ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
 
กันยายน 2563
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
6 กันยายน 2563
 
All Blogs
 
พี่มาพิมาย

พิมาย
ถล่มเมืองพิมายจนราบคาบ ใน “จารึกขุนศรีไชยราชมงคลเทพ”
กำแพงเมืองพิมายมีความกว้างยาวประมาณ 600 * 1,100 เมตร มีคูน้ำความกว้างประมาณ 25 – 30 เมตรล้อมรอบด้านนอก กำแพงเมืองมูลด้วยดินอัดยกสูงประมาณ 5 เมตร ทำเชิงเทินด้านบนกรุด้วยศิลาแลง (ถูกรื้ออกทั้งหมด)  ทั้ง 4 ด้านมีประตูเมืองและแนวกำแพงก่อด้วยศิลาแลงผสมหินทรายสีแดงความยาวประมาณ 50 เมตร ซุ้มประตูเมืองยาว 20 เมตร ความกว้างช่องประตูประมาณ 4 เมตร  ประตูด้านหน้าเมืองเรียกว่า “ประตูชัย” หันหน้าไปทางทิศใต้ ตามแกนของเมืองที่สอดรับกับแนวถนนโบราณ จากประตูชัยตรงไปสุดที่พลับพลาลงสรงริมบารายพิมายที่ห่างออกไป 1 กิโลเมตร ประตูทิศเหนือเรียกว่า “ประตูผี” คูเมืองบริเวณนี้เชื่อมต่อกับแม่น้ำมูล 
.
ประตูเมืองทั้ง 4 ด้าน สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ในงานศิลปะนิยมแบบราชสำนักบายน จึงมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับประตูเมืองพระนครหลวงศรียโสธระปุระ มีมุขซุ้มประตูยื่นไปทางด้านหน้าและหลัง ด้านข้างเป็นปีกอาคารมุมหลังคาหิน ทำให้เกิดเป็นแผนผังเป็นรูปกากบาท ช่องประตูสูงใหญ่ ก่อผนังหนา ปีกอาคารทั้งสองด้านเป็นห้องคูหา อาจเพื่อใช้ประดิษฐานรูปประติมากรรมทวารบาลผู้รักษาและใช้เป็นห้องรักษาการณ์  มีกำแพงศิลาแลงสูงประมาณ 6 เมตรต่อออกไปด้านละ 15 เมตร ไปเชื่อมกับแนวกำแพงอัดดิน พื้นของช่องประตูมีการจัดร่องหินทรายไว้เพื่อการประกบบังคับล้อรถเกวียน ไม่ให้เฉียงซ้ายเฉียงขวาไปชนผนังระหว่างการแล่นผ่านเข้าออกครับ
.
หลังคาด้านบนของซุ้มประตูเมืองถูกทำลายทั้งหมด แต่ด้วยฐานอาคารที่มีผนังหนา 4 มุมเพื่อการรองรับส่วนยอดและรูปแบบความนิยมทางสถาปัตยกรรม จึงพอมโนได้ว่า ส่วนยอดของซุ้มประตูเมืองพิมาย อาจเคยเป็นยอดปราสาทรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสมันตมุข ที่มีใบหน้าของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เช่นเดียวกับประตูเมืองพระนครธม ส่วนรักแร้หักมุมของอาคารด้านข้างซุ้มประตู มีร่องรอยของการเรียงหินยื่นออกมา ซึ่งก็อาจเคยทำเป็นรูปช้างเอราวัณหรืออาจเป็นเพียงการยกมุมพิ่มบนผนังเพื่อต่อขึ้นไปยังเรือนวิมานส่วนยอด 
.
ยอดประตู หลังคาปีกอาคารและองค์ประกอบหลายส่วนอยู่ในสภาพพังทลาย เหมือนถูกทำลายมากกว่าการพังทลายไปตามกาลเวลาที่จะพอเหลือชิ้นส่วนประกอบกองทับให้เห็นอยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะประตูด้านตะวันออก (วัดบูรพาพิมล) ที่หินประกอบโครงสร้างได้ถูกรื้อถอนหายไปจนเหลือเพียงแค่ซากเนินของกองหินส่วนฐาน ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นจากการสงครามครั้งใหญ่ครั้งใดครั้งหนึ่งภายหลังจากสิ้นยุคจักรวรรดิบายนในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ไปแล้วครับ
.
ซึ่งคำตอบของสงครามครั้งใหญ่ ที่อาจทำให้ประตูเมืองพิมายทั้งหลายถูกทำลายอย่างย่อยยับนั้น อาจมาจากเรื่องราวใน “จารึกขุนศรีไชยราชมงคลเทพ”   
-----------------------------------
จารึกขุนศรีไชยราชมงคลเทพ  (The Khun Sri jayaRajmongkoldep Inscription) เป็นจารึกหินทรายแดง สูงประมาณ 90 เซนติเมตร รูปทรงกลีบบัวแบบใบเสมา พบจากบริเวณช่องเขาพังเหย ในตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันอยู่ที่วัดบ้านฉางประชานิมิต อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี ( หรือพิพิธภัณฑ์ซับจำปา) จารข้อความ 2 ด้าน ด้านหน้าจารึกด้วยอักษร/ภาษาไทย (อยุธยา) ด้านหลังจารด้วยอักษร/ภาษาเขมร (มีร่องรอยการขูดทำลายจารึก) ทั้งสองด้านอาจมีเนื้อความในความหมายเดียวกันแต่เขียนคนละภาษา โดยระบุว่า “...ในปีกุนนักษัตร 11 ค่ำ เดือนสิบสอง ขุนศรีไชยราชมงคลเทพ ได้ประดิษฐานจารึกหลักนี้ไว้ที่บรรณศาลาตรงเชิงเขา (เมสบรธาน ?) เพื่อประกาศเกียรติยศแก่ทุกผู้คน...” มีใจความสำคัญว่า
.
“....สมเด็จพระอินทรามหาบรมจักรพรรดิธรรมิกราช โปรดเกล้าฯ ให้ขุนศรีไชยราชมงคลเทพเป็นแม่ทัพใหญ่ (เอกมนตรี) พร้อมด้วยขุนมโนรมย์ ขุนคำแหงพระพรหม นายคำแหงนารายณ์ ขุนปทยม ขุนไตรคำแหง ขุนไทรอาด ขุนคำแหงพระพุธ เจ้านครไชย เจ้าหาว นายมโนโมย นายเพาพระบันทม เจ้าสามชื่น เจ้าเพชดา นำกองทัพไพร่พลไปตีเมืองเมืองพิมาย เมืองพนมรุ้ง  สราวขชาย พนมครามสเมจรดู พนมมาส สิงคพิไชย ไพรขดาร (จารึกด้านฝั่งภาษาเขมร มีชื่อนาม พระนครศรีศรีนทรปุระ บันทายเศรา) ให้มาอยู่ในพระราชอำนาจ จนได้รับชัยชนะ (แลราบคาบ) ดังพระราชประสงค์ (มโนสากัลป์แล)  จึงโปรดให้ยกทัพกลับ ขุนศรีไชยราชมงคลเทพจึงได้กวาดต้อนเชลยและผู้คน ผ่านช่องเขาที่มีป่าใหญ่ (พระพนป่ากำแพง)....”
.
จากจุดที่พบจารึกและชื่อนามเมืองที่ปรากฏ มโนได้ว่า เส้นทางเดินทัพของขุนศรีไชยราชมงคลเทพ คงได้ใช้เส้นทางจากอโยธยาขึ้นมาทางเมืองสระบุรี เลาะขึ้นไปตามลำน้ำป่าสัก เดินทัพผ่านที่ราบและช่องเขาเขาสมโภชน์ ผ่านช่องเขาพังเหย (ช่องท่าหลวง – ด่านขุนทด) เข้าสู่เมืองโคราช ไปยังเมืองพิมาย หลังจากนั้นก็ได้ใช้เส้นทางโบราณ (ราชมรรคา) (ตามหลักฐานเส้นทางโบราณในจารึกปราสาทพระขรรค์ (The Preah Khan Inscription) โศลกที่ 121 – 127) เดินทัพต่อไปตีพนมรุ้ง แล้วอาจนำกองทัพผ่านช่องเขาที่มีป่าใหญ่ (พระพนป่ากำแพง) ลงมาตีเมืองบันทายฉมาร์ และพระนครศรียโศธระปุระ ในคราวเดียวกันนี้ด้วยครับ  
.
เส้นทางเดินทัพของขุนศรีไชยราชมงคลเทพเป็นการเดินทัพที่มีการวางแผนทางยุทธศาสตร์ โดยเลือกที่จะอ้อมขึ้นไปตีเมืองพิมายและพนมรุ้ง พันธมิตรในเขตเขมรสูงของเมืองพระนครที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะนำกองทัพลงมาช่วยตีกระหนาบอโยธยาได้ก่อน จึงเลือกไม่ใช้เส้นทางเดินทัพลงมาทางตะวันออกผ่านปราจีนบุรีเข้าตีเมืองพระนครธม ที่มีระยะทางที่สั้นกว่าและเดินทัพได้ง่ายกว่า 
------------------------------------
ร่องรอยที่เหลือของซากซุ้มประตูเมืองพิมายจึงน่าจะมีความเกี่ยวกับการสงครามในครั้งนี้มากที่สุด เพราะเมื่ออโยธยาสามารถพิชิตเมืองพระนครธมได้แล้ว ก็ยังได้สถาปนาเมืองนครราชสีมาขึ้นแทนเมืองพิมายและพนมรุ้ง  ขยายขอบขัณฑสีมาของอาณาจักรเข้ามาในอีสานใต้เป็นครั้งแรก ลดบทบาทของเมืองพิมายด้วยการรื้อประตูเมืองฝั่งตะวันออก รวมทั้งคันเมืองบางส่วนจนไม่สามารถใช้เมืองป้อมเป็นที่มั่นในการทำสงครามได้อีก รวมทั้งการรื้อทำลายยอดปราสาทเหนือซุ้มประตูเมืองและรูปประดับ สัญลักษณ์ที่แสดงอำนาจเดิมของอาณาจักรกัมพุชะเทศะที่ได้ล่มสลายไปแล้วออกไปครับ
เครดิต :
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวเรื่องราว


Create Date : 06 กันยายน 2563
Last Update : 6 กันยายน 2563 9:11:06 น. 0 comments
Counter : 511 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.