ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
14 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 
เห็ดพิษ...สิ่งที่มากับหน้าฝน

เนื่องจากช่วงนี้เข้าหน้าฝน สิ่งที่ตามมาก็คือเห็ดมักเกิดขึ้นมา และปัญหาอยู่ที่ว่าคนที่ไม่ทราบว่าเห็ดชนิดไหนกินได้ กินได้ ส่งผลให้มีคนตายเพราะทานเห็ดพิษเข้าไป ต่อไปนี้เป็นชื่อเห็ดพิษที่เรามักจะไม่ทราบว่ากินไม่ได้

รายชื่อเห็ดพิษ(จำนวนหนึ่ง)
เห็ดกระโดงตีนต่ำ
เห็ดแดงน้ำหมาก

เห็ดระโงกหิน
เห็ดสมองวัว
เห็ดรูประฆัง
เห็ดเกล็ดดาว
เห็ดขี้วัว
เห็ดขี้ควาย
เห็ดขอนสีทองเกล็ดแดง
เห็ดหัวกรวดครีบเขียว
เห็ดกรวดเกล็ดทอง
เห็ดไข่เน่า
เห็ดไข่หงส์
เห็ดปะการังส้มอมชมพู
เห็ดห้า
เห็ดนมหนู

ลักษณะของเห็ดพิษ
เห็ดพิษ มีลักษณะดังนี้
1. สีเข้มจัด เช่น แดง ส้ม ดำ หรือมีสีฉูดฉาด
2. มีแผ่นหรือเกล็ดขรุขระบนหมวกเห็ด
3. มีวงแหวนพันรอบบนก้านดอกเห็ด วงแหวนนี้จะเป็นตัวเชื่อมเนื้อเยื่อของหมวกเห็ด และก้านดอกให้ติดกันเมื่อดอกเห็ดบาน
4. มีขนหรือหนามเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป
5. มีกลิ่น
6. มีน้ำเมือก หรือมีน้ำยางสีขาวออกมาเมื่อกรีดที่หมวกเห็ด
7. ครีบที่อยู่ใต้หมวกมีสีขาว สปอร์ในครีบมีสีขาวเช่นกัน

เห็ดพิษ แบ่งได้เป็น 4 ชนิดดังนี้

1. เห็ดพันธ์อะมานิตา มัสคาเรีย (Amanita muscaria)
เห็ดชนิดนี้คล้ายกับเห็ดโคนทั้งเวลาตูมและบาน เส้นผ่าศูนย์กลางของหมวกเห็ดเมื่อบานเต็มที่มีขนาด 2- เซนติเมตร สูง 10-12 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น ระหว่าง1-2 เซนติเมตร
สารเป็นพิษที่สำคัญในเห็ดชนิดนี้คือ มัสคารีน(muscarine)
เห็ดชนิดนี้มีพิษรุนแรง เมื่อรับประทานเข้าไป 15-30 นาที จะมีอาการตัวร้อน ใจสั่น หัวใจเต้นช้าลง เส้นเลือดขยาย มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการเห็นภาพม่านตาหรี่ เหงื่อ น้ำลายและน้ำตาถูกขับออกมามาก ปวดบริเวณช่องท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจขัดและถึงตายในที่สุด

2. เห็ดพันธ์อะมานิตา ฟัลลอยเดส(Amanita phalloides)
เห็ดชนิดนี้มีวงแหวนบอบบาง ถ้วยเห็ดคล้ายเห็ดฟาง มีสปอร์สีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางของหมวกเห็ดกว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร ลำต้นกว้างประมาณ 0.6-1.5 เซนติเมตร
เห็ดชนิดนี้มีสารเป็นพิษฟัลโลท็อกซิน(phollotoxin)ซึ่งมีพิษต่อตับ และสารเป็นพิษอะมาโตท็อกซิน(amatotoxin)
อาการเป็นพิษจะเห็นชัดภายใน 6-12 ชั่วโมง อย่างช้าไม่เกิน 24 ชั่วโมง จะมีอาการอาเจียน ปวดท้องอย่างแรง ท้องเดิน เป็นตะคริว ความดันเลือดต่ำ ตับบวม และถึงแก่ความตายในที่สุด หากรับประทานจำนวนมาก คนไข้จะตายภายใน 2-3 วัน

3. เห็ดพันธุ์อีโนไซบ์(Inocybe)
มีลักษณะของหมวกเห็ดเป็นรูปทรงกระบอก สปอร์สีน้ำตาลอ่อน ถ้ารับประทานเห็ดชนิดนี้ จะมีอาการปวดท้อง เนื่องจากกระเพราะอาหารและลำไส้หดเกร็ง

4. เห็ดพันธุ์โคปรีนัส อาทราเมนทาเรียส(Coprinus atramentarius)
หรือเห็ดหมึก มีสารที่รวมตัวกับแอลกอฮอล์แล้วจะเกิดพิษ คนดื่มสุราพร้อมกับรับประทานเห็ดชนิดนี้ จะมีอาการใจสั่น หายใจหอบ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ
เห็ดทั้ง 4 ชนิดนี้ จะมีขึ้นเป็นดงในป่าที่มีความชื้นสูง

การทดสอบเห็ดพิษแบบชาวบ้าน

วิธีการตรวจสอบเห็ดพิษแบบชาวบ้านต่อไปนี้ ถึงแม้จะไม่ถูกต้องนัก แต่ก็จัดว่าเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน ที่จะใช้ตรวจสอบว่าเห็ดชนิดไหนรับประทานได้ ชนิดไหนเป็นเห็ดพิษ ซึ่งจะนำมาใช้ได้เป็นบางส่วนหรือในบางโอกาส ดังต่อไปนี้
1. นำข้าวสารมาต้มกับเห็ด ถ้าไม่เป็นพิษข้าวสารจะสุก ถ้าเป็นพิษข้าวสารจะสุกๆ ดิบๆ

2. ใช้ช้อนเงินคนต้มเห็ด ถ้าช้อนเงินกลายเป็นสีดำ จะเป็นเห็ดพิษ

3. ใช้ปูนกินหมากป้ายดอกเห็ด ถ้าเป็นเห็ดพิษจะกลายเป็นสีดำ

4. ใช้หัวหอมต้มกับเห็ด ถ้าเป็นเห็ดพิษจะเป็นสีดำ

5. ใช้มือถูเห็ดจนเป็นรอยแผล ถ้าเป็นพิษรอยแผลนั้นจะเป็นสีดำ แต่เห็ดแชมปิญญองเป็นเห็ดที่รับประทานได้ เมื่อเป็นแผลก็จะเป็นสีดำ

6. ดอกเห็ดที่มีรอยแมลงและสัตว์กัดกิน เห็ดนั้นไม่เป็นพิษ แต่กระต่ายและหอยทากสามารถกินเห็ดพิษได้

7. เห็ดที่เกิดผิดฤดูกาล มักจะเป็นพิษ แต่ในทุกวันนี้สามารถเพาะเห็ดได้ตลอดปี

8. เห็ดพิษมักจะมีสีฉูดฉาด เห็ดรับประทานได้จะมีสีอ่อน


การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่รับประทานเห็ดพิษ

หากพบผู้ป่วยที่รับประทานเห็ดพิษและเกิดอาการพิษขึ้น ควรทำให้ผู้ป่วยอาเจียนโดยเร็ว เพื่อเอาเศษอาหารที่ ตกค้าง ออกมาให้มากที่สุด หากผู้ป่วยอาเจียนออกยากให้ใช้เกลือแกง 3 ช้อนชา ผสมน้ำอุ่นดื่มจะทำให้อาเจียนได้ง่ายขึ้น แต่วิธีนี้ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ แล้วให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์โดยด่วน พร้อมกับตัวอย่างเห็ดพิษ (หากยังเหลืออยู่) เพื่อให้แพทย์รักษาต่อไป


ข้อมูลจาก
//aopdh08.doae.go.th/muchroom_toxic08.htm
//scratchpad.wikia.com/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9
เอกสารอ้างอิง นาย สุรศักดิ์ พุ่มมณี ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา
//walai.msu.ac.th/WEBBOARD/question.asp?QID=25



Create Date : 14 พฤษภาคม 2552
Last Update : 14 พฤษภาคม 2552 19:57:41 น. 0 comments
Counter : 1806 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.