กุมภาพันธ์ 2553

 
1
2
3
4
5
7
8
9
11
13
14
15
17
18
19
20
21
22
23
25
26
27
28
 
 
All Blog
กุ่ฉินและกู่เจิงในลำนำกว่างหลิง(广陵散)
จากปู่สู่หลาน

กว่างหลิงส่าน หรือลำนำกว่างหลิง
เดิมเป็นเพลงขอกู่ฉิน
ต่อมากู่เจิงนำไปดัดแปลง




กู่เจิง 21 สายที่เรารู้จักกันทุกวันนี้
ไม่ถือวาสเป็นเครื่องดนตรีโบราณแล้วครับ
เพราะกู่เจิงโบราณจริงๆมี 12 และ 13สาย
ปัจจุบันคายากึมของเกาหลีและโคโตะของญี่ปุ่น
มีความคล้ายคลึงกับกู่เจิงในสมับราชวงถ์ถังที่สุด



แต่ถ้าหากอยากดูกู่เจิงสมัยราชวงศ์ถังแท้ๆละก็
หาดูได้ในวงดรตรี "กางะขุ"
หรือดนตรีราชสำนักสมัยราชวงศ์เฮอันของญี่ปุ่นนั่นเอง

ปัจจุบันนี้ในจีนหาคนเล่นกู่เจิงสิบสามสาย(แบบราชวงศ์ถัง)ยาก
ไม่กล้าฟันธงว่ามีคนเล่นรึเปล่าด้วย

ปัจจุบันผมก็กำลังศึกษาโน้ตเพลงกู่เจิงสมัยถัง
ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ญี่ปุ่น
เอาไว้คล่องๆแล้ว เดี๋ยวจะมาอัดให้ชมดูครับ




Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2553 14:34:10 น.
Counter : 3534 Pageviews.

6 comments
  
ดีครับ ผมก็สนใจงานเพลงบรรเลงของเครื่องดนตรีโบราณ จะรอฟังครับ
โดย: ยะ IP: 115.31.134.154, 117.121.208.2 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:23:31:05 น.
  
Thxs ชัชมากครับ ที่เอาเพลงนี้มาให้ฟังในเวอร์ชั่นที่ไม่เคยได้ยิน เคยฟังแต่บรรเลงเดี่ยวด้วยฉินหรือเจิง แต่พอเอามาผสมแบบบรรเลงคู่ตามกัน ก็ได้รสชาติแบบนึง
ผมว่าถ้าเล่นแบบมีประสานเสียงหรือใส่ลูกล้อลูกขัด ก็น่าจะมีรสชาติอีกแบบนึง(น่าลอง)

เป็นเพลงที่ไพเราะและมีลีลาลูกเล่นของฉินที่พิสดารล้ำลึกที่สุดตามความเห็นผม ทึ่งมากเมื่อได้ฟังครั้งแรก(ราวปี 2530)เพื่อนคนจีนอัดเทปคาสเส็ทส่งมาให้ คนเล่นก็คือ อจ.ของชัชน่ะแหละ(ศจ.หลี่เสียงถิง)

พอฟังแล้วไปหาประวัติตำนานเพลงอ่าน ยิ่งมัน เรียกว่าเป็นเพลงแห่งชะตากรรม หรือเพลงแห่งความตาย ก็ว่าได้

ส่วนเพลงเจิงสมัยถังก็น่าสนใจมาก เพลงสมัยถังผมว่าถ้าศึกษาประวัติศาสตร์จีน จะทราบว่าวัฒนธรรมถังนั้นพบเห็นได้ง่ายในเมืองไทย เพราะคนถังนั้นก็คือสืบเชื้อสายวัฒนธรรมมาเป็นคนแต้จิ๋ว คนแต้จิ๋วเรียนตนเองว่า"ตึ่งนั้ง"
ซึ่งก็คือ "ถังเหริน" หรือ ชาวถัง นั่นเอง ทำนองเพลงก็ไม่น่าห่างจากเพลงแต้จิ๋วมากนัก ชัชลองศึกษาเพลงแต้จิ๋ว(เฉาโจว)ดู แม้ว่าจะเป็นแค่อำเภอในมณฑลกว่างตง แต่เพลงแต้จิ๋วนั้นเป็น"เอก"ไม่แพ้ school ใดๆเลย...เชื่อไม?
โดย: Dingtech วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:14:29:25 น.
  
สวัสดียามเช้าครับน้องชัช

เข้ามาบล็อกน้องชัชได้ความรู้สองต่อ
อ่านเม้นท์ของพี่ Dingtech
บอกได้คำเดียวว่าสุดยอดครับ







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:6:27:11 น.
  
ว่าจะไม่แซว ก็อดไม่ได้
ชัชฟังกว่างหลิงส่านครั้งแรกว่าทึ่งแล้ว พี่ฟังชัชเล่าแล้วทึ่งกว่า
เพราะฟังตั้งแต่ 24 ปีที่แล้ว ได้ข่าวว่า ยังไม่เกิด ปะ?
555
โดย: ณัฐ วัชรคิรินทร์ IP: 110.169.136.18 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:21:40:20 น.
  
ว่าจะไม่แซว ก็อดไม่ได้
ได้ข่าวว่าคนอื่นเป็นคนเขียนนะครับผม
โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:23:54:56 น.
  
อ๋อ ไม่ได้ดูชื่อ
ฮ่าๆๆๆ
โทษที ชื่อมันสีจางมาก
เพิ่งเข้ามาดูอีกที คนอื่นเขียนนี่หว่า
หน้าแตกดังสนั่นเลยเรา

แต่จากที่ฟังคุยกัน สนใจอะไรอย่างหนึ่ง
เพลงกู่ฉินที่เราเล่นกันอยู่เนี่ย มีเพลงไหนที่แต่งในสมัยราชวงศ์ถัง และมีทำนองแบบดนตรีสมัยถังชัดเจนบ้างครับ หรือว่าทำนองมันแปลงจากเดิมหมดแล้ว พูดง่ายๆ คือ ถ้าอยากฟังดนตรีแบบถัง ต้องไปฟังกู่ฉินเพลงไหน
โดย: ณัฐ วัชรคิรินทร์ IP: 124.121.88.63 วันที่: 1 มีนาคม 2554 เวลา:17:01:26 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กู่ฉิน
Location :
Beijing  China

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



ชัชชล ไทยเขียว (ชัช)
ยินดีที่ได้รู้จักผู้สนใจดนตรีกู่ฉินทุกท่านครับ

MSN : tq.canchuan@hotmail.com
https://www.facebook.com/SiamGuqin