ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2564
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
3 กุมภาพันธ์ 2564
 
All Blogs
 
ปราสาทเขาพนมรุ้ง

ไม่เคยมีเรื่อง “พิธีเบิกพรหมจรรย์” ที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง
ในจารึกพนมรุ้งหลักที่ 9 (K. 384) ด้านแรก ได้กล่าวถึงเรื่องราวการสดุดี “ท่านนเรนทราทิตย์” ผู้สถาปนาปราสาทพนมรุ้ง เทวาลัยอันงดงาม ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 17 ว่า
(โศลกที่ 2) “..ผู้มีเครื่องบูชาอันบริสุทธิ์ เขาไปพร้อมฝูงชนที่เป็นกลุ่มทั้งผู้ดีและไพร่ยังคนหนึ่งซึ่งกำลังทำแพที่ถูกงูกัด ได้รับความเจ็บปวดเพราะพิษอันร้ายแรงให้ขึ้นจากสระ แล้วรักษาด้วยเวทมนต์...” 
(โศลกที่ 3) “....เขาชื่อนเรนทราทิตย์ ซึ่งเป็นคุรุแห่งโลกทั้งมวล ได้ประดิษฐานคุรุทั้งสามไว้ ในสถานที่ ชื่อ นทราคาม”
(โศลกที่ 4) “...เขาได้ถวายชิงช้า ซึ่ง มีชื่อว่า “อินฺทฺรโทล” แด่อิศวรที่ชื่อ “ภัทเรศวร” และนอกจากนี้ยังได้ถวาย ยานใหญ่แด่พระศัมภุ (ศิวะ) ซึ่งสถิตบนภูเขาใหญ่อีกด้วย...”
 (โศลกที่ 5) “...เขาได้ถวายชิงช้าทองอันดีมีค่า ซึ่งบรรทุกด้วยยาน สำหรับโล้แด่พระเทวีในราชคูหา เพื่อความสุขแด่มารดาที่เคารพ...”
-------------------------------------
*** ที่หน้าบันปีกชั้นลดของอาคารอรรธมณฑปด้านหน้า ทั้งฝั่งทิศเหนือและทิศใต้ของปราสาทประธาน ปราสาทเขาพนมรุ้ง มีภาพสลักที่สอดคล้องกับเรื่องราวในจารึกสลักไว้อยู่อย่างชัดเจน 
หน้าบันชั้นลด-ปีกทางทิศเหนือ เป็นภาพเรื่องราวของขบวนแห่ “ชิงช้า” หรือ “กระเช้าทองคำ” ดังความที่ปรากฏในโศลกที่ 4 และ 5 มีภาพของนักบวชและขบวนแห่กระเช้า (ยาน) บรรทุกของมีค่า (ชิงช้าทองคำ) บุคคลชายกำลังแบกคานหาม ซ้อนด้านหลังด้วยภาพผู้หญิง (เห็นแค่มวยผม) เทินหม้อเป็นชั้น ๆ ไว้ที่ศีรษะ โดยมีภาพของฉัตรและเสาที่มีริ้วธงใหญ่ 3 ชาย อยู่ด้านบน แสดงความเป็นขบวนแห่อันมีความสำคัญ ตามที่กล่าวถึงในจารึก
ส่วนหน้าบันปีกชั้นลดที่ฝั่งทิศใต้ ภาพสลักแตกตรงนี้กะเทาะหายไปมาก แต่จากรอยเส้นของหินที่กะเทาะออกไปเชื่อมโยงกับส่วนที่เหลือ ได้แสดงให้เห็นว่า เป็นเรื่องราว 2 เรื่องที่ต่อเนื่องกันตามจารึก โดยเป็นเรื่องก่อนหน้าในโศลกที่ 2 ที่ท่านนเรนทราทิตย์ ได้รักษาคนต่อแพที่ถูกงูกัด ด้วยเวทย์มนต์ ส่วนด้านบนของภาพเป็นภาพริ้วธงยาวตั้งปลายแหลมลู่ลม 7 ทิว สลับกับฉัตรดอกไม้ 3 คัน ซึ่งก็คงชัดเจนว่า นี่คือ “ขบวนแห่แหนอันมีความสำคัญ” หันไปตามภาพขบวนทางปีกทิศเหนือที่เป็นขบวนแห่ชิงช้าทองคำตามความในจารึก 
ด้านล่างของภาพ ร่องรอยหินที่แตกกะเทาะได้แสดงให้เห็นว่า มีบุคคลกำลังนั่งก้มหน้าเอื้อมมือมาจับ “ข้อมือ” ของบุคคลที่นอนอยู่ ซึ่งก็อาจหมายถึงท่านนเรนทราทิตย์ (ในรูปนักบวช) กับชายต่อแพ มีข้าราชบริพารยืนอยู่ด้านหลัง ที่มือของท่านนเรนทราทิตย์ ถือไม้เท้ายาว มีหัวไม้เป็นรูป “หัวนาค” อย่างชัดเจน (ไม่ใช่แท่งศิวลึงค์) แต่ส่วนปากของนาคกะเทาะแตกออกไป
ถัดเข้าไปเป็นภาพของบุคคลชาย (นุ่งเส้นผ้าเตี่ยว) ประคองมือผู้หญิง (นุ่งผ้าชักชายซิ่น) ตรงเหนือหัวของคู่ชายหญิง มีร่องรอยของชายผ้าซิ่นของกลุ่มนางในที่เดินอยู่ในขบวนอย่างน้อย 2 คน ปรากฏลายเส้นหมี่ของผ้าซิ่น อยู่ด้านข้างของรูปผู้หญิงนั่งอย่างชัดเจน 
ด้านล่าง ยังคงเห็นขาคู่หนึ่งของคนต่อแพอยู่ครบทั้งสองข้าง เหนือขาขึ้นไปเป็นรอยแตกกะเทาะโครงรูปแขนของคนที่กำลังประคองคนต่อแพ ซึ่งภาพของบุคคลที่กำลังประคองส่วนนี้มีสภาพแตกกะเทาะจากการถูกทุบหลายครั้ง ต้นขาของคนนอนยกขึ้น แสดงว่ามีอีกคนหนึ่ง ประคองส่วนลำตัวและรองรับส่วนศีรษะของคนต่อแพที่ทอดแขนวางมือพาดบนหมอน (แตกกะเทาะฝั่งหนึ่ง) โดยยังคงเหลือส่วนของมวยผมแหลมไปติดอยู่กับชายซิ่นของผู้หญิงในขบวนด้านบน ซึ่งรูปผู้หญิงที่เหลืออยู่ในภาพสลักก็กำลังเทินหม้อซ้อนชั้นสูง เช่นเดียวกับภาพสลักปีกทิศเหนือ
เมื่อดูรูปจากรอยแตกของหินที่ได้นำภาพแบบละเอียดมาแสดงแล้ว ช่วยลองพิจารณากันอีกซักนิด ถ้าจะช่วยกันกรุณา “เลิก” เล่าเรื่อง “ดูถูกผู้หญิง" แบบมันปาก (คือพยายามเล่าให้เพศหญิงฟัง อาศัยเรื่องติดเรทเอ็กซ์ เชิงสังวาส เพื่อสร้างความบันเทิงในระหว่างการท่องเที่ยว ที่เรียกว่า – “ข่มขืนหู”) จากเรื่องเล่าที่ไปเอานิยายเบิกพรหมจรรย์ (กันกลางแจ้ง มีให้มีผู้คนมายื่นดูกันมากมายเนี่ยนะ) อ้างมาจากบันทึกโจวต้ากวานกันซะที มันคนละเรื่อง คนละเวลา คนละบริบทกัน
เพราะที่นี่ คือ “รมยคีรี – วฺนํรุง” สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งปศุปตะ ไม่ใช่ในบ้านหรือที่รโหฐานตามท้องเรื่องของบันทึกโจวต้ากวาน ที่บันทึกว่า ... หากบ้านไหนมีลูกสาวเมื่อลูกสาว อายุครบ 7 ถึง 9 ปี และอายุได้ 1 ปี จะมีการนิมนต์พระภิกษุหรือดาบส ทำพิธีทำลายพรหมจารี ...บิดามารดาจะเป็นผู้เลือกพระภิกษุหรือดาบส (นักบวชฮินดู) ส่วนมากพระภิกษุหรือดาบสจะมีขาประจำ ...พระภิกษุซึ่งมีคุณธรรมสูงนั้นจะถูกจองตัวไว้ล่วงหน้า ....พอตกค่ำพวกเขาจะนำคานหาม มีกลด ดนตรี ไปรับพระภิกษุ แล้วสร้างศาลาขึ้น 2 หลัง โดยใช้ผ้าแพรสร้างขึ้นหลังหนึ่งสำหรับพระภิกษุ อีกหลังหนึ่งสำหรับหญิงสาว ผู้บันทึก (เพียง) ได้ยินมาว่าเมื่อภิกษุเข้าไปในห้อง จะใช้นิ้วมือทำลายเยื่อพรหมจรรย์ แล้วเอาไปใส่ในเหล้า แล้วให้เอาเหล้านั้นไปแต้มที่หน้าผากบิดามารดาญาติพี่น้องเพื่อนบ้าน บ้างก็ว่าใช้ปากชิมดู บ้างก็ว่าพระภิกษุประกอบเมถุนกรรมกับเด็กหญิง บ้างก็ว่าไม่ใช่ เพราะเหตุว่าเขาไม่ยอมให้ชาวจีนเข้าไปดูในพิธีนี้เลย พอใกล้รุ่งก็เอาคานหาม กลด ดนตรี นำพระภิกษุกลับวัด ภายหลังต้องเอาผ้าขาวมาไถ่ตัวเด็กหญิงคืนมา หากไม่มาไถ่เด็กหญิงก็จะตกเป็นของพระภิกษุตลอดไป และจะแต่งงานกับชายใดไม่ได้อีก....”
จากบันทึกก็ชัดเจนว่า โจวต้ากวาน เองก็ไม่เคยเห็นพิธีนี้ แค่ฟังเขาเล่ามาอีกทีเท่านั้น
กลับดูให้ชัด ๆ ที่ตำแหน่งตัว Y - อวัยวะเพศหญิง มือหนึ่งของท่านนเรนทราทิตย์ (?) กำลังจับแขนคนป่วย และอีกมือก็กำลังถือไม้เท้า (ย้ำนะครับ ดูกันให้ชัด ๆ ยังเหลือส่วนสลักที่ไม่ได้แตกหักออกไป เป็นส่วนของเป็นด้ามจับยาว ต่อออกไปจากมือจับที่เหนือหัวเข่า ไม่ใช้หินรูปลึงค์ (สิ่งของมงคลในคติปศุปตะ) ที่ขุดกันได้แถวนั้น แล้วอ้างผสมโรงกันสนุกปาก ถ้ายาวขนาดนั้น คงไม่ใช่เบิกพรหมจรรย์กันแล้ว แหกตายหมด) ตาของท่านและข้าราชบริพารด้านหลังก็มองลงมาที่จุดใช้เวทมนต์ (พญานาคกำราบพิษงู) ตามที่ปรากฏในจารึกตรง ๆ  
ฝ่ายหญิงก็ไม่ได้กำลังจับถกซิ่นขึ้น ไม่ได้กำลังแหกขาและยอมให้ใครเอาไม้เท้าหัวนาค เข้าไปเบิกอีปิของตัวเอง
เลิกเล่า เรื่องนี้ กันได้แล้วครับ
---------------------------------------
*** ในมุมมองทางมานุษยวิทยา วัฒนธรรมความเชื่อแบบเขมรโบราณโดยเฉพาะจากคติ “ตันตระ” และ“จารวากยะ” ที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียนั้นจะไม่มีเรื่องลามก เสพสังวาสหรือภาพอนาจาร อย่างศิลปะต้นทางในอินเดียเลย ซึ่งในอินเดียเองก็จะพบเฉพาะช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 ที่ผู้ปกครองเกิดความนิยมในคติเรื่องกามาสูตรา (Kama Sutra) เท่านั้น 
ก็เพราะสังคมบรรพกาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะให้ความสำคัญและให้ความเคารพกับเพศหญิงหรือเพศแม่เป็นอย่างมาก ในขณะที่สังคมและคติความเชื่อของชนชั้นนำอินเดียยังคงดูถูก มองเพศหญิงต่ำชั้นกว่าเพศชาย
ลองหาดูสิครับว่าเคยเห็นมีภาพสลัก ที่ส่อไปทางลากมกอนาจาร ในงานศิลปะเขมรโบราณบ้างไหม ?
ถ้าไม่มี ก็อย่าเอาไปโยง แบบพวกฟังเข้าเล่ามาเลยครับ ปรัชญาฝ่ายฮินดูเขาจะมองว่าเป็นการประพฤติแบบ “ชั้นต่ำ” 
เครดิต ; FB
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆 
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
https://abhinop.blogspot.com
https://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................



Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2564
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2564 13:49:25 น. 2 comments
Counter : 384 Pageviews.

 
ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.


โดย: ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:13:50:19 น.  

 
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
//abhinop.blogspot.com
//abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


โดย: ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก วันที่: 8 มีนาคม 2564 เวลา:14:31:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.