หลักธรรมแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข




เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่องความจริงแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกในพระพุทธศาสนา

(A Lecture on the Truth of Peaceful Co –Existence in Buddhist Teachings)

โดย

เอกชัย จารุกิตติ์ สรรพโรจน์พัฒนา

Ekachai Jarukirti Sapparojpattana

(๒๕๖๑/๒๐๑๘)

Edition 1st

บทคัดย่อ

เป้าประสงค์สุดท้ายแห่งการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกคนในพระพุทธศาสนา ได้แก่ การมีชีวิตที่สุขสงบร่มเย็นห่างไกลจากความหม่นหม่องในชีวิตและจากการเวียนว่ายตายเกิดอันไร้จุดจบและช่วยเหลือผู้คนแวดล้อมให้ได้ดีมีสุขเช่นเดียวกับตนเองนั้นให้ได้ เพื่อยังความเป็นเช่นนั้นให้สำเร็จพระพุทธเจ้าจึงได้ทรงวางมรรคาสู่การนั้นไว้อย่างเป็นระบบและมีแบบแผนให้สอดคล้องกับจริตอัธยาศัยของชาวพุทธแต่ละคนที่ได้และจะได้ฟังคำสอนของพระองค์ไว้เป็นอเนกปริยาย โดยเฉพาะสังคมพุทธดังเช่นบ้านเมืองไทยชองเรา ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบันสมัยปัญหาการครองตนอยู่ท่ามกลางหมู่ชนระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ในระดับปัจเจก ครอบครัวชีวิตคู่ หมู่คณะ สังคมในบ้าน – ในเมืองน้อยใหญ่ ฯลฯ ดังนั้นก็ดี ก็สามารถฝ่าฟันคลื่นลมแห่งยุคสมัยที่ผ่านมานั้นด้วยคุณธรรมแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก ซึ่งหลายส่วนก็ได้มาจากคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาเหล่านี้เอง ในที่สุดแล้วสมด็จพระอรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมเป็นอเนกปริยาย เพื่อการมุ่งหน้าสู่ปลายทางอันเดียวคือ วิมุติสุข แม้การอยู่ร่วมฯ กับเพื่อนต่างศาสนาก็ใช้ธรรมสัจจ์เดียวกันนี้ด้วยเช่นกัน

Abstract

Thefinal out - come, in Buddhist walks of life, is that the peaceful outreach farand away from spiritual dirt and from the endless round of birth and death andthat assist other people around attaining such peacefulnessand accomplishment as well. To attain the goal as such, Lord Buddha laid downthe Path systematized to suit spiritual background of his listeners, at thatmoment and after, with diversities of sermons. Especially Buddhist society asThailand, from the past towards the cotemporary ages,troubles of self - governance have prevailed in vase variety of levels fromprivate life, family life, marriage, groups of interest, little to largecities, etc. Applying ReligiousTeachings, especially those of Lord Buddha’s, has rescued Thailand towardspeaceful co – existence of peoples from all walk of lives. All in all, towardsone end of Nirvanic bliss as for individual and for communities of individuals,Lord Buddha sets forth and coins his Teachings around this aim. Incommunion with neighboring faiths the same truth in Buddhist Teaching isapplied.

1. พุทธบริษัท๔ แบบอย่างแห่งการอยู่ร่วมกันฯ ที่พระพุทธเจ้าได้วางมาตรฐานเอาไว้

ขณะที่ชีวิตการครองเรือนฉันท์สามีภรรยาอันเป็นพื้นฐานแห่งการสืบต่อเผ่าพันธุ์มนุษย์ ให้ปัจจัยต่าง ๆ อันจำเป็นต่อการดำเนินและดำรงชีวิตนอกจากนั้นแล้ว ชีวิตคู่ยังทำหน้าที่ผลิตและคัดกรองทรัพยากรบุคคลแก่การครองชีวิตนักบวช หรือ การครองชีพที่ไม่มีความสัมพันธ์ในทางกามารมณ์ในทุกรูปแบบมาเกี่ยวข้อง เมื่อกล่าวโดยย่อการครองรักครองเรือนที่ถือว่าเป็นการอยู่อย่างต่ำ (หีนเพศ) ในศาสนาพุทธแต่พระพุทธเจ้าก็ได้วางแบบแผนเอาไว้ให้การเป็นอยู่อย่างนี้ เกื้อกูลต่อเพศบรรพชิตที่ถือว่า สูงกว่า หรือ ประเสริฐกว่า เพราะมีการครองชีพที่ไม่อิงกามารมณ์ในทุกรูปแบบเป็นอุดมคติ

ในทางกลับกันเพราะชีวิตพระเณรที่อยู่เพื่อการทำอย่างสูง เพื่อการฝึกตนที่เข้มงวดเพื่อการฝึกอบรมจิตให้หลุดพ้นจากวัฏฏะทุกข์แบบเร่งลัด ระหว่างทางนั้นจนถึงการถึงจุดหมายปลายทางพระเณรยังมีหน้าที่แสดงธรรมโปรดญาติโยม ให้ได้โอกาสศึกษาพระธรรมที่เหมาะสมกับชั้นภูมิของตน ตามอานิสงส์แห่งการฟังธรรมที่ท่านได้แสดงไว้แล้วดังเช่นในหนังสือนวโกวาท เป็นต้น แล้ว เพื่อให้อุบาสก – อุบาสิกาน้อมนำไปประยุกต์ใช้จรรโลงชีวิตประจำวันชีวิตการครองเรือนที่ผาสุกร่มเย็นของตนสืบไป

แม้ว่าการเกื้อกูลกันของ “วัด” กับ “บ้าน” ยังดำเนินไปอยู่ในบ้านเมืองของเราแต่ก็มีวิวัฒนาการไปบ้าง คือ สถาบันทางสังคมที่เรียกว่า “โรงเรียน”โดยเฉพาะตามแบบสังคมวิทยาศาสตร์ทางตะวันตก ได้เข้ามาปริวรรตและส่งอิทธิพลกับความสัมพันธ์ของ “วัด” กับ “บ้าน” ที่ต่างออกไปคือ ชาวบ้านยุคใหม่พึ่งพาชาววัดในด้านจิตวิญญาณในลักษณะที่โหยหาความหลุดพ้นจากทุกข์มากขึ้นโดยเฉพาะคนมีการศึกษาตั้งแต่ ปริญญาตรีขึ้นมาเข้าสมัครเรียนหลักสูตรฝึกอบรมสมาธิภาวนากับวัดหรือสถานปฏิบัติธรรมมากขึ้น ปัญญาชนออกห่างจากวัดแบบสังคมชนบท หรือสังคมเกษตร มากขึ้น ขณะที่ภาพในอดีต หรือ ปัจจุบันที่ชาวบ้านชาวพุทธตามชนบทยังมีให้เห็นอยู่ก็ตาม

อย่างไรก็ตามนับแต่ที่โลกตะวันตกประชาชนธรรมดาเริ่มถ่อยห่างจากศาสนา การสื่อสารโทรคมนาคมที่เจริญขึ้นได้นำพารูปแบบสังคมแบบนี้เข้ามาในประเทศไทยด้วยถึงกระนั้นก็ดี พระพุทธเจ้าทรงแสดงผ่านพระไตรปิฎกตอนหนึ่งไว้ มีความโดยสรุปว่า ไม่ว่ายุคสมัยในวันข้างหน้าจะเปลี่ยนหรือซับซ้อนขึ้นอย่างไรความต้องการโหยหาความหลุดพ้นจากความมัวหม่องทางใจและทุกข์ภัยในวัฏฏะสงสารก็ไม่ได้น้อยลงไปแต่อย่างใด

2. หัวใจแห่งคุณธรรมที่จำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก

2.1. อธฺิศีลสิกขา

· “ปกติ,” –ปกติคนจะไม่ล่วงละเมิดกันและกันเบียดเบียนกันเพราะการไม่สำรวมตน ในลักษณะแห่งความประพฤติมีการข่มเหงชีวิตกันและกัน เป็นต้น

อานิสงส์ของศีล: ความไม่เครียด, และ เป็นบาทของสมาธิ

การฝึกตนในศีลที่ละเอียดยิ่งขึ้นไป, ศีลภาวนา(ภาวนา ๔)

· “ปัญจเวรวิรัติ,” (เวรมณี –เจตนาเว้นขาดจากเวรภัยทั้ง ๕)

· “อินทริยสังวร,” –การสำรวมการทำพูดคิตก็ดี ตาหูจมูกลิ้นกายใจให้เป็นปกติ ให้อยู่กับร่องกับรอย

· สัมมัตตะ 10, ..สัมมาวาจา ๔ สัมมากัมมันตะ ๓ สัมมาอาชีวะ ๑ .. ; เป็นองค์แห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

· กุศลกรรมบถ10 /กุศลมูล ๓ ในสัมมาทิฏฐิสูตร

· โอวาท ๓

· ศีลในเกสปุตตสูตร(กาลามสูตร)

· มุสาวาทในจูฬราหุโลวาทสูตร

2.4. สังคหวัตถุ4 (ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา)

2.4. ฆราวาสธรรม4 (สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ)

2.5.สามัคคีธรรม (สาราณียธรรม 6 .. เมตตากายกรรมเมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม สาธารณโภคิตา ทิฏฐิสามัญญตา ศีลสามัญญตา)

2.6.ทิศ ๖ (สิงคาลกสูตร)

2.7.ศีลภาวนา (ภาวนา ๔)

2.8.สมศีลา (สมชีวิธรรม ๔)

3. เป้าประสงค์แห่งการอยู่ร่วมกันฯของพระพุทธเจ้า

การอยู่ร่วมกันของพุทธบริษัท๔ ก็ได้แก่ การอยู่ร่วมกันอย่างสงบเกื้อกูลกันของ บรรพชิต (ภิกษุสงฆ์ ภิกษุนีสงฆ์)และ คฤหัสถ์ (อุบาสก อุบาสิกา) ในจำนวนนี้ เป็นพระอริยบุคคล และ กัลยาณปุถุชน

การอยู่ร่วมกันของชาวพุทธนี้ทรงวางที่หมายไว้ ที่แนวทางที่เป็นแกนกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) โดยเริ่มตั้งแต่ เข้าใจตนเองและส่วนร่วม(สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ) เข้าถึงวิถีการดำเนินชีวิตทางกายภาพ (สัมมาวาจาสัมมากัมมัตตะ สัมมาอาชีวะ) พัฒนาอมรมชีวิตด้านใน (สัมมาวายามะ สัมมาสติสัมมาสมาธิ) และนำไปสู่สัมมาญาณะ และสัมมาวิมุตติ ร่วมเข้าเป็น “สัมมัตตะ ๑๐”หลุดพ้นจากวัฏฏะทุกข์และกองกิเลส และมีคุณภาพชีวิตที่งดงาม

เพื่อสำหนับสนุนพระสัทธรรมปริยายดังกล่าวยังมีพระสัทธรรมอีกปริยายหนึ่งที่สนับสนุนและสอดคล้องกัน คือ ธรรมขันธ์ ๕ ได้แก่ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์

4. Conclusion andRecommendation for Further Studies

แม้ว่า ในตอนที่แล้ว ๆ มาได้อภิปรายให้เห็นแล้วว่า พุทธบริษัท ๔ และความหลุดพ้น จะเป็นอุดมคติ (ธรรมสัจจ์) ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงวางแบบแผนเอาไว้ดีแล้วแต่ยังมีประเด็นที่ต้องถกเถียงกันต่อไปอีกบ้างคือ เรื่องการอยู่ร่วมกันกับศาสนิกชนในศาสนาลัทธิความชื่ออื่นอีกว่า ได้ทรงวางแบบแผนอะไรไว้แล้วหรือไม่อย่างไร

ทีแรกคุณสมบัติบังคับของ พุทธบริษัท ๔ ทุกคน คือ การถึงไตรสรณาคมน์และไม่มีพุทธศาสนิก/พุทธบริษัทคนไหนขาดคุณสมบัติข้อนี้ คำถามคือทรงวางท่าทีไว้อย่างไรกับคนที่ไม่ถึงไตรสรณาคมน์ชาวพุทธกับคนที่ไม่เป็นชาวพุทธด้วยกันจะอยู่ร่วมกับอย่างไร คำตอบก็อยู่ไนตอนที่ ๒ที่ผ่านมา ได้แก่ การเห็นสรรพชีวิตทั้งหลายเป็นเพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น และชาวพุทธเองนั่นแหละจักต้องปฏิบัติต่อเพื่อนๆ ที่มิใช่ชาวพุทธด้วยคุณธรรมต่าง ๆ เหล่านั้น ส่วนศาสนิกชนอื่นที่ไม่ใช่ขาวพุทธนั้น จะมีท่าทีหรือการปฏิสัมพันธ์กับชาวพุทธอย่างไร ก็คงต้องส่งต่อให้งานวิจัยอื่น ๆ ได้ศึกษากันต่อไป

อีกอย่างหนึ่งพระพุทธเจ้ายังได้วางแนวทางที่ชาววัดกับชาวบ้านได้ตรวจสอบกันเองไว้ด้วย ดังที่ปรากฏอยู่มุขปาฐ (Oral Tradition) ที่ร่ำเรียนสืบต่อๆ กันมาในพระพุทธศาสนาด้วยแล้ว นอกจากนี้ทั้งหลักพระธรรมวินัยที่เป็นพุทธบัญญัติไว้ คือ มหาปเทส ๔ ฝ่ายพระวินัย และมหาปเทส ๔ ฝ่ายพระสูตร

Tags:#อริยสัจจ์ #ธรรมขันธ์ #สัมมัตตะ #วิชชาวิมุตติ#ศีล #ศีลภาวนา #เบญจศีล#ปัญจเวรวิรัติ #สาราณียธรรม #ฆราวาสธรรม #สังคหวัตถุ #โอวาทสาม #กุศลกรรมบถ#สุจริต #อินทรียสังวร #อธิศีลสิกขา #พุทธบริษัท #คฤหัสถ์#บรรพชิต #นักบวช #คนวัด #ชาวบ้าน #ชาวพุทธ #เพลิงทุกข์ #เพลิงกิเลส #วัฏฏสงสาร#สังคมเมือง #สังคมอุตสาหกรรม #สังคมเกษตร #ครอบครัว #ชีวิตคู่#บ้านวัดโรงเรียน #สังคมตะวันตก #สังคมตะวันออก #วิมุตติสุข #คำของร้องของพุทธทาส #เกสปุตตสูตร #กาลามสูตร #จูฬราหุโลวาทสูตร#สิงคาลกสูตร #สัมมาทิฏฐิสูตร #secularism #atheism #religionism #altruism #intra-faith #inter-faith

หนังสืออุเทศ: พจนานุกรรมพุทธศาสน์ฉบับพระมวลธรรม โดย สมเด็จพระพุทธโฆสาจารย์ (ปยุตตะเถระ)

นวโกวาท โดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชนโดย สุชีพ ปุญญานุภาพ




Create Date : 18 เมษายน 2561
Last Update : 3 พฤษภาคม 2561 18:14:57 น.
Counter : 790 Pageviews.

1 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณ**mp5**, คุณnewyorknurse

  
ส่งกำลังใจครับ
โดย: **mp5** วันที่: 18 เมษายน 2561 เวลา:20:57:50 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
เมษายน 2561

2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog