Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
4 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 

มารู้จักยาสมุนไพรกันเถอะ






มารู้จักยาสมุนไพรกันเถอะ






หมอข้างรั้ว




ก่อนที่จะมาลงเรียนการแพทย์แผนไทย
ก็ยังสับสน ว่ายาสมุนไพรกับยาแผนโบราณ คงจะเป็นอย่างเดียวกัน
แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ซะทีเดียว ยาสมุนไพรเป็นยาที่ยังไม่ได้ผสมและปรุง
แต่ยาแผนโบราณได้ผ่านการปรุงผสมผสาน
จากสมุนไพรหรือแร่และสัตว์ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป


ไว้จะทยอยมาเล่า ถึงกฎหมายที่มีต่อผู้ที่จะมาประกอบโรคศิลปะ
และปรุงยา เพราะหากทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
อาจมีความผิด เพราะมีบทลงโทษไว้ชัดเจน
ที่นำมาบอกกล่าว ก็เพื่อให้มีความรู้ไว้ แต่ถึงขั้นจะปรุงขาย
ต้องมาศึกษากันอย่างจริงจัง


เพราะยามีทั้งคุณและโทษ ใช้ไม่ถูกต้อง
แทนที่จะรักษา อาจกลายเป็นยาพิษ
ยกตัวอย่างเช่น ขมิ้นชัน หากอบในอุณหภูมิเกิน 65 องศา
อาจมีฤทธิ์เป็นสเตียร์รอย เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
จะทำอะไรก็คงต้องอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน
คือศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อน


คุณตาเคยเล่าว่า คนโบราณที่เป็นหมอยา
ต้องใช้วิธีชิมยา เพื่อให้ทราบสรรพคุณ เพราะรสยาแต่ละรส
มีคุณสมบัติในการรักษาที่แตกต่างกัน


ครั้นจะมาให้ลูกหลานกินยา ก็คงเป็นเรื่องลำบาก
ป้อนยากันแต่ละครั้งแสนยาก ต้องจับยึดกรอกปาก
คงจะพอนึกภาพออก แล้วรสยาส่วนใหญ่ก็ขม บ้างก็เผ็ดร้อน


ท่านทั้งหลาย เลยหาวิธีหลอกล่อ ให้กินกันวันละนิด
โดยผสมลงไปในอาหาร
ส่วนใหญ่ก็เป็นจำพวก แก้ลม ท้องอืดท้องเฟ้อ
เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ก็นำมาทำเป็นต้มยำ
เป็นพริกแกงชนิดต่างๆ กินไปวันละนิดละหน่อย



นับว่าเป็นกุศโลบายอันแยบยล
เมื่อครั้งเป็นเด็ก ยายจะแกงส้มดอกแคให้กิน
แก้ไข้หัวลม ตาบอกว่าพืชผักตามฤดูกาล จะเป็นอาหารชั้นดี
หมอยาจะทราบได้อย่างไร มีสรรพคุณอะไรบ้าง


ตาบอกว่าสังเกตได้หลายอย่าง ตั้งแต่สี กลิ่น รสและชื่อ
วันนี้มาเริ่มกันที่รสก่อน รสยาก็มี ฝาด หวาน มัน เมาเบื่อ ขม เค็ม เปรี้ยว
จะยกตัวอย่าง เพื่อให้พอนึกภาพออก
ว่าแต่ละรส มีสรรพคุณอะไรกันบ้าง


.....


รสฝาด ประโยชน์ของยารสฝาด ก็คือ เป็นยาสมาน
คุมธาตุใช้ชะล้าง และรักษาบาดแผลเน่าต่างๆ
ห้ามเลือดจากบาดแผลตื้นๆ แก้โรคบิด โรคท้องร่วง


รสฝาด

เปลือกแค เปลือกหว้า เปลือกมะเดื่อ เปลือกมังคุด
เปลือกมะขาม ทับทิม ลูกเบญกานี สีเสียดเทศ
สีเสียดดำทบและครั่ง เปลือกขี้อ้าย เปลือกคน โกศพุงปลา
เนระภูสี ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ชันผง ว่านร่อนทอง เปลือกโกงกาง ฯลฯ

....

รสหวาน ประโยชน์ ซึมซาบไปตามเนื้อ ใช้แก้ฟกช้ำในคอและปา แก้ไอ แก้หอบ แก้กระหาย ใช้เจือปนกับยาที่มีรสขมขื่น



รสหวาน เช่น ชะเอมเทศ ชะเอมไทย น้ำตาล น้ำผึ้ง รากหญ้าคา ฯลฯ

.....


รสเบื่อเมา ประโยชน์ใช้ในการแก้พิษ ปวด เจ็บ
เช่น พิษบาดแผลถูกฟัน แทง ยิง และแผลที่ถูกอสรพิษกัด
เช่น งู ตะขาบ แมลงป่อง สุนัข บาดทะยัก
ท้องร่วง อหิวาต์ และอาการเจ็บปวดเกี่ยวกับกามโรคด้วย


รสเบื่อเมา

ลำโพง กัญชา ฝิ่น ยาฉุน สุรา ลูกสะบ้าต่างๆ
ขันทองพยาบาท กระเช้าทั้ง 2 กระเบา กระเบียน ฯลฯ


....


รสขม ประโยชน์ ใช้แก้เป็นไข้ตัวร้อน ไข้จับสั่น ไข้เหลือง
แก้พยาธิในเด็ก บำรุงน้ำดี


รสขม


บอระเพ็ด ลูกกระดอมเปลือกและลูกสะเดา
รากและผลขี้กา ใบมะกา แก่นขี้เหล็ก พญามือเหล็กแสลงใจ
กอมขม (ดีงูต้น)ดีสัตว์ต่างๆ หญ้าลูกใต้ใบ ฯลฯ



รสเผ็ดร้อน ประโยชน์แก้โรคกระเพาะอาหารพิการ
ที่ทำให้ลมในกระเพาะอาหาร และลำไส้ขับออกให้เรอ และผายลม
ช่วยในการย่อยอาหาร ถ้าบุคคลที่คุ้นเคยกับรสเผ็ดร้อนอยู่แล้ว
ก็ทำให้อาหารมีรสโอชามากขึ้น ภายนอกใช้ทาแก้เหน็บชา ตะคริว



รสเผ็ดร้อน


พริกไทย ดีปลี เจตมูลเพลิงแดง ชิง สะค้าน
ชะพลู กานพลูพริก หอม พริกหาง พริกเทศ พริกชี้ฟ้า หัศคุณไทย
หัศคุณเทศ พิษพญาไฟ (ดีปลีป่า)
โลดทนง แห้วหมู ว่านน้ำเมล็ดข่อย หน่อไม้ ลูกผักชีลา
ลูกจันทน์เทศ ดอกจันทน์เทศ ลูกกระวาน ฯลฯ


.....


รสมัน ประโยชน์ใช้ทาแก้ปวดเมื่อยทั่วร่างกาย
ใช้สวนอุจจาระ และผสมกับยาบางอย่างทาแก้โรคคันตามผิวหนัง
และเจือกับสรรพคุณยาที่มีรสฝาด รักษาบาดแผลด้วย
และรับประทานแก้ปวดเมื่อยตามข้อ


รสมัน

น้ำมันมะพร้าว น้ำมันละหุ่ง น้ำมันงูเหลือม น้ำมันหมู
น้ำมันเขียว น้ำมันกระทุงลาย น้ำมันสำโรง
ข้าวเย็นเหนือข้าวเย็นใต้ กระดูกสัตว์ ฯลฯ


.....



รสหอมเย็น ประโยชน์ทำให้ชุ่มชื่นใจ แก้กระหายน้ำ อ่อนเพลีย
บำรุงกำลัง แก้เซื่องซึมในโรคบางอย่าง


รสหอมเย็น

จันทน์ ชะมด ดอกพิกุล ดอกบุนนาค
ดอกสารภี ดอกมะลิ เกสรบัวหลวง ดอกจำปี น้ำดอกไม้เทศ
ดอกกระดังงา ดอกกุหลาบ ฯลฯ


.....


รสเค็ม ประโยชน์ ใช้แก้ท้องเฟ้อ
ขับปัสสาวะและอุจจาระช่วยย่อยอาหาร
ใช้ภายนอกแก้โรคผิวหนัง เช่น อาบน้ำทะเล เป็นต้น

รสเค็ม

รากลำพู น้ำมูตร น้ำทะเล เกลือ ดีเกลือ เกลือสินเธาว์
เกลือกะตัง มูตร น้ำด่างจากเถ้าต่างๆ


......


รสเปรี้ยว ประโยชน์ ทำให้ชื่นใจ แก้กระหายน้ำ
กัดเสมหะในลำคอ ขับอุจจาระปัสสาวะ แก้ไอ แก้หอบ ทาแก้ฝ้าที่ลิ้น


รสเปรี้ยว

ลูกมะขามป้อม ลูกมะดัน ฝักมะขามไทย
ใบมะขามไทยน้ำมะนาว น้ำมะกรูด
ใบส้มป่อย น้ำส้มซ่า
น้ำส้มสายชู ใบส้มเสี้ยว ใบมะขามแขก ส้มกุ้งน้อย ส้มกุ้งใหญ่
ส้มสันดาน ใบชะมวง ใบส้มเช้า ส้มมะงั่ว ฯลฯ


......



รสจืด ประโยชน์ใช้ในการบำบัดโรค
เช่นเดียวกับยารสเปรี้ยวเหมือนกันทั้งสิ้น



รสจืด

แส้ม้าทะลาย หัวหญ้าชันกาด น้ำฝน น้ำค้าง
น้ำกลั่น และพวกแป้งต่างๆ เป็นต้น



วันนี้คงพอจะทราบแล้วใช่ไหมคะ เกี่ยวกับรสยาและสรรพคุณต่างๆ
ไว้จะทยอย นำมาเล่าให้ฟัง เพื่อเป็นการทบทวนไปในตัว
แวะไปร่วมสนุก จนลืมอ่านหนังสือเตรียมสอบ
วันนี้จึงถือโอกาสนำมาลงไว้ เรามาศึกษาไปพร้อมๆกัน






แอมอร







 

Create Date : 04 สิงหาคม 2553
2 comments
Last Update : 4 สิงหาคม 2553 23:13:37 น.
Counter : 1371 Pageviews.

 

......ว๊าว...ได้เจิม.....

......เดี๋ยวค่อยกลับมาอ่านนะคะ........



 

โดย: Calla Lily 5 สิงหาคม 2553 13:17:51 น.  

 

ขอบคุณที่แบ่งปัน ติวเลขออนไลน์

 

โดย: swkt (tewtor ) 11 เมษายน 2554 15:51:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


peeamp
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 61 คน [?]




บางที ปลายทางก็ไม่ได้สำคัญมากไปกว่า


.....

สิ่งที่อยู่ระหว่างทาง


..............^^....
และความสุขในปัจจุบัน

ก็เป็นสิ่งที่เราจับต้องได้

....^^.....^^......


โดยไม่ต้องรอคอย

ความสุขของอนาคต



ปูปรุง








New Comments
Friends' blogs
[Add peeamp's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.