กุมภาพันธ์ 2554

 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
17
18
19
21
22
23
25
27
28
 
 
All Blog
กู่ฉินและเรื่องคุณภาพนักดนตรี เครื่องดนตรี และอื่นๆอีกเยอะหน่อย
สำหรับคนทั่วไปอาจจะรู้สึกว่า
กู่ฉิน

เป็นเครื่องดนตรีของปัญญาชน เครื่องดนตรีที่บ่มเพาะจิตใจ ทำให้ผู้เล่นเกิดความสงบ มีสมาธิ และเกิดปัญญา

แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป

ในบทความนี้ผมจะนำเสนอ ความวุ่นวายในวงการกู่ฉินของประเทศจีน ที่ทุกคนอาจจะไม่คาดคิดมาก่อน ซึ่งมันอาจทำร้ายจิตใจผู้ที่ยกย่องกู่ฉินเป็นเครื่องดนตรีในอุดมคติ ทั้งนี้ทั้งนั้น ล้วนเป็นเรื่องที่ผมพบเจอมาทั้งสิ้น แต่ด้วยความเป็นต่างชาติ และความเป็นเด็ก การรับสื่อบางอย่างอาจจะไม่ได้เต็มที่ แต่มันก็ทำให้ผมมองวงการกู่ฉินในปัจจุบันเปลี่ยนไปอีกแบบเลยทีเดียว

ก่อนอื่น ขอออกตัวเลยว่า บทความนี้ไม่ได้มีเจทนาจะโจมตีใคร หรือจะยกย่องใคร แต่ต้องการให้ผู้ที่ศึกษาหรือกำลังจะศึกษากู่ฉินในประเทศไทย อย่าได้เอาเป็นเยี่ยงอย่าง ไม่ว่าจะเป็นในศาสตร์หรือศิลป์แขนงใดก็ตาม เพราะมันจะเป็นตัวบ่นทำลายทั้งตัวคุณและวิชานั้นโดยไม่รู้ตัว

เรามาเข้าเรื่องเลยดีกว่า ผมจะเล่าไปเรื่อยๆ เนื้อหาอาจขาดการเรียบเรียง เพราะบางเรื่องมันนานมาแล้ว


เดินทีนั้นกู่ฉิน เป็นสายวิชาค่อนข้างสันโดษ ไม่ค่อยยุ่งเกี่ยวกับใคร การที่ลูกศิษย์จะได้เรียนกับท่านอาจารย์นั้น อาจารย์จะต้องคัดแล้วคัดอีก เพื่อจะถ่ายทอดวิชาให้กับคนที่เดินทางถูกต้อง วิชาเหล่านี้ศิษย์ดีจะนำไปพัฒนาในทางที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่าการเผยแพร่แบบนี้จะทำให้ไม่แพร่หลาย
แต่อย่างน้อยก็รับประกันคุณภาพได้ว่า รุ่นต่อไปสามารถสืบทอดได้จริงๆ อีกทั้งยังสามารถป้องกันศิษย์มาร ที่อาจเอาวิชาไปทำร้ายผู้อื่นหรือตัวอาจารย์เองก็ตาม ซึ่งกู่ฉินในจีนทุกวันนี้ เป็นแบบนี้
เนื่องจากในยุคโบราณไม่ว่าจะเป็นด้านซีกโลกตะวันตกหรือตะวันออก ก็ล้วนให้ความสำคัญทางด้านจิตใจเป็นหนึ่ง แต่โลกทุกวันนั้นเปลี่ยนไป วัตถุนำหน้าจิตใจจนเข้าเส้นชัยไปนานแล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงมีการแก่งแย่งชิงดี เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุ ตรงนี้เองที่ผมจะบอกว่า ที่จริงแล้วไม่ใช่เพียงแต่วงการกู่ฉินเท่านั้นที่มีปัญหาแบบนี้ ศาสตร์และศิลป์แขนงอื่นก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน ทุกคนคิดว่าเรื่องแบบนี้ ไม่น่าจะเกิดกับวงการกู่ฉิน แต่ผิดถนัด เครื่องดนตรีพัฒนาจิตใจปัญญาชน เป็นเพียงเปลือกนอกอันงดงามไปเสียแล้ว แต่ความโกลาหลวุ่นวายภายใน เป็นเรื่องที่คนนอกจินตนาการไม่ออกเลยทีเดียว
เริ่มที่เมื่อปี 2006 ผมได้มีโอกาศไปศึกษากู่ฉินที่ประเทศจีน ตอนนั้นก็ได้เรียนกับ ศ. หลี่เสียงถิง เพื่อเข้าไปเรียนต่อในวิทยาลัยดนตรีกลางประจำประเทศจีน วันหนึ่งผมไปเดินซื้อซีดีกู่ฉินที่นั้น เจอคนแบกกู่ฉินอีกคน เลยเข้าไปทัก
"สวัสดี นายก็เล่นกู่ฉินหรอ"
"อ่าฮะ นายเรียนกับใคร"
"หลี่เสียงถิง นายอ่ะ"
"อ. ... ไปละ"
พอเค้ารู้ว่าผมเป็นศิษย์ใคร สีหน้าเค้าก็เปลี่ยนไปทันที แล้วเดินหนีผมไปเฉย นี่เป็นเหตุการณ์แรกที่ผมรู้สึกแปลกๆกับวงการกู่ฉิน
แต่ตลอดระยะเวลาที่ผมศึกษากู่ฉินที่ประเทศจีน ผมไม่ได้เรียนกู่ฉินกับอาจารย์เพียงท่านเดียวเท่านั้น ผมยังมีไปขอคำชี้แนะจากท่านอื่นอยู่เรื่อยๆ บางท่านก็ศึกษาเป็นระยะเวลานานพอสมควร แต่สิ่งที่ผมได้ยินจากอาจารย์แต่ละท่านคือ คนนี้เล่นเทคนิคนี้ไม่ได้ คนนั้นเล่นเทคนิคนี้ไม่ได้ สรุปคือ จะสื่อว่าคนพูด เล่นได้ทุกเทคนิค มองในแง่ดี เค้าอาจจะเป็นคนที่เก่งที่สุดในตอนนั้นจริงๆ แต่ปัญหาคือ ทำไมคนแบบนี้ มันมีมากกว่าหนึ่ง หรืออาจจะถึงร้อยเลยก็เป็นได้
ในความเป็นจริงแล้ว การเขม่นกันของปัญญาชาคน มีกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ชั้นดีกว่าเธอ เธอแย่กว่าชั้น อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น กู่ฉินเป็นเครื่องดนตรีที่ค่อนข้างสันโดษ ตัวใครตัวมัน แต่พอมาถึงราชวงศ์ซ่ง กู่ฉินค่อนข้างพัฒนา มีคนเล่นมากขึ้น พอมีคนเล่นมากขึ้น อาจารย์แต่ละที่ก็เลยตั้งสำนักขึ้นมา เพื่อหาจุดเด่นให้กับตัวเอง สำนักกู่ฉินสำนักแรกของจีนคือ สำนักเจ้อไพ่(浙派)ก่อตั้งโดยกัวฉู่ว่ัง(郭楚望)นักดนตรีกู่ฉินชั้นนำในสมัยนั้น หลังจากนั้นกก็มีสำนักอื่นๆเกิดขึ้นมาประชั้นขันแข่งกันอีกเรื่อยๆ การโจมตีระหว่างสำนักก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา (สำหรับคนที่จะเรียนกู่ฉินกับผมอนาคต ผมจะไม่ไม่ตั้งสำนักขึ้นเด็ดขาด เพราะนักเรียนทุกคนคือเข้าของสำนักของตัวเอง มีอาจารย์คนเดียวและมีลูกศิษย์คนเดียว)
แต่ในปัจจุบันปัญหาเรื่องการโจมตีระหว่างสำนักนั้น ไม่รุนแรงเท่าแต่ก่อนแล้ว เพราะตอนนี้การติดต่อสื่อการเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก คนภาคเหนือสามารถหาเล่นเพลงภาคใต้ได้ คนภาคใต้ก็สามารถเล่นเพลงภาคเหนือได้เหมือนกัน เพราะในการศึกษาเพื่อพัฒนานั้น จำเป็นต้องเรียนรู้จากความต่าง เอาข้อดีของสำนักนั้นมาพัฒนาฝีมือเรา และเอาข้อเสียของสายสำนักนั้น มาคอยเตือนใจ เว้นแต่มีปัญญาชนจีนแท้ๆ ยังมีเลือกศึกษากู่ฉินเป็นสายเฉพาะไปเลย ขอดีคือสำเนียงท้องที่จะเข้มข้นกว่าการเรียนแบบจับฉ่าย (แต่จับฉ่ายก็อร่อยนะ)
มาในเรื่องของเครื่องดนตรี จากบทความเก่าๆที่ผมเคยเขียนไว้ ในเรื่องของวิธีการทำกู่ฉินเห็นได้ว่ามันเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อนมาก ทำให้ราคากู่ฉินนั้น พุ่งกระฉูด แต่กู่ฉินจริงๆแล้วก็ไม่ได้มีราคาแพงเสมอไป ก็เนื่องด้วยมีช่างฝีมือที่มือเลเวลต่างกัน แต่ในที่นี้เราจะมาเจาะจงเพียงช่างคนเดียว ในโรงงานของเค้าอาจจมีกู่ฉินตั้งแต่ ไม่กี่พันหยวน จนไปถึงหลายหมื่นหยวน อะไรทำให้เกิดกู่ฉินราคาต่างๆ อย่างแรกแน่นอน เรื่องของคุณภาพวัสดุ แล้วถ้าวัสดุเหมือนกันหล่ะ ก็เป็นเรื่องของปริมาณ ทีนี้จะพบได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นช่างทำกู่ฉินคนไหนก็ตาม ไม่ว่าจะแอบอ้างว่ามีความปัญญาชนแค่ไหน แต่กระบวนการข้างต้น ก็คือนักธุรกิจดีๆนี่เอง
ไม่เพียงแต่มีการวิวาทระหว่างนักดนตรีเท่านั้น นักดนตรีกับช่าง หรือช่างกันเอง เป็นสิ่งที่ผมได้ยินมาตลอดระยะเวลาหลายปี
ผมเคยไปขอคำชี้แนะจากช่างผู้หนึ่ง ผมถามว่า อาจารย์คิดว่านักดนตรีท่านนั้นเล่นเป็นอย่างไร ท่านตอบว่าไม่ได้เรื่อง เวลาผ่านไป มีโอกาศได้เจออีกครั้ง ถามคำถามเดิม แต่คำตอบที่ได้คือ "คมชัด สงบ ลึกซึ้ง" อ้าววววว ยังไงเนี่ย เพิ่งมารู้ภายหลังว่านักดนตรีคนนั้นเดิมทีเคยรับกู่ฉินของช่างไปขาย ต่อมาไปรับเจ้าอื่น ช่างเลยโกรธ ไม่นานก็มารับของช่างไปอีก เลยดีกัน เห็นได้ว่าเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทั้งสิ้น ดังนั้นสี่ปีที่ผมอยู่จีน ผมจะได้ยินคำชมคำด่านานา ซึ่งทำให้ผมสับสนใจทุนวันนี้แทบจะไม่เล่นกู่ฉินเลย (หลังๆดีขึ้น ไม่ฟังใคร)
ในอนาคตผมหวังว่า จะทดลองทำกู่ฉินด้วยตัวเอง ทำตามคนโบราณและที่ได้เรียนมาจากอาจารย์หลังเผิง ถ้าทำได้ ผมจะทำกู่ฉินออกมาราคาเดียว ราคาที่ทำทุกอย่างเต็มที่ ไม่มีการลดปริมาณหมูสับในผัดกระเพราะแบบธรรมดา เพราะผมหวังว่า ทุกคนจะมีกู่ฉินดีๆเล่นเหมือนกัน ใครมีน้อย ผมก็เอากำไรน้อย ใครมีมากก็ช่วยๆกันไป แต่คุณภาพ เท่าเทียมกัน (ถ้าทำได้ ฮ่าๆ)
หลายคนอาจรู้แล้ว่าก่อนหน้านี้ มีการแข่งกันกู่ฉินออกรายการโทรทัศน์ มีเรื่องเล่้าว่า(ไม่รู้จริงหรือไม่) ศิษย์ของอาจารย์ท่านหนึ่งไม่ได้เข้ารอยเลย อาจารย์ผู้นั้นถึงกับขึ้นไปบนเวที แล้วฉีกป้ายคะแนนขาดแล้วด่ากราดเป็นปืนกล แต่ภาพนี้ไม่ได้รับการถ่ายทอด ดังนั้นคนทั่วไปจึงไม่รู้กันซึ่งเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่รู้กันดีมากในวงใน
ผมยังเคยได้รับเชิญไปร่วมแสดงกู่ฉินของนักศึกษาตามหาลัยต่างๆ ก่อนอื่นนักดนตรีคนอื่นจะถามกันว่า ชืื่ออะไร(ปกติ) ใช้กู่ฉินของใคร(มีปัญญาซื้อราคาเท่าไร) เรียนกับใคร(บ้านรวยมั้ย) เล่นเพลงอะไรได้บ้าง (เก่งแค่ไหน) แต่ถ้าคำตอบในวงเล็บต่ำกว่าเจ้าของคำถาม เราก็จะถูกละเลย แต่ถ้าล้ำกว่า คนอื่นๆก็จะมาห้อมล้อมตัวเราอย่างไม่น่าเชื่อ วันนั้นผมยืมกู่ฉินอาจารย์หวังเผิงตัวละห้าล้านบาทไปขึ้นแสดง มีคนรักผมมากผิดปกติ หลังจากนั้น ผมก็ไม่กล้าบืมกู่ฉินดีๆมาแสดงอีกเลย
ในการแสดงหลายๆครั้ง ผมอยากจะเล่นเพลงช้าๆ สบายๆ แต่ทุกครั้งผู้ที่ติดต่อจะไม่ยินยอม เค้ามักจะหาข้ออ้างต่างๆนาๆ เพื่อให้ผมเล่นเพลงระดับเทพ เห็นได้ว่าทุกคนใส่ใจกับเปลือกมากกว่า แต่หารู้มั้ย เพลงสั้นๆ ช้าๆแค่หนึ่งสองนาทีนั่นแหละ เข้าใจยากกว่าเพลงเทคนิคเทพด้วยซ้ำ ซึ่งจากการแสดงหลายเวทีในจีน ทำให้ผมมีความคิดด้านลบกับนักดนตรีกู่ฉินเป็นอย่างมาก ซึ่งวันหนึ่ง ระหว่างรอการแสดง ผมได้ไปหาของกินเล่นกับนักดนตรีคนหนึ่ง ผมบอกเค้าว่า อยากเล่นเพลงช้า แต่ผู้จัดไม่ยอม คำตอบของเค้าทำให้ผมต้องตกใจ "เพลงช้าสิยาก" อย่างน้อย ก็ทำให้ผมพบว่า วงการกู่ฉินที่ผมเจอ มันก็ยังไม่ได้เน่าไปทั้งยวง
นอกจากนี้การแสดงในครั้งนั้น ยังได้รับการชี้แนะจากอาจารย์หลินโหย่วเหริน(林友仁)ท่านเป็นคนตรงไปตรงมา ในการแสดงครั้งนั้น คือเด็กรุ่่นใหม่พบปรมาจารย์ ท่านได้พูดอะไรหลายอย่างที่ทำให้อาจารย์ร่วมเวทีอีกทั้งต้องสะดุ้ง เช่น
"วัดรับดับไปทำไมกู่ฉิน ไม่เกิดผลดีกับนักเรียนแม้แต่น้อย มีแต่กรรมการนั่นแหล่ะได้ตังค์"
"คิดมากทำไมกู่ฉิน คิดไงก็เล่นอย่างนั้น อย่าไปเชื่อคนอื่นมาก เพ้อเจ้อ"
ประโยคด่าอย่างอ้อมๆข้างต้น ล้วนเป็นสิ่งที่อาจารย์อีกท่านเป็นทั้งสิ้น ซึ่งเป็นบุคลิคส่วนมากของผู้ดำรงอาชีพสายนี้นั่นเอง
อีกปัญหาใหญ่ก็คือ คนสอนกู่ฉินทุกวันนี้ส่วนมากก็เรียนมาเป็นธุรกิจ น้อยคนที่จะเรียนเพราะอยากเรียนจริงๆ ดังนั้นผู้สอนกู่ฉินรุ่นใหม่เกินห้าสิบเปอร์เซ็น มีความรู้ความเข้าใจน้อยมากเกี่ยกวับวัฒนธรรมของตนเอง ทำให้กู่ฉินกลายเป็นเครื่องดนตรีเปล่า ไม่สามารถแสดงออกถึงอารยธรรมจีนได้อย่างที่ควรจะเป็น

แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผมกล่าวมาข้างต้น บางเรื่องอาจจะเป็นข้อเท็จจริง บางเรื่องก้อาจจะเป็นเรื่องที่ผมคิดไปเอง ก็แล้วแต่ท่านผู้อ่านจะตัดสินใจ

จบเอาดื้อๆ



Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2554 22:41:15 น.
Counter : 1673 Pageviews.

12 comments
  
หวัดดีชัช...

ดีใจด้วยที่กำลังสร้างห้องเรียน แม้จะไม่เรียกว่า"สำนัก"ก็ตาม
ถ้าเป็นอย่างว่าก็คงสอนตามแบบ อจ.อย่างเคร่งครัดสิ
ผมว่าทุกวงการและทุกยุคสมัยมีนักดนตรีอย่างที่ชัชว่า
พวกเขาเหล่านั้นล้วนเป็นคน
คนจึงมีหลากหลายแบบ หลากหลายจิตใจ
ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง กลางๆบ้าง ปนๆกันบ้าง
จึง...หลายวิชาชีพต้องมี "จรรยาบรรณ"
พวกเดียวกันจึงต้องควบคุมกำกับกันเอง
นักดนตรี นักศิลปะ ค่อนข้างมีอิสระในการสร้างสรรค์สูง
นักดนตรี นักศิลปะ ล้วนต่างมีอีโก้สูง
จรรยาบรรณจึงกำกับได้ยาก

จึงมีแค่ตนกับผู้ฟังผู้ชมที่เข้าใจเท่านั้นที่สามารถตัดสินได้

ผมเชื่อมั่นในชัช....ขอให้มีความสุขและโชคดีครับ

มีอะไรก้าวหน้าก็ส่งข่าวละกัน Thx
โดย: Dingtech วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:23:35:32 น.
  
ชัชกู่ฉินหรือเปล่า จำเราได้ป่าว แวะมาทักทายนะ หวัดดีๆ คิดถึงๆ
โดย: ่ปอม IP: 124.120.107.24 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:0:56:24 น.
  
ปอมไหนอ่ะ มีเพื่อนชื่อนี้เยอะ
โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:1:00:28 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับน้องชัช


วงการไหนๆ
ก็มีทั้งคนดี และคนไม่ดี
คนที่ชอบเราและคนที่ไม่ชอบเรา
คนที่ชอบฉินและคนที่ไม่ชอบฉิน

แต่ที่สุดแล้ว
พี่ก๋าว่าวางเสียงวิจารณ์และข้อกังขาลง

แล้วเราก็มานั่งเล่นฉินอย่างมีความสุขดีกว่า

น้องชัชโชคดีแล้วล่ะครับ
ทีไ่ด้เจอครูดีครูเก่งเยอะๆ
เลยไม่ต้องยึดติดอาจารย์คนใดคนเดียว


พี่ก๋าอ่านบทความนี้แล้ว
เหมือนความรู้สึกในการฟังเพลงคลาสสิคที่ถูกนำมาตีความโดยนักดนตรีรุ่นใหม่
ปรมาจารย์ก็คงไม่ชอบ
แต่เพลงคลาสสิกที่ร่วมสมัยกลับจับใจนักฟังรุ่นใหม่







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:5:18:32 น.
  
ทักทายสวัสดีครับ และยินดีที่ได้รู้จักทักทายกันด้วยครับ
โดย: ถปรร วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:8:16:12 น.
  
โคโตะเป็นเครื่องดนตรีญี่ปุ่นใช่มั้ยครับน้องชัช
พี่ก๋าฟังเสียงคล้ายกู่ฉินเหมือนกันนะครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:12:39:01 น.
  
ยินดีครับบล๊อคกลับมามีชีวิตอีกครั้ง น่าสนใจมากครับ ให้กำลังใจในการก้าวย่างอย่างมั่นคงในอนาคตที่สดใสรออยู่
โดย: คนทำงานด้านเด็ก IP: 110.49.205.156 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:21:49:31 น.
  
โดนพ่อบังคับนั่นแหล่ะ
โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:22:53:24 น.
  


สุขสันต์วันวาเลนไทน์ครับชัช
โดย: Dingtech วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:0:45:46 น.
  



มอบกุหลาบสำหรับวันแห่งความรัก และเอื้ออาทร

แทนความปรารถนาดีที่มีต่อกันค่ะคุณชัช



โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:19:23:28 น.
  


สุขสันต์วันแห่งความรักค่ะ ^_^
โดย: haiku วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:19:38:39 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับน้องชัช




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:5:26:48 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กู่ฉิน
Location :
Beijing  China

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



ชัชชล ไทยเขียว (ชัช)
ยินดีที่ได้รู้จักผู้สนใจดนตรีกู่ฉินทุกท่านครับ

MSN : tq.canchuan@hotmail.com
https://www.facebook.com/SiamGuqin