มิถุนายน 2553

 
 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
17
18
20
21
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
กู่ฉินและปัญหาการตีความบทเพลง
เร็วนี้ผมไม่ได้ค่อยได้เล่นกู่ฉิน
รวมถึงไม่ค่อยได้อัพบลอค
คิดว่าทุกท่านคงเห็นๆกันอยู่

เนื่องด้วยเร็วๆนี้สันสนวุ่นวาย
เพราะรู้ว่ากู่ฉินจะเล่นได้ดี
ต้องมีความเข้าใจปรัชญาในบทเพลง
ต้องเข้าใจวัฒนธรรมและประเพณียุคนั้น

ยิ่งคิดมากก็ยิ่งไม่กล้าเล่น
ไปๆมาๆกลายเป็นไม่อยากเล่น
เพราะคิดว่าตัวเองความรู้ไม่พอ

ซึ่งแนวคิดข้างต้นถือว่าค่อนข้างถูกต้อง
แต่ก็ไม่ทั้งหมด

ปรัชญาชีวิตส่วนใหญ่
ก็ไม่ได้เกิดจากการที่เราไปพยายามเข้าใจบทสรุป
เหมือนเรียนภาษาแต่มัวแต่ไปอ่านไวยการณ์
แต่ในความเป็นจริง
ปรัชญาจะเกิดการการสังเกตุเหตุการณ์ด้วยตนเอง
แล้วคำนวนมาเป็นบทสรุปที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุด

ดังนั้นปรัชญาที่คนรุ่นก่อนคิดไว้
ผมคิดว่ามันก็แค่กากความคิดชาวบ้านดีๆนี่เอง

เร็วๆนี้ผมไปร่วมงานกู่ฉินกับปรมาจารย์
ผมเล่นเพลง "ประมงเมายามเย็น"

มี อ. หลินโหย่วเหริน ผู้สืบทอดกู่ฉินสายกว่างหลิง เป็นผู้ให้คำแนะนำ


(เพลงเดียวกันแต่คนละรายการครับ พอดีการแสดงกับปรมาจารย์ยังไม่มีคลิป)
พอเล่นจบ อ. ก็จะให้คำแนะนำ
อ. บอกว่า เพลงนี้เหมือนคนหาปลา
กลับบ้านตอนค่ำ ดื่มเหล้า เฮฮา
ฟ้าเริ่มมืด เหล้าก็ดื่มมาก ก็เมาหนัก
ร้องเพลง ครึกครื้น พายเรือกลับบ้าน
และแล้วคนหาปลาก้หายเข้าไปในความมืด

การแนะนำจากปรมาจารย์ครั้งนั้น
การเล่นเพลงนี้ผมก็ดีขึ้นอย่างชัดเจน
ตอนนั้นเลยโทรไปแนะนำเพื่อนเรื่องสิ่งที่รู้มา
เพื่อนบอกว่า

"ที่ อ. พูดมา ยังไม่ถือว่าเด็ด"
"?"
"เพราะการที่ตีความเพลงกู่ฉิน
ไปจบที่เปลือกนอกของเพลง
เช่น กินเหล้าแล้วเพลงต้องเมา
ถือเป็นอะไรที่ยังไม่ถึงขั้น
ปัญญาชนพูดถึงเหล้าหรือชาก็ตาม
ล้วนสื่อถึงปรัชญาอันลึกซึ้งทั้งนั้น"
"อ่อ"

ทีนี้กลับมาที่แนวคิดของผม
ที่จริงผมก็สงสัยว่าทำไม
อ. ถึงบอกแต่อารมณ์เพลง
ไม่พูดถึงปรัชญาแฝงเลย

ผมคิดว่า อ. คงไม่อยากให้"กาก"
มากักกันความคิดของผมซะมากกว่า
บางครั้งคนเราก็ถูกทฤษฎีตีกรอบไว้
สิ่งที่ควรจะเหมาะกับเรา
แต่กฎบอกไว้ว่า ไม่ได้นะ ไม่ถูกต้อง
ฟังดูน่าเสียดาย

ผมคิดว่า เพลงกู่ฉิน
ก็เหมินกับความคิด
เมื่อมีเหตุการณ์ ถึงจะมีบทสรุป
ถ้าเรามัวแต่ไปตกอยู่ในบ่อบทสรุป
สิ่งที่ได้ก็เป็นแค่ภาษางามๆที่ใช้จริงได้ยาก

ปรัชญาในความคิดผม
ไม่ใช่เกิดจากปัญญาชนคนรู้หนังสือเสมอไป
ความเข้าใจชีวิต เกิดจากประสบการณ์ชีวิต
การสังเกตุ การประเมิน การวิเคราะห์
ซึ่งผมคิดว่าชาวบ้านทั่วไปบางครั้ง
เค้าอาจจะเข้าใจอะไรมากกว่าคนรู้หนังสือด้วยซ้ำ
เพียงแต่การนำเสนอไม่ได้สวยหรูซักเท่าไร

แล้วด้วยการยกย่องกู่ฉินเป็นเครื่องมือของคนรู้หนังสือมากเกินไป
ทำให้ปัจจัยสนับสนุนในการสื่อสาร เลยต้องสวยหรูตามไปด้วย
หรูจนหนีชีวิตจริงไกลจนเกินไป
กลายเป็นโลกแห่งจินตนการที่เหนือกว่าแฮรี่พอตเตอร์

เหมือนคุณย่าผม สอนคุณพ่อตอนจะเข้ากรุงเมื่อสมัยหนุ่มๆ
"อยากอย่ากิน หิวให้กิน"
ปรัชญาง่ายๆ จากคนที่เขียนหนังสือไม่เป็น
และทำนาด้วยความลำบากมาทั้งชีวิต

ปรัชญาที่เขียนด้วยภาษาสวยๆ
โดยมีพื้นฐานจากหลักการง่ายๆ
ด้วยปัญญาชน คนรู้หนังสือ
ผมคิดว่า
มันก็แค่ปัญญาอ่อนชนที่มีเวลาว่างมากเกินไปก็เท่านั้น!

ตอนนี้ผมอาจจะไม่รู้ว่าคนหาปลาเค้าคิดอะไร
อย่างมากก็อ่านทิศทางความคิดและวิธีการนำเสนอ
แต่คงไม่ตีกรอบให้ตัวเองด้วยบทสรุปของชาวบ้านอีกต่อไป




Create Date : 19 มิถุนายน 2553
Last Update : 19 มิถุนายน 2553 21:19:46 น.
Counter : 1371 Pageviews.

7 comments
  
ดีใจครับที่จะได้ติดตามเรื่อง
การเล่นดนตรีของท่าน...บล็อกก่อนที่เข้ามา
เห็นกล่าวถึงเรื่องโน้ตดนตรีแนวใหม่....อยากรู้จังครับว่ามีลักษณะ
อย่างไรกันครับ
โดย: panwat วันที่: 20 มิถุนายน 2553 เวลา:9:00:54 น.
  
หวัดดีตอนเช้าชัช

ได้อ่านบล๊อกนี้แล้วก็พอเข้าใจว่าปัญหาของการตีความของเพลง ชัชได้แนวทาง "ขบ" ทางหนึ่งแล้ว
แต่จะขบแล้ว "แตก" หรือไม่ก็ต้องดูกันต่อไป

ผมผ่านช่วงเวลาคล้ายๆแบบนี้มาแล้ว
แต่ชัชมาถึงเร็วกว่าผมเมื่อเทียบช่วงวัย
จึงอยากบอกว่า...อย่าเพิ่งปักใจอะไรนัก
มองและคิดให้กว้าง
มองโลกในแง่ดีให้มาก
และอย่าด่วนประเมินตัดสินอะไรว่า "ดี-ไม่ดี ใช่-ไม่ใช่"
สิ่งลวงตาและลวงจิตนั้นเยอะมาก
กระทั่งตนเองก็หลอกตัวเองได้

อยากให้ลองไปศึกษา "การตีความ" (Interpretation)
ของบรรดาวาทยากรดังๆดูบ้าง
ฝั่งคลาสสิกตะวันตกมีส่วนดีหลายอย่างที่จะนำมาใช้เป็น "แนวทาง" ได้

เกี่ยวปรัชญาทางศิลปะท่านพุทธทาสได้เคยถ่ายทอดไว้มากพอดู
มีผู้รวบรวมไว้ในหนังสือ "ศิลปะและสุนทรียภาพทางจิตวิญญาณ" (กวีวงศ์ : รวบรวม)...ผมแนะนำ

ชัชทำตัวให้เป็น "ถ้วยชาว่างๆใบโตๆ"
หลายๆอย่างหลายๆศาสตร์ เริ่มจาก "ความง่าย" (Simplicity)
...พัฒนาไปสู่ "ความซับซ้อน" (Complexity)
...ท้ายสุดจะลงเอยที่ "ความง่าย" อีก
เหมือนที่เขาพูดกันว่า "สูงสุดคืนสู่สามัญ"

ท้ายของท้ายสุดคือ "ความว่าง" (Void หรือ Nothingness)

ผมไม่น่าด่วนเอาเรื่องนี้มาคุยกับชัช
แต่ก็ต้องบอกว่า...ชัชเริ่มก่อน
ผมจึงอดต่อความยาวสาวความยืดไม่ได้ 555

ขอให้ใจเย็นๆหาประสบการณ์ไปเรื่อยๆ
มีความสุขกับสิ่งที่ทำและเป็นอยู่นะครับ
ช่วงนี้ยังไม่ได้นัดเจอเพื่อนๆเลย จึงไม่ค่อยพบคุณกุ๊กไก่ของชัช
โดย: Dingtech วันที่: 20 มิถุนายน 2553 เวลา:9:45:46 น.
  
ขอต่ออีกนิ๊ดนึง...

ชัชบอกว่า "ยากตรงคนเขียนใช้ภาษาสมัยฉินนี่สิครับ"
(เกี่ยวกับเหลียวไจฯ)

ขอถามว่า "ภาษาสมัยฉิน" จริงรึปล่าว
หากเป็นภาษาสมัย"ชิง" จะถูกต้องกว่ามั้ย?

นักพิสูจน์อักษรเริ่มทำงานแระ
จะเป็นนักแปลต้องเริ่มด้วยความพิถีพิถันหน่อยจร้า...
โดย: Dingtech วันที่: 20 มิถุนายน 2553 เวลา:9:58:59 น.
  
อืมม...ภาษาราชวงศ์ฉิน คงยากน่าดูจริงๆ
ท่าจะต้องมีฟุตโน้ตเยอะแยะสิเนี่ย
ผมเป็นคนไม่ชอบเรื่องผีๆสางๆเรย
แต่ถ้าชัชแปลเหลียวไจฯมาให้อ่าน อาจเปลี่ยนได้นะ

อย่า.......ช้า ลุยซะวันนี้เลย 5555+

โดย: Dingtech วันที่: 20 มิถุนายน 2553 เวลา:10:50:36 น.
  
โน้ตนี้...ต้องเรียนอ่านโน้ตใหม่เลยหรือปล่าวครับ
.......................................................................
แนวโน้ตเชอเวย์ หรือสากลครับ
..............................................
อยากใคร่เรีเยนรู้นะครับ
...................................
โดย: panwat วันที่: 20 มิถุนายน 2553 เวลา:22:26:35 น.
  

อิ่มเอมใจทุกครั้งที่เข้ามาบ๊อกน้องชัชจ๊ะ
แหล่ม

โดย: อุ้มสี วันที่: 21 มิถุนายน 2553 เวลา:14:18:14 น.
  
อ่านแล้วเห็นความตั้งใจจริงของคุณน้องชัชค่ะ สู้ๆนะคะ น้องชัชมีอิทธิบาทสี่ครบแบบนี้ ความสำเร็จอยู่ไม่ไกล

พี่นอร์ชก้าชอบฟังดนตรีทุกประเภทนะ แต่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องดนตรีเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ฟังเพราะชอบ

ความเข้าใจในเพลงไม่ได้ช่วยแต่นักดนตรี ถ้าผู้ชมมีความรู้ในเพลงก็ช่วยให้ฟังเข้าใจมากขึ้น สังเกตจากถ้าวันไหนได้มีโอกาสเข้าไปฟัง Pre-concert talk รู้สึกการฟังคอนฯในวันนั้นๆจะสนุกมากๆ เหมือนกับมีคนแปลให้เราเข้าใจถึงสิ่งที่นักแต่งเพลง Conductor และนักดนตรี อยากสื่อถึงเรานั่นเอง
โดย: Noshka วันที่: 24 มิถุนายน 2553 เวลา:21:43:35 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กู่ฉิน
Location :
Beijing  China

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



ชัชชล ไทยเขียว (ชัช)
ยินดีที่ได้รู้จักผู้สนใจดนตรีกู่ฉินทุกท่านครับ

MSN : tq.canchuan@hotmail.com
https://www.facebook.com/SiamGuqin