อธิปไตย ๓ ตามพุทธประสงค์

อธิปไตยสูตร


[๔๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลายอธิปไตย ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน

คืออัตตาธิปไตย ๑ โลกาธิปไตย๑ ธรรมาธิปไตย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายก็

อัตตาธิปไตยเป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี อยู่

โคนไม้ก็ดีอยู่ในเรือนว่างก็ดีย่อมสำเหนียกดังนี้ว่าก็เราออกบวชเป็นบรรพชิต

ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวรไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาตไม่ใช่เพราะเหตุแห่ง

เสนาสนะเราออกบวชเป็นบรรพชิตไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมีและความไม่มี

เช่นนั้นก็แต่ว่า เราเป็นผู้อันชาติชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส

อุปายาสครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้วมีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉน

ความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏก็การที่เราจะพึงแสวงหากามที่ละ

ได้แล้วออกบวชเป็นบรรพชิตนั้นเป็นความเลวทรามอย่างยิ่งข้อนั้นไม่เป็นการ

สมควรแก่เราเลยเธอย่อมสำเหนียกว่าก็ความเพียรที่ปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน

สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจะไม่หลงลืมกายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสายจิตที่

เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ดังนี้ เธอทำตนเองแลให้เป็นใหญ่แล้วละ

อกุศลเจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษเจริญกรรมที่ไม่มีโทษบริหารตนให้บริสุทธิ์

ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่าอัตตาธิปไตย ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลายก็โลกาธิปไตยเป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดีอยู่ในเรือนว่างก็ดีย่อมสำเหนียกว่า

ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิตไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวรไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต

ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะเราออกบวชเป็นบรรพชิตไม่ใช่เพราะเหตุแห่ง

ความมีและความไม่มีเช่นนั้นก็แต่ว่า เราเป็นผู้อันชาติชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้วชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้วมีทุกข์

ท่วมทับแล้วไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏก็การที่เราออก

บวชเป็นบรรพชิตเช่นนี้พึงตรึกกามวิตกก็ดีพึงตรึกพยาบาทวิตกก็ดีพึงตรึก

วิหิงสาวิตกก็ดีก็โลกสันนิวาสนี้ใหญ่โตในโลกสันนิวาสอันใหญ่โตย่อมจะมี

สมณพราหมณ์ที่มีฤทธิ์มีทิพยจักษุ รู้จิตของคนอื่นได้สมณพราหมณ์เหล่านั้น

ย่อมมองเห็นได้แม้แต่ไกลแม้ใกล้ๆ เราก็มองท่านไม่เห็นและท่านย่อมรู้ชัด

ซึ่งจิตด้วยจิตสมณพราหมณ์แม้เหล่านั้นก็พึงรู้เราดังนี้ว่าดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย

ดูกุลบุตรนี้ซีเขาเป็นผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตแล้วแต่เกลื่อนกล่นไปด้วย

ธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ถึงเทวดาที่มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุรู้จิตของคนอื่นได้ก็มีอยู่

เทวดาเหล่านั้นย่อมมองเห็นได้แต่ไกลแม้ใกล้ๆ เราก็มองท่านไม่เห็นและท่าน

ย่อมรู้ชัดซึ่งจิตด้วยจิตเทวดาเหล่านั้นก็พึงรู้เราดังนี้ว่าดูกรท่านผู้เจริญ

ทั้งหลายดูกุลบุตรนี้ซีเขาเป็นผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตแล้วแต่เกลื่อน

กล่นไปด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่เธอย่อมสำเหนียกว่าความเพียรที่เรา

ปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อนสติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจักไม่หลงลืมกายที่สงบระงับ

แล้วจักไม่ระส่ำระสายจิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ดังนี้ เธอทำโลก

ให้เป็นใหญ่แล้วละอกุศล เจริญกุศลละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มี

โทษบริหารตนให้บริสุทธิ์ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่าโลกาธิปไตย


ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ธรรมาธิปไตยเป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดีอยู่ในเรือนว่างก็ดีย่อมสำเหนียกว่า ก็

เราออกบวชเป็นบรรพชิตไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวรไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต

ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะเราออกบวชเป็นบรรพชิตไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความ

มีและความไม่มีเช่นนั้นก็แต่ว่าเราเป็นผู้อันชาติชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัสอุปายาส ครอบงำแล้วชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ท่วมทับแล้วไฉนความทำที่สุด

แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วอันบุคคล

พึงเห็นเองไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดูควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน

จะพึงรู้เฉพาะตนก็เพื่อนสพรหมจารีผู้ที่รู้อยู่เห็นอยู่ มีอยู่แลก็และการที่เราได้ออก

บวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วจะพึงเป็นผู้เกียจ

คร้านมัวเมาประมาทอย่างนี้ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลยดังนี้ เธอย่อม

สำเหนียกว่าก็ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อนสติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้ว

จักไม่หลงลืมกายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสายจิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมี

อารมณ์แน่วแน่ดังนี้ เธอทำธรรมนั่นแหละให้เป็นใหญ่แล้วละอกุศล เจริญ

กุศลละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษบริหารตนให้บริสุทธิ์ดูกรภิกษุ

ทั้งหลายนี้เรียกว่าธรรมาธิปไตยดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย๓ อย่างนี้แล ฯ


ขึ้นชื่อว่าความลับไม่มีในโลกสำหรับผู้ทำบาปกรรม ดูกร

บุรุษจริงหรือเท็จ ตัวของท่านเองย่อมจะรู้ได้แน่ะผู้เจริญ

ท่านสามารถที่จะทำความดีได้หนอแต่ท่านดูหมิ่นตนเองเสีย

อนึ่งท่านได้ปกปิดความชั่วซึ่งมีอยู่ในตนท่านนั้นซึ่งเป็นคน

พาลประพฤติตึงๆ หย่อนๆอันเทวดาและพระตถาคต

ย่อมเห็นได้เพราะฉะนั้นแหละ คนที่มีตนเป็นใหญ่ควรมีสติ

เที่ยวไปคนที่มีโลกเป็นใหญ่ควรมีปัญญาและเพ่งพินิจ

และคนที่มีธรรมเป็นใหญ่ควรเป็นผู้ประพฤติโดยสมควรแก่

ธรรมมุนีผู้มีความบากบั่นอย่างจริงจังย่อมจะไม่เลวลง อนึ่ง

บุคคลใดมีความเพียรข่มขี่มาร ครอบงำมัจจุผู้ทำที่สุดเสีย

ได้แล้วถูกต้องธรรมอันเป็นที่สิ้นชาติบุคคลผู้เช่นนั้น ย่อม

เป็นผู้รู้แจ้งโลกมีเมธาดี เป็นมุนี ผู้หมดความทะยานอยาก

ในธรรมทั้งปวงฯ


อังคุตตรนิกายติกกนิบาต ๒๐
/๔๗๙




Create Date : 12 กันยายน 2558
Last Update : 12 ตุลาคม 2558 10:24:04 น.
Counter : 982 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
กันยายน 2558

 
 
4
5
6
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
22
23
24
25
26
27
28
 
 
All Blog