พฤษภาคม 2554

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
กู่ฉินและลมหายใจกับการวิเคราะห์บทเพลง
ก่อนอื่นของออกตัวซักเล็กน้อยกับบทความนี้
ในหัวข้อเรื่องกู่ฉินกับลมหายใจ
อย่างที่หลายๆท่านทราบดีอยู่แล้วว่า ศาสตร์แขนงต่างๆของจีน
ล้วนมีความสัมพันธ์กับลมหายใจทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นศิลปะการต่อสู้ การรำไทเก๊ก
หรือแม้แต่การวาดพู่กันจีนเองก็ตาม
แต่ในหัวข้อนี้ เขียนขึ้นจากประสบการณ์ของผมเอง ดังนั้นอาจไม่ได้ลำ้ลึกเท่าไรนัก

จากการดีดฉินไปเรื่อยๆแบบไม่ได้ขยันเท่าไรนัก แปปเดียวก็ปาไปแล้วแปดเก้าปี
เนื่องด้วยสันดานส่วนตัวของผมที่ไม่ยอมเชื่อใครง่ายๆ ดังนั้นการเรียนรู้อะไรจึงเป็นไปได้ยาก
ซึ่งกว่าจะได้มาซึ่งผลลัพธ์นั้น ต้องผ่านการเก็บข้อมูลและทดลองด้วยตนเอง
ตรงนี้เองทำให้การเรียนรู้ของผมก้าวไปได้ค่อนข้างช้า แต่ก็ถือว่ามีพัฒนาการที่ค่อนข้างมั่นคง
การเล่นกู่ฉินก็เช่นกัน กู่ฉินก็เหมือนกับดนตรีทั่วๆไปในโลกนี้ มีการเว้นวรรค หยุดพัก
ข้าพเข้าสังเกตุว่า การเว้นวรรคเหล่านั้นคล้ายกับการพักหายใจเข้ามาก ซึ่งก็ถูกต้องเสียด้วย
ตรงจุดนี้ยังต้องท้าวความไปถึงเรื่อง การเล่นกู่ฉินกับกรอบของวัฒนธรรม
ที่เคยพูดไว้เมื่อคราวก่อนว่า ภาษามีผลต่อดนตรีโดยตรง
ฉนั้นฝรั่งเรียนกู่ฉินอาจจะยากเสียหน่อยครับ

ทีนี้ผมพบว่ารูปแบบเพลงจะซับซ้อนเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป
แน่นอนว่าพัฒนาการทางดนตรีก็เป็นปัจจัยหนึ่ง
แต่อย่างที่เคยอ้างไว้ว่า ดนตรีก็เหมือนประโยคที่คนพูดออกมา
ด้วยเหตุนี้ถ้าลองฟังเพลงยุคต้นๆ จะพบว่ามันเรียบง่ายเหมือนภาษาในยุคนั้นมาก
และเพลงยุคหลังๆก็ซับซ้อนไปตามภาษาเช่นเดียวกัน

ซึ่งตรงนี้เองทำให้ผมตระหนักได้ว่า
การจะเล่นหรือวิเคราะห์เพลงที่อยู่ในสมัยใดก็ตาม
การเข้าใจรูปแบบของภาษาในยุคนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
หลายคนอาจจะคิดว่าผมคิดมาก ผมเพ้อเจ้อ
แต่ถ้าคุณไม่ทำแบบนี้ อยู่ๆไปเล่นไปตีความแบบไม่ศึกษา
คุณอาจจะไปลองทำเล่นๆสนุกๆ แบบไม่คิดมาก
แต่สิ่งที่ได้คือการอ่านกวีโบราณด้วยสำเนียงฮิปฮอปหรืออาร์เอ็นบี

ทีนี้กลับมาที่เรื่องลมหายใจอีกครั้ง
จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าภาษาแต่ละสมัยจะมีโครงสร้างที่ต่างกัน
ดังนั้นเมื่อเข้าใจโครงสร้างของภาษาแล้ว
เราก็จะสามาถเห็นภาพรวมของของบทเพลงเช่นเดียวกัน
และการแบ่งวรรคลมหายใจในบทเพลงก็จะไม่ใช่เรื่องที่ยากมากอีกต่อไป(อาจจะยากหน่อยๆ)

ใครที่กำลังเล่นกู่ฉินอยู่แล้วมาอ่านเจอบทความบทนี้เข้า ก็อย่าเพิ่งท้อใจไปหล่ะครับ
เพราะสุดท้ายดนตรีก็คือดนตรี และที่เขียนไปมันก็คือวิถีของผมเท่านั้น ซึ่งทุกคนจะใช้ได้หมด
ก็คงเป็นไปไม่ได้ แต่กระนั้นก็ตาม ผมยังมั่นใจว่าการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมในยุคต่างๆ
ก็ยังคงเป็นตัวช่วยสำคัญ ของพัฒนาการในการเล่นกู่ฉินอย่างแน่นอน

สำหรับมือใหม่ก็อย่างเพิ่งไปใจใส่บทความนี้มาก เล่นกู่ฉินไปอีกซักสิบยี่สิบปีค่อยเริ่มคิดก็ยังไม่สาย ส่วนใครที่เริ่มๆมีแนวคิดแบบนี้แล้ว ก็ขอให้พัฒนากันต่อไป

ชัชชล ไทยเขียว









Create Date : 18 พฤษภาคม 2554
Last Update : 18 พฤษภาคม 2554 20:56:10 น.
Counter : 1608 Pageviews.

4 comments
  

เวลาไปดูดนตรีแล้วเห็นคนเล่นกู่ฉิน
แล้วจะทึ่งและซาบซึ้งในความไพเราะเสมอ
บทความนี้ให้กำลังใจทุกๆ คนที่เพิ่งเริ่มเล่นเน๊าะน้องชัช
เขียนได้ดีทีเดียว
พี่อุ้มแวะมาเจิมอ่านด้วยคนจ้า
หลับฝันดีเน๊าะ

โดย: อุ้มสี วันที่: 18 พฤษภาคม 2554 เวลา:22:54:36 น.
  
หวัดดียามค่ำครับชัช...

เห็นด้วยกับบทความนี้ ลมหายใจกับกู่ฉินชัดเจนมาก

ดนตรีอื่นๆก็คล้ายกัน . . . หลายคนจึงเรียก "ภาษาดนตรี"
คนแต่งจึงได้รับการเรียกขานว่า "คีตกวี"

พูดจบประโยค ท่องกลอนครบจังหวะ
...เราจึงหายใจ(เข้า)โดยอัตโนมัติ

เอิ่ม...ดีใจมากครับที่ชัชสนใจจะแปล "เจี้ยจื่อหยวน"
ลงมือเลยครับ จะแปลทะยอยลงบล๊อกแก็งค์ก็คงดี
ยิ่งมี อจ.ให้ปรึกษาได้ยิ่งน่าทำ
ที่ผมว่ากลัว "ฉีกหน้า" เพราะครูบาอาจารย์ตามมหา'ลัยทางศิลปะน่าจะทำ
สถาบันจีนศึกษาก็มีหลายแห่งอยู่นะ

อีกเรื่องหนึ่งที่ผมอยากเห็นเป็นพากษ์ไทยมากที่สุดคือ
"หงโหลวเมิ่ง" (ฉบับเต็ม)
ซึ่งผมยกให้เป็นนัมเบอร์วันของวรรณกรรมจีน...ไม่รู้ชาตินี้จะได้เห็นมั้ย
เหมือนเมืองไทย...สิ้ น ผู้ รู้ แ ล้ ว ห รื อ ?

เม้นท์ปนบ่นแค่นี้นะครับ หุ หุ หุ
โดย: Dingtech วันที่: 19 พฤษภาคม 2554 เวลา:20:44:34 น.
  
อ่านบทความนี้แล้วทำให้รู้เรื่องกู่ฉินมากขึ้น แต่ก็ไม่ค่อยเข้าถึงเท่าไหร่ แฮะ แฮะ

"อ่านกวีโบราณด้วยสำเนียงฮิปฮอปหรืออาร์แอนด์บี" อ่านแล้วนึกอยากฟังขึ้นมาเลยค่ะ
โดย: haiku วันที่: 21 พฤษภาคม 2554 เวลา:20:05:55 น.
  
ราตรีสวัสดิ์ นอนหลับฝันดีครับ News
โดย: bbandp วันที่: 31 พฤษภาคม 2554 เวลา:5:20:06 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กู่ฉิน
Location :
Beijing  China

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



ชัชชล ไทยเขียว (ชัช)
ยินดีที่ได้รู้จักผู้สนใจดนตรีกู่ฉินทุกท่านครับ

MSN : tq.canchuan@hotmail.com
https://www.facebook.com/SiamGuqin