การเสวยวิมุติสุข ในสัปดาห์ แรก ของพระพุทธเจ้า


พุทธอุทานคาถา๑

Wednesday,July 6, 2016

5:40 PM

สุตฺตนฺตปิฏเก ขุทฺทกนิกายสฺส

อุทานํ

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

ปฐโม โพธิวคฺโค

[๓๘] ๑ เอวมฺเม สุตํ ฯ เอกํ สมยํ ภควา อุรุเวลายํ วิหรติ นชฺชา เนรญฺชราย ตีเร โพธิรุกฺขมูเล ฐมาภิสมฺพุทฺโธ ฯ เตน โข ปน สมเยน ภควา สตฺตาหํ เอกปลฺลงฺเกน นิสินฺโน โหติ วิมุตฺติสุขํ

ปฏิสํเวที ฯ อถ โข ภควา ตสฺสสตฺตาหสฺส อจฺจเยน ตมฺหา สมาธิมฺหาวุฏฺฐหิตฺวา รตฺติยา ปฐมํ ยามํ ปฏิจฺจสมุปฺปาทํอนุโลมํ สาธุกํ มนสากาสิ อิติ อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ อิมสฺสุปฺปาทา

อิทํ อุปฺปชฺชติ ยทิทํ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ

นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส ผสฺสปจฺจยา เวทนา เวทนาปจฺจยา ตณฺหา ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ อุปาทานปจฺจยา ภโว ภวปจฺจยา ชาติ ชาติปจฺจยาชรามรณํ

โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ เอวเมตสฺส เกวลสฺสทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหตีติ ฯ อถ โข ภควา เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ตายํ เวลายํ อิมํ อุทานํ อุทาเนสิ

ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา

อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส

อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา

ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมนฺติ ฯ

สุตฺตํ ปฐมํ ฯ

โพธิวรรคที่ ๑

โพธิสูตรที่ ๑

[๓๘]ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ๆประทับอยู่ที่โคนไม้โพธิ์ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแลพระผู้มีพระภาคประทับนั่งเสวยวิมุติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียวตลอด ๗ วัน ครั้งนั้นแลพอสัปดาห์นั้นล่วงไปพระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสมาธินั้น ได้ทรงมนสิการ

ปฏิจจสมุปบาทอันเป็นอนุโลมด้วยดีตลอดปฐมยามแห่งราตรี ดังนี้ว่าเมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด คือเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนาเพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหาเพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทานเพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพเพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและ อุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้ ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้วได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานี้ว่า

ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฎแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ ใน

กาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไปเพราะมารู้แจ้ง

ธรรมพร้อมด้วยเหตุ ฯ

จบสูตรที่ ๑

[๓๙] ๒ เอวมฺเม สุตํ ฯ เอกํ สมยํ ภควา อุรุเวลายํ วิหรติ นชฺชา เนรญฺชราย ตีเร โพธิรุกฺขมูเล ปฐมาภิสมฺพุทฺโธฯ เตน โข ปน สมเยน ภควา สตฺตาหํเอกปลฺลงฺเกน นิสินฺโน โหติ วิมุตฺติสุขํ

ปฏิสํเวที ฯ อถ โข ภควา ตสฺส สตฺตาหสฺส อจฺจเยน ตมฺหา สมาธิมฺหา วุฏฺฐหิตฺวา รตฺติยา มชฺฌิมํ ยามํ ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ ปฏิโลมํ สาธุกํ มนสากาสิ อิติ อิมสฺมึ อสติ อิทํน โหติ อิมสฺส นิโรธา อิทํนิรุชฺฌติ ยทิทํ อวิชฺชานิโรธา สงฺขารนิโรโธ สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ วิญฺญาณนิโรธา

นามรูปนิโรโธ นามรูปนิโรธาสฬายตนนิโรโธ สฬายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ ตณฺหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ

ภวนิโรธา ชาตินิโรโธชาตินิโรธา ชรามรณํ โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหตีติ ฯ อถ โข ภควา เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ตายํ เวลายํ

อิมํ อุทานํ อุทาเนสิ

ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา

อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส

อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา

ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทีติ ฯ

ทุติยํ ฯ

โพธิสูตรที่ ๒

[๓๙]ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ๆประทับอยู่ที่โคนไม้โพธิ์ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแลพระผู้มีพระภาคประทับนั่งเสวยวิมุติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียวตลอด ๗ วันพอล่วงสัปดาห์นั้นไป พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสมาธินั้นแล้วทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทอันเป็นปฏิโลมด้วยดี ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรีดังนี้ว่าเมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือพระอวิชชาดับสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับเพราะนามรูปดับสฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับเพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับอุปาทาน จึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับเพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ ฯลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานในเวลานั้นว่า

ในกาลใดแลธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ ในกาล

นั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไปเพราะได้รู้แจ้ง

ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย ฯ

จบสูตรที่ ๒

[๔๐] ๓ เอวมฺเม สุตํ ฯ เอกํ สมยํ ภควา อุรุเวลายํ วิหรติ นชฺชา เนรญฺชราย ตีเร โพธิรุกฺขมูเลปฐมาภิสมฺพุทฺโธ ฯ เตน โข ปน สมเยน ภควา สตฺตาหํเอกปลฺลงฺเกน นิสินฺโน โหติ วิมุตฺติสุขํ ปฏิสํเวที ฯ อถโข ภควา ตสฺส สตฺตาหสฺส อจฺจเยน ตมฺหาสมาธิมฺหา วุฏฺฐหิตฺวา รตฺติยา ปจฺฉิมํ

ยามํ ปฏิจฺจสมุปฺปาทํอนุโลมปฏิโลมํ สาธุกํ มนสากาสิ อิติ อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ อิมสฺสุปฺปาทา

อิทํ อุปฺปชฺชติ อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ ยทิทํ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ วิญฺญาณปจฺจยานามรูปํ นามรูปปจฺจยา สฬายตนํสฬายตนปจฺจยา ผสฺโส ผสฺสปจฺจยาเวทนา เวทนาปจฺจยา ตณฺหา ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ อุปาทานปจฺจยา ภโว ภวปจฺจยา ชาติ ชาติปจฺจยาชรามรณํ โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสาสมฺภวนฺติ เอวเมตสฺส

เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺสสมุทโย โหติ ฯ อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ วิญฺญาณนิโรธา นามรูปนิโรโธ นามรูปนิโรธา สฬายตนนิโรโธสฬายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ ผสฺสนิโรธาเวทนานิโรโธ เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ ตณฺหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ ชาตินิโรธา ชรามรณํโสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหตีติ ฯ อถ โข ภควา เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ตายํ เวลายํ อิมํ อุทานํ อุทาเนสิ

ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา

อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส

วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ

สุริโยว โอภาสยมนฺตลิกฺขนฺติ ฯ

ตติยํ ฯ

โพธิสูตรที่ ๓

[๔๐]ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ๆประทับอยู่ที่โคนไม้โพธิ์ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชราที่ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแลพระผู้มีพระภาคประทับนั่งเสวยวิมุติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียวตลอด ๗ วัน ครั้งนั้นแลพอล่วงสัปดาห์นั้นไปพระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสมาธินั้นแล้ว ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาททั้งอนุโลมและปฏิโลมด้วยดีตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ดังนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มีเพราะสิ่งนี้เกิดสิ่งนี้จึงเกิด เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับสิ่งนี้จึงดับคือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูปเพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะเพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหาเพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติเพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้เพราะอวิชชานั้นแลดับโดยสำรอกไม่เหลือ สังขารจึงดับเพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับเพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับสฬายตนะจึงดับเพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับเพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับเพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับเพราะภพดับชาติจึงดับเพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้วได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ ในกาล

นั้น พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนามารเสียได้ ดุจพระอาทิตย์

กำจัดมืดส่องแสงสว่างอยู่ในอากาศฉะนั้น ฯ

จบสูตรที่ ๓




Create Date : 06 กรกฎาคม 2559
Last Update : 8 กรกฎาคม 2559 13:44:24 น.
Counter : 940 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
กรกฏาคม 2559

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
9
11
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog