พระพุทธศาสนากับโทษประหารชีวิต


ศีลกับโทษประหาร (แก้ไขครั้งที่ ๑)

โดย

จารุกิตติ์ สรรพโรจน์พัฒนา

พฤศจิกายน ๒๕๖๑

๑. ศีลเป็นมารดาของธรรมะทั้งมวล

ในระบบคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดถ้าไม่มีหลักศีลเป็นรากฐาน ดังที่ปรากฏในหลักกุศลกรรมบถและอริยมรรค เป็นต้น การเจริญธรรมสัมมาปฏิบัติทั้งสิ้นกล่าวได้ว่า จะไม่เกิดขึ้นได้โดยเด็ดขาดซึ่งสามารถเห็นได้จากทรงบัญญัติแต่สัมมาสมาธิว่ามาจากการที่จิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศล นั่นคืออธิศีลสิกขาทำให้เกิดอธิจิตสิกขาแม้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคและคัมภีร์วิมุติมรรคก็ดำเนินเรื่องไปตามหลักนี้เช่นกัน ในทางตรงข้าม ไม่พบที่ใดในคำสอนของพระพุทธศาสนาทั้งของพระศาสดาและพระสาวกแสดงถึงคำจำกัดความของมิจฉาสมาธิเลยว่า มิจฉาสมาธิได้แก่ องค์ธรรมอันใด นอกจากแสดงเพียงแต่ว่า มิจฉาสมาธิเกิดขึ้นจากการขาดอธิศีลสิกขาและเมื่อองค์แห่งมรรคในขั้นอธิศีลสิกขาไม่แข็งแรงก็ยากที่อริยมรรคทั้งหมดจะเจริญขึ้นโดยองค์รวม อันจะส่งผลให้การชำระบาปเจริญกุศลและความหลุดพ้นจากวัฏสงสารไม่เกิดขึ้น

๒. ภาวนา ๔ กับศีลภาวนา

การเจริญภาวนา๔ ในที่นี้ ได้แก่ กายภาวนา ศีลภาวนา สมาธิภาวนา และ ปัญญาภาวนา ตามบริบทนี้ตีความได้ว่า การปฏิบัติให้สุขภาพทางกายภาพเกื้อกูลต่อการเจริญกุศล และต่อการลดละเลิกบาปอกุศลนั้น เป็นการง่ายต่อการพัฒนาที่ละเอียด ๆ ยิ่ง ๆ ขึ้นต่อไปมีศีลภาวนาเป็นต้น ด้วยการอนุมานนี้ เป็นไปได้หรือไม่ สำหรับคนที่หิวโซสุขภาพทางกาย (PhysicalHealth) ไม่ดี หรือ แม้แต่ฐานะทางเศรษฐกิจฝืดเคืองจนเกินไป จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางจิตวิญญาณในขั้นต่าง ๆ ที่ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น ตามมุมมองของภาวนา ๔

๓. เบญจศีลข้อปาณาติบาตปฏิเสธการฆ่าด้วยตนเองและการใช้ผู้อื่นให้ฆ่า

ตามหลักของศีลข้อปาณาติบาตนี้ส่วนหนึ่งแสดงไว้ว่า ไม่ทำเองด้วยและไม่ใช้คนอื่นให้ทำด้วย ถ้าวิเคราะห์ให้ดีจะพบว่าหลักการในข้อนี้ ๑. ห้ามการฆ่าห้ามการทำชีวิตให้ตกล่วงไป ทางฝ่ายจำเลยและ ๒. ห้ามฝ่ายเจ้าหน้าฝ่ายยุติธรรมมีคำสั่งใช้ผู้ใดผู้หนึ่งให้ฆ่าคนอื่นแทนตนก็ดีหรือ ทำเองก็ดี นั่นคือ การปฏิเสธโทษประหารในทุกกรณีนั่นเอง

๔. ศีลกับคฤหัสถ์และบรรพชิต

“โทษของอาบัติปาราชิก .. พระภิกษุต้องอาบัติปาราชิกสี่ข้อใดข้อหนึ่งแม้จะไม่กล่าวลาสิกขาบท ก็ถือว่าขาดจากความเป็นพระภิกษุทันทีเมื่อความผิดสำเร็จ เมื่อขาดจากความเป็นพระแล้ว ก็ถือว่าไม่ใช่พระภิกษุอีกต่อไปไม่สามารถอยู่ร่วมกับภิกษุอื่นหรือคณะหมู่สงฆ์ได้เลยต้องลาสิกขาบทออกจากเป็นพระภิกษุทันที มิฉะนั้นจะกลายเป็นพวกอลัชชี (แปลว่าผู้ไม่ละอาย[1]) นอกจากนั้นจะไม่สามารถกลับเข้ามาบวชใหม่ได้เลยตลอดชีวิตแม้จะบวชเข้ามาได้ก็ไม่ใช่พระภิกษุที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยและไม่อาจเจริญในพระธรรมวินัยจนไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานใด ๆ เลยตลอดชีวิต (เพียงชาติที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น)เพราะเป็นมูลเฉทคือ ตัดรากเหง้า เปรียบเสมือนคนถูกตัดศีรษะ เป็นตาลยอดด้วนแต่ว่าไม่ห้ามขึ้นสวรรค์ซึ่งแตกต่างกับอนันตริยกรรมที่ห้ามทั้งสวรรค์และนิพพานเพราะอาบัติปาราชิกนั้นมีไว้สำหรับเพศบรรพชิตถ้าพระภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั้นสำนึกผิดและลาสิกขาบทออกจากเป็นพระภิกษุแล้วทำบุญกุศลแล้วตายไปก็จะสามารถขึ้นสวรรค์ได้แต่ถ้ายังดื้อด้านไม่ยอมลาสิกขาบทและครองอยู่ในผ้าเหลืองจนตายตายไปต้องตกนรกที่ลึกที่สุดคือ มหาขุมนรกอเวจี”

Ref. https://th.wikipedia.org/wiki/ปาราชิก

สำหรับสาเณร ปรากฏหลักฐานเพียงว่า ปาณาติปาตฯเป็น “นาสนา” ท่าน (วศิน อินทสระ, ๒๕๖๑) ขยายความว่า “สามเณรนั้นต้องถูกจับให้สึกแม้เหมือนกับอาบัติปราชิกของพระภิกษุ”

สำหรับคฤหัสถ์ ก็ปรากฏเบญจศีลเป็นหลักในข้อปาณาติบาตฯ ในหนังสือเบญจศีล - เบญจธรรม แสดงว่า ศีลข้อปาณาติบาตตรงข้ามกับ“เมตตากรุณา” ข้อสังเกตคือ เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม และเมตตามโนกรรมเป็นได้ทั้งขั้นอธิศีลสิกขาและอธิจิตสิกขา ส่วนเบญจศีลเป็นอธิศีลสิกขาอย่างเดียวแต่ก็สามารถเป็นรากฐานส่งต่อให้อธิจิตสิกขาต่อไปได้

๕. ศีลในฐานะเป็นปัญญัติวัชชะ ส่วนศีลจะเป็นสัมปยุตธรรมกับโลกวัชชะอย่างไรต้องวิเคราะห์ควบคู่กันไป

ในฐานะที่เบญจศีลกล่าวได้ว่าเป็นหลักธรรมทางศาสนาที่สอนให้คนอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความผาสุกสงบซึ่งวางเป็นหลักสำหรับปัจเจกชนกำกับตนเอง เมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นและวางเป็นหลักให้บ้านเมืองใช้เป็นรากฐานสำหรับการสร้างกติกา เพื่ออำนวยความสุขสงบในบ้านเมืองทั้งในวงแคบและวงกว้างต่อไปในศาสนาพุทธได้แสดง บัญญัติวัชชะว่า ปาณาติบาตเป็นเครื่องเศร้าหมองกายวาจา(ใจ)ชองบุคคลแม้กระนั้นก็ตาม ก็ไม่ได้ให้ใช้ปาณาติบาตเป็นมาตรการลงโทษคนที่ละเมิดศีลข้อนี้ ฉะนั้น จะกล่าวได้หรือไม่ว่าพระพุทธศาสนาปฏิเสธการฆ่าในทุกกรณี รวมทั้งโทษประหาร เป็นต้นด้วย

ยังมีพุทธพจน์ที่รู้จักกันดีในวงการคันถะธุระว่า “เจตนา เป็นตัวกรรม” เท่ากับ หมายความว่าการฆ่าในบางกรณี ที่ไม่ประกอบด้วยเจตนาจะล่วงละเมิดชีวิตสัตว์อื่น ให้ตกไปไม่เข้าข่ายเป็นปาณาติบาต ถึงกระนั้นก็ดีการนำพุทธพจน์นี้ไปใช้ ต้องไม่นำไปใช้เป็นข้ออ้างให้ละเมิดศีลอย่างพร่ำเพรือ เพราะเหตุว่าแม้คนอื่นจะไม่รู้ คนที่ทำย่อมรู้อยู่แก่ใจตน




Create Date : 04 พฤศจิกายน 2561
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2561 18:48:28 น.
Counter : 903 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
พฤศจิกายน 2561

 
 
 
 
1
2
3
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog