Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2548
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
21 กุมภาพันธ์ 2548
 
All Blogs
 
Harvard A to Z From Aab to Zeph Greek — and everything Crimson in between



วันนี้จะมาพูดถึงหนังสือเบา ๆ เล่มหนึ่งชื่อว่า Harvard A to Z โดย John T. Bethell, Richard M. Hunt, and Robert Shenton , Harvard University Press ($25.95)


[Harvard A-Z][pdf version]


หลายเดือนมาแล้วได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเป็นเหมือนกับ Glossary รวบรวมชื่อคำต่าง ๆ (ดูรายการ) ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (ต้องออกเสียงแบบฝรั่ง ว่า ฮาเวิร์ด เหมือนกับ สแตนเฟิร์ด อ๊อกเฟิร์ด) อ่านไปเรื่อย ๆ ก็เพลินดี จนได้ย้อนกลับมาพลิกดูหน้าแรกสุดของคำคือคำว่า Aab ซึ่งตอนแรกก็ไม่ได้เอะใจ แต่พออ่านดูก็พบว่าจริง ๆ แล้วคือชื่อของคนไทยท่านหนึ่ง มีนามว่า Aab Raktaprachit (นายแอบ รักตประจิต) ซึ่งเป็นนักเรียนไทยคนแรกที่เข้าเรียนที่สถาบันอันมีชื่อเสียงแห่งนี้ สาเหตุที่ชื่อของท่านได้มาปรากฎในหน้าแรกของหนังสือ Harvard A-Z นั้น เพราะชื่อของท่านเป็นรายชื่อแรกที่อยู่ในลิสต์ของ Harvard Alumni Directory ตั้งแต่ปี 1910 เป็นเวลากว่า 80 ปี นับว่าน่าตื่นเต้นที่คนไทยได้ปรากฏชื่อเสียงเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของฮาวาร์ด

สำหรับในคำแนะนำของหนังสือเล่มนี้จาก Harvard Magazine ได้เขียนถึงนายแอบ รักตประจิตร ซึ่งต่อมาคือ พล.ท.พระยาศัลวิธานนิเทศ เอาไว้ว่า

When Raktaprachit Aab '13, A.M. '14, of Bangkok, enrolled in the College in 1909, the journey from home to Harvard took six weeks by ship and rail. As if commemorating his labors (but in fact because of alphabetic good fortune), Aab became the first listing in Harvard's first official directory (1910), later the alumni directory—a status he maintained for 80 years.

Now, 15 years after his death, Aab again holds the flagpole position, as the initial entry in Harvard A to Z, just published by Harvard University Press....

ข้อมูลจากหนังสือเรื่องนักเรียนฮาวาร์ดของ วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร ได้กล่าวถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า

นักเรียนไทยรุ่นแรกที่ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดคือ นายแอบ รักตประจิต และนายตี๋ มิลินทสุต ซึ่งได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปเข้าฮาวาร์ด คอลเลจ เมื่อปีค.ศ. 1909 (พ.ศ. 2452) ในปลายรัชกาลที่ห้า นายตี๋ มิลินทสุตเรียนอยู่ที่ฮาร์วาร์ดได้ไม่นาน ก็ได้ย้ายไปเรียนวิชาเกษตรกรรม ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล เป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จปริญญาตรีในสาขาวิชานี้ "นักเรียนฮาร์วาร์ด" คู่แรกสำเร็จการศึกษาและเดินทางกลับประเทศไทยพร้อมกันในปีค.ศ. 1914 (พ.ศ. 2457)

นายแอบ รักตประจิตนั้น เรียนวิชาวิศวกรรมสำรวจและวิชาการทำแผนที่ และสำเร็จได้รับปริญญาทั้งตรีและโทจากฮาร์วาร์ด ถือได้ว่าเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับปริญญาจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ นายแอบ รักตประจิต ต่อมาก็คือ พล.ท.พระยาศัลวิธานนิเทศ อดีตเจ้ากรมแผนที่ อดีตพระสมุหราชมณเฑียร และอดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน


ปล.ขอขอบคุณคุณ ฮวด ฮงฮวย(//huad.bloggang.com) สำหรับข้อมูลชีวประวัติของพระยาศัลวิธานนิเทศ นะครับ ขอให้โชคดีได้ไปเดินเล่นใน The Yard สมใจ


Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2548
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2548 19:18:42 น. 6 comments
Counter : 1044 Pageviews.

 
หนังสือแนวนี้ไม่ชอบอ่านง่า~
บิวอ่านแต่วรรณกรรมแปล
พวกนิยายน้ำเน่าๆ ของเกาหลี


โดย: neaq วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา:9:31:42 น.  

 
หง่า อยากอ่านๆๆ
ใกล้งานหนังสือแย้ว เย้ๆๆ


โดย: ตุ๊กตารอยทราย วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา:10:39:25 น.  

 
โห ทึ่งดีเนอะ ถ้าแบบว่ามีชื่อเราลงในนั้น
เราคงปลื้มแล้วเปนเกียรติแก่วงศ์ตระกูลสุดๆ


โดย: prncess วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา:13:41:34 น.  

 
สาธุครับ ขอบคุณที่ช่วยพีอาร์บล็อกผมด้วยครับ

นามว่าฮวด ฮงฮวยนั้นสอดคล้องกับนามของมหาวิทยาลัยในภาคไทย กล่าวคือสะกดด้วยตัวฮ. นกฮูกเหมือนกัน ฉะนั้น จึงงเป็นมงคลยิ่ง

ต่อไปในภายภาคหน้า ถ้าโชคเข้าข้าง อาจจะมีหนังสือฮาร์วาร์ด ก. ถึง ฮ. โดยฮวด ฮงฮวย ก็ได้ครับ

(เวอร์มะ?)


โดย: ฮวด ฮงฮวย (ทำไมไม่มีอมยิ้มอะ) IP: 61.91.65.129 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา:15:10:45 น.  

 
อะโหล เทสต์ เทสต์ อะโหล

โอเค มีอมยิ้มละ


โดย: ฮวด ฮงฮวย วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา:15:18:22 น.  

 
คนสมัยก่อนลำบากกว่าเราเยอะเนอะ ต้องดั้นด้นไปเรียน นั่งเรือไปนานๆ เราเดินทางแค่วันเดียวยังบ่นเลย :-p


โดย: yodmanud^ying IP: 81.154.23.76 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา:19:38:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

B.F.Pinkerton
Location :
Midway United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add B.F.Pinkerton's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.