มกราคม 2552

 
 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
19
20
21
22
23
24
26
27
28
30
31
 
All Blog
กู่ฉินกับ คน จากโบราณ ถึง ปัจจุบัน
กู่ฉิน (古琴)

เดิมเรียกว่า “ฉิน (琴)”
ในสมัยก่อน
พูดคำนี้ไปโดดๆไม่มีทางที่ใครจะเข้าใจผิด
ภาษาจีนโบราณนั้นสั้นและเรียบง่าย
แต่เวลาเปลี่ยนไป ความคิดคนซับซ้อนขึ้น ภาษาก็ซับซ้อนไปด้วย
แทนที่จะพูดว่า “หยิบน้ำให้หน่อย”
ก็พูดว่า “วันนี้อากาศร้อนจัง ไม่รู้ทำอย่างไรถึงจะได้น้ำมาดื่มดับกระหายนะ”

ในภาษาจีนปัจจุบัน คำว่า “ฉิน” แปลว่าเครื่องสายทุกชนิด
เช่น เสี่ยวถีฉิน(ไวโอลิน), หยางฉิน(ขิมจีน), หูฉิน(ซอ), เป็นต้น

เมื่อเติมคำว่า “กู่(古)”
ที่แปลว่า เก่าแก่ โบราณ หรือเชย เข้าไป
เพื่อเป็นการชี้ชัด ไม่ให้สับสนกับเครื่องสายชนิดอื่น
พอพูดว่า “กู่ฉิน” คนสมัยใหม่ก็นึกออกทันที
“อ้อ คือพิณที่นักปราชญ์นิยมเล่นกัน”
แต่ก็ยังมีคนส่วนมากที่คิดว่า
“อ้อ กู่ฉิน กู่เจิงนั่นแหล่ะ ที่ดีดแล้วสังหารคนได้ อืมๆ”
ความผิดพลาดนี้มอบให้สื่อบันเทิงโทรทัศน์ไปเต็มๆ



สำหรับคนโบราณนั้น
คำว่า “กู่ฉิน”
ไม่ได้แปลว่า “พิณที่นักปราชญ์นิยมเล่นกัน” เท่านั้น
ถ้าแปลเป็นภาษาปัจจุบันก็แปลได้ว่า
“กู่ฉินของเก่าของแก่ หรือวัตถุโบราณ”
ไม่เหมือนทุกวันนี้ “ฉิน” ที่เพิ่งออกมาจากโรงงานมาใหม่ๆ
ก็เรียกว่า “กู่ฉิน” ได้แล้ว

ถ้าอย่างนั้น “กู่ฉิน” สำหรับคนโบราณ
ก็ต้องย้อนกลับไปเก่ากว่านั้นอีก
เช่น ถ้าเป็นบันทึกสมัยซ่ง มีคำว่า “กู่ฉิน”
ก็แปลว่า กู่ฉินตัวนั้น ต้องอย่างน้อยมาจากสมัยหยวน
หรือเก่าเข้าไปอีกก็มาจากสมัยถัง
แต่คำที่จริงแล้ว เก่าแก่ สำหรับคนสมัยนั้น
มันให้ความรู้สึก ลึกลับ ไกลตัว น่าพิศวง
และมันยาวนานเกินกว่าที่จะกำหนดขอบเขตกาลเวลาได้เลยทีเดียว



ในกวีถัง พบคำว่า “ฉิน” ปรากฏมากกว่าสามพันบท
นั่นแสดงว่ากู่ฉินกับกวีเป็นอะไรที่แยกกันไม่ออก
ดังนั้นคนโบราณที่เล่นกู่ฉิน ก็มักจะศึกษากวีเช่นกัน
คนที่ศึกษากวีได้ แน่นอนว่า ต้องได้เรียนหนังสือ
และคนที่ได้เรียนหนังสือในสมัยโบราณ ถือเป็น ชนกลุ่มน้อย

ในสมัยโบราณ คนรู้หนังสือจะมีฐานะทางสังคมสูงสุด
ต่อให้คุณจนแค่ไหน แต่ถ้าอ่านหนังสือออกและเป็นคนดี
คุณจะดูดีขึ้นทันที ร่างกายจะเปร่งรัศมีแห่งปัญญาชน ดูดีมีชาติตระกูล
และถ้าคุณดีดกู่ฉินด้วยละก็ คุณจะดูสูงส่ง ลึบลับ น่าเลื่อมใสเข้าไปอีกขั้น

แต่ถ้าคุณเป็นพ่อค้า
ต่อให้คุณรวยและเป็นคนดีแค่ไหน
คุณก็ไม่มีทางดูดีได้ ร่างกายจะไร้รัศมีและหมองหม่น
เพราะพ่อค้า เป็นอาชีพที่คนจีนดูถูกมากที่สุด
อาจจะเป็นเพราะว่าคนค้าขายในสมัยนั้นไม่ค่อยสุจจริตก็เป็นได้

นั่นแปลว่าฉายาของกู่ฉิน “บิดาแห่งดนตรีจีน”
หรือ “ดนตรีชั้นสูง” ไม่ได้มาจากความหรูหรางทางวัตถุ
จะมาจากความสูงส่งของจิตใจ




มีกวีบทหนึ่งในสมัยถัง
ประพันธ์โดย หลิวฉางชิง ในบท ฟังบรรเลงฉิน
泠泠七弦上,静听松风寒。 古调虽自爱,今人多不弹。
“แต๊วแต๊วบนเจ็ดสาย, เงียบฟังสนลมหนาว, เพลงเก่าแม้นตนชอบ, เดี๋ยวนี้คนไม่ฟัง”
จากบทกลอนข้างต้น ทำให้เรารู้ว่า
แม้นกู่ฉินจะปรากฏในกวีสมัยถังเป็นจำนวนมาก
แสดงถึงความนิยมและความรุ่งเรื่อง
แต่ก็เริ่มที่จะค่อยๆ ถูกลืมไปทีละน้อยแล้ว

เมื่อมาดูกวีสมัยราชวงศ์ถังและหยวน
จะพบผีผาและกู่เจิงมาแทนที่กู่ฉิน
นั่นแปลว่า ยุคสมัยยิ่งใหม่
ผู้คนก็นิยมอะไรที่เอิกเกริกครื้นเครงและเข้าใจง่ายขึ้น

เมื่อเวลาเปลี่ยนคนก็เปลี่ยน
กู่ฉินถึงแม้ว่ายุคหลังๆคนเล่นกู่ฉินจะน้อยลงไปเรื่อยๆ
แต่กู่ฉินก็ยังไม่ได้สาปสูญไป

ต่อมาเมื่อถึงยุคปฏิวัติการปกครอง
ประธานเหมาก็ได้โละของเก่าทิ้งหมด
เพราะแนวคิดของท่านคือ “ของเก่า ทำให้ชาติไม่เจริญ”
ดังนั้นยุคนี้เป็นยุคที่ปัญญาชนตกงาน
ชาวนาเป็นใหญ่ ที่จริงประธานเหมาก็เป็นชาวนามาก่อน

เถ้าแก่ใหญ่ร้านยาแผนโบราณในสมัยนั้น
ก็ได้รับความเสียหายจากนโยบายของท่านประธานเหมาเช่นกัน
ธุรกิจขายยาแผนโบราณถูกปิด และเถ้าแก่ถูกริบซับ
หนึ่งในนั้นคือกู่ฉินสมัยราชวงศ์ซ่ง



ทรัพย์สินทั้งหมดของปัญญาชน
ถูกเก็บไว้ในอาคารแห่งหนึ่งและถูกจำหน่ายไปในราคาถูก
ลองทายซิครับว่ากู่ฉินสมัยราชวงศ์ซ่ง ราคาเท่าไร

“5 หยวน”

ถูกต้องครับ ห้าหยวน ผมไม่ได้พิมพ์ตก
ห้าหยวนในสมัยนั้นถือว่าเป็นเงินที่ไม่น้อยไม่มากในสมัยนั้น
แต่สำหรับวัตถุโบราณแล้ว เป็นอะไรที่น่าน้อยใจมาก

นอกจากนี้แนวคิดของคอมมิวนิสต์
ยังมีสโลแกน “คนเราเท่าเทียมกัน”
ทีนี้ชาวนาที่ถูกปัญญาชน(แต่นิสัยไม่ดี)รังแก
ก็ถึงคราวเอาคืน



คงยังไม่ลืมกันว่า คนรู้หนังสือคืนคนกลุ่มน้อย
เมื่อชาวนาครองเมือง ก็เลือกพูดเรื่องจริยธรรมไปได้เลย

เนื่องจากจำนวนคนที่มหาสาร
ทรัพยากรจึงไม่สามารตอบสนองความต้องการได้อย่างทั่วถึง
การแย่งชิง(แบบใสสื่อ)จึงเกิดขึ้น และเป็นเรื่องปกติไปแล้ว

ต่อมาเมื่อประเทศจีนเปิดอย่างเป็นทางการ
จีนก็รับอิทธิพลทางวัตุของฝรั่งมาเต็มๆ
เนื่องจากเป็นของใหม่ แปลกตาแปลกใจ
บวกกันคนขาดความรู้
ทำให้เกิด วัฒนธรรมทะลัก
คนจีนรับเอามาหมด แบบไม่ได้คิด



ฝรั่งเน้นเรื่องวัตถุเป็นที่หนึ่ง
ลองสังเกตุว่า
เมื่อฝรั่งรู้สึก เครียด ฝรั่งจะกินยา
แต่เมื่อคนเอเชียเครียด จะนั่งตริตรองว่า
ทำไม จึงเครียด

จากตัวอย่างข้างต้นทำให้รู้ได้ว่า
ฝรั่งนิยมอาศัยวัตถุมาตอบสนองเงื่อนไข
มากกว่าการคิดถึงต้นเหตุแห่งอารมณ์
ทุกข์ สุขเลือกได้



กู่ฉินก็เช่นกัน
ถึงแม้เดิมทีคือเครื่องมือบ่มเพาะจิตใจคน
แต่ทุกวันนี้ คนเปลี่ยนไป
การตีความและใช้งานของกู่ฉินก็เปลี่ยนไปเช่นกัน

กู่ฉิน “เครื่องดนตรีชั้นสูง”
ถูกตีความด้วยแนวคิดแบบฝรั่ง
นั่นก็แปลว่า
กู่ฉิน คือเครื่องดนตรีที่หรูหรา ไฮโซ
ซึ่งผิดกับแนวคิดแบบเดิมโดยสิ้นเชิง

เนื่องจากประเทศจีนกว้างใหญ่
ดังนั้นกู่ฉินจึงมีสำนักเป็นสิบเป็นร้อย
ปรมาจารย์กู่ฉินแต่ละสำนัก
ก็คิดว่าสำนักของตัวเองคือยอดสุด
จึงมีการโจมตีว่าร้ายกันในวงการ

“ตาคนนั้นหน่ะหรอ สำเนียงเพลงหนวกหู รีบเร่ง กู่ฉินมันไม่ใช่แบบนี้”
“แม่คนนั้นหน่ะหรอ เล่นเนิบนาบ อมลมชมวิว เพลงนี้มันต้องคึกคัก”

ปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่ต่าง ทำให้การปรุงแต่งวัตถุที่ใจไปกระทบก็ย่อมต่าง
อย่าลืมว่าโลกนี้ไม่มีอะไรดีที่สุด มีแต่เหมาะสมกับตัวเราที่สุด
แน่นอนว่ายกทรงไม่เหมาะกับผู้ชาย ถึงแม้ว่าผู้หญิงจะบอกว่าดีก็ตาม



ผมเคยมีประสบการณ์กับตัวเอง
ครั้งหนึ่งได้ไปร่วมชมรมกู่ฉินของมหาวิทยาลัยดังแห่งหนึ่งในปักกิ่ง
ตอนนั้นบังเอิญได้พบกับเพื่อนที่หน้าประตู
เริ่มงาน ประธานก็แถลงกิจกรรมและนโยบายของชมรม

จบการบรรยายก็ได้เชิญผู้มาใหญ่ที่เล่นกู่ฉินได้ขึ้นแสดง
เพื่อนของผมรู้ว่า ผมเล่นได้ก็เชียร์ใหญ่
จนต้องขึ้นแสดง ทั้งๆที่ไม่ยินยอมเท่าไรนัก

ตอนนั้นเพลงที่ผมเล่นได้ มีแต่เพลงชั้นสูง
เพราะก่อนหน้านี้ได้ทำการเตรียมตัวเพื่อสอบเข้าวิทยาลัยดนตรีจีน
จึงต้องเล่นแต่เพลงยากๆเพื่อแสดงฝีมือ
เนื่องจากประสบการณ์อันน้อยนิด จึงสอบไม่ติด

เพลงที่ผมเลือกเล่นคือเพลง “เมฆเอื่อยเหนือกระแสน้ำเชี่ยว”

ถือเป็นเพลงที่เทคนิคยากที่สุดเพลงหนึ่ง
และผมเล่นได้ค่อนข้างดีกว่าเพลงอื่นๆ

พอเล่นจบก็เสียงปรบมือก็ดังทั่วห้องประชุม
แต่สิ่งที่แปลกก็คือ สีหน้าของประธานและสมาชิคในชมรมดูไม่ค่อยรับแขกเท่าไรนัก

หลังจากนั้น ทางชมรมก็ได้ส่งรองประธานชมรม
มาบรรเลงเลง “กว่างหลิงส่าน” ซึ่งก็ถือว่าสุดยอดทางเทคนิคเช่นกัน

gls chat -

ในแสดงผมสังเกตุท่าทางของรองประธาน
ดูตื่นเต้น มือสั่นและเล่นผิดเยอะมาก
เดิมทีผมคิดว่า อาจจะเป็นเพราะว่าตื่นเต้นก็เป็นได้

หลังจากจบการประชุมชมรม ผมกับเพื่อนก็ได้แยกย้ายกลับบ้าน

หนึ่งอาทิตย์ต่อมาเพื่อนผมคนนั้นก็ได้ไปชมรมนั้นอีก
เค้าได้นำเรื่องที่ประธานชมรมพูดกับเค้ามาเล่าให้ผมฟัง

นี่ รู้มั้ย เมื่อวานไปชมรมมา ประธานเรียกผมเข้าไปคุย
สีหน้าเคร่งเครียดมาก แล้วบอกว่า
“นี่คุณ อาทิตย์ที่แล้ว ที่พาไอคนไทยนั้นมา
หมายความว่าไง จะฉีกหน้าชมรมเราใช่มั้ย
ถึงเชียร์มันขึ้นไปเล่นเพลงนั้นหน่ะ”

ตอนนั้นเพื่อนผมถึงกับจุก พูดไม่ออก
ก็ได้แต่บอกเค้าไปว่า “เราเจอกันหน้างาน”



พอผมได้ยินเรื่องนี้ก็รู้สึกเศร้ามากกับวงการกู่ฉินในจีนวันนี้
คนทุกวันนี้เล่นกู่ฉินเอาหน้าตาทางสังคมไปหมดแล้ว

เพลงก็ถูกแบ่งเลเวลความยากตามสากล
เหมือนเรียนเปียโน หรือไวโอลิน

ทั้งๆที่ความยากของกู่ฉิน ไม่ได้อยู่ที่เทคนิค
เพลงบางเพลงที่สั้นหนึ่งนาทีและเล่นได้ง่ายๆ
แต่ความเข้าถึงกลับต้องอาศัยระยะตลอดชีวิต





คนทุกวันนี้ลืมไปแล้วว่า วิถีแห่งกู่ฉิน คืออะไร
ผู้คนที่ผมเคยนับถือ เพราะเล่นกู่ฉิน
มันไม่ได้ต่างอะไรกับคนธรรมดาเลย



วันหน้าผมหวังว่า
การเผยแพร่กู่ฉินในไทยของผม
จะยังคงดำรงความดั้งเดิมและเจตนารมณ์ของคนโบราณไว้ให้ได้มากที่สุด
และหวังว่าคนรุ่นต่อๆไป
จะตีความ วิถีของกู่ฉิน ได้อย่างถูกต้อง
ตลอดไป




Create Date : 05 มกราคม 2552
Last Update : 13 มกราคม 2552 18:38:31 น.
Counter : 2692 Pageviews.

21 comments
  
สวัสดีค่ะ อิมาอิมซังมีคำถามถึงคุณค่ะ
กู่ฉินกับพิณคือสิ่งเดียวกันใช่ไหมค่ะ อิมาอิซังแยกกู่ฉินกับกู่เจิ้งออกก็เพราะเคยแวะเข้ามาที่บล็อกนี้ค่ะ

อิมาอิซัง เคยเอารูปวาดคนเล่นดนตรีรูปนึงไปลงที่บล็อก มีคนทักว่ากู่ฉิน ก็เลยอยากลองฟังเสียงดู ก็เลยเข้ายูทูป พิมพ์คำนี้ลงไป ได้เพลงนึงมา ที่สนใจก็เพราะว่าเป็นเพลงของเีจี๋ยหลุน คือเพลง ju hua tai ที่ใช้ประกอบหนัง ศึกโค่นบััลลังก์วังทอง

เข้าเรื่องดีกว่า เดี๋ยวงง คือว่าถ้าคำว่ากู่ฉิน แปลออกมาได้ว่า เป็นพิณแล้ว อิมาิอิแต่งนิยายย้อนยุคเรื่องนึงค่ะ ใช้คำว่าตัวเอกนั้นเก่งดนตรีกู่ฉินเลย ได้ไหมค่ะ คนโบราณเขาเรียกแบบนี้กันเลยหรือเปล่า หรือว่าคนโบราณเรียกพิณ (ตามความหมายของไทย) คำว่ากู่ฉินเพิ่งมีมาใช้เรียก เพื่อให้รำลึกถึงน่ะคะ

งงไหมค่ะ อิมาอิซังควรใช้คำว่ากู่ฉินหรือพิณดี ไม่อยากถ่ายทอดข้อมูแหรือข้อความผิด ๆ ต่อคนอ่านค่ะ จะได้แก้ไขทัน

กรุณาด้วยค่ะ
โดย: อิมาอิซัง วันที่: 13 มกราคม 2552 เวลา:21:26:24 น.
  
วิถีแห่งกู่ฉิน

.
.

.

อย่าลืมคำๆนี้นะครับน้องชัช
มันจะทำให้น้องชัชเป็น "ตัวจริงเสียงจริง"
ในเรื่องกู่ฉินคนนึงของประเทศไทย


โดย: กะก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 13 มกราคม 2552 เวลา:21:28:20 น.
  
32 น้ำตก กลิ๊ตเตอร์ (หลับสบาย…ฝันดีค่ะ)


ป้าไม่ใช่นักดนตรี ไม่มีพื้นฐานใดๆทางดนตรีเลย
เป็นแค่นักฟังธรรมดาๆคนหนึ่ง ซึ่งมีหูที่ธรรมดาจริงๆ คือสักแต่ฟัง
ไม่สามารถแยกได้ระหว่างความเพราะ หรือ ไม่เพราะ
ป้าจึงไม่ค่อยเข้าใจในสิ่งที่คุณชัชพูด


แต่สิ่งที่ป้ารับได้จากการบรรจงอ่านคือคุณชัชให้ใจกับกู่ฉินมาก
กู่ฉินเป็นเสียงเพลงในหัวใจของคุณชัชทีเดียว


ดูเหมือนคุณชัชจะผิดหวังกับคน
คนซึ่งเป็นเจ้าของกู่ฉิน
คนซึ่งน่าจะรัก เคารพ และ ให้เกียรติกู่ฉินให้สมกับที่ …นี่คือสมบัติล้ำค่าที่บรรพบุรุษของตนทิ้งไว้ให้

แต่วันนี้ คนที่ควรดูแลกู่ฉิน กลับใช้กู่ฉินเป็นเพียงบันไดไต่ไปสู่ความมีหน้ามีตา
คุณชัชผิดหวังกับสิ่งนี้ ผิดหวังมาก ๆ ๆ ๆ เพราะคุณชัชรักกู่ฉินจริงๆ รักมากกว่าเจ้าของกู่ฉินด้วยซ้ำ

อย่าผิดหวังเลยคุณชัช เพราะนี่คือความเป็นธรรมดา
ตราบที่โลกนี้ยังมีคน ….. ที่อุดมไปด้วยกิเลส
คุณชัชก็จะยังได้พบในสิ่งที่ไม่อยากพบ ได้เจอในสิ่งที่ไม่อยากเจอ อีกหลายครั้ง

ดีที่สุดคือเตรียมตัวเตรียมใจไว้ล่วงหน้า จะได้ไม่ผิดหวังมากเกินไป

อยู่กับใจที่อิ่มเย็นและดูแลสุขภาพนะคะ


โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 13 มกราคม 2552 เวลา:21:37:02 น.
  
มาอีกรอบค่ะ วิ่งไปหาข้อมูลเพิ่มไ้ด้ว่า
ฉิน หรือ พิณเจ็ดสาย กู่เพิ่งมาิเติมที่หลัง อย่างข้อมูลที่คุณบอกต้นบล็อก ฉะนั้นอิมาอิซัง ควรใช้คำว่า ฉินหรือพิณ ใช่ไหมค่ะ

ขอโทษที่รบกวนอีกรอบค่ะ
ต้องโทษตัวเองที่ข้อมูลยังไม่แน่น แต่รีบเกินไป
โดย: อิมาอิซัง วันที่: 13 มกราคม 2552 เวลา:21:56:04 น.
  
สวัสดียามเช้าครับน้องชัช

ไม่ได้มีแต่พี่ก๋าคนเดียวซะหน่อย 5555





โดย: ก.ก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 14 มกราคม 2552 เวลา:8:11:00 น.
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลความรู้ที่มอบให้ค่ะ

อิมาิอิเปลี่ยนมาใช้คำว่าฉินตามที่คุณชัชบอกค่ะ ลองหาศัพท์ ฉินใน พจนานุกรม เขาหมายรวมถึง ขิมเข้าไปด้วย

ก็เลยใช้ฉินเลยค่ะ ต้องขอบคุณคุณชัชมากค่ะ คงต้องรีบไปแก้ไขนิยายตัวเองค่ะ

และอีกอย่างค่ะ ฉินนี่ ในนิยายที่อิมาอิซังใช้มันมีเจ็ดสาย แต่เมื่อคืนเข้าหาข้อมูล ว่ามันมีแบบห้าสาย สิบสายด้วย

และในmv ของเจี๋ยหลุน อิมาิอิดูดี ๆ มันกู่เจิ้งชัด ๆ (เห็นมีที่หนุนรองรับสาย)

ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ ทีนี้่ก็ต้องเป็นอิมาิอิแล้วที่ต้องรีบไปแก้ข้อมูลในนิยาย
โดย: อิมาอิซังค่ะ IP: 125.26.216.103 วันที่: 14 มกราคม 2552 เวลา:8:52:09 น.
  
พี่ก๋าคิดว่า "วิถี" "มรรค" "มรรคา"
ไม่ว่าเราจะเรียกมันว่าอย่างไร

มันคือหนทางเดียว
ที่จะนำเราเป็นส่วนหนึ่งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งที่เราทำอยู่

ชอบที่เขาบอกว่า

ต้นหญ้าในมือจอมยุทธ์
ก็เปรียบเสมือนกระบี่ได้

เมื่อกระบี่อยู่ที่ใจ
ใจอยู่ที่กระบี่


วันนี้พี่ก๋ากับน้องชัชมาแนวจอมยุทธ์แฮะ 5555

โดย: ก.ก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 14 มกราคม 2552 เวลา:10:46:44 น.
  
มารบกวนอีกแล้วค่ะ นิยายของอิมาอิ เป็นเมืองสมมุติค่ะ อยู่ราวยุคชินชิว แต่ตัวละครสามารถใช้ฉินเจ็ดสายได้หรือเปล่าค่ะ แม้มันจะมามีมาตรฐานเจ็ดสายในยุคสมัยหลังก็ตามน่ะค่ะ

มาแต่ละทีก็มีแต่คำถามไม่หยุดเลยเนาะ
โดย: อิมาอิซังอีกแล้วค่ะ IP: 125.26.221.70 วันที่: 14 มกราคม 2552 เวลา:11:16:38 น.
  
ตอนเด็กๆหนูมีเพื่อนชื่อฉินพึ่งทราบความหมายก้วันนี้เองอะ
โดย: น้องผิง วันที่: 14 มกราคม 2552 เวลา:11:42:53 น.
  
ตอนนี้อยู่สิงคโปร์แล้วนะครับ แล้วจะหาทางเรียนฉินจากที่นี่ดู น่าจะมีให้เล่นบ้างล่ะนะ
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนะครับ แล้วจะพยายามหาเวลามาอ่านนะครับ
โดย: POPPYZAN IP: 202.156.10.225 วันที่: 14 มกราคม 2552 เวลา:11:44:55 น.
  
ขอบคุณจากหัวใจค่ะ

จะแวะเข้ามาฟังเพลงบ่อย ๆ ค่ะ อยากแยกเสียงฉินกับเจิ้งให้ได้ค่ะ

แหม ๆ แต่น่าตียูทูปสักที เสริชหากู่ฉิน ได้กู่เจิ้งมาซะงั้น แต่ก็ดีค่ะ เพลงเพราะ ไม่ว่าจะฉินหรือเจิ้งก็จะหาลองฟังบ่อย ๆ คุ่ะ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
โดย: อิมาอิซังค่ะ IP: 125.26.221.70 วันที่: 14 มกราคม 2552 เวลา:13:38:58 น.
  
ไว้พี่ตามไปฟังนะชัช ขอบใจที่คิดถึงกัน
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
โดย: sawkitty วันที่: 14 มกราคม 2552 เวลา:13:41:28 น.
  
sweet dream comments

Good Night comments



มาเยี่ยมเยียนคะ
ตอนนี้คุณชัชอยู่เมืองไทยหรือเมืองเทศกันแน่ ….ป้าเป็นงง

หลับสบาย ฝันดี มีความสุขค่ะ


โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 14 มกราคม 2552 เวลา:21:31:13 น.
  
ขอบคุณนะคะ ได้ความรู้เรื่องกู่ฉินแบบเต็มๆเลยค่ะ คุณชัชมีความรู้เรื่องกู่ฉินดีเข้าขั้นกูรูเลยนะเนี่ย เอาใจช่วยให้เผยแพร่เรื่องกู่ฉินในเมืองไทยได้สำเร็จอย่างที่หวังนะคะ

ภาพวาดในบล๊อคสวยมากค่ะ
โดย: haiku วันที่: 14 มกราคม 2552 เวลา:21:31:57 น.
  
สวัสดียามเช้าครับน้องชัช


โดย: ก.ก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 15 มกราคม 2552 เวลา:8:10:34 น.
  
ในยุคชุนชิวยังไม่มีฉิน7สายครับ ถ้าจะใส่เดี๋ยวไม่สมจริงเอาครับ ฮ่าๆๆ

---

พี่ชัชครับ ผมบอกตามตรงเลยครับว่า ผมเคยคิดใช้กู่ฉินเป็นสิ่งที่นำพาไปหาสิ่งที่ผมต้องการ แต่เมื่อผมกลับเล่นแล้วรู้สึกชอบอย่างบอกไม่ถูก แค่สัมผัสมันก็มีความสุขแล้วน่ะครับ ผมสัญญาว่าจะสืบทอดเจตรารมณ์ของคนโบราณอย่างที่พี่ชัชทำด้วยเช่นเดียวกันครับ
โดย: เฟย... IP: 124.121.34.176 วันที่: 15 มกราคม 2552 เวลา:22:02:30 น.
  
กู่ฉินมีเจ็ดสายตั้งแต่ราชวงศ์โจวแล้วครับน้องเฟย

เพราะโจวเหวินหวังและโจวหวู่หวังได้เพิ่มสายหกและเจ็ดตามลำดับ ตามที่บันทึกไว้ (ไม่รู้จริงรึเปล่า บางทีคนจีนก็เอาชื่อคนดังมาโฆษณา)

จากหลักฐานกู่ฉินมีทั้งสายเดียว ห้าสาย สิบสาย เก้าสายและเจ็ดสาย จะพบมากที่สุดคือห้าสายครับ
โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 16 มกราคม 2552 เวลา:7:27:50 น.
  
สวัสดีครับน้องชัช

เมื่อก่อนพี่ก๋าคิดแบบน้องชัช
สมัยเรียนถ้าไม่ชอบ ไม่อยากฟังพี่ก๋าเดินหนีเลย
ไม่อยากรับรู้ ขี้เกียจรับฟัง


แต่พอมาทำงานที่ร้าน
มันเลี่ยงไม่ได้ครับที่เราจะต้องฟัง

พอฟังมากเข้ามันเหมือนมีภูมิต้านทานนะครับ
ยิ่งฟังมาก ยิ่งรับมาก
ยิ่งรู้ทันคน รู้ทันความคิดของคน


มันเป็นส่วนที่เราต้องยอมจ่าย
หากอยากเข้าใจชีวิตครับ อิอิอิ



โดย: ก.ก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 16 มกราคม 2552 เวลา:8:00:25 น.
  
อ้าว เหรอครับพี่ชัช

ผมนึกว่า ตั้งแต่สมัยตงฮั่นซะอีกครับ ...
โดย: เฟย IP: 124.122.204.240 วันที่: 16 มกราคม 2552 เวลา:13:36:50 น.
  
สวัสดีครับน้องชัช

โดย: ก.ก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:10:14:18 น.
  
ถ้าว่างคงต้องเอาผีผามาโชว์หน่อยล่ะครับน้องชัช
จะให้เริ่ดกว่านั้นก็ขอเสียงบรรเลงมาด้วยเลยนะครับ อิอิอิ

จะรอชมและรอฟังครับ

โดย: กะก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:22:36:09 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กู่ฉิน
Location :
Beijing  China

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



ชัชชล ไทยเขียว (ชัช)
ยินดีที่ได้รู้จักผู้สนใจดนตรีกู่ฉินทุกท่านครับ

MSN : tq.canchuan@hotmail.com
https://www.facebook.com/SiamGuqin