้นกับการตอบสนองต่อยาของแต่ละคน ยาลดความดันโลหิตที่ดีควรจะออกฤทธิ์ช้าๆ ไม่ทำให้ความดันโลหิตแกว่งขึ้นลงมากจนเกินไป สามารถควบคุมความดัน โลหิตได้ดีตลอด 24 ชั่วโมงโดยการกินเพียงวันละครั้ง มีผลข้างเคียงน้อย แต่น่าเสียดายว่ายังไม่มียาใดที่วิเศษขนาดนั้น เนื่องจากยาทุกตัวล้วนก็มีข้อดี ข้อเสีย และผลข้างเคียงทั้งสิ้น อย่าลืมว่าการปล่อยให้ความดันโลหิตสูงอยู่นานๆก็เป็นผลเสียร้ายแรงเช่นกัน จึงควรติดตามการรักษาโดยการวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ ไม่ควรซื้อยากินเอง หากมี ผลแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์ท่านเดิมเพื่อปรับเปลี่ยนยา ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์ไปเรื่อยๆ เพราะทำให้การรักษาไม่ต่อเนื่อง


• นอกจากการกินยาแล้ว การควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้ผ่องใส งดอาหารเค็ม ก็จะช่วยให้ควบคุมความดันโลหิตได้ดียิ่งขึ้น


 






ข้อมูลจาก//www.healthtoday.net/thailand/pharmacy/pharmacy_70.html
กรอบสวยจากคุณ lozocat



loaocatloaocat







Create Date : 11 ตุลาคม 2554
Last Update : 11 ตุลาคม 2554 9:33:07 น. 0 comments
Counter : 4308 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
11 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.