ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
21 ธันวาคม 2564
 
All Blogs
 
พระพุทธรูปเชิงช่างหริภุญชัย

“พระพุทธรูปดินเผาเชิงช่างหริภุญชัย” ความงามที่ไม่มีใครเหมือน
.
.
.
พุทธศาสนาของ “นครหริภุญชัย” รุ่งเรืองสูงสุดในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช (พระเจ้าทิตตะ) จนถึงสมัยพระเจ้าสววาธิสิทธิ (สรรพสิทธิ์) ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 17 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ใช้ภาษารามัญ/มอญเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร ใช้อักษรมอญโบราณ บันทึกเป็นภาษามอญและบาลีเป็นหลัก 

จนถึงราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรหริภุญชัยที่ปกครองโดยพญาญี่บา ได้พ่ายแพ้ต่อพญามังราย สิ้นสุดยุคสมัยของอาณาจักรรามัญตะวันออกครับ
.
ในช่วงเวลานี้ ได้มีความนิยมในการสร้าง “พระพุทธรูปดินเผา” (Terracotta Buddha Statue) ในงานศิลปะที่มีรูปแบบเฉพาะตัวขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งหมดจะมีรูปพระพักตร์ค่อนข้างยาว พระหนุโค้งกลมเล็ก พระนลาฏใหญ่  พระขนงเป็นสันนูนต่อกันเป็นปีกนก บางองค์มีพระอุณาโลมเหนือพระพระขนง พระเนตรใหญ่โปน เปลือกพระเนตรมีทั้งแบบเหลือบต่ำ ไปจนถึงเบิกกว้างจนเห็นพระกาฬเนตรชัดเจน พระนาสิกบาน พระโอษฐ์ยาว บางองค์มีพระมัสสุ (หนวด)เหนือพระโอษฐ์ มีเส้นขอบไรพระศกนูน เส้นพระเกศาขมวดเป็นวงก้นหอย แต่นูนแหลมทรงกระบอกแบบหนามทุเรียน นุ่งห่มคลุม บางองค์มีผ้าชายสังฆาฏิยาวตรงลงมายาวถึงพระอุทร ปลายผ้าตัดเรียบ นั่งในท่า ขัดสมาธิเพชร ขัดไขว้ข้อพระบาท หงายพระบาทออกให้เห็นทั้งสองแบบการปฏิบัติโยคะที่เรียกว่า “วัชราสนะ”(Vajrāsana) พระหัตถ์ขวาวางบนพระเพลา แสดง“ภูมิสปรรศมุทรา” (Bhūmiśparṣa Mudrā) หรือปางมารวิชัย 
.
พระพุทธรูปดินเผาศิลปะหริภุญชัยองค์หนึ่ง ได้รับมอบมาจากสมาคมเผยแพร่และส่งเสริมศิลปวัตถุเมื่อปี พ.ศ. 2531 เคยจัดเก็บไว้ที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถูกนำมาจัดแสดงในงานนิทรรศการ "อารยธรรมวิวัฒน์ : ลพบุรี - ศรีรามเทพนคร" ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ได้แสดงความสมบูรณ์และความงดงามของพระพุทธรูปดินเผาในสกุลช่างหริภุญชัยที่หาดูได้ยาก พระหนุโค้งกลมเล็ก พระนลาฏใหญ่  มีพระอุณาโลมเหนือกึงกลางพระขนงที่ปั้นเป็นสันนูน พระเนตรเบิกกว้าง พระนาสิกบาน (แตกหัก) พระกรรณใหญ่โค้ง พระอุษณีษะ (หม่อมกะโหลก) หักออกไป แผ่นหลังตัดเรียบไม่เต็มองค์ เหมือนจะใช้นำมาประดับอาคารเจติยสถาน โดยมีร่องใหญ่ที่ด้านหลังเพื่อยึดประกบกับผนังครับ   
.
ที่ส่วนฐานเชียงด้านหน้ามีจารึกเป็นอักษรมอญโบราณ ภาษามอญ/บาลี อายุอักษร/ภาษาในช่วงกลาง-ปลายพุทธศตวรรษที่ 17  ได้มีการแปลความไว้ว่า “...นี้คือในกาลที่พ่อราชินีสร้างพระปางตรัสรู้ กับชนชาวบ้าน/ นี้คือพระปางตรัสรู้ ในวาระที่พ่อ (ของ) ราชินี (?) ร่วมกันสร้างกับชาวบ้าน...” 
.
ประติมาณของพระพุทธรูปดินเผาองค์นี้ แสดงความเป็น “พระศากยมุนีพุทธเจ้า” (Shakyamuni)  ในพุทธประวัติตอนผจญมาร (Assault of Māra) ประทับในท่าขัดสมาธิเพชรแบบโยคะและแสดงมุทราตามคติและศิลปะฝ่ายมหายาน (Mahāyāna Buddhism) จากอิทธิพลราชวงศ์ปาละผ่านมาทางพุกามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 แต่เริ่มรับอิทธิพลการพาดผ้าสังฆาฏิแบบเถรวาทจากฝ่ายรามัญนิกายเข้ามาผสมผสาน ส่วนพระพักตร์ที่เป็นเอกลักษณ์ รวมกับเม็ดพระเกศาแหลมแบบหนามทุเรียน เป็นงานฝีมือของกลุ่มช่างพื้นถิ่นรามัญ/หริภุญชัยที่นิยมกันเฉพาะในช่วงเวลานั้นครับ    
.
*** พระพุทธรูปในคติมหายานแบบหริภุญชัย  เป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงว่าในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 17  นั้น ราชสำนักผู้ปกครองหริภุญชัยเดิมยังคงนิยมศิลปะฝ่ายมหายานตามแบบราชวงศ์ปาละและอาณาจักรพุกาม ซึ่งต่อมาเมื่อกลุ่มรามัญอีกกลุ่มหนึ่งจากทางใต้ได้เข้ามาครอบครองหริภุญชัย จึงเกิดการผสมคติรามัญนิกาย/เถรวาทเมืองพัน เข้ากับมหายาน/หริภุญชัย จนเกิดเป็นนิกายใหม่ ส่งอิทธิพลลงมายังละโว้ตามเส้นทางการค้า ผสมผสานอีกครั้งกับคติวัชรยานในยุคจักรวรรดิบายน จนเกิดเป็นนิกายลูกผสม “คณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ”(Kambojsanghapakkha)  ขึ้นที่ละโว้เป็นครั้งแรก 
.
*** คติและลูกผสมงานศิลปะของคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะที่เกิดขึ้นในละโว้  ได้ส่งความนิยมย้อนกลับขึ้นไปยังหริภุญชัย และอาณาจักรมอญตะวันตกในช่วงกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ครับ  
เครดิต : FB
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy

.


Create Date : 21 ธันวาคม 2564
Last Update : 21 ธันวาคม 2564 10:47:53 น. 1 comments
Counter : 261 Pageviews.

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน


โดย: Kavanich96 วันที่: 22 ธันวาคม 2564 เวลา:0:50:53 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.