Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
22 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
ประวัติการแพทย์แผนโบราณของไทย





ประวัติการแพทย์แผนโบราณของไทย




หมอข้างรั้ว



ด้วยใจที่รักต้นไม้ใบหญ้า และอยากสืบสานภูมิปัญญาไทย
ต่อจากคุณตา ที่เคยเป็นหมอยา
ทำให้ตัดสินใจลงเรียนในครั้งนี้ไม่ง่ายเลยจริงๆ
ลองมาอ่านความเป็นมาของการแพทย์แผนโบราณของไทยเราดูบ้าง







สมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์

ในสมัยพุทธกาล ท่านชีวกโกมาภัจจ์แพทย์
จบการศึกษาแพทย์ จากตักศิลาแล้ว
ได้ไปรักษาโรคให้แก่ผู้คนที่เมืองสาเกต เมืองหลวงของอโยธยา
มีแพทย์ที่มีชื่อเสียงมากมาย
แสดงว่าในสมัยนั้นการแพทย์ของอโยธยาเจริญรุ่งเรืองมาก
จนเป็นที่หมายตาของแพทย์ที่ต้องการสร้างชื่อเสียงและผลงาน


จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แสดงว่า
ดินแดนของไทยส่วนที่ขอมเคยเรืองอำนาจมาก่อน
ได้มีการสร้างศาสนสถานและอโรคยศาลา (โรงพยาบาล)
กระจายกันอยู่ทั่วไปถึง 102 แห่ง
ทั้งในชุมชน และตามรายทางการติดต่อเชื่อมหัวเมืองต่างๆ
มีหมอ พยาบาล เภสัชกร
มีการผลิตยาแจกจ่ายให้แก่ราษฎร
มีการค้นพบหินบดยาที่ใช้ในสมัยทวาราวดี



ในยุคสุโขทัยหลังการประกาศอิสระภาพจากการปกครองของขอม
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาดใหญ่
ขึ้นบนเขาหลวงหรือที่เรียกว่าเขาสรรพยา
ซึ่งยังคงปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ที่จังหวัดสุโขทัย



สมัยอยุธยา การแพทย์มีความเจริญรรุ่งเรืองมาก
มีแพทย์หลวงประจำองค์พระมหากษัตริย์
มีการจารึกตำรับตำราลงในสมุดข่อยและใบลานมากมาย
ส่วนใหญ่เสียหายจากการถูกพม่าเผากรุงครั้งสุดท้าย
ส่วนที่เหลืออยู่ถูกต่างประเทศซื้อไปเป็นจำนวนมาก



ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้จัดระบบระเบียบการจัดหายา
มีแหล่งจำหน่ายยาและสมุนไพรหลายแห่ง
มีการรวบรวมตำรับยาขึ้น เรียกว่า ตำราโอสถพระนารายณ์
การแพทย์มีความเจริญรุ่งเรืองมาก รวมถึงการนวดด้วย




สมัยกรุงรัตนโกสินทร์



สมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ได้ทรงปฏิสังขร วัดโพธารามหรือวัดโพธิ์
ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชื่อว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ทรงให้รวบรวมตำรายา ฤาษีดัดตน ตำราการนวด
จารึกไว้ตามผนังและเสาตามศาลาราย
ทรงให้จัดตั้งกรมหมอและโรงพระโอสถ แพทย์ที่รับราชการ
เรียกว่าหมอหลวง ส่วนหมอที่รับรักษาราษฎรทั่วไป
เรียกว่าหมอราษฎรหรือหมอเชลยศักดิ์



สมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ทรงมีพระบรมราชโองการให้ผู้ที่ชำนาญโรคและสรรพคุณยา
รวมทั้งผู้ที่มีตำรายา นำเข้ามาถวายให้กรมหมอหลวง
คัดเลือกจดเป็นตำราหลวง สำหรับโรงพระโอสถ
ในปี 2359 ทรงตรากฎหมาย ชื่อว่า กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย



สมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงปฏิสังขรวัดโพธิ์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ
ขึ้นเป็นแห่งแรก คือ โรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์
ทรงมีพระบรมราชโองการให้ผู้ที่มีตำรับตำรายาแผนโบราณ
ที่มีสรรพคุณดีเป็นที่เชี่อถือได้ นำมาถวายเพื่อมาจารึกบนแผ่นหินอ่อน ประดับไว้ตามผนังพระอุโบสถ ศาลาราย เสา และกำแพงวิหารคต
รอบพระเจดีย์สี่องค์ ส่วนใหญ่เป็นตำราบอกสมุฏฐานโรคและการรักษา


ปลูกสมุนไพรที่จำเป็นต้องใช้และหายากไว้เป็นจำนวนมาก
ทรงให้ปั้นรูปฤาษีดัดตนท่าต่างๆ
ในระยะนั้นการแพทย์ตะวันตกได้เข้ามามากคณะมิชชันนารี
โดยการนำของนายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์
มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ การใช้ยาเม็ดควินิน
รักษาโรคไข้จับสั่น เป็นต้น



สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้มีการนำการแพทย์ตะวันตกมาใช้มากขึ้น
แต่ยังไม่ได้รับความนิยม เช่น การทำคลอด เป็นต้น



สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จัดตั้งศิริราชพยาบาล ใน พ.ศ. 2431
สอนและรักษาโรคโดยแพทย์แผนโบราณและแพทย์แผนตะวันตก
จัดพิมพ์ตำราแพทย์ขึ้น คือ แพทย์ศาสตร์สังเคราะห์
โดย พระยาพิษณุประสาทเวช
ได้รับการยกย่องให้เป็นตำราแห่งชาติฉบับแรก
ต่อมาได้จัดพิมพ์ตำราขึ้นใหม่ คือ
ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 2 เล่ม
และตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป 3 เล่ม
ซึ่งเป็นตำราแพทย์แผนโบราณที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน




สมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีการสั่งยกเลิกวิชาการแพทย์แผนโบราณ
ตราพระราชบัญญัติการแพทย์ ในปี พ.ศ. 2466
เพื่อควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
ทำให้หมอพื้นบ้านจำนวนมากเลิกการประกอบอาชีพนี้ไป



สมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ตรากฎหมายเสนาบดี แบ่งการประกอบโรคศิลปะเป็น
แผนปัจจุบันและแผนโบราณ
ให้การจำกัดขอบเขตการประกอบโรคศิลปะของแพทย์แผนโบราณ
เป็นแบบที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน



สมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
มีการจัดตั้งสมาคมของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ
ที่วัดโพธิ์ ในปี พ.ศ. 2500 มีการจัดสอนการแพทย์แผนโบราณขึ้น
ตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเอกชน
และตามวัดวาอารามต่างๆ เป็นจำนวนมาก
เริ่มก่อตั้งโรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) ในปี พ.ศ. 2525
ตรากฎหมายให้มีการแพทย์แผนโบราณทั่วไป
และแผนโบราณแบบประยุกต์ ซึ่งสามารถศึกษาและตรวจรักษาโรค
โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์ประกอบได้



องค์การอนามัยโลกได้บังคับให้ประเทศที่จะขอการสนับสนุน
งบประมาณ ต้องนำเอาการแพทย์พื้นเมืองมาพัฒนาใช้
ในประเทศของตนด้วย
ทำให้หน่วยงานของรัฐหลายแห่งหันมาทำโครงการส่งเสริม
การแพทย์แผนโบราณรูปแบบต่างๆ ขึ้น
แต่ก็เป็นไปตามช่วงของงบประมาณ ประมาณปี พ.ศ. 2538




กระแสความต้องการในต่างประเทศ
ที่หันไปใช้การดูแลสุขภาพตามวิถีธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
ผู้คนในประเทศหันมาให้ความสนใจ
ในการใช้ยาและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรมากขึ้น
ทำให้องค์กรและบุคคลากรทางด้านการแพทย์หันมาสนใจ
ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรมากขึ้น



แต่การควบคุมก็ยังคงอยู่ในกำกับของทางราชการโดยตรง
ในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการออกพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ
ให้มีการเลือกตั้งกรรมการวิชาชีพจากผู้ประกอบโรคศิลปะ
เข้าไปบางส่วนปี พ.ศ. 2542 ได้มีการตราพระราชบัญญัติ
คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
เพื่อตั้งสถาบันการแพทย์แผนไทยขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลการใช้สมุนไพร
และเปลี่ยนคำว่า การแพทย์แผนโบราณ เป็นคำว่า การแพทย์แผนไทย



ถึงแม้นว่าการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงในช่วงต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2544
จะเกิดขึ้นอย่างมาก แต่บุคลากรและองค์กรที่กำกับดูแล
การแพทย์แผนไทยก็ยังเป็นของทางด้านการแพทย์แผนตะวันตก
และยังมีการนำแนวทางการดูแลรักษาสุขภาพจากต่างประเทศ
เข้ามาเป็นการแพทย์ทางเลือก
การแพทย์แผนไทยก็ถูกจัดเข้าอยู่ในกลุ่มการแพทย์ทางเลือกเช่นกัน





จับประเด็น สาระสำคัญ

มีการค้นพบหินบดยาที่ใช้ในสมัยทวาราวดี


พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาดใหญ่
ขึ้นบนเขาหลวงหรือที่เรียกว่าเขาสรรพยา


สมัยอยุธยา ตำราโอสถพระนารายณ์

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ร.1วัดโพธารามหรือวัดโพธิ์
เป็นพระอารามหลวง ชื่อว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


แพทย์ที่รับราชการเรียกว่าหมอหลวง
ส่วนหมอที่รับรักษาราษฎรทั่วไปเรียกว่าหมอราษฎรหรือหมอเชลยศักดิ์


ร.2ในปี 2359 ทรงตรากฎหมาย ชื่อว่า กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย


ร.3 นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์
มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ การใช้ยาเม็ดควินิน
รักษาโรคไข้จับสั่น

ร.5 จัดตั้งศิริราชพยาบาล ใน พ.ศ. 2431
สอนและรักษาโรคโดยแพทย์แผนโบราณและแพทย์แผนตะวันตก

จัดพิมพ์ตำราแพทย์ขึ้น คือ แพทย์ศาสตร์สังเคราะห์
โดย พระยาพิษณุประสาทเวช

ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 2 เล่ม
และตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป 3 เล่ม


ร. 6 สั่งยกเลิกวิชาการแพทย์แผนโบราณ
ตราพระราชบัญญัติการแพทย์ ในปี พ.ศ. 2466



ร.7 ตรากฎหมายเสนาบดี แบ่งเป็น แผนปัจจุบันและแผนโบราณ

ร.9 ตั้งสมาคมของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ ที่วัดโพธิ์ ในปี พ.ศ. 2500

เริ่มก่อตั้งโรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) ในปี พ.ศ. 2525

แผนโบราณแบบประยุกต์ ซึ่งสามารถศึกษาและตรวจรักษาโรค
โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์ประกอบได้




พ.ศ. 2542 ได้มีการออกพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ

พ.ศ. 2542 ได้มีการตราพระราชบัญญัติ คุ้มครองและส่งเสริม
ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

เปลี่ยนคำว่า การแพทย์แผนโบราณ เป็นคำว่า การแพทย์แผนไทย


การแพทย์แผนไทยก็ถูกจัดเข้าอยู่ในกลุ่มการแพทย์ทางเลือก





แอมอร







Create Date : 22 กรกฎาคม 2553
Last Update : 22 กรกฎาคม 2553 14:59:35 น. 1 comments
Counter : 3437 Pageviews.

 
ว๊าว ๆๆๆ ความรู้แน่นปึ๊กเลยตะเอง

อ่านจะไปสอบแล้วเหรอจ๊ะ..
ตั้งใจ ๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ จะได้ความจำดีดี

เอ๊ะ ยังไง

ไม่มาบ้านนี้หลายวัน คิดถึงนะจ๊ะ

นางอิจฉาน่าตาดี เอิ๊กกกส์ยืมมาจากบ้านพ่อพระเอก
วันนั้นทั่นบอก บ้านเราสาว ๆ เยอะดีจะถัก(ร้อย)หัวใจอ่ะ

วันก่อนถักเรื่องรกใช่ป่ะ .. อิอิ


โดย: SongPee วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:21:28:53 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

peeamp
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 61 คน [?]




บางที ปลายทางก็ไม่ได้สำคัญมากไปกว่า


.....

สิ่งที่อยู่ระหว่างทาง


..............^^....
และความสุขในปัจจุบัน

ก็เป็นสิ่งที่เราจับต้องได้

....^^.....^^......


โดยไม่ต้องรอคอย

ความสุขของอนาคต



ปูปรุง








New Comments
Friends' blogs
[Add peeamp's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.