ย้อนอ่านมหาเวสสันดรชาดก

คนตาดีแต่ใจบอด ..ห้ามอ่าน!



“พระเวสสันดรชาดก”นับได้ว่า เป็นพระคัมภีร์ชาดกเรื่องสุดท้าย ในวรรณกรรมบาลีชาดก ฝ่ายพระสูตร ในพระพุทธศาสนาเถรวาทของไทยๆ เรานี่ ที่สำคัญมากที่สุดคือ เป็นชาดกที่ถูกคนในยุควิทยาศาสตร์เฟื่องฟูเข้าใจผิดจนถึงถูกด่ามากที่สุด โดยเฉพาะลูกหลานคนไทยในยุคเกมโชว์รุ่งเรืองในรายการเหล่านั้นถ้าถูกถามเรื่องของไทยและพระพุทธศาสนาเด็กไทยเหล่านั้น กล่าวได้ว่าแทบหาได้น้อยมาก ที่จะตอบคำถามได้ ซึ่งรับรองว่า เป็นทีเด็ดของผู้จัดรายการๆ ไหนรายการณ์นั้น น้องๆหลานๆ ที่ไม่ออกรายการ เจอคำถามแนวมรดกไทยทั้งทางวัถตุและจิตใจและภูมิปัญญาไทยของบรรพชนตนเอง รับรองเมื่อไหร่เมื่อนั้นอดได้รางวัลใหญ่ ไปเสียทุกครั้งไป ทั้งน่าสนุกสนาน ตลกขบขันแก่คนทุกฝ่ายที่ชมทางบ้านและที่สถานีแต่ในเวลาเดียวกันก็น่าสังเวชไปในตัวด้วย รากแท้ของปู่ย่าตายายเอกลักษณ์ –อัตตลักษณ์ ทางวัฒนธรรมอันงดงามวิจิตรล้ำลึกของชาติไทยเรา ขอโทษ แม้แต่คุณพ่อ– คุณแม่ของน้อง ๆ เหล่านั้น เช่นกับผู้เขียนคำถามเช่นนั้น ยังตอบไม่ได้เสียเอง แล้วต่อไป แผ่นดิน ที่ซุกหัวนอนจะยังคงอยู่ให้เราใดอาศัยต่อไปดังเช่นที่แล้วมาอย่างไรได้


ด้วยทิพยญาณของเหล่าบุรพชนไทยกอปรด้วยหัวใจที่ห่วงใยแผ่นดินและมรดกอันล้ำเลอค่าทั้งหลายอย่างไรไม่ทราบได้ ด้วยท่านเกรงว่าต่อในภายหน้าลูกไทย –หลายไทย จักมืดบอด เบาปัญญาไม่สามารถรักษาสมบัติที่ท่านรักษ์และแลกมาด้วยชีวิตเลือด เนื้อ เอาไว้ไม่ได้ โดยเฉพาะ “พระเวสสันดรชาดก”ท่านจึงได้ผูกตำนาน เรื่องพระมาลัย ขึ้นมา


พระมาลัยหรือ พระกษิติครรภ์ มหาโพธิสัตว์ในบัดนั้น และตราบจนสัตว์ในนรกในภายหน้า จักอาจเข้าสู้อำมฤตมหานฤพานจนหมดสิ้นไซร้ท่านจึงจักสามารถชำระมหาปณิธานของท่านให้สมบูรณ์ได้แล้ว จึ่งท่านก็จักเสด็จสู่แดนอำมฤตเป็นคนสุดท้าย พระมาลัย รูปนี้แหละที่ได้ ดำเนินด้วยทิพยกายไปกราบณ เบื้องบาทพระศรีอาริยเมตไตยพระมหาสัตว์ –พระโพธิสัตว์ บนดุสิตสวรรค์ ทูลถามพระศรีอาริ์ยว่า ต่อไปในภายหน้า มนุษย์ผู้ใดปรารถนาจักไปเกิดในยุคสมัยอันร่มเย็นใต้เบื้องโพธิสมภารของท่านคือ ยุคที่ ๕ ยุคสุดท้ายแห่งภัทรกัปป์นี้ จักต้องสมาทาน ซ้องเสพในมรคจรรยาใดฦๅฯ


พระสันดุสิตเทวราชมหาสัตว์ –โพธิสัตว์ พระองค์นั้นเมื่อได้ฟังปุจฉาจากพระมหาเถระแล้ว ก็เปล่งสุรสีหนาท เสียงหัวเราะอย่างพอพระทัยดังกึงก้องกัปนาทไปทั้วท้องอนันตจักรวาลแล้วดำรัสวิสัชนาพยากรณ์เป็นใจความสืบไปว่าให้พากันฟังเทศน์มหาชาติคือ พระเวสสันดรชาดก ครบถ้วนทั้งสิบสามกัณฑ์ หนึ่งพัน พระคาถาให้จบภายในวันเดียวมโนรถปณิธานปรารถนาที่ตั้งไว้ดังปุจฉามา ก็จักพึงสำเร็จฯ


เป็นที่ประหลาดว่าเรื่องพระมาลัยตอนนี้ ไม่มีปรากฏในภาษา-วัฒนธรรมใดอื่นใด เลยนอกจากในภาษาไทย-วัฒนธรรมไทยของเรานี้เท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้จากประเพณีเทศน์มหาชาติก็มีอยู่แต่ในประเทศไทยเรามาแต่ต้นเท่านั้น เท่าที่อยู่ในสติปัญญาอันน้อยนิดของผู้เขียนมีอยู่ ตำนาน อันลึกซึ้งแยบยลเรื่องนี้ไม่เคยมีมาก่อนเลยในบรรดาประเทศอื่นใด ที่ประดิษฐพระพุทธศาสนามาแต่เก่าก่อน นับแต่พุทธปรินิพพานล่วงมา นอกจาก ประเทศไทย เรานี้เท่านั้น


สาระสำคัญและ บทวิเคราะห์ ของ“พระเวสสันดรชาดก” ก็มีว่าพระมหาสัตว์ –โพธิสัตว์ พระองค์นี้ ผู้ที่ได้มาเป็นพระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ของเราในเวลานี้ได้ประสูติ มาเป็นพระเวสสัตรกุมารในเวลานั้น โดยได้ตั้งมหาปณิธานอันยิ่งยวดกว่าพระชาติใด ว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ชื่อว่า เป็นสิ่งของ เลือดเนื้อ อวัยวะ สัตว์ชาย หญิง ใด และ กระทั่งพระชนม์ชีพของพระองค์หากมีผู้ใดมาทูลขอ พระองค์จะสละปริจาค เป็นมหาทานาทิบารมี ด้วยพระทัยปราโมทยินดียิ่ง เพื่อพลีอุทิศ แด่สร้อยสรรเพ็ชญพุทธภูมิในภายหน้าของพระองค์เพื่อพระองค์จักสามารถข่นสัตว์ทั่วทั้ง๓ ภพประสบสุขสู่พระนฤพาน อันเป็นบรมสุข ได้โดยพลัน ตั้งแต่วันนั้นมา ก็มาเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น เพื่อทดสอบสัตยธิษฐานของพระองค์ว่า แน่วแน่จริงแท้เพียงใด กล่าวได้ว่า สุดที่มนุษย์ใดจะทำได้โดยง่าย


ในจำนวนนั้นก็มี ช้างปัจจัยนาค เชือกหนึ่งที่เกิดมาวันเดียวกับพระองค์เป็นช้างคู่พระบารมีถ้าไม่มีพระองค์ ก็ไม่มีช้างต้นเชือกนี้ ช้างเชือกนี้ มีความพิเศษคือ กาลใดที่แคว้นใดเมืองใด ได้ครอบครองช้างต้นเชือกนี้ กาลนั้น เมืองนั้นฟ้าฝนจะตกต้องลงมาบริบูรณ์สมบูรณ์สมตามฤดูกาลเป็นเหตุให้ การเกษตร –การค้า –เศรษฐกิจ –สังคม ทุกๆ ด้านของเมืองนั้น สมบูรณ์บริบูรณ์ไปด้วย อาณาประชาราษฎรก็ผาสุกร่วมเย็นกันทั่วฟ้าหน้าใสด้วยประการ ฉะนี้


ความลึกซึ้งแยลยลถึงที่สุดที่ต้องสังเกตในเรื่องนี้ที่จำเป็นต้องขยายให้เข้าใจในชั้นนี้ ประการหนึ่ง คือความสมบูรณ์พูนสุข สมบัติตักไม่พร่อง แน่นอนย่อมต้องมาจาก การขยันหาเก็บ บริหารจัดการอย่างรอบคอบไม่น้อยเลยคือ เป็นปัจจุบันเหตุเป็นกรรมในปัจจุบัน ที่ต้องทำเฉพาะหน้า จะมามัวโทษกรรมเก่าความด้อยวาสนาของตนอย่างเดียวงอมืองอเท้า รอฟ้ามาโปรดเฉยๆ นั้นมิชอบ แต่นั่น ใครๆก็เข้าใจได้ โดยเฉพาะในกรณีคือ ผิ ว่า แท้จริงแล้ว ในกรุงสีพี ตั้งแต่วันแรกที่พระราชกุมารเวสสันดรเกิด มีใครจะรู้บ้างว่า ทั่วฟ้าหน้าใสเป็นต้นนั้น มีเหตุปัจจัยที่ลึกซึ้งแฝ้งอยู่อย่างแยบยล นั่น คือ กุศล –บุญ –สมภารบารมี ที่พระมหาบุรุษพระองค์นี้สร้างสมมา นับประมาณไม่ได้ด้วยสติปัญญาของอริยอรหันต์หรือ แม้แต่พระปัจเจกพุทธเจ้าประสาอะไรกับสติปัญญาของเราท่านจะนับประมาณได้ นั้นเอง เพราะการทำให้บ้านเมืองร่มเย็นฯลฯ ทุกสิ่งที่เกื้อกูลแก่ประชาชนในนครนั้นรวมทั้ง ช้างปัจจัยนาคเชือกนี้ด้วย ก็เนื่องเพราะบุญของพระเวสสันดรพามาทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องอื่นหรือ สิ่งอื่นในบันดาลเลยดังเช่น ประเทศไทยในบัดนี้ หากมิใช่ บุญของคนไทย ไฉนเลยในหลวง ร.๙จะเสด็จจากฟ้ามาสู่ดินนำความร่มเย็นร่มเกล้ามาสู่ชาวเราได้ยาวนานเพียงนี้


ดังนั้นจะให้ชาวสีพีและคนไทยคนใดหากปราศจากบุญญาธิสมภารบารมีอันเอนกอนันต์ที่ใครในสามภพจบฟ้าดินจะเทียมเท่า ของบรรพมหาราชาทุกพระองค์ แต่อดีตมา ถึงปัจจุบัน ไฉนเลย ไพร่ฟ้าประชาชี ทั้งของสีพี และ ไทย จะเสพเสยสุขราวกับทิพยวิมานบนดิน บนแผ่นดินสีพีและแผ่นดินไทย มาได้ทุกวันนี้


วันดีคืนดี ด้วยคำกล่าวอ้างว่าบ้านเมืองของตน เกิดขาดแคลนอาหารฟ้าฝนไม่ตกเลย ประชาชนแทบขาดใจ คณะฑูตจากต่างเมืองจึงมาทูลขอปัจจัยนาเคนทร์จาก พระเวสสันดร พระยุพราชแห่งสีพีนครไปสู่นครของตน แน่นอนด้วยความด้อยด้วยปัญญาของปุถุชนคนธรรมดา ใครจะไปยอมให้ แต่ใคร่ครวญเอาเถิด ปกติเมื่อมีผู้ตกทุกข์ได้ยากมา นอบน้อมขอเศษเงิน เศษอาหารด้วยใจจริง ทั้งเราผู้จะให้ ก็สังเกตพิเคราะห์ดูจนรอบคบถึงความเป็นจริงที่ปรากฏและสิ่งแวดล้อมแล้ว เขาหิว –เขาทุกข์มาจริงๆและเราก็มีเหลือกินใช้ไม่หมดอยู่แล้ว เศษอาหาร -เศษเงินเป็นมื้อเป็นคราวแค่นี้ เราจักให้สงเคราะห์– อนุเคราะห์เป็นกุศลทาน มิได้กระนั้นหรือ ที่สำคัญคือ “น้ำใจ –ไมตรี” ต่างหากที่เป็นอนันตทรัพย์– อนันตโภช ที่ท่านหยิบยื่นให้ อาคันตุกะแปลกหน้า ไม่ใช่สาโลหิต คนนี้ ที่สำคัญกว่าและยิ่งใหญ่ประเมินค่าบ่ ห่อนไหว มิหน่ำซ้ำ อะไรที่เรามีในวันนี้ มันก็ไม่ได้อยู่กับเราตลอดไป และสิ่งที่ไม่เคยเกิดปรากฏมาเลยในโลก ที่ประหลาดพิศดารพันลึกวิจิตรต่างแม้ในอดีต มันก็ทะลึ่งเกิดขึ้นมีขึ้นมาในปัจจุบัน ประสาอะไร กับยาจกเข็ญใจ ที่ไม่ธรรมดาคนนั้น จะกลายเป็นคฤหบดีธรรมดาได้กับเข้าคนหนึ่งเท่ากับเรา หรือ ร่ำรวยกว่าเราไม่ได้ ในภายหน้า แล้วต่อไป หากมิใช่เราที่อาจจะต้องไปขอทานบ้างในอนาคต แต่เป็นลูกหลานของเราล่ะ ที่ต้องเป็นยาจกเข็ญใจเสียเอง ท่านไม่เฉลียวคิดดูในข้อบ้างนี้หรือ


ยิ่งกว่านั้น ในระดับการเมืองระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวเนื่องกันในโลก อย่างซับซ่อน มีประชาชน ที่ต้องรับชะตากรรม ในรุ่นเราไม่ใช่แค่ หลายล้าน และที่จะมีมาในอนาคตอีก แค่ในประเทศๆ เดียว เท่านั้นอีกต่อ ๆไป ถ้าเกิดอะไรเสียหายแก่เขาเหล่านี้ เราผู้บริหารประเทศที่ปัญญาน้อยจำนวนหนึ่ง รับจ้างเงินราษฎรทำงานให้แก่ส่วนร่วม เอาว่า อย่างสุจริตเท่านั้น ไม่รวมที่กอบโกบฉ้อโกงไปอย่างไม่ชอบอีก ในเวลาสมัยละสี่ปี อย่างมากรวมกันเบ็ดเสร็จ ไม่น่าจะเกินสองสามแสนล้านล้านบาทที่ฉ้อโกงไปได้ ถ้าจะมีใครสามาณย์ได้เพียงนั้น ในศักราชนี้ จะมีใครคนใดคณะใด กล้าแบบรับอานิสงส์ผลแห่งวีรกรรมอันโฉดเขล่าเพียงกระจิ๊ดริด ที่ท่านก่อขึ้น ทิ้งไว้ให้เป็นอัปมงคลแก่บ้านเมืองเพียง สามสี่ปี ที่ตนอยู่ในตำแหน่ง


เท่านั้นยังธรรมดาไป และไม่ต้องมี ชาดกฯ เรื่องนี้ ให้เมื้อยพระโอษฐ์เปล่า ความศรัทธามั่นแน่วแน่ อย่างที่พระอริยบุคคลจักประมาทมิได้เลยของพุทธศาสนิกชน ต่อพระโพธิญาณ อันเที่ยงแท้ยิ่งใหญ่สะเทินฟ้า –สะเทือนดิน ของสมเด็จพระบรมนาถจอมไตรสรรเพ็ชญพุทธบิดร นี่ต่างหากเล่า ที่เป็นเป้าประสงค์ในพระบรมพุทโธวาททั้ง ๑๓ กัณฑ์ นี้ ที่ทรงสอนว่า ทาน คือ เจตนาความหวังดีกอปรด้วยปัญญาไตร่ตรองอย่างรอบด้าน๑ อาการที่ให้โดยเคารพหนึ่ง๑ วัตถุ (อามิส) คำชี้แนะตักเตือนที่เหมาะควร (ธรรมะ)หรือผลงาน (ปฏิบัติ)แม้แต่ความเห็นแก่ตัว (อัตตาและ อัตตนิยา )สิ่งที่ถูกนำไปมอบหรือสละให้ซึ่งได้มาโดยชอบธรรม ๑อาการที่รับด้วยใจจริง กอปรด้วยสำนึกขอบคุณและจิตคาวระของคนที่ได้รับทานนั้น ๑คุณธรรมสูงส่ง ใช่ชาติกำเนิดของผู้ที่มีค่าควรแก่ทานนั้น๑ ทั้งหมดนี้ ครบถ้วนเมื่อใดในท่ามกลางหมู่คณะ ครอบครัวหรือ บุคคลสองคนใดขึ้นไป ความผาสุกสงบร่มเย็น ทั้งที่เป็นของมนุษย์เห็นได้ด้วยตาและไม่ได้ด้วยตาในชาตินี้ ๑ ทั้งที่เป็นความสุขของทิพย์เห็นได้ และ ไม่ได้ด้วยตาอันจะตามติดไปทุกชาติ ๑แม้ที่ สุด คือ กิเลสตัณหาในการให้ ที่ไม่ต้องการสิ่งตอบแทนถ้าเสียสละ “ถูกต้อง”แม้แต่นิพพานสมบัติ หรือบรมสุข ขณะมีชีวิต ก็ตามแม้ดับสังขารไป คือ ตาย(แบบของพระอรหันต์)ก็ตาม๑ ทั้งสาม ประการ ย่อมเกิดขึ้นมีขึ้นก็คนผู้นั้น และทุกคนที่เกี่ยวข้องตรัสว่า อย่างแน่นอน


การให้ทำให้เกิดสุข ทั้งที่เข้าใจได้ด้วยความรู้ทางโลกและ เข้าใจได้โดยปัญญาทางธรรมความเชื่อมั่นอย่างนี้ ตามที่พระพุทธเจ้าสอน และทำเป็นแบบอย่างตลอดมาแม้ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรบรมโพธิสัตว์นี่แหละคือ ความล้ำลึกแบบที่ศาสตราจารย์ทางโลกก่นว่า พิสูจน์ไม่ได้ด้วยหลักฐานและการทดลองทางวิทยาศาสตร์(EmpiricalSciences’) การถวายทานนี้และ อื่น ๆ ในพระชาตินี้ทำให้ประเทศชาติล้มจมหมดเนื้อหมดตัวได้ เป็นต้นที่เห็นได้ชัด คนไทยรุ่นคุณปู่คุณตาขึ้นไปส่วนมาก ยังนิยมการทำบุญสนุทรทานแบบนี้อยู่ไม่ใช่แค่ครั้งสองครั้งแต่ชั่วชีวิตของท่านตามกำลังทรัพย์ เมื่อศรัทธามีมากแต่ ทรัพย์มีน้อย และทำตามกำลังศรัทธาเมื่อศรัทธามีน้อย แต่ทรัพย์มีมากส่วนคนไทยรุ่นคุณพ่อคุณแม่ลงมาส่วนใหญ่ เพียงแต่ “บอกบุญ”ด้วยซองผ้าป่า –กฐิน ซองเดียว กลับเห็นไปว่าเค้ามาเบียดเบียนตน ยิ่งกว่าบริษัทข้ามชาติ ที่ไม่มีจรรยาบรรณหรือ นายทุนค้าขายอบายมุขและสิ่งยั่วยวนส่งเสริมกิเลสต่างๆ ทำแก่เสียอีกตนและประเทศชาติเสียอีกบัณฑิต ผู้มีปัญญาทางธรรมกล่าวว่าทาน เชื่อว่าน้อย หรือ มากก็ควรไม่ให้เลยไม่เหมาะโปรดเพ่งพินิจด้วยเถิด


ย้อนไปถึงตอนประชาทัณฑ์อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของชาวสีพี ได้ไปทูลประท้วงเอากับพระเจ้ากรุงสีพีพระราชบิดา ของพระราชกุมารโพธิสัตว์ ทั้ง ๆ ที่ทรงตระหนักพระทัยอยู่ว่าน้ำพระทัยของพระโอรสเป็นอย่างไรและยิ่งกว่านั้น พระโอรสทรงสละบริจาคช้างปัจจัยนาค ด้วยความนัย ดังอธิบายมานั้นทรงกระทำโดยชอบธรรมและรอบคอบแล้ว ถึงกระนั้น พระเจ้ากรุงสีพี ไม่แกล้ง ก็เหมือนแกล้ง ทรงยินยอมขับไล่พระโอรสเนรเทศพระเวสสันดรออกไปอยู่นอกประเทศในไม่ช้า ซึ่งแท้ที่จริง พระบรมราชโองการ เช่นนั้น แยบคายยิ่ง กล่าวคือเพื่อป้องการอันตรายจากความขุ่นแค้นของอาณาประชาราษฎร์ทั้งประเทศ ที่อาจมาถึงพระปิโยรสแม้พระชนม์ของพระโอรสเองพระเมตตาคุณ –พระกรุณาคุณ อันล้ำลึกหยั่งไม่ได้โดยง่ายในล้นเกล้า ทั้งสองพระองค์คือ พระเวสสันดร และ พระราชบิดา ที่ปรกแผ่แก่อาณาประชาราษฎร์ ที่ รักยิ่งของทั้งสองพระองค์และยังมีแผ่ขจรไปถึงประเทศเพื่อนบ้านเห็นดังนี้ ไม่ใช่ธรรมดาเลย พระเวสสันดร มิได้มีมหาปัญญา ที่ตื้นเขิ่นพอที่จะยึดถืออุดมการณ์อันสูงสุด คือ พระโพธิญาณอย่างงมงาย ผิวเผิน การตัดสินพระทัยสละบริจาคช้างต้นตัวประเสริฐคู่บ้านคู่เมืองเชือกนี้ บัณฑิต ที่เจนจบโลกและธรรมมาแล้วทั้งชีวิต ยังสงสัยว่า ต้องไตร่ตร่องในลักษณะไหนนานเพียงใด จึงจะถวายคำแนะนำคร่าวๆแด่พระโพธิสัตว์ได้ทันทีและงดงามสง่าภาคภูมิได้เท่าทันและเทียมถึงดังพระองค์ได้ทรงกระทำไป


ฝ่ายพระเวสสันดรพระองค์รับผิด –รับชอบ ตามพระบรมราชโองการโดยเคารพและสงบ และทรงตั้งพระทัย จะรับการเนรเทศไปโดยลำพังพระองค์ พระชายา พระโอรส และ พระธิดาทรงปรารถนาให้ประทับอย่างหมดห่วงในพระราชฐาน กับพระเจ้ากรุงสีพีและ พระราชินี ครั้นตรัสกับพระชายาคู่ทุกข์คู่ยากดังนี้แล้ว แทนที่พระชายาจะยับยั้งอยู่กับพระโอรสธิดา อย่างสุขสบายน้ำพระทัยและพระปรีชาชาญของพระนางมัทรี นั้นยิ่งล้ำกว่าขัตติยะนารีใดใด กลับทูลขอพระราชานุญาตพระสวามีร่วมโดยเสด็จ อยู่ปรนนิบัติพระสวามีไปกว่าพระชนม์จะวายวาง ร่วมอนุโมทนาไปกับการชำระพระมหาปณิธานสร้างสมมหาทานบารมีของพระสวามีอย่างเข้าพระทัยถ่องแท้


เชื่อมโยงกับยุคปัจจุบันเพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้นเช่น ครอบครัวที่กำลังก่อร่างสร้างตัวแบบเดิม ๆ สักเล็กน้อย สามีทำงานคนเดียว หาเงินเลี้ยงดูครอบครัว คือ ตนเอง ภรรยาลูกชายหนึ่ง ลูกหญิงหนึ่ง แค่สามีต้องกลับบ้านค่ำมืดบ้าง เลิกงานผิดเวลาบางเป็นครั้งคราว ที่บ้าน ภรรยา ถึงกับร้อนใจ เสียใจ คิดไปว่า สามีไม่มีเวลาให้บ้างหรือ นอกใจบ้าง สองเรื่องเท่านี้ก็เหลือกำลังแล้วแต่พอเวลาหาเงินมาน้อยไปขาดไป ก็ไม่พ้นมีปากเสียง นี่ถ้าสามีเป็นบุคคลสาธารณะเข้าด้วยอีก ปัญหาความขัดแย้งระหองระแหงในครอบครัว ยิ่งพอกพูนซับซ้อนขึ้นอีกประมาณไม่ได้ มาถึงคราวคราที่ฝ่ายสามีถูกให้ออกจากงานถาวรอีก อยู่บ้านวันเดียวเฉยก็คิดหนักแล้ว ไม่ต้องกล่าวถึงอุดมคติสูงส่งของพ่อบ้าน ไม่ต้องถึงแบบพระโพธิสัตว์ดอก แค่สละสังคม ออกไปทำไร่ไถนา ที่บ้านนอกอย่างเดียวละทิ้งความสุขสบายแบบที่คุ้นเคยจนหมดสิ้น เดี๋ยวนี้ แต่งงานกันยังไม่ข้ามปี แยกทางกันแล้ว แม้พวกเรายังห่างไกลทั้งสองพระองค์คือ พระเวสสันดร และ พระนางมัทรีในทุกด้านยกเว้นความสะดวกสบายด้วยสิ่งปรนเปรออำนวยความสะดวกแล้ว ก็ไม่น่าจะเสียประโยชน์อะไรเพียงถ้าเรา สามีภรรยาในวันนี้ ศึกษาแบบอย่างการใช้ชีวิตคู่จากทั้งสองพระองค์ในตอนนี้และที่จะมีต่อไป ไว้บ้างแล้วเลือก และ/หรือนำไปปรับใช้ให้เหมาะเจาะกับชีวิตคู่และครอบครัวของเรา คงจะดีไม่น้อยเลย


ฯลฯ


มาถึงตอนที่เสด็จเดินป่า เพื่อไปยังจุดหมาย ที่สี่พระองค์คือ พระเวสสันดร พระชายาพระธิดา และพระกุมาร มีเกวี่ยนมาเล่มเดียว กลางทางพวกมาขอไปเสียเปรียบกับเรา ขับรถยนต์มานี่พ่อ แม่ ลูก ระหว่างทางมีคนมาโบกรถและขอรถยนต์คันนั้น ไปเสียดื่อ ๆ อย่างนั้น..เราจะสละให้เขาไปได้ไหม


การสร้างทานบารมีต่อมาในชาดกนี้ก่อนที่จะเล่าถึงการบำเพ็ญของพระเวสสันดรต่อไป ขอไปเล่าถึง ทานบารมีของชูชกเสียก่อน ชูชก ก็ เป็นตัวละครอีกตัวในวรรณคดีบาลีชาดกเรื่องนี้ ที่ใคร ๆไม่อาจจะดูแคลนหรือมองข้ามน้ำใจเสียสละอย่างน่าชมเชยและสามารถถือเป็นแบบอย่างได้คนหนึ่งทีเดียว


ในยุคทุนนิยมเฟื่องฟูอย่างสูงมากๆ ในเวลานี้ ยอมรับไหมว่าครอบครัว อ่อนแอมากที่สุด และ ความสัมพันธ์ในครอบครัวตลอดทั้งในชีวิตคู่เปราะบางที่สุดด้วยเช่นกัน แต่ถ้าท่านมาศึกษาพระเวสสันดรชาดกในตอนของชูชก ดังที่จะวิเคราะห์ให้เห็นต่อไปนี้ ท่านจะได้แง่คิดดี ๆและควรสนใจใส่ใจนำไปใช้ในครอบครัวและชีวิตคู่ของท่านเอง ได้ไม่มากก็น้อย


“ผัวแก่ได้เมียเด็ก” นี่คือบทสรุปขอนักอ่านชาดกทั่วไป แต่ผู้เขียนเห็นว่าสำหรับกรณีของชูชก มีอะไรอีกเล็กน้อยที่ต้องเพ่งพินิจให้ถ้วนถี่อีกหน่อย


หัวใจและรักแท้ที่ชูชก มอบแด่อมิตดา น้องรักนั้นยิ่งใหญ่นักขนาดหนุ่มๆ หลายคนในยุคหลังต้องอาย ผัว อายุคราวปู่ เมีย รุ่นหลาน ถ้าประมาณแบบสุ่มๆ ดูให้อมิตดาอายุสัก ๑๘แบบยังไม่บรรลุนิติภาวะของปัจจุบันรุ่นหลาน เป็นภรรยา สามีคราวปู่ จะอายุเท่าไหร่ดี?.. ถ้าพ่อแก่กว่าลูกหนึ่งรอบนักษัตร (๑๒ปี)ปู่แก่กว่าพ่ออีกรอบหนึ่ง เท่ากับว่าปู่แก่กว่าหลาน ๒๔ ปี ..ชูชกน่าจะราว ๆ ๑๘ +๒๔เท่ากับ ๔๒ สมมติว่า ชูชกของเราอายุ๔๒ แม้ว่าในจินตนาการของละครชาดกชุดเดียวกันนี้ที่ มูลนิธิศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยจัดทำขึ้น เมื่อ คราวฉลองกรุงเทพฯครบ ๒๐๐ ปี พ..๒๕๒๕นั้น ชูชกจะแก่กว่านี้ อีกเท่าตัวคือ ๘๔ ปี โดยคะเนด้วยสายตาเมื่อชมโทรทัศน์รายการนี้เวลาออกอากาศ แต่ผู้เขียนจะถือเอา อายุชูชกที่ ๔๒ ปีเพราะเหตุบางประการ ที่ท่านจะค่อยๆทราบต่อไป


เมื่อชูชกได้นางอมิตดาเป็นภรรยา เพื่อแลกกับเงินกู้(นอกระบบ)ที่พ่อ-แม่ของนางติดค้างชูชกไว้อย่างล้นพ้น ส่วนหนึ่งเพราะชูชก คงคิดดอกเบี้ยไว้สูงไม่น้อยทีเดียว และ/หรือมิฉะนั้น พ่อ-แม่ของอมิตดา ไม่ได้จัดทำบัญชีรายรับ– รายจ่าย(ตามแบบที่ธกส.แนะนำ) จากเรื่องตอนนี้ ทุนนิยม มีมาก่อนพุทธกาลหรือไม่ ขอฝากไปศึกษาต่อไป แน่ล่ะ เราสามารถอนุมานได้ง่ายเลยว่าอมิตดา ยังไม่ได้รัก –ชอบ ในตอนแรกอย่างแน่นอน ทำอย่างไร ชูชก จะพิชิตใจเมียสำเร็จ ? เอาใจต้องมีแน่ที่สำคัญ คือ อดทน และที่ต้องเอาใจทนอด-อดทนและเสียสละอะไรหลายอย่างเพื่อหญิงคนหนึ่ง ได้ ขนาดที่คนอย่างชูชก ยอมทำ สิ่งสำคัญที่จะเกิดในเรื่องต่อจากนี้ เราจักเรียกว่าความรักอย่างไม่เห็นแก่ตัวของชูชกได้หรือ ไม่


เรื่องดำเนินมาถึงว่าอมิตดา ต้องการคนรับใช้และเพื่อพิสูจน์รักของผัวเฒ่าคนรับใช้ที่ต้องการจะเป็นใครไปไม่ได้เฉพาะต้องเป็นระดับ หลานชายหลานสาวของพระเจ้าแผ่นอย่างพระเจ้ากรุงสีพี เป็นต้น ระดับนายทุนเงินกู้น่าเลือดอย่างชูชกมีลูกหนี้ อีกไม่รู้เท่าไหร่ ถ้าต้องการ จะหาเมียสักคนดีกว่า ทั้งความงามภายนอกและภายในทุกประการ ชูชก จะหาไม่ได้สักคนเชียวหรือ อายุ เพิ่ง ๔๒ (ตามที่ตรงลงสมมติกันไว้)ยังฟิตอยู่อีกมากเงินก็มี ฟิตก็ฟิต น่าตาดูไม่ได้นิดหน่อย ถ้าไม่รักจริง อมิตดา แผลงฤทธิ์ต่างๆ นานา ถึงขนาดปรารถนาของสูงเช่นนี้ นอกจากนี้ พระเวสสันดรพระบิดา ของพระกุมารชาลีกุมารีกัณหา ทรงพระคุณแผ่ไพศาลปรกแผ่ผู้คนในและนอกประเทศขนานนั้น ถ้าเป็นปัจจุบันสงครามระดับภูมิภาคทีเดียวนะท่าน(บึ้ม!) อนาคตชูชกยังอีกยาวไกลอายุ๔๒ ยังมีเวลาอยู่ดูโลกอีกนานโข่อยู่ โถ่ ! ผู้หญิงโง่คนหนึ่ง จะเอาไปแลกทำไมถ้ามิใช่ คำว่า “รัก” รับรองได้ไม่คุ้มเสียแต่..ชูชกยอมทำตามเดินทางด้วยเท้าเปล่าเพราะขี้เหนี้ยว หรือถ้ามองให้ดี “รู้จักค่าของเงิน”อะไรประหยัดได้ก็ประหยัดความสบายบางอย่างงดได้ก็งดเงินนิด ๆ หน่อย จะเสียยังก็ไม่ย่อม ระยะทางสั้นๆ แค่เดินข้ามจังหวัด หรือแค่ปากซอย พวกเรา ก็ขึ้นมอเตอร์ไซร์รับจ้างกันแล้ว ทำไมชูชกต้องเอาตัวเองไปลำบาก ที่สำคัญ ถ้าชูชก อายุ แบบในละครฯ อายุถึง ๘๔ ปี จะได้มีชีวิตรอดกลับมาเจอเมียรักไม่ขาดใจตายไปเสียกลางทางไปก่อน ยังแคลงใจพอแรงอยู่ คิดไปคิดมามีแต่เหตุผลที่จะไม่ไปขอพระชาลี– พระกัณหาเสียรอบด้าน คนสติดี ๆ รักสบายเร็ว ๆ ง่าย ๆ อย่างเราทุกวันนี้ ต้องเรียกว่า สติเสียไม่ใช่หลงเมีย ๆ เฉย ว่าไปว่ามาฆราวาสธรรม ๔ ซึ่งต่อมา เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ของเราในเวลานี้แล้ว ทรงสอนว่าเป็นคุณธรรมสำคัญของครอบครัวสุขสันต์ทุกครอยครัวได้แก่ สัจจะ ความจริงใจสม่ำเสมอๆ ต้นเสมปลาย ดุจ ตะวันขึ้นทางตะวันออก ตกทางตะวันตกฯ ล ฯ สายน้ำไม่ไหลกลับ เป็นต้นฉะนั้น ๑ ทมะ ฝึกหัดกายใจสร้างนิสัยที่ดีทักษะที่ชอบ ที่ไม่เคยมีมาก่อนแต่งงานๆ แล้ว ก็อบรมให้เกิดมีขึ้น๑ ขันติ อดทนต่อความเครียดเจ็บป่วยทุกข์ทรมานกายใจ อย่างสงบ ๑ จาคะ เสียลสละและอภัยเสมอ ๑ ชูชก มีคุณธรรม๔ ปรพการนี้ ถ้าไม่เต็มทุกข้ออย่างน้อยก็มีครบทุกข้อ ๆละ นิด ๆ หน่อย ๆ ถึงกระนั้น ก็ยังเก่งกว่า โดยคุณความดีๆ กว่า หนุ่มๆ จำนวนมากในยุคนี้ของโลกเรา ทั้งโลกรวมกันเสียอีกจริงไหมท่าน ?


ที่จะยกไว้ไม่กล่าวถึงเลยมิได้ก็คือ แม้นางอมิตดา จะร้ายกาจต่อผัวแก่ของนางเพียงใด จะลืมไม่ยกยองน้ำใจกตเวทิตาของนางต่อพ่อ-แม่ ยอมสละความสุขส่วนตัว ที่ผู้หญิงธรรมดาทุกคน เฝ้ารอคอยมาทั้งชีวิตเสียมิได้เลย นางยินยอมแต่งงานมากับชูชก เพราะพ่อ-แม่ติดหนี้เขาไว้ นี่แหละ หนี้เงิน –หนี้ชีวิตของพ่อ-แม่บรรพชน สามารถตกทอดถึงลูกหลานได้เหมือนอย่างนี้ ฉะนั้น คนเป็นพ่อเป็นแม่ จะทำดีทำไม่ดีอะไรไว้ ในครอบครัว หรือ แก่ส่วนรวม ขอวอนให้ระวังสังวรถึงคติธรรมในเรื่องนี้ไว้ ให้จงหนัก


วรีกรรมของพราหมณ์เฒ่าดำเนินมาเรื่อยๆ จนถึง เดินทางรอนแรมมาอยู่เฉพาะพระพักตร์พระมหาบุรุษ ๆ ฟังแล้วเพียงครู่เดียว ยกลูกให้เลย ตอนนี้ ถ้าคนไม่ได้เป็นพ่ออาจจะเข้าใจยากสักหน่อยถึง “แก้วตา –ดวงใจ ของ พ่อ” ขอให้อ่านต่อไปก่อน


ชาลี– กัณหารู้เรื่องที่พ่อ ยกเธอทั้งสองให้ตาเฒ่าชูชก พากันไปซ่อนในสระบัวเดินถอยหลังลงไป พ่อตามมารู้ได้ว่า ลูกรักท่านสองอยู่ซ้อน อยู่ในก่อบัว พระบิดาตรัสเป็นใจความว่า อุดมคติของพ่อนั้น มหาศาล แต่พ่อจะทำไม่สำเร็จ ถ้าหนูสองคนไม่สนับสนุนพ่อ มาเถิด ลูกของพ่อ มาเป็นสำเภาทองชมภูนุช ในพ่อโดยสาร ไปสู่จุดหมายคือ อุดมคตินั้น ดูเถิด แค่ลูกขอพ่อ ซื้อของเล่น พ่อยังไม่ซื้อให้ แต่ผลัดไปก่อน ลูกก็ลงไปนอนดิ้นพลาด ๆ ร้องกรี๊ด ๆ กลางห้างสรรพสินค้า ร้องไห้น้ำตาเป็นสายเลือด ถ้าพ่อไม่ซื้อให้หนู เดี๋ยวนี้ ดูสิ ใครจะตาย ให้พ่อดู เด็กสองคนอายุไม่ทันจะเป็นวัยรุ่นดี พ่อมารุกเร้าเช่นนี้ ทั้งสองพระองค์ ช่างพระเสริฐนัก ทรงพระปัญญาญาณล้ำเลิศนัก สมที่เกิดมาเป็นลูกพ่อ พี่ชาย ร้องไห้สะอื้น เดินขึ้นมาก่อน น้องเดินน้ำตาอาบแก้มตามมาทีหลัง


พ่อ-ลูกพากันมา พระเวสสันดร ก่อนจะส่ง“ชีวิต” น้อย ๆ ทั้งสองเป็นสิทธิขาดแก่ชูชกไป ทรงตั้งค่าไถ่พระราชปิโยรสพระราชปิยธิดา เอาไว้ด้วย..เป็นการ“วางสนุ๊ก” แก่ ชูชก ค่าไถ่ลูกสาวมากหน่อยเพราะเป็นหญิง ของพี่ชายก็ลดหลั่นลงมาเพราะเป็นลูกผู้ชายค่าไถ่ที่ทรงตั้งไว้ ท่านผู้อ่าน นึกออกไหม ?.. ไม่มากแค่พระเจ้าแผ่นดิน จ่ายค่าตัวถ่ายได้คนเดียวเท่านั้น ..นึกออกไหมท่าน พระเจ้าแผ่นดิน พระองค์นั้นก็คือ พระเจ้าปู่ ของพระชาลีพระกัญหานั่นเอง ..คิดดูนะท่านเด็กประมาณวัยรุ่นสองคน ระดับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่น มีข้าราชบริพารรับใช้มาตลอดชีวิตจะไปเป็นเด็กรับใช้ เทียบกับ ค่าไถ่ตัว เด็กสองคนนี้ ขนาดใครๆ ทั้งประเทศ ก็ให้ไม่ได้ ทั้งแผ่นดิน ให้ได้คนเดียว และต้องเป็นคนนี้เท่านั้น ชูชกกับพระเวสสันดร คนละชั้นกันท่าน


พอขาดคำ ส่งลูกให้ ..ลูกเริ่มร้องไห้เสียขนาดนั้น ไม่ได้ไปเข้าค่ายภาคฤดูร้อนนะท่าน จากพ่อ จากแม่ ไปชั่วชีวิต จินตนาการว่า ทั้งสองพระองค์จะร้องไห้แบบไหน ขนาดไหน ยิ่งร้อง ชูชกยิ่งเฆี่ยน ยิ่งเฆี่ยน ยิ่งร้อน ยิ่งร้อง ยิ่งถูกกระหน่ำเฆี่ยน ...แท้จริงแล้ว ที่ชูชกกำลังทำอยู่ในเวลานั้น พระเวสสันดร เห็นดังนั้น“เฆี่ยน” พระโอรส –พระธิดา ก็ คือ กำลัง “ฆ่า”พระองค์ทั้งเป็นอยู่ก็มิปาน ทั้งแค้นทั้งปวดร้าวดทั้งทรมาน ขัตติยชาติบุรุษเช่นเรา จักเกรงกลัวตาเฒ่าพราหมณ์ นี้ หามิได้ เราเองก็มิได้มาอยู่ป่าเปล่าพระขันฑ์ เราก็เอามาด้วย ทันใดนั้น พระมหาบุรุษได้ทรงพระดำเนินเข้าไปในบรรณศาลาที่ประทับโดยมิได้รั้งรอ เพื่อจะทรงเข้าไปหยิบพระขันฑ์ออกมาฟันชูชกในบรรลัยในทันที ขณะที่ทรงพระหัตถ์สัมผัสพระแสงขันฑ์อยู่นั่นเอง ก็ทรงผลันได้สติ ที่เรามาอยู่นี่ เพื่อสิ่งใด สิ่งที่เราได้กระทำไป หาใช่เพราะสิ่งอื่นใด นอกจากพระโพธิญาณในภายหน้า และพระสัมพุทธภูมินี้เล่า ก็มิใช่เพื่อใคร ๆ ทั้งสามภพดอกหรือ ก็ตัวเรานั้นเปรียบเหมือน“ตัวปลา” ลูกของเรา ก็ คือ“น้ำ” ที่ปลาว้ายอยู่ ที่ชูชกมาแกล้งเฆี่ยนตีลูกรักทั้งสองอย่างโหดร้ายอยู่ในเวลานี้ดุจ “มีคนมาตีน้ำให้ปลาตกใจ” ส่วนพระโพธิญาณนั้น คือ“ไซ” ปลาก็จะเข้าไปถึงได้เร็วขึ้นนี่เอง ..พวกเราท่านพอจะเข้าใจให้น้ำพระทัยของพระมหาบุรุษได้หรือ ไม่ เวลานั้น มีคนกำลังมาทูลขอ“แกัวตา –ดวงใจ” ไปจากพระองค์ ครันพอพระองค์ยกให้ นอกจาก เหมือนไม่เห็นคุณค่า ยังเหยียบหย่ำทำลายอย่างไม่เกรงใจหรือ สำนึกกตัญญูแต่อย่างใดเลย ธรรมดา “ลูกผู้ชาย”ฆ่าได้หยามไม่ได้ แค่สบตากัน ไม่พอใจก็ควักปืนผาหน้าไม้ ออกมาฆ่าฟันห่ำหั่นกันเสียแล้ว “ศักดิ์ศรี” ของพระเวสสันดรมิได้มากเสียยิ่งกว่าเราท่านดอกหรือ แต่ทรงต้องยอมสะกดพระทัย “ใช้สมมติ บำเพ็ญจริง เพื่อฉุดช่วย เหล่าเวไนย เสียลสะลูกผู้เป็นที่รักยิ่งกว่าชีวิต ให้คนอื่นไป”


ในคืนวันนั้น ก่อนที่ชูชกจะมาถึงในเช้าวันรุ่งขึ้น ขณะที่พระนางมัทรี พระมารดาของชาลี –กัญหา ทรงหลับฝันร้ายอันน่าสยดสยองว่า มีนายเพชรฆาตหน้ากลัว มาตัดแขน ตัดขอาของพระนางไปอย่างโหดร้าย ไร้ความปราณี ฯลฯ พอตื่นขึ้นมา ก็อกสั่นขวัญแขวนจิตใจประหวั่นไปต่างๆ จึงไปทูลพระสวามี เป็นที่พึ่ง ฝ่ายพระเวสสันดรได้ฟังพระเทวีตรัสเล่าความฝันให้ฟัง ใคร่ครวญแล้ว ก็ทรงเข้าพระทัยถึงเหตุการณ์บางอย่างที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า ได้ในทันที แต่เพื่อคุณอันใหญ่ พระองค์จะทำนายฝันให้พระชายาฟังหมดทุกอย่างมิได้ จึงได้แต่ปลอดขวัญพระนางให้คลายและสงบลง จึงพระนางสามารถออกไปหาผลาหารในป่าได้ตามปกติ

ฯล ฯ


เนื้อหาโดยสมบูรณ์โปรดหาอ่านและศึกษา ได้จาก

เวสันดรชาดก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิบาตชาดก และอรรถกถาแปล



โหลดเพลง คลิปวีดีโอ นิยาย การ์ตูน






Create Date : 03 กันยายน 2558
Last Update : 12 ตุลาคม 2558 10:24:35 น.
Counter : 929 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
กันยายน 2558

 
 
4
5
6
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
22
23
24
25
26
27
28
 
 
All Blog