ควันหลง อันเนื่องมาจากการให้ข่าวของสื่อมวลชนต่างชาติ


จรรยาบรรณวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์

(TheJournalist Professional Ethics)

โดย

จารุกิตติ์ สรรพโรจน์พัฒนา (JarukirtiSapparojpattana), พฤศจิกายน ๒๕๖๐

เมื่อวันสองวันมานี้ ได้เห็นข่าวสารในทางที่ว่าการจัดสร้างสิ่งก่อสร้างทางวัฒนธรรมต่าง ๆ เพื่อน้อมเกล้าถวายพระเกียรติแด่ในหลวงร. ๙ ผู้เสด็จสู่สวรรคาลัยพระองค์นั้น ปรากฏว่าสื่อต่างชาติบางแห่งออกมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่เข้าใจว่าสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ มิสู้นำงบประมาณเหล่านี้ไปเป็นสาธารณสงเคราะห์บ้างสร้างโรงพยาบาลบ้าง ฯลฯ น่าจะได้ประโยชน์คุ้มค่ามากกว่า ดังเว็บไซตที่อ้างมานี้ https://www.youtube.com/watch?v=PAjgbDDy_mk&t=519s และhttps://www.youtube.com/watch?v=Riha1TU-pis จุดหมายของบทความนี้จะละไว้ไม่ตัดสิน เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงแต่จะถือเรื่องราวนี้มาย้อนอ่านหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าชุดหนี่งให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เพื่อย้อนมองส่องตนแล้วนำมาพัฒนา –ชำระกายวาทะและเจตนาของเราชาวพุทธไทยให้บริสุทธิ์ผ่องใสยิ่ง ๆ ขึ้นไปทุกวัน น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่ล้นเกล้ารัชการที่๙ พระองค์นั้น พระธรรมนี้ได้แก่ ศีล ๕ นั่นเอง

“ศีล” มาจากธาตุว่า “สีลํ” ความหมาย

คำแปลที่พบ :

ศีล, ปรกติ, ธรรมชาติอันสัตบุรุษพึงทรงไว้, สภาวะ, ความสำรวม

https://www.mahamodo.com/buddict/buddict_pali.asp

ในความหมายว่า ปรกติ นั้น คือ ปรกติคนเราจะไม่ละเมิดพฤติกรรมเหล่านี้ นอกจากนี้ ศีลพื้นฐาน ๕ ประการนี้พุทธาทิบัณฑิตย์ทั้งหลายยังถือว่า เป็น “มนุสธรรม”(ธรรมของมนุษย์/ธรรมทำให้เป็นมนุษย์) อีกด้วย เพราะถ้าเว้นจากศีล ๕ นี้ไป ก็จะเป็นมนุษย์ไม่ได้ทั้งขณะที่มีชีวิตอยู่ และ เป็นคุณธรรมพื้นฐานที่ทำให้มีชาติเป็นมนุษย์

ศีลทั้ง ๕ นี้ จัดว่า เป็น “อธิศีลสิกขา” หมายความว่า ต้องฝึกฝนศึกษาเรียนรู้จากการอบรม กาย วาจา ใจ (เจตนา/ -เวรมณี) ของตน ที่จะละเอียด ๆ ขึ้นเป็นลำดับไป และถ้าปฏิบัติได้ถูกต้องผู้ที่น้อมนำไปประพฤติจะเบาสบายสงบสุขไม่เครียด แต่หากเกิดผลตรงกันข้าม ก็ต้องศึกษาปรับปรุงให้เกิดความสงบสุขให้ดี เพราะเป็นสิ่งที่คนปฏิบัติไม่ได้พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงสอน เมื่อแสดงศีล ๕นี้โดยภาษาร่วมสมัย ก็จะกล่าวได้ดังนี้

๑. จงใจเว้นขาดจากการทำลายชีวิตกันและกัน

๒. จงใจเว้นขาดจากการลักฉ้อสิ่งอันเป็นที่รักใคร่ของผู้อื่น

๓. จงใจเว้นขาดประพฤติผิดประเพณีทางกามารมณ์

๔. จงใจเว้นขาดการกล่าวคำเท็จคำไม่จริง หรือบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทั้งหลาย

๕. จงใจเว้นขาดจากการทำลายสติสัมปชัญญะของตนด้วยของมืนเมาและสิ่งเสพติดทั้งหลาย

อีกอย่างหนึ่งที่จะเว้นไว้ไม่กล่าวถึงไม่ได้ คือ “อธิศีลสิกขา”นี้ จัดเป็นองค์ประกอบที่จะขาดเสียมิได้ของ“หนทางสายกลาง” หรือ “อริยมรรคมีองค์ ๘” อันทำให้ดำเนินไปสู่ความพ้นทุกข์และการเวียนวายตายเกิด เมื่อว่าด้วยอานิสงค์แห่งศีลพระท่านได้แสดงต่อท้ายการให้ศีลว่า ศีลทำให้เกิดสุข ให้ได้โภคทรัพย์สมบัติ และ ศีลให้ความสงบเย็น ในระดับต้นเมื่อรักษาศีลได้ดีแล้วย่อมระงับเวรภัยการเบียดเบียนกันได้ ก่อให้เกิดสุขทั้งแก่ตน ครอบครัว สังคม ฯลฯโดยนัยที่สูงขึ้นไปศีล เป็นพื้นฐานของสมาธิ ความสุขสงบทางใจ นอกจากนี้แล้ว ศีลที่รักษาได้ดีแล้วนอกจากทำให้ไม่เสียโภคทรัพย์สมบัติแล้ว การประกอบสัมมาชีพในกำกับของศีลแล้ว ย่อมระงับเวรภัยต่าง ๆ ที่เกิดจากการกระทบกระทั่งกัน อันมาจากการแสวงหายกระดับ ฐานะทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น โดยนัยอย่างสูง ทรงแสดงถึงโภคะที่ละเอียดประณีตขึ้น ว่าได้แก่การเจริญอัปปมัญญา ๔ หรือ พรหมวิหาร ๔ หรือ ความร่ำรวยด้วยมิตรไมตรีนั่นเอง

แม้ในที่สุดแห่งอานิสงส์ศีล ได้แก่ ความดับรอบของเวรภัยจนถึงที่สุดในฐานะองค์ประกอบของอริยมรรค สามารถส่งถึงความสงบอาสวะโดยสิ้นเชิง(อาสวะขยญาณ/เตสํ วูปสมาย)

ในทางปฏิบัติอธิศีลสิกขาเป็นรากฐานไปสู่อธิจิตตสิกขาและอธิปัญญาสิกขาตามลำดับ กล่าวคือในขณะแห่งสัมมาสมาธิเป็นไปในกาย( – จิต) ก็จะมีศีลสังวรครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่ละเมิดตนเองละคนอื่นสัตว์อื่น เกิดกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต เมื่อมีสติสังวรเป็นไปในกรรมบถ ๑๐ (กายกรรม ๓วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓) ย่อมชำระจิตให้ผ่องแผ้วบริสุทธิ์ได้สืบต่อมา (สติสังวรและวิริยสังวร) จนมรรคสมังคีทำงานสมบูรณ์ครบองค์ ๘ก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณแห่งการข้ามโคตร (โคตรภูญาณ) เกิดมรรคญาณและผลญาณสืบต่อมา(ญาณสังวร/อาสวะขยญาณ) โดยสังเขป ก็คือ รักษาสุจริต ๓ (กาย วาจา ใจ) ไว้ให้มั่นคงด้วยความระอายและความกลัวบาปทางไตรทวารดังแสดงมาแล้ว

ด้วยการปรารภเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากข้อมูลข่าวสารของสื่อต่างชาติที่มีต่อพระราชพิธีฯ สำคัญยิ่งที่คนไทยเราเทิดไว้เหนือเกล้า จึงได้นำหลักศีล ๕ มาย้อนพรรณนา เพื่อการจรรโลงคุณธรรมทางกายวาจาใจของสาธารณะและส่วนตนอีกคราหนึ่ง




Create Date : 05 พฤศจิกายน 2560
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2560 10:39:17 น.
Counter : 770 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
พฤศจิกายน 2560

 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog