ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
23 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
ถวิลหาอดีต :: ของกินบ้านเฮา...แมลงสารพัดชนิด..อาหารชั้นยอด

ผมเป็นคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือเรียกง่ายๆ แบบไม่เป็นทางการคือภาคอีสาน เพราะจังหวัดที่ผมเกิดคือ กาฬสินธุ์

คนอีสานมีการกินอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากถึงมากที่สุด อาหารการกินก็มาจากของที่อยู่รอบตัว หนึ่งในอาหารที่ไม่เคยหมดไปจากวิถีชีวิตของคนอีสานก็คือ แมลง หรือทางอีสานเรียกแมง(เรียกแบบไม่ได้แยกแยะชนิดแบบวิทยาศาสตร์นะครับ)

คนอีสานมีการกินแมลงมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ มีการสืบทอดว่าแมลงชนิดใดกินได้หรือกินไม่ได้ แมงที่รับประทานได้อาศัยอยู่ตามทุ่งนา ลำห้วย ป่า หรือตามต้นไม้ที่ปลูกหรือเกิดขึ้นเอง ได้แก่ แมงกินูนชนิดต่างๆ แมงแคง แมงแคงค้อ แมงคราม(กว่าง) แมงทับ ตัวมดแดง ไข่มดแดง แม่เป้ง จักจั่น แมงกอก ขูลู(ด้วงที่อยู่ตามใบกล้วย) ด้วง(ที่อาศัยตามต้นงิ้ว) ผึ้ง มิ่ม ต่อ แตน เป็นต้น

แมงที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ลำห้วยหรือทุ่งนา พื้นที่มีน้ำขัง ได้แก่ แมงอีด แมงสีเสียด แมงละงำ แมงข้าวสาร แมงตับเต่า แมงหัวควาย แมงดานา แมงคันโซ่ แมงก้องแขน

แมงที่อาศัยอยู่ตามทุ่งนา ชายป่าละเมาะ ทุ่งหญ้าที่เป็นดอน ได้แก่ จิ้งหรีด จิโปม(จิ้งโกร่ง) จิหล่อ ตั๊กแตนหวาย(ปาทังกา) ตั๊กแตนเหล็ก(ตั๊กแตนตำข้าว) ตั๊กแตนง้าว ตั๊กแตนม้า ตั๊กแตนโม ตั๊กแตนมัน

แมงที่อาศัยตามมูลสัตว์(ขี้ควาย) ได้แก่ กุดจี่ขี้ควาย

แมงที่อาศัยทั้งบนบกและในน้ำ ไดแก่ แมงกะชอน

แมงที่อาศัยตามรังปลวก ได้แก่ แมงมัน แมงเม่า

แมงที่ชาวบ้านนำมาเลี้ยงเอาเส้นไหม ได้แก่ ดักแด้

การบริโภคแมงและแมลงของชาวอีสานส่วนมากเป็นชาวบ้านที่อาศัยตามชนบทและที่มีฐานะยากจนอาหารจำพวกแมลงสามารถหาได้ในท้องถิ่น ซึ่งแมลงจะมีอยู่ทั่วไปตามฤดูกาล

แมงส่วนใหญ่มาจากแหล่งทางธรรมชาติเกิดขึ้นตามฤดูกาล เช่นในฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน ท้องนา ห้วย หนอง บึง ได้รับน้ำฝนมีการขังของน้ำ แมงต่างๆได้เกิดขึ้น ได้แก่ ตั๊กแตน แมงอีด แมงมัน แมงเม่า แมงดานา แมงกะชอน แมงหัวควาย แมงละงำ แมง แมงข้าวสาร แมงดาสวน หลายชนิดเป็นศัตรูพืชที่ปลูก การจับแมงมารับประทานเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการกำจัดศัตรูพืช

ในฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม เป็นฤดูที่ปลูกพืชผักได้ผลดี แมงบางชนิดสามารถเติบโตได้ดีในฤดูนี้ เช่น เหมาะแก่การเลี้ยงไหม เมื่อได้เส้นไหมจะได้ดักแด้ อากาศที่แห้งพอเหมาะทำให้มีกุดจี่ขี้ควายมากกว่าฤดูอื่น ฤดูนี้มีตั๊กแตนที่ชอบทำลายพืชไร่พืชสวนมากเช่นกัน

ฤดูแล้งระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม สภาพอากาศเป็นช่วงที่ต้นไม้ผลิดอกออกใบใหม่ เป็นอาหารของแมงที่ชอบกินยอดอ่อน ใบอ่อนและน้ำหวานจากต้นไม้ แมงในฤดูแล้งจึงมีมากกว่าในฤดูอื่น แมงที่พบได้แก่ ไข่มดแดง แม่เป้งมดแดง จักจั่น ผึ้ง นิ่ม จิ้งหรีดแมงคราม(กว่าง)แมงกินูน แมงแคง แมงแคงค้อ แมงเหล่านี้จะกินใบไม้ที่ผลิใบอ่อน เช่น แมงกินูน ชอบกินใบอ่อนมะขาม มะขามเทศ มดแดงจะอาศัยตามต้นมะม่วง ต้นจิก ต้นเต็ง ต้นรัง จักจั่นกินใบอ่อนต้นจิก ต้นแดง ต้นกุง อาหารจากแมลงที่นิยมมากในช่วงนี้คือ ก้อยไข่มดแดง ก้อยจักจั่น และคั่วแมงกินูน

จากสภาพภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชุมชนและการประกอบอาชีพของท้องถิ่นอีสาน เช่นการตั้งถิ่นฐานใกล้ชายป่า ใกล้ห้วยหนองคลองบึง การตั้งชุมชนอยู่ในที่ราบลุ่มที่ราบสูง ประกอบอาชีพการทำไร่ ทำนา ทำสวน สภาพแวดล้อมของชุมชนเหล่านี้เป็นแหล่งเกิดของแมลงหลายชนิด ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ทำให้มีแมงอาศัยมากจนต้องจับมาเป็นอาหาร ชาวบ้านในท้องถิ่นอีสานที่ตั้งชุมชนก่อน พ.ศ. 2500 มักจะเลือกทำเลที่ตั้งชุมชนบ้านเรือนใกล้แหล่งน้ำ ใกล้ป่าใกล้โคกที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ อาหารบริบูรณ์ ดังคำผญาที่กล่าวว่า "บ้านข้อยนั้นดินดำน้ำซุม ปลากุ่มบ้อนคือแข้แกว่งหาง ปลานางบ้อนคือขางฟ้าลั่น จักจั่นฮ้องปานฟ้าล่วงบน" หมายความว่า บ้านของผู้กล่าวมีดินน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีปลาตัวขนาดใหญ่เมื่อผุดน้ำเหมือจรเข้แกว่งหาง เสียงจักจั่นร้องราวกับฟ้าเกรี้ยวกราด ความนิยมหรือภูมิปัญญาในการตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำ ใกล้ป่านี้จึงเป็นแหล่งอาหารตามฤดูกาลของชุมชนท้องถิ่นอีสาน

คุณทางอาหารจากแมงที่ชาวอีสานรับประทานจัดว่ามีคุณค่าทางด้านโปรตีนและไขมันสูง มาก แมงที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นประมาณ 18 ชนิด ปริมาณโปรตีนอยู่ระหว่างร้อยละ 38.6-65.5 และไขมันระหว่างร้อยละ 4-33 ของน้ำหนักแห้ง นอกจากนี้แมงยังให้สารอาหารประเภทแคลเซียม ฟอสฟอรัส การบริโภคแมงของชาวอีสานยังสร้างสมดุลแก่ธรรมชาติด้วยการเป็นห่วงโซ่อาหารไม่ให้แมงเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร้วไปทำลายพืชผลทางการเกษตรและเกษตรกรไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชมากจนเกินไป
การทำอาหารจากแมงของชาวอีสานได้แก่ การจี่ การคั่ว การทอด การทำจ่อม ทำป่น ทำน้ำพริก ทำลาย ก้อย ทำหมก แกงและเอาะ เช่น คั่วแมงกินูน ลาบหรือก้อยจักจั่น ทอดดักแก้ ตั๊กแตนชนิดต่างๆ น้ำพริกแมงดา จอมแมงละงำ(รวมกับปลาซิวและกุ้ง) เป็นต้น


Create Date : 23 มีนาคม 2552
Last Update : 22 สิงหาคม 2552 0:19:57 น. 2 comments
Counter : 1685 Pageviews.

 
เพิ่งกินก้อยไข่มดแดงไป .. แซ่บหลาย ค่ะ ..55


โดย: ดาวกลางดิน วันที่: 23 มีนาคม 2552 เวลา:10:16:54 น.  

 
ต๊ายยย น่ากลัว ไม่กินแมลงค๊า
แต่กินรถด่วน โห๊ะ โห๊ะ แซบบบหลาย


โดย: prettycrazy วันที่: 23 มีนาคม 2552 เวลา:10:36:20 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.