พฤษภาคม 2554

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
กู่ฉินและงานอดิเรกอื่นๆของปัญญาชน
สำหรับคนทั่วไปแล้ว มักจะรู้จักกู่ฉินในชื่อ บิดาแห่งดนตรีจีน หรือเครื่องดนตรีของปัญญาชน
สาเหตุหนึ่งก็คงหนีไม่พ้น คำว่า "ฉิน ฉี ซู ฮว่า(琴棋书画)" หรือที่แปลว่า กู่ฉิน หมากล้อม(โกะ) การเขียนอักษรจีนและการวาดพู่กันจีน ซึ่งตำราส่วนมากท่ีเขียนยกย่องกู่ฉิน มักจะอ้างประโยคนี้ แล้วบอกว่า "เห็นมั้ย กู่ฉินมาเป็นลำดับแรง แสดงว่ากู่ฉินสำคัญเป็นทีีสุด" แต่สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่าคนที่เอามาเรียงแบบนี้คนแรก คงจะเรียงตามความไพเราะซะมากกว่าที่คนรุ่นหลังเอาไปคิดเยอะ

"ฉิน ฉี ซู ฮว่า" ยังมีความเข้าใจผิดอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งคนจีนส่วนมากก็เข้าใจแบบนั้น นั่นก็คือแนวคิดที่ว่า "ผู้ที่พร้อมไปด้วยศิลปะทั้งสี่ข้างต้นนั้น จะเป็นปัญญาชนที่แท้จริง" (ซึ่งเรื่องนี้ผมเคยพูดไปแล้วทีนึง อยากจะหยิบมาปัดฝุ่นอีกครั้ง เพราะคิดว่ามีความจำเป็นที่ต้องให้ความชัดเจน แก่ผู้ที่กำลังสนใจกู่ฉินอยู่) ในประเทศจีนมีวิชาแขนงหนึ่ง ชื่อว่าเสียงในภาษาจีนโบราณ ซึ่งผู้ที่จะเรียนได้นั้น จะได้ชื่อว่าเป็นอัจฉริยะที่แท้จริงในวงการภาษา แต่ก็มีกลุ่มคนบางกลุ่ม เข้าไปศึกษาวิชานี้ เพื่อจะให้ได้ชื่อว่าเป็นอัจฉริยะ ซึ่งก็มีหลักการเดียวกันกับเรียนกู่ฉินแล้วเป็นปัญญาชนนั่นเอง

ทีนี้ลองมาสังเกตุดูศิลปะของปัญญาชนทั้งสี่ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น พอจะเข้าใจได้ว่าปัญญาชนคือผู้เลือก ไม่ใช่ผู้ถูกเลือก และในความเป็นจริงงานอดิเรกในโลกนี้มีมากกว่าสี่อย่างแน่นอน ดังนั้นพอจะสรุปคร่าวๆได้ว่า "ฉิน ฉี ซู ฮว่า" เป็นเพียงสี่ในงานอดิเรกหลายๆอย่าง ที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากชนชั้นปัญญาชนเท่านั้น (ปัญญาชนในที่นี้หมายถึง ผู้ที่ได้รับการศึกษา เนื่องจากสมัยโบราณ คนที่ได้เรียนหนังสือมีน้อยมาก ดังนั้นของเล่นที่เกี่ยวโยงไปถึงด้านภาษา จึงดูสูงส่งมาก) นั่นก็แปลว่า ไม่ใช่งานอดิเรกของปัญญชนคนเดียว แต่เป็นการรวบรวมสถิติแบบคร่าวๆเท่านั้น และเนื่องจากต่อมากู่ฉินได้พัฒนาจนได้รับการตอบรับอย่างสูงสุด ทำให้กู่ฉินกลายเป็นของแบรนเนมประจำตัวปัญญาชนไป จนทำให้เกินคำว่า "อันปัญญชน ด้านขวาเป็นตำรา ด้านซ้ายเป็นกู่ฉิน"และด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นกระแสที่ว่า ใครที่เรียนหนังสือแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือกู่ฉิน จากนิยายเรื่องความฝันในหอแดง ตอนที่84 พระเอกของเรื่องไม่รู้จักโน้ตกู่ฉิน ทำให้นางเอกตำหนิว่า "ดูสิคนรู้หนังสือ โน้ตกู่ฉินก็ไม่รู้จัก" ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากู่ฉินและปัญญาชน กลายเป็นแพคเกจซื้อหนึ่งแถมหนึ่งไปโดยปริยาย

ศิลปะอื่นๆก็คงเช่นเดียวกัน แต่สำหรับผมแล้ว ผู้ที่เล่น "ฉิน ฉี ซู ฮว่า" ได้ครบทั้งสี่ อย่าง มีสองประเภท หนึ่ง
อัจริยะบ้านรวย ทำไมต้องบ้านรวย ก็เพราะของเล่นเหล่านี้ต้องใช้สมาธิและเวลาอย่างมาก และที่สำคัญ มันไม่มีรายได้ (ซึ่งตรงนี้ยากมากจริงๆ เพื่อนผมเป็นศิลปินพู่กันจีม ซ้อมวันละสิบกว่าชม จะแบ่งเวลาไปเล่นอย่างอื่นก็ไม่พอแล้ว)
สอง คนเพ้อเจ้อที่ว่างมาก เพราะว่าเข้าใจว่าถ้าตนมีพร้อมทั้งสี่ สังคมจะมองตนเป็นปัญญาชน ก็เลยพยายามเล่มมันทั้งสี่อย่าง แต่ไม่เก่งซักชิ้น เอาไว้โชว์เป็นพอ

สำหรับตัวเองแล้ว ในฐานะคนรักคนตรีคนหนึ่ง ผมชอบดนตรีกู่ฉิน ชอบพู่กันจีนบ้าง แต่ไม่สนใจหมากกระดาน(ทุกชนิด)เท่าไรนัก ซึ่งยังไงผมก็ไม่มีทาง ที่จะไปทุ่มให้กับงานอดิเรกอื่นๆที่ผมไม่ปลื้มเท่าไรแน่ๆ จากตัวอย่างนี้เห็นได้ว่าเป็นไปได้ยากมาก ที่คนคนหนึ่งจะสามารถลงลึกไปได้ครบทุกอย่าง ถึงแม้ว่าผมคนเดียว จะไม่สามารถมีน้ำหนักมากพอที่จะคัดค้านแนวคิดข้างต้น แต่ที่แน่ๆตัวผมเองคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วย ศาสตราจารย์หลี่เสียงถิง ผู้เชี่ยวชาญกู่ฉินประจำปักกิ่งเคยกล่าวกับผมว่า ""ฉิน ฉี ซู ฮว่า" เป็นสัญลักษณ์ของปัญญาชนในอุดมคติเท่านั้น ไม่มีจริงในโลกนี้ ปัญญาชนที่เล่นกู่ฉินจริงๆ จะมีไมเนอร์เป็นการรำกระบี่ซะมากกว่า (เพราะการเขียนพู่กันมันคือชีวิตประจำวัน)"

จากเนื้อหาคร่าวๆข้างต้น หวังว่าจะทำให้ทุกท่าน มีความเข้าใจเกี่ยวกับกู่ฉินและงานอดิเรกของปัญญชนอื่นๆ ถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น และเพื่อการเสพศิลปะแขนงต่างๆได้อย่างถึงแก่นแท้มากขึ้น ก็แค่ลืมสิ่งที่ตกแต่งมันไปให้หมด มองให้เห็นเนื้อแท้ เราก็จะไม่ถูกเปลือกนอกหลอกในหลงทาง ดั่งศาสนาพุทธ ยิ่งเราหลงไปกับเปลือกพิธีกรรมหุ้มแก่นฉันใด เราก็ยิ่งห่างการเนื้อแท้แห่งธรรมฉันนั้น

ชัชชล ไทยเขียว






Create Date : 31 พฤษภาคม 2554
Last Update : 31 พฤษภาคม 2554 9:01:05 น.
Counter : 2789 Pageviews.

4 comments
  

พี่อุ้มแวะมาอ่านและโหวต Music ให้น้องชัชเลยจ๊ะ

โดย: อุ้มสี วันที่: 31 พฤษภาคม 2554 เวลา:1:46:52 น.
  
Good Night ฝันดีนะครับเพื่อนๆ News
โดย: bbandp วันที่: 31 พฤษภาคม 2554 เวลา:5:00:06 น.
  
โอ้...เขียนได้น่าอ่าน น่าฟังมากๆนะ
โดย: อาอั๋น ลูกชาวเล IP: 223.207.43.171 วันที่: 31 พฤษภาคม 2554 เวลา:6:35:20 น.
  
ผมชอบบทความนี้มากเลย อ่านแล้วเพลินเลยครับ ได้สาระด้วย
โดย: อ้น IP: 1.4.167.204 วันที่: 1 กรกฎาคม 2555 เวลา:21:40:26 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กู่ฉิน
Location :
Beijing  China

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



ชัชชล ไทยเขียว (ชัช)
ยินดีที่ได้รู้จักผู้สนใจดนตรีกู่ฉินทุกท่านครับ

MSN : tq.canchuan@hotmail.com
https://www.facebook.com/SiamGuqin